ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ “ทฤษฎีดุลอำนาจ (Balance of Power Theory) กับประชาคมอาเซียน

kanyawan ka      https://medium.com/me/stats

2023 Feb 13o

 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ “ทฤษฎีดุลอำนาจ (Balance of Power Theory) กับประชาคมอาเซียน”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กันยาวรรนธ์ กำเนิดสินธุ์. 15 กุมภาพันธ์ 2565. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจ

          ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจ (Balance of Power) เป็นแนวคิดที่พัฒนามาจากสำนักสัจนิยม (Realist School) แนวคิดสัจจนิยมชื่อในความมีอำนาจ รักษาอำนาจ และการขยายอำนาจเพื่อควบคุมรัฐอื่นๆ และป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่นมาจากแนวความคิด การเมืองแยกจากศีลธรรม รัฐมีธรรมชาติที่เหมือนกับมนุษย์ คือความเห็นแก่ตัว รักษาผลประโยชน์แห่งตน มุ่งเอาเปรียบผู้อื่น ดังนั้นผู้มีอำนาจจึงจะอยู่รอดปลอดภัย

การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิชาการเชื่อว่าสาเหตุสงครามเกิดจากสถานการณ์รัฐอนาธิปไตย (Anarchy) กล่าวคือรัฐแต่ละรัฐมีอำนาจอธิปไตยของตนเอง ไม่มีอำนาจหรือรัฐบาลกลางของโลกในการจัดระเบียบโลกหรือควบคุมอำนาจของรัฐอื่นได้ รัฐแต่ละรัฐจึงมีอำนาจในการตัดสินใจประกาศนโยบายการทำสงคราม การรุกรานผู้อื่น เพื่อเป็นการขยายอำนาจ การรักษาอำนาจของรัฐตน ก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงจนกลายเป็นสงครามโลกที่เกิดความสูญเสียมหาศาล ต่อมาแนวคิดสัจนิยมจึงพัฒนาแนวคิดใหม่ขึ้น เพื่อจะระบบหรือสร้างสมดุลระหว่างรัฐขึ้น

          แนวคิดดุลอำนาจ ยึดหลักการ 2 ประการ คือ

1. การรักษาสภาพเดิม รักษาอำนาจให้คงอยู่

2. การเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม เพื่อให้มีอำนาจเพิ่มขึ้นหรือมีอำนาจต่อรองมากขึ้น

          1. การรักษาสภาพเดิม รักษาอำนาจให้คงอยู่  แนวคิดดุลอำนาจเกิดแนวนี้ขึ้นเพื่อจัดการรัฐอนาธิปไตย โดยการสร้างสมดุลระหว่างมหาอำนาจกับมหาอำนาจ เพื่อรักษาสภาพเดิมให้คงอยู่ เช่นสหรัฐอเมริกา เป็นมหาอำนาจโลกเพียงหนึ่งเดียว หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต หรือที่รู้จักกันว่า “กำแพงเบอร์ลินล่มสลาย” ในปี พ.ศ. 2534 ทำให้เยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตกรวมประเทศได้ นั่นคือความล้มเหลวของขั้วอำนาจสหภาพโซเวียต เหลือเพียงสหพันธรัฐรัสเซีย ทำให้เหลือเพียงขั้วอำนาจโลกหนึ่งเดียว คือ สหรัฐอเมริกา แต่ขณะนี้โลกได้เปลี่ยนแปลงตามการพัฒนาของเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีน เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วทัดเทียมสหรัฐอเมริกา จึงพบว่าสหรัฐอเมริกาต้องการรักษาอำนาจของตนเองไว้ดังเดิม จึงประกาศนโยบายกดดันจีนทุกช่องทาง เช่นนโยบายสงครามเศรษฐกิจ นโยบายบอยคอร์ตสินค้าจีน นโยบายปิดกั้นเทคโนโลยีของจีน เป็นต้น

          2. การเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม เพื่อให้มีอำนาจเพิ่มขึ้นหรือมีอำนาจต่อรองมากขึ้น  แนวคิดดุลอำนาจแนวนี้เกิดกับประเทศที่ไม่ใช่มหาอำนาจ หรือประเทศที่ไม่มีอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจ ประเทศเล็กๆ จึงต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง ในการรักษาอำนาจอธิปไตยของประเทศเพียงหนึ่งเดียว เป็นการรวมประเทศหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเดียวเข้าด้วยกัน เช่น ประชาคมอาเซียน ที่ก่อตัวรวมกัน 10 ประเทศ เป้าหมาย เพื่อสนับสนุนส่งเสริม และป้องกันตนเอง โดยใช้ความร่วมมือระดับทวิภาคีเป็นสำคัญ ลดการแทรกแซงและการพึ่งพาประเทศมหาอำนาจ เพิ่มอำนาจการต่อรองทางการค้า การเมือง สังคมและวัฒนธรรม เช่นประเทศไทยเป็นประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประชากรเพียง 67 ล้านคน แต่เมื่อรวมกับประเทศในอาเซียนรวม 10 ประเทศ มีประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคน มีกำลังซื้อมากขึ้นถึง 10 เท่า ทำให้อาเซียนสามารถพึ่งพากันเอง และเพิ่มการพึ่งพาในประเทศต่างๆในเอเซีย เช่น กลุ่มอาเซียนพลัส +6 ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์

 

อ้างอิง
Granski, A.F.K.(1968). World Politics. New York : Alfred A.Knopf.

Herz, John.H.(1959). International Politics in the Atomic Age. New York : Columbia Press.

Kaplan, Morton. A.(1965). System and Process in international Politics. New York : John    

        Wiley & Sons.

Morgenthau, Hans J. (1967). Politics Among Nations. New York : Alfred A.Knopf.