การส่งเสริมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย

                            จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในศตวรรษที่ 21 ระบบการจัดการศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในระดับต่างๆ แนวทางการจัดการเรียนรู้ต้องพัฒนาทําให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะของคน ในยุคศตวรรษที่ 21 กล่าวคือ ระบบการเรียนการสอนจําเป็นต้องเพิ่มทักษะผู้เรียนที่จะต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา และตลอดชีวิต ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกําหนดแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แนวทางนี้ได้ถูก พัฒนาขึ้นโดยองค์กรในสหรัฐอมริกาที่เกิดจากการวมตัวกันของนักคิด นักการศึกษา เอกชน และหน่วยงานของรัฐ และก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หรือ Partnership for 21st Century Skills เรียกย่อๆ ว่า เครือข่าย P 21 โดยพัฒนาทักษะแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ทักษะเฉพาะด้าน ความชํานาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสําเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทํางานและการดําเนินชีวิต (อรรชนิดา หวานคง , 2559) จากแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2539) ได้ระบุไว้ชัดเจนเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของการศึกษาไทยว่าต้องพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกยุคโลกาภิวัฒน์และได้ระบุให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่คนในชาติ ต้องรู้เป็นอย่างดีจากวิสัยทัศน์นี้เองพ่อแม่และผู้ปกครองคนไทยส่วนใหญ่จึงได้ตระหนักและให้ความสำคัญ กับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของบุตรหลานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองบางคนเชื่อว่าหากบุตรหลาน เรียนรู้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับปฐมวัยก็จะทำให้เด็กมีทักษะด้านภาษาอังกฤษที่ดีกว่าเนื่องจากช่วงเด็กปฐมวัย เป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาและรับรู้สิ่งใหม่ได้ดี ซึ่ง วราภรณ์ รักวิจัย (2540) ได้กล่าวว่า หากมี การส่งเสริมทักษะภาษาให้เด็กได้รับอย่างเพียงพอ จะทำให้การเรียนรู้ของเด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น สอดคล้องกับ ทิศนา แขมมณี(2559) ที่กล่าวว่าเด็กจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาเพื่อใช้ในการคิดและการสื่อ ความหมาย เพื่อพร้อมสำหรับการปรับตัวรับความรู้ใหม่ และเด็กยังสามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสาร กับผู้อื่นเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และการพัฒนาการด้านความสามารถทางภาษาควรเริ่มตั้งแต่ เด็กปฐมวัยเพราะเด็กวัย2-7 ปีเป็นวัยที่พัฒนาการทางภาษาเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว(อารีสัณหฉวี,2537) (มยุรา วิริยเวช และคณะ ,2561)

ธรรมชาติและลักษณะของเด็กปฐมวัยคือเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาวที่พร้อมรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รอบตัว โดยเด็กช่วงอายุ 5-7 ปี จะมีลักษณะของพฤติกรรม ดังนี้ (Scott & Ytreberg, 1990)

1)   เด็กสามารถบอกหรือเล่าเรื่องที่พวกเขากำลังกระทำได้

2)   เด็กสามารถบอกเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาได้ทำ หรือได้ยิน

3)   เด็กสามารถวางแผนสิ่งที่จะทำ

4)   เด็กสามารถแสดงความเห็นเกี่ยวกับเหตุผลที่พวกเขาคิด หรือเขาทำอะไรได้

5)   เด็กสามารถใช้เหตุผลเชิงตรรกะ

6)   เด็กมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

7)   เด็กสามารถใช้รูปแบบน้ำเสียงที่หลากหลายในภาษาแม่ของพวกเขา

8)   เด็กสามารถเข้าใจในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เด็ก ๆ น่าทึ่งและมีสิ่งมากมายในชั้น

เรียนและเป็นครูที่ต้องการเรียนรู้วิธีจัดการสิ่งนี้ในชั้นเรียน (Ganga Ram Gautam, 2015)

 

กลวิธีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอายุ 3-8 ปี

จากธรรมชาติและลักษะเฉพาะของเด็กปฐมวัย ทำให้ครูผู้สอน หรือผู้ดูแลเด็กสามารถใช้กลวิธีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  โดยผู้เขียนขอนําเสนอเกี่ยวกับกลวิธีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยทักษะ การฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ทักษะการฟัง การฟังเป็นทักษะแรกที่สำคัญในระดับปฐมวัยที่ต้องฝึก เช่นเดียวกับการพูด การอ่านและการเขียน ผู้เรียนบางคนคิดว่าการฟังนั้นเป็น ทักษะที่ง่ายไม่จําเป็นต้องฝึกฝนก็สามารถฟังได้การฟังจะมีประโยชน์อย่างยิ่งก็ต่อเมื่อผู้ฟังรู้จักฟัง สิ่งสําคัญที่สุด สําหรับการฟังคือ ผู้ฟังต้องมีความตั้งใจเพื่อจะฟังให้เข้าใจและ สามารถโต้ตอบกับสิ่งที่ฟังได้ผู้สอนควรสอนทักษะ การฟังให้แก่ผู้เรียนอย่างสม่ําเสมอและเน้นการฟังอย่างหลากหลาย โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฟังเสียงของเจ้าของ ภาษาและสอนเสียงที่เป็นปัญหา รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกการฟังทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ครูผู้สอนต้องอธิบายเหตุผลหรือวัตถุประสงค์ในการฟังให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการฟังอย่างตั้งใจและประสบความสําเร็จในการฟัง สิ่งสําคัญเพื่อการฟังนั้นบรรลุวัตถุประสงค์การวัดและไม่เน้นการทดสอบ แต่ควรประเมิน ความสามารถในการฟังของผู้เรียนในแง่ของการประสบความสําเร็จในการสื่อสาร (อรรชนิดา หวานคง , 2559)

การสอนทักษะการฟังเป็นการพัฒนาความสามารถการฟังที่ต้องอาศัยระยะเวลาการฝึกฝนที่ต่อเนื่อง ไม่ใช่ เป็นทักษะที่จะเกิดขึ้นได้เองโดยอัตโนมัติ หน้าที่ ๆ สําคัญอันหนึ่งของครูผู้สอนภาษาคือ การนําเอาวิธีการหรือ เทคนิคที่จะฝึกการฟัง มาสอนผู้เรียน เพื่อให้นักเรียนได้เกิดประโยชน์ในการเรียนภาษาอังกฤษมากที่สุด โดยมี ลําดับขั้นตอนจากง่ายไปหายากดังนี้สุภัทรา อักษรานุเคราะห์ (2532, หน้า 56  ; อ้างถึงใน อรรชนิดา หวานคง , 2559 )

1.      เริ่มต้นด้วยการฟังคําเดี่ยว ฟังวลีและประโยค ซึ่งผู้สอนต้องสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนแสดงออก

ใน ลักษณะต่างๆ กันเช่น การปฏิบัติตามคําสั่ง วาดรูป เล่นเกม บอกทิศทางตามแผนที่ ทั้งนี้อาจให้สังเกตการเน้นหนัก เบาในคํา และระดับเสียงสูงต่ำในประโยค

2.      การฟังโดยพยายามเชื่อมโยงคําต่างๆ ที่ได้ยินเป็นกลุ่มที่มีความหมายเพื่อให้จําง่ายเช่น

พยายามสร้าง จินตนาการจากคําเป็นภาพอาจจะเป็นภาพที่สวยงามหรือตลกเพื่อให้จําสิ่งที่ฟังได้นานขึ้นและเกิดความสนใจที่จะ ฟังต่อไป

3.      การฟังเรื่องสั้นๆ ซึ่งอาจมีคําศัพท์และโครงสร้างที่ผู้เรียนมีความรู้เดิม โดยที่ผู้สอนให้สรุป

เหตุการณ์ว่า ใครทําอะไร ที่ไหน อย่างไร

4.      การฟังบทสนทนาหรือข้อความต่างๆ ควรเป็นบทสนทนาหรือข้อความที่ใช้ในชีวิตประจําวัน

และ เป็นธรรมชาติเพื่อให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับภาษาที่ใช้อยู่จริง

ทักษะการพูด

       ทักษะการพูดเป็นทักษะที่สำคัญในช่วงปฐมวัย และเกิดขึ้นโดยธรรมชาติก่อนทักษะการอ่านและการเขียน

เด็กจะมีช่วงเงียบ ที่เป็นช่วงเวลาที่เด็กเริ่มเรียนรู้การใช้ภาษา เพราะเด็กจะฟังและสื่อสาร กับผู้ ใหญ่โดยใช้ สีหน้าท่าทางก่อนที่จะเริ่มพูดได้จริงๆ เช่น เป็นช่วงที่เด็กกำลังทำความเข้าใจในการสื่อสารก่อนเริ่มพูดคำในภาษาอังกฤษ  ช่วงเริ่มพูดจะเป็นช่วงหลังจากเด็กได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไประยะหนึ่งแล้ว เด็กจะเริ่มพูดคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นพยางค์เดียว เช่น cat, dog, mom หรือประโยคสั้นๆ ที่ใช้บ่อยๆ เช่น What’s that?  It’s my book., I can’t.ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถี่ในการเรียนของเด็กด้วยเช่นกัน เด็กจะใช้วิธีจดจำและเลียนแบบการออกเสียงก่อนที่จะสามารถแต่งประโยคได้ด้วยตนเอง

       ทักษะการอ่าน

       เด็กเมื่อเริ่มอ่านหนังสือในภาษาแม่ของตนได้แล้ว เด็กก็มักที่จะอยากอ่านหนังสือภาษาอังกฤษได้บ้าง

เพราะเด็กเรียนรู้วิธีที่จะถอดความหมายของคำและจับใจความจากบริบทใกล้เคียงได้บ้างแล้ว และถ้าหากวิธีนี้ไม่ได้ช่วยในบริบทของภาษาอังกฤษ เด็กอาจใช้เทคนิค การถอดความหมายของคำตามวิธีในภาษาแม่ของพวกเขาและเริ่มอ่านหนังสือภาษาอังกฤษโดยออกเสียงเป็นสำเนียงภาษาแม่ของตนเอง แต่ก่อนที่จะสามารถเข้าใจภาษาอังกฤษได้เด็กต้องเรียนรู้ ชื่อและการออกเสียงพยัญชนะทั้ง 26 ตัวในภาษาอังกฤษก่อน เพราะแม้ว่าจะมีพยัญชนะเพียง 26 ตัว แต่ในภาษาอังกฤษมาตรฐานทั่วไปนั้นเราสามารถอ่านออกเสียงได้ถึงประมาณ 44 เสียง การสอนเด็กใน การอ่านเสียงที่เหลืออื่นๆ แนะนำให้ทำเมื่อพวกเขามีประสบการณ์ในการใช้และการอ่านภาษาอังกฤษมากขึ้นแล้ว  การอ่านภาษาอังกฤษสำหรับเด็กๆ จะกลายเป็นเรื่องง่ายถ้าพวกเขารู้ภาษาที่ตนเองกำลังพยายามอ่านอยู่ เด็กๆหลายคนสามารถฝึกอ่านภาษาอังกฤษได้ด้วยตัวเองถ้าพวกเขาอ่านหนังสือภาพไปพร้อมๆ กับผู้ปกครองหรือฝึกอ่านโคลงหรือเพลงภาษาอังกฤษซึ่งสามารถจดจำได้ง่าย การอ่านสิ่งที่เด็กเรียนรู้ได้ด้วยหัวใจเป็นกระบวนการที่สำคัญมากของการเรียนรู้ เพราะเด็กจะสามารถแปลความหมายของคำศัพท์ ได้ด้วยตัวเอง เมื่อเด็กรู้ จักคำศัพท์มากขึ้น พวกเขาก็จะอ่านได้มากขึ้น มั่นใจมากขึ้นและพร้อมที่จะสำหรับการเรียนรู้ในลำดับต่อไป (Britishcouncil ,

       ทักษะการเขียน

ถึงแม้การเขียนในเด็กปฐมวัยจะเป็นทักษะทางภาษาที่เกิดขึ้นหลังสุด แต่ครูผู้สอนไม่ควรละเลยทักษะการเขียน โดยไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การเขียนให้สวยงาม หรือการเขียนที่ถูกต้องสมบูรณ์ แต่เป็นการฝึกฝนทักษะการเขียนโดยเริ่มจากการขีดเขียนพยัญชนะตามอิสระ การเขียนตามความสนใจ กำรเขียนร่วมกันตำมโอกาส การเขียนอิสระ การเขียนคำที่มีความหมายกับตัวเด็ก/คำคุ้นเคย การคิดสะกดคำและเขียนเพื่อสื่อความหมายด้วยตนเองอย่างอิสระ เป็นต้น ทั้งนี้ในการส่งเสริมทักษะการเขียน ครูผู้สอน หรือพ่อแม่อาจใช้เทคนิคที่ทำให้เด็กสนุกกับการเขียน เช่นการจัดมุมการเขียน โดยมีบัตรคำ หรือบัตรภาพให้เด็กเรียนรู้ มีหนังสือนิทานภาษาอังกฤษสั้นๆ ให้เด็กฝึกอ่านและเขียนตามโดยมีตัวอักษะขนาดใหญ่ที่เหมาะสมกับระดับอายุ การเล่นเกมการเขียน เช่นการเติมอักษะที่หายไป เป็นการกระตุ้นให้เด็กสนใจการเขียนด้วยตนเอง ทั้งนี้หากเด็กไม่พร้อมที่จะเขียน ครูผู้สอนและผู้ปกครองไม่ควรบังคับ หรือตำหนิ ซึ่งส่งผลกระทบให้เด็กไม่ชอบภาษาอังกฤษหรือการเขียนในอนาคต

การสอน ESL ส่วนมากจะอาศัยทฤษฎีการได้มาซึ่งภาษาที่สอง (second language acquisition = SLA) ของ Stephen Krashen เป็นหลัก ทฤษฎี การเรียนรู้ภาษาที่สองของ Krashen มี ๕ ขั้นตอน (Jackson : ๒๐๐๖ ; อ้างถึงใน สุรศักดิ์ หลาบมาลา, 2016)

๑. การได้มาซึ่งภาษาที่สองเป็นกระบวนการ (SLA) เกิดในระดับ จิตใต้สำนึก (subconscious) และเป็นสัญชาตญาณ (intuition) เด็กเล็กจะ เรียนรู้ภาษาที่สอง หรือแม้แต่ภาษาแรกด้วยกระบวนการดังกล่าวแล้วอย่าง ง่ายดาย แต่เมื่อเรียนรู้รูปแบบของภาษา เช่น กฎ หรือไวยากรณ์ และมี ความตระหนักในกระบวนการทางภาษาของตน มิใช่สิ่งที่ง่าย ซึ่งเรียกว่า กระบวนนี้ว่าการเรียนรู้ภาษา (language learning)

๒. การติดตาม (monitor) ผู้เรียน จะตรวจสอบภาษาของตนโดยเจตนา (examine) เมื่อสภาพทางร่างกายและ สมองอยู่ในสภาวะที่จะทำได้ และจะเกิด ความเข้าใจในภาษามากยิ่งขึ้น

๓. การได้มาซึ่งภาษาที่สองของคน ทั่วไปมีลักษณะเป็นลำดับโดยธรรมชาตและสามารถทำนายได้และเป็นการดึงดูดความสนใจโดยธรรมชาติ Krashen เรียกขั้นนี้ว่า natural order hypothesis

๔. ขั้นตอนที่ ๔ เรียกว่า input hypothesis ซึ่งกล่าวได้ว่าถ้าหาก ผู้เรียนมีความรู้ภาษาที่สองในระดับ I และข้อมูลที่ได้รับหรือที่ครูสอนในระดับ สูงกว่าระดับ I บ้างเล็กน้อย หรือ i+I ผู้เรียนจะสามารถเข้าใจภาษาที่สอนได้ เกือบหมดจะเป็นภาษาพูดหรืออ่านจากเอกสารก็ตามความรู้ใหม่ในระดับ I+1 ควรจะสูงกว่าระดับ I เพียงพอที่จะเกิดความท้าทายให้การเรียนเกิด ความก้าวหน้า แต่ถ้ายากเกินไปอาจเกิดความท้อใจได้ ผู้เรียนจะสามารถสื่อสาร ด้วยภาษาใหม่ได้อย่างรอบรู้ (competent)

๕. ขั้นสุดท้ายเรียกว่า affective filter hypothesis กล่าวไว้ว่า เมื่อ ผู้เรียนเกิดอาการตั้งรับไม่อยากเรียนต่อไป หรือเกิดความกระวนกระวายใจ สิ่งเช่นนี้จะทำหน้าที่กรองข้อมูลหรือความรู้ ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจ ไม่สามารถจดจำบทเรียนได้

บทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมภาษาอังกฤษ

       ครูผู้สอน หรือพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กเนื่องจาก

บุคคลเหล่านั้นเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาทั้งการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนในกิจวัตรประจำวัน ดังนี้

1. ควรพูดให้ชัดเจน ออกเสียงให้ชัด พูดให้ถูกต้อง ไม่ล้อเลียนเด็กโดยการแกล้งพูดไม่ชัด หรือพูดภาษาของเด็ก และควรใช้ภาษาที่ซับซ้อนขึ้นตามลำดับเพื่อความก้าวหน้าทางภาษาของเด็ก
          2. ควรใช้ภาษาให้เหมาะกับวัยของเด็กและควรพูดกับเด็กบ่อยๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ จดจำคำศัพท์ได้มากขึ้น
          3. ควรแก้ไขข้อบกพร่องในการออกเสียงของเด็ก ทั้งในด้านการใช้คำและประโยค เพื่อกระตุ้นให้เด็กเลียนแบบแทนการตำหนิ ซึ่งอาจทำให้เด็กเกิดความคับข้องใจ ความเครียด และอาจนำไปสู่การพูดติดอ่าง หรือทำให้เด็กไม่ชอบการใช้ภาษาอังกฤษในอนาคต
           4. อ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นประจำ อย่างน้อยวันละประมาณ 15 นาที ในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง โดยมีภาพประกอบ มีการสนทนาซักถามโต้ตอบ
          5. จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าสนใจ มีมุมหนังสือ หนังสือภาพ หนังสือนิทาน วิทยุและสื่ออื่นๆที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษา สนใจภาษา และมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น

       พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญมาก ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่มีส่วน

เกี่ยวข้องกับเด็กในวัยนี้ ควรให้ความสนใจ เพื่อเป็นรากฐานในการนำความรู้ไปใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งบุคคลที่สำคัญกับเด็กปฐมวัย ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนครู อาจารย์ที่ทำหน้าที่ให้ความรู้แก่เด็ก ได้เข้าใจและนำความรู้ไปปฏิบัติต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง

มยุรา วิริยเวช ,วาสนา ศรีปรัชญาอนันต์  และพุทธชาด อังณะกูร. (2018). บทบาทของผู้ปกครองคนไทยในการส่งเสริมทักษะ การฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กปฐมวัย : กรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2561). หน้า 133-147

สุรศักดิ์ หลาบมาลา. (2016). การเลี้ยงลูกให้เรียนรู้สองภาษา. วารสารการศึกษาไทย. หน้า 41-46.

อรรชนิดา หวานคง. (2016). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวรปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2559), 7(2), 303–314. เข้าถึงจาก from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/184935

Gautam, Ganga. (2015). Teaching English to Young Children. Journal of NELTA Surkhet.

https://learnenglishkids.britishcouncil.org/sites/kids/files/attachment/parents-articles-how-young-children-learn-english-as-another-language-thai.pdf