ความพึงพอใจสิทธิประโยชน์และสวัสดิการกับคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี Satisfaction towards Benefits, Welfare and Quality of Life of Personnel in the Suphan Buri Provincial Police Division

ปัณพน รักราชการ และ ผศ.ดร.สุรศักดิ์  โตประสี

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการสมัยใหม่                ปีการศึกษา  2564  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี 2) ศึกษาความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์สวัสดิการที่ได้รับของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี 3) ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์และสวัสดิการกับคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 212 คน ประชากรคือบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. ความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรีมีความพึงพอใจอยู่ ในระดับค่อนข้างมาก

          2. คุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี มีคุณภาพอยู่ในระดับค่อนข้างมาก

          3. บุคลากรกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรีที่มี ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

          4. ความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์และสวัสดิการมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ : ความพึงพอใจ, คุณภาพชีวิต

 

ABSTRACT

          The purposes of this research were to 1) study the quality of life of personnel in  Suphan Buri Provincial Police Division, 2) study the satisfaction towards benefits and welfare of personnel in Suphan Buri Provincial Police Division, 3) compare the quality of life of personnel in Suphan Buri Provincial Police Division classified by individual factors and 4) study the relationship of satisfaction in benefits and welfare with quality of life of personnel in Suphan Buri Provincial Police Division. The research sample included 212 persons and the population was personnel in Suphan Buri Provincial Police Division. The research tool was a questionnaire. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, analysis of variance and multiple regression analysis.

          The research findings revealed as follows:

          1. The level of satisfaction towards benefits and welfare of personnel in Suphan Buri Provincial Police Division was quite high.

          2. The quality of life of personnel in Suphan Buri Provincial Police Division was at quite high level.

          3. Personnel in Suphan Buri Provincial Police Division with different working durations had different quality of life with statistical significance.

          4. Satisfaction in benefits and welfare was related to the quality of life of the personnel in Suphan Buri Provincial Police Division.

Keywords : Satisfaction, Quality of Life

 

1.บทนำ

            การทำงานมีความสำคัญต่อชีวิตของคนทุกคนเนื่องจากการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและต้องปฏิบัติมากกว่ากิจกรรมอื่นๆการทำงานเป็นสิ่งที่ให้ประสบการณ์ที่มีคุณค่าของชีวิตของคนเพราะเป็นโอกาสที่ทำให้เกิดการพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ใช้แรงงานกับบุคคลอื่นๆ กับสถานที่ ดังนั้นการทำงานจึงเป็นการเปิดโอกาสในการแสดงออกถึงสติปัญญาความคิดริเริ่มอันนามาสู่เกียรติยศและความพึงพอใจในชีวิตเมื่อแต่ละบุคคลได้ใช้ชีวิตการทำงานอยู่กับสิ่งที่ตนเองพอใจก็จะทำให้มีสภาพจิตใจและอารมณ์ที่ดีซึ่งส่งผลให้การทำงานดีตามไปด้วยดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละองค์การจะต้องศึกษาหรือแสวงหาหนทางให้เกิดความสอดคล้องต้องกันของความพึงพอใจระหว่างบุคลากรและองค์การเพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดดังนั้นคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานด้านต่างๆกับคุณภาพชีวิตการทำงานเนื่องจากลักษณะของงานแต่ละงานมีความแตกต่างกันได้แก่ความหลากหลายของงานความมีอิสระในการตัดสินใจโอกาสรับรู้ผลการปฏิบัติงานที่สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ต้องเอื้ออำนวยต่อการทำงานและความพร้อมของอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในสำนักงานที่แต่ละหน่วยงานจัดสรรให้กับผู้ปฏิบัติงานซึ่งแตกต่างกันตามนโยบายของหน่วยงานหรืองบประมาณที่ได้รับบุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อองค์กรอย่างยิ่งโดยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณภาพสูงจะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างดี (อนันต์ แม่กอง, 2558, น.13-14)

          สวัสดิการถือเป็นส่วนหนึ่งของแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร ซึ่งบุคลากรของกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรีตระหนักดีว่าบุคลากรเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างคุณภาพการทำงานเพื่อสนองนโยบายขององค์การและในขณะเดียวกันก็มีความเชื่อว่าสวัสดิการบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่อย่างทุ่มเท โปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดสวัสดิการในด้านต่างๆให้บุคลากรของกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรีเกิดความพึงพอใจเพื่อให้บุคลากรของสถานีกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรีปฏิบัติงานให้กับองค์การอย่างเต็มศักยภาพ และบรรลุเป้าหมายขององค์การ

 

2.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์สวัสดิการที่ได้รับของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี

2. เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี

3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล

4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์และสวัสดิการกับคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี

 

3.สมมติฐานการวิจัย

1. บุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน  ที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

          2. ความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์สวัสดิการด้านเศรษฐกิจ  ด้านความมั่นคง ด้านการศึกษา ด้านนันทนาการ ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี

 

4.แนวคิดและทฤษฎี

ปานจันทร์ จ่างแก้ว (2545) ได้ให้ความหมายของคุณภาพชีวิตไว้คือ คุณภาพชีวิตแสดงถึงความเป็นอยู่ที่ดี โดยประเมินได้จากการมีภาวะสุขภาพที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ

          ศิริ ฮามสุโพธิ์ (2543) กล่าวว่า คุณภาพชีวิต หมายถึง ชีวิตของบุคคลที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างความพึงพอใจไม่เป็นภาระและไม่ก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคม เป็นชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสามารถดำรงชีวิตที่ชอบธรรมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และค่านิยมของสังคม ตลอดจนแสวงหาสิ่งที่ตนปรารถนาให้ได้มาอย่างถูกต้องภายใต้เครื่องมือและทรัพยากรที่มีอยู่

          คุณภาพชีวิต หรือ ย่อในภาษาอังกฤษว่า QOL/คิวโอแอล โดยทั่วไป หมายถึง ภาวะความเป็นอยู่ที่ดี (well being) ทั้งของตนเอง (ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ) และของสังคม ทั้งนี้ครอบคลุมไปถึง ความปลอดภัย สิทธิ และเสรีภาพ

            เฮอซ์เบอร์ก (Herzberg’s Two Factor Theory) ซึ่งได้สรุปไว้ว่ามีปัจจัยสำคัญ 2 ประการที่สัมพันธ์กับความชอบหรือไม่ชอบของแต่ละบุคคลปัจจัยดังกล่าวคือ

          1. ปัจจัยจูงใจ (Motivation Factor) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงเพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานที่ปฏิบัติเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความพึงพอใจให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะเป็นปัจจัยที่สามารถตอบสนองความต้องการภายในของแต่ละบุคคลได้ด้วยได้แก่

                     1.1 ความสำเร็จในการทำงานของบุคคลหมายถึงการที่บุคคลทำงานได้เสร็จสิ้นและประสบความสำเร็จอย่างดีเป็นความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆการรู้จักป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นเมื่อผลงานสำเร็จจึงเกิดความรู้สึกพึงพอใจและปลาบปลื้มในผลสำเร็จของงานนั้น

                     1.2 การได้รับการยอมรับนับถือหมายถึงการได้รับการยอมรับนับถือไม่ว่าจากผู้บังคับบัญชาจากเพื่อนจากผู้มาขอคำปรึกษาหารือจากบุคคลในหน่วยงานการยอมรับนี้อาจจะอยู่ในรูปของการชมเชยแสดงความยินดีการให้กาลังใจหรือกาแสดงออกอื่นใดที่สื่อให้เห็นถึงการยอมรับในความสามารถเมื่อได้ทางานอย่างใดอย่างหนึ่งบรรลุผลสำเร็จการยอมรับนับถือจะแฝงอยู่กับความสำเร็จในงานด้วย

                     1.3 ลักษณะของงานที่ปฏิบัติหมายถึงงานที่น่าสนใจงานที่ต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ท้าทายให้ต้องลงมือทำหรือเป็นงานที่มีลักษณะสามารถกระทำได้ตั้งแต่ต้นจนจบได้ลำพังเพียงผู้เดียว

                     1.4 ความรับผิดชอบหมายถึงความพึงพอใจที่เกิดขึ้นมาจากการได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานใหม่และมีอำนาจในการรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ได้มีการตรวจตราหรือควบคุมอย่างใกล้ชิด

                     1.5 ความก้าวหน้าหมายถึงการได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของบุคคลในองค์การการมีโอกาสได้ศึกษาเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมหรือได้รับการฝึกอบรม

          2. ปัจจัยค้าจุน (Maintenance Factor) อาจเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยสุขอนามัย(Hygiene Factor) หมายถึงปัจจัยค้าจุนให้แรงจูงใจในการทางานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลาถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลในองค์กรบุคคลในองค์กรจะเกิดความไม่ชอบงานขึ้นและปัจจัยนี้จะเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกตัวบุคคลได้แก่

                     2.1 เงินเดือนหมายถึงเงินเดือนและการเลื่อนขั้นเงินเดือนในหน่วยงานนั้นเป็นที่พอใจของบุคลากรที่ทำงาน

                     2.2 โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคตนอกจากจะหมายถึงการที่บุคคลได้รับการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งในหน่วยงานแล้วยังหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลสามารถได้รับความก้าวหน้าในอาชีพด้วย

                     2.3 ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อนร่วมงานหมายถึงการติดต่อไม่ว่าจะเป็นกิริยาหรือวาจาที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกันสามารถทางานร่วมกันมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน

                     2.4 ลักษณะของอาชีพหมายถึงอาชีพนั้นเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคมมีเกียรติยศและศักดิ์ศรี

                     2.5 นโยบายการบริหารงานหมายถึงการจัดการและการบริหารองค์การการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ

                     2.6 สภาพการทางานหมายถึงสภาพทางกายภาพของงานเช่นแสงเสียงอากาศรวมทั้งลักษณะของสภาพแวดล้อมอื่นๆเช่นอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ

                     2.7 ความเป็นอยู่ส่วนตัวหมายถึงความรู้สึกที่ดีหรือไม่อันเป็นผลที่ได้รับจากงานในหน้าที่ของเขาเช่นการที่บุคคลต้องย้ายไปทางานในที่แห่งใหม่ซึ่งห่างไกลจากครอบครัวทาให้เขาไม่มีความสุขและไม่พอใจกับการทางานในที่แห่งใหม่

                     2.8 ความมั่นคงในงานหมายถึงความรู้สึกของบคุคลที่มีต่อความมั่นคงในการทำงานความยั่งยืนของอาชีพและความมั่นคงองค์กร

                     2.9 วิธีการปกครองบังคับบัญชาหมายถึงความสามารถของผู้บังคับบัญชาในการดำเนินงานหรือการให้ความยุติธรรมต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในการบริหาร

            สุเนตร นามโคตรศรี (2553, น.9 อ้างถึงใน อนันต์ แม่กอง, 2558) ที่ได้ทำการศึกษาเรื่อง คุณภาพชีวิตในการทำงานอย่างจริงจังโดยพิจารณาจากคุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต เน้นแนวทางความเป็นมนุษย์ (Humanistic) ศึกษาสภาพแวดล้อมตัวบุคคลและสังคมที่ส่งผลทำให้การทำงานประสบความสำเร็จ ผลผลิตที่ได้รับตอบสนองความต้องการ และความพึงพอใจของบุคคล ในการทำงานโดย Walton ได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างคุณภาพชีวิตในการทำงานนั้นว่า ประกอบไปด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ อยู่ 8 ประการ ดังนี้

          1. การได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอและยุติธรรม (Adequate and Fair Compensation) คือค่าตอบแทนที่ได้รับจากการปฏิบัติงานนั้นจะต้องมีความเพียงพอในการดำรงชีวิตตามมาตรฐานการครองชีพที่สมเหตุสมผลในสังคมนั้นๆสำหรับค่าตอบแทนที่มีความยุติธรรม ก็เกิดจากการเปรียบเทียบค่าตอบแทนจากการทำงานในตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบที่ คล้ายคลึงกันหรือเปรียบเทียบจากผลการปฏิบัติงานที่เท่าเทียมกัน

          2. สภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ (Safe and Healthy Working Condition) ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีทั้งต่อร่างกายและการ ทำงานควรจะมีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพซึ่งรวมถึงการควบคุม เกี่ยวกับเสียงการรบกวนทางสายตา

          3. ความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน (growth and security) ควรให้ความ สนใจการให้พนักงานได้รักษาหรือเพิ่มความสามารถในการทำงานมากกว่าที่จะคอยเป็นผู้นำให้ทำตาม จะต้องมีการมอบหมายงานใหม่หรืองานที่ต้องใช้ความรู้และทักษะที่เพิ่มขึ้นอีกในอนาคตจะต้องเปิด โอกาสให้มีการพัฒนาภายในองค์การในสายงานรวมถึงสมาชิกในครอบครัวด้วย

          4. โอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคล (development of human capacities) คือโอกาสในการพัฒนาและการใช้ความสามารถของพนักงานในการปฏิบัติงานตาม ทักษะและความรู้ที่มีซึ่งจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนมีคุณค่า และรู้สึกท้าทายในการทำงานได้ใช้ ความสามารถทำงานเต็มที่รวมทั้งความรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน

          5. การบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน (social integration) คือการที่ ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกว่ามีคุณค่าได้รับการยอมรับและร่วมมือกันทำงานจากกลุ่มเพื่อนร่วมงานรู้สึกว่าตน เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อนร่วมงานมีการเปิดเผยตนเองมีบรรยากาศในการทำงานที่ดีไม่มีการแบ่งชั้น วรรณะในหน่วยงาน ปราศจากการมีอคติและการทำลายซึ่งกันและกัน

          6. ประชาธิปไตยในองค์การ (constitutionalism) คือพนักงานมีสิทธิอะไรบ้างและ จะปกป้องสิทธิของตนเองได้อย่างไรทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมขององค์การนั้นๆว่ามีความเคารพใน สิทธิส่วนตัวมากน้อยเพียงใด ยอมรับในความขัดแย้งทางความคิดรวมทั้งวางมาตรฐานการให้ ผลตอบแทนที่ยุติธรรมแก่พนักงานและมีการจัดเตรียมงานให้เกิดความเหมาะสมและมีความสัมพันธ์กัน

          7. ความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว (total Life space) คือบุคคลจะต้องจัด ความสมดุลให้เกิดขึ้นในชีวิตโดยจะต้องจัดสรรบทบาทให้สมดุลได้แก่ การแบ่งเวลา อาชีพการเดินทาง ซึ่งจะต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างการใช้เวลาว่างของตนเองและครอบครัว รวมทั้งความก้าวหน้า ในอาชีพ

          8. ลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม (social relevance) คือการที่พนักงานมี ความรู้สึกว่า กิจกรรมหรืองานที่ทำนั้นเป็นประโยชน์ต่อสังคมมีความรับผิดชอบต่อสังคมรวมทั้ง องค์การของตนได้ทำประโยชน์ให้สังคมเป็นการเพิ่มคุณค่าความสำคัญของอาชีพและเกิดความรู้สึก ภูมิใจในองค์การของตนเองตัวอย่างเช่นความรู้สึกของพนักงานที่รับรู้ว่าหน่วยงานของตนมีความ

รับผิดชอบต่อสังคมในด้านการผลิต การกำจัดของเสีย วิธีการด้านการตลาด การฝึกปฏิบัติงานและ การมีส่วนร่วมในการรณรงค์ด้านการเมืองและอื่น ๆ

 

5. วิธีการดำเนินการวิจัย

5.1 ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่บุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรีโดยแบ่งเป็นบุคลากรที่สังกัดอยู่ในสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง สถานีตำรวจภูธรศรีบางปลาม้า สถานีตำรวจภูธรศรีสระแก้วและสถานีตำรวจภูธรสองพี่น้อง  รวมทั้งสิ้นจำนวน 450 คน

5.2 กลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่สังกัดอยู่ในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 212 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (Yamane, 1973, p.725) และการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่าย (simple random sampling) ด้วยวิธีการจับสลากแบบไม่ใส่กลับจากจำนวนทั้งหมดของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี

5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม รวมทั้งหมด 6 หัวข้อ เพศ อายุ  ระดับการศึกษา  สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

ตอนที่ 2 เป็นคำถามที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรีประกอบด้วย 8 หัวข้อ  ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม ด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ด้านการพัฒนาความสามรถของผู้ปฏิบัติงาน ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน ด้านคุณค่าทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านประชาธิปไตยในหน่วยงาน ด้านบทบาทระหว่างการทำงานกับสุขภาพที่สมดุล ด้านประโยชน์และความรับผิดชอบต่อสังคม

ตอนที่ 3 เป็นคำถามที่เกี่ยวกับความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ ประกอบด้วย สวัสดิการด้านเศรษฐกิจ สวัสดิการความมั่นคงปลอดภัย สวัสดิการการศึกษา สวัสดิการการนันทนาการ สวัสดิการสุขภาพ

 

6.ผลการวิจัย

            1. ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างพบว่า เพศ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากที่สุดมีจำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 58.0  อายุ ส่วนใหญ่มีอายุ25-35 ปีจำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ36.8 ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยกว่าปริญญาตรี จำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 77.8สถานภาพ ส่วนใหญ่ มีสถานภาพ โสด จำนวน 102 คนคิดเป็นร้อยละ48.1 รายได้ต่อเดือน ส่วนใหญ่มีรายได้10,001-15,000บาท จำนวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 52.4 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่ มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานอยู่ที่ 3-5ปี จำนวน84.คน คิดเป็นร้อยละ 39.6

            2.ผลการวิเคราะห์ตามสมมติฐานปรากฏผลการวิจัยดังนี้

             2.1จากสมมติฐานที่ว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน  ที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิเคราะห์พบว่า บุคลากรกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรีที่มี ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย ส่วนบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรีที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมี คุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

             2.2  จากสมมติฐานที่ว่าความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์สวัสดิการด้านเศรษฐกิจ  ด้านความมั่นคง ด้านการศึกษา ด้านนันทนาการ ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี ผลการวิเคราะห์ตัวแปรอิสระพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 5  ซึ่งมีตัวแปร 3 ตัวมีผลเชิงบวกต่อตัวแปรตาม เรียงตามลำดับของค่าสัมประสิทธิ์ของการถดถอยจากมากไปน้อยคือ สวัสดิการมั่นคงสวัสดิการเศรษฐกิจ สวัสดิการศึกษา  ตัวแปรทั้ง 3 มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรีสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรีได้ร้อยละ 61.30

 

7.อภิปรายผลการวิจัย

            ผลการวิจัยพบว่าบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มี ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย ซึ่งไม่สอดคล้องกับ งานวิจัยของ สุเนตร นามโคตรศรี(2553) ได้ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมาทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก บุคลากรที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่แตกต่างกันจากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้เพราะบุคลากรที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานน้อยและงานมาก มีการปฏิบัติงานในหน่วยงานเหมือนๆกัน มีองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานคล้ายคลึงกัน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตในการทำงานไม่แตกต่างกัน จากผลการวิจัยสมารถอภิปรายได้ว่า คุณภาพชีวิตระหว่างคนที่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานที่ต่างกันนั้นเนื่องจาก ความต้องการและการทำงานของบุคลากรนั้น อาจได้รับผลประโยชน์ที่ได้เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และและความคุ้นชินในหน้าที่ที่ปฏิบัติ  และความพึงพอใจในสิ่งที่ได้รับที่มีไม่เท่ากันอยู่ในมนุษย์ทุกคน ระยะเวลาในการปฏิบัติต่างกันมีความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานที่แตกต่างกัน

และจากผลการวิจัยพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 5  ซึ่งมีตัวแปร 3 ตัวมีผลเชิงบวกต่อตัวแปรตาม เรียงตามลำดับของค่าสัมประสิทธิ์ของการถดถอยจากมากไปน้อยคือ สวัสดิการมั่นคง สวัสดิการเศรษฐกิจ สวัสดิการศึกษา  ตัวแปรทั้ง 3 มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรีสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของบุคลากรในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน ส่วนสวัสดิการนันทนาการ สวัสดิการสุขภาพ ไม่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เศรษฐศาสตร์ ไชยแสง (2553) เรื่องคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์ในประเด็นที่ว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมมีความสัมพันธ์มาทางบวกกับความผูกพันต่อองค์โดยรวมของบุคคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 8 ได้แก่ ด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ด้านสถานภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านโอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพของตนเอง ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่น และด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันธ์ต่อองค์การของบุคลากรทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ด้านการยอมรับ ด้านการใช้ความสามารถเพื่อองค์กร และด้านความต้องการเป็นสมาชิกขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

          จากผลการวิจัยสมารถอภิปรายได้ว่า ถ้าบุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานสูง ความพึงพอใจในสิทธิประโยชน์และสวัสดิการก็จะสูงตามด้วย เนื่องจาก ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ถ้าอยู่ในระดับที่สูง บุคลากรจะมีความรู้สึกที่พึงพอใจต่อองค์กร ตามไปด้วย ทำให้บุคลากรไม่ต้องเคลื่อนย้ายงาน หรือ ลาออก แต่ถ้าระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ในระดับน้อย ก็จะทำให้ บุคลากรรู้สึกไม่พึงพอใจกับสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากองค์กร อาจไม่เกิดความยั่งยืนในหน้าที่การงาน

 

บรรณานุกรม

 

เศรษฐศาสตร์ ไชยแสง. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร วิทยาลัยราชพฤกษ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและพัฒนา วิทยาลัยราชพฤกษ์.

สุเนตร นามโคตรศรี. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลใน เขต อำเภอด่านขุนทุด จังหวัดนครราขสีมา. วิทยานิพนธ์นิพนธ์รัฐประคาสนคาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประคาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

อนันต์ แม่กอง. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขต พื้นที่ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี. ใน สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน . มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Walton, R.E. (1974, June 12). Improving the Quality of work life. Harvard Business, 149,pp.10-3