การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัยเตาะแตะ

ตั้งแต่แรกคลอดนั้น บุคคลสำคัญในการทำหน้าที่ดูแลเด็กปฐมวัยคือ มารดาและครอบครัว

เด็กในช่วงทารกและวัยเตาะแตะนั้น   จะเป็นช่วงที่เด็กต้องการสร้างความรักความผูกพันกับแม่    เพื่อ

สร้างสายสัมพันธ์ (attachment) ที่ดี   ที่ทำให้ทารกเกิดความไว้วางใจ และเป็นการตอบสนองต่อความ

ต้องการด้านร่างกาย ขั้นพื้นฐานแรกสุดของมนุษย์ได้แก่การต้องการอาหารน้ำ การขับถ่าย การพักผ่อน

เป็นต้น   ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูในครอบครัว จึงมีความสำคัญมากในการส่งเสริมพัฒนาการ และการ

เรียนรู้ของเด็กในระยะนี้ สรุปได้ดังนี้ (กรมสุขภาพจิต , ม.ป.ป., น.10-15 ; )

 

             1. การส่งเสริมและดูแลเรื่องสุขภาพอนามัย

                          1) การดูแลในเรื่องภาวะโภชนาการ  เด็กในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 ปี  เป็นวัยที่มี

การเจริญเติบโตทางร่างกายทั้งน้ำหนักส่วนสูงและการเจริญของสมองอย่างรวดเร็วกว่าวัยอื่น  ดังนั้น

พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ควรเน้นการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าและปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ

ของเด็ก   อาหารที่สำคัญอย่างยิ่งของเด็กตั้งแต่แรกเกิดคือนมแม่    เนื่องจากเป็นอาหารที่ดีที่สุดของ

ทารกมีไขมันช่วยในการพัฒนาเซลล์สมองทําให้เด็กไม่ป่วยบ่อย  มีระดับสติปัญญามากกว่าเด็กที่ไม่ได้

นอกจากนี้ในขณะที่ลูกดูดนมแม่ แม่ควรพูดคุย สบตายิ้มแย้มให้กับเด็ก จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัส

ทั้งห้า ส่งเสริมพัฒนาการและความมั่นคง ทางอารมณ์ของเด็กได้เป็นอย่างดี

                          โดยทั่วไป  การกำหนดความต้องการพลังงาน และสารอาหารต่าง ๆ  ในทารก

และเด็กขึ้นกับ อายุ เพศ น้ำหนักตัว และระดับกิจกรรมการใช้พลังงานของร่างกาย ในช่วงแรกเกิดถึง

อายุ 6 เดือน ปริมาณความต้องการสารอาหารจะอ้างอิงจากปริมาณนมแม่ที่ทารกได้รับ   และอายุ 6

เดือนขึ้นไป   ทารกต้องการสารอาหารต่าง ๆ  เพิ่มขึ้น  จึงควรได้รับอาหารตามวัยควบคู่ไปกับนมแม่

องค์การอนามัยโลกได้ให้คำแนะนำว่า ทารกควรได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน   ซึ่งใน

นมแม่ 100 มิลลิลิตร   จะมีสารอาหารต่าง ๆ   ซึ่งพอเหมาะกับความต้องการของทารก  และนมแม่

แตกต่างจากนมผสมคือ นมแม่ ให้สารที่สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วย ช่วยพัฒนาเยื่อบุทางเดินอาหาร

ของทารก จึงป้องกันการเกิดโรคอุจจาระร่วงและพบว่า ทารกที่ได้นมแม่ไม่ค่อยเป็นโรคภูมิแพ้   หลัง

จากนั้นจึงให้เริ่มอาหารตามวัยควบคู่ไปกับนมแม่จนถึงเด็กอายุ 2 ปี

                          เด็กช่วงอายุ 1 – 6 ปี  ส่วนใหญ่จะไม่สนใจอาหาร  และไม่เจริญอาหารเหมือน

วัยทารก  เพราะจะมีความสนใจด้านอื่นมาเกี่ยวข้อง  เช่น  การสำรวจสิ่งแวดล้อม และสนใจการเล่น

มากกว่า นอกจากนี้ เด็กยังเริ่มเลือกรับประทานอาหารในสิ่งที่ตนเองชอบ  ดังนั้นผู้ปกครองควรสร้าง

สุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหารอย่างจริงจัง เด็กควรได้รับประทานอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ ใน

แต่ละหมู่ควรรับประทานหลากหลายชนิดวันละ 3 มื้อ  และดื่มนมเป็นอาหารเสริม  เพื่อให้เด็กได้รับ

ปริมาณสารอาหารที่มีประโยชน์ และช่วยในการเจริญเติบโตอย่างเต็มที

 

                                1.1) เทคนิคการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากความสำคัญของนมแม่ จึงมี

การรณรงค์เลี้ยงทารกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง   เพื่อให้แม่เข้าใจในการให้นมบุตรหลังคลอดมีเทคนิค

ดังนี้

                                       (1) หลังคลอด ควรให้แม่ได้อยู่กับลูกและลูกได้ดูดนมเร็วที่สุดภาย

ใน 1 ชั่วโมง  ใน 1-2 วันแรกหลังคลอด   น้ำนมจะมีลักษณะเป็นน้ำนมเหลือง  ที่เรียกว่า  หัวน้ำนม

(colostrums) ไม่ควรบีบทิ้ง แต่สามารถให้ลูกกินได้เนื่องจากมีสารที่ให้ภูมิคุ้มกันโรคในปริมาณสูง

                                       (2) ในวันแรก ๆ  ควรให้ลูกดูดนมที่เต้านมข้างละ 4-5 นาที   เพื่อ

กระตุ้นให้ฮอร์โมนโปรแลคติน (prolactin)  จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary gland)

ในสมองหลั่งเพิ่มขึ้นและฮอร์โมนนี้เอง จะไปกระตุ้นให้เต้านมแม่สร้างน้ำเพิ่มขึ้นขณะเดียวกันฮอร์โมน

ออกซิโตซิน  จากต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary gland) ในสมอง    จะหลั่งเพิ่มและไป

กระตุ้นให้ท่อน้ำนมในเต้านามแม่บีบตัวเพื่อขับน้ำนมออกมา

                                       (3) หลังคลอด 2-3 วันถัดไป  น้ำนมจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นควรให้

ลูกดูดนมนานขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เต้านมแม่สร้างน้ำนมอย่างต่อเนื่อง  ในทางปฏิบัติแนะนำให้ทารกดูด

นมแม่ทุก 2-3 ชั่วโมงต่อไปจึงค่อยปรับตามความต้องการของทารก

                                       (4) ก่อนให้นมลูกทุกครั้ง แม่ต้องล้างมือให้สะอาดใช้สำลีชุบน้ำต้ม

สุกเช็ดเต้านมให้สะอาด   แม่นั่งในท่าที่สบาย อาจใช้หมอนหรือเบาะรองที่ตักแม่  เพื่อช่วยพยุงให้ลูก

สามารถดูดนมได้อย่างสะดวก เมื่อลูกดูดนมอิ่แล้ว  ซึ่งจะสังเกตได้ว่าลูกมักจะเคลิ้มหลับ ให้แม่อุ้มลูก

พาดบ่า หรือ ตบที่หลังเบาๆ เพื่อไล่ลมจากกระเพาะอาหารช่วยให้ท้องไม่อืด

                                1.2) อาหารตามวัยสำหรับทารก (Complementary food) อาหารตาม

วัยหมายถึง อาหารอื่น ๆ นอกเหนือจากนมแม่ที่ให้เพิ่มเติมแก่ทารกที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป จุดมุ่งหมาย

ของการให้อาหารตามวัย   เพื่อช่วยให้ทารกมีการเจริญเติบโตเต็มตามศักยภาพ   เนื่องจากเมื่อทารก

อายุเพิ่มขึ้น  ความต้องการสารหารต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้นด้วย  การให้อาหารตามวัยที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่ง

เหลวเป็นการช่วย  ฝึกการเคี้ยวและการกลืนอาหารของทารก ช่วยให้เขาคุ้นเคยกับอาหารอื่น ๆ และ

เป็นการฝึกนิสัยการกินที่ดี   เมื่อทารกเข้าสู่วัยเด็กเล็ก อาหารตามวัยควรมีสารอาหารครบ 5 หมู่ คือ

มีอาหารที่เป็นข้าว-แป้ง ไข่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่าง ๆ และตับบดหรือสับละเอียดสลับกันไป ส่วนเต้าหู้

ถั่วต้มเปื่อยต่าง ๆ สามารถใช้แทนเนื้อสัตว์ได้บ้าง ควรเติมผักใบเขียวต่าง ๆ หรือผักสีเหลือง-ส้ม โดย

บดหรือสับละเอียดใส่ในส่วนผสมอาหาร เพื่อให้ทารกคุ้นเคยกับรสชาติของอาหารที่มีผัก   เมื่อทารก

อายุ 6 เดือนจะเริ่มมีฟันขึ้น   สามารถให้ผลไม้ต่าง ๆ  เนื้อนิ่มในระหว่างมื้ออาหาร  เช่น  กล้วย  ส้ม

มะละกอสุก ฯลฯ ผักผลไม้ให้วิตามินแร่ธาตุต่าง ๆ และช่วยให้ขับถ่ายสะดวก จึงควรจัดให้ทุกวัน

 

ตารางที่ 3 แนวทางการให้นมแม่และอาหารตามวัยสำหรับทารกแรกเกิดถึงอายุ 2 ปี

 

ช่วงอายุ
การให้นมแม่และปริมาณอาหารที่ทารกและเด็กควรได้รับใน 1 วัน
แรกเกิด-6 ขวบ
แนะนำให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียว
6 เดือนขึ้นไป
ให้อาหาร 1 มือ โดย 1 มื้อประกอบด้วย ข้าวบดละเอียด 3 ช้อนกินข้าว เพิ่มไข่แดงหรือเนื้อปลา 1 ช้อนกินข้าวหรือตับบด 1 ช้อนกินข้าว เนื้อสัตว์

ต่าง ๆ และตับเป็นแหล่งที่ดีของธาตุเหล็กและสังกะสี เติมผักใบเขียวหรือ ผักสีเหลือง-ส้ม เช่น ตำลึง ฟังทอง ½ ช้อนกินข้าว เติมน้ำมันพืช ½ ช้อนชา  ในอาหารที่ปรุงสุก เพื่อช่วยเพิ่มความเข้มข้นของพลังงานในอาหาร  ไขมัน จากน้ำมันพืช จะช่วย การดูดซึมวิตามินบางตัว เช่น วิตามินเอ วิตามินดี ฯลฯ ไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย ให้ผลไม้เสริม เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก

1-2 ชิ้นโดยบดละเอียด
7 เดือน
ให้อาหาร 1 มื้อ โดย 1 มื้อประกอบด้วย ข้าวบดละเอียด 4 ช้อนกินข้าว ให้ไข่ต้มสุก ½ ฟอง สลับกับตับบด 1 ช้อนกินข้าวหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อปลาหรือเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ 1 ช้อนกินข้าว เติมผักสุก เช่น ตำลึง ฟังทอง

1 ช้อนกินข้าว เติมน้ำมันพืช ½ ช้อนชา ในอาหารที่ปรุงสุก เพื่อช่วยเพิ่มความ เข้มข้นของพลังงานในอาหารให้ผลไม้เสริม เช่น มะละกอสุกหรือมะม่วงสุก 2 ชิ้น อาหารที่เตรียมควรมีลักษณะหยาบขึ้นเพื่อฝึกเด็กให้เคี้ยวอาหารดีขึ้น
8-9 เดือน
ให้อาหาร 2 มื้อ โดย 1 ประกอบด้วยข้าวสวยนิ่มๆ 4 ช้อนกินข้าว  

ให้ไข่ต้มสุก ½ ฟองสลับกับตับบด 1 ช้อนกินข้าวหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

เช่น เนื้อปลา หรือเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ 1 ช้อนกินข้าว เติมผักสุก เช่น 

ตำลึง ผักกาดขาว ผักหวาน ฟักทอง หรือแครอท 1 ช้อนกินข้าว

เติมน้ำมันพืช ½ ช้อนชาในอาหารที่ปรุงสุก เพื่อช่วยเพิ่มความเข้มข้นของ พลังงานในอาหาร ให้ผลไม้เสริม 1 มื้อ เช่น มะละกอ 3 ชิ้น หรือ

กล้วยสุก 1 ผล โดยบดหยาบ ๆ
10-12 เดือน
ให้อาหาร 3 มื้อ โดย 1 ประกอบด้วยข้าวสวยนิ่มๆ 4 ช้อนกินข้าว 

ให้ไข่ต้มสุก ½ ฟองสลับกับตับบด 1 ช้อน กินข้าวหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ 

เช่น เนื้อปลา หรือเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ 1 ช้อนกินข้าว เติมผักสุก 1½ ช้อนกินข้าว เติมน้ำมันพืช ½ ช้อนชา ในอาหารที่ปรุงสุก เพื่อช่วยเพิ่ม

ความเข้มข้นของ พลังงานในอาหาร ให้ผลไม้เนื้อ นิ่มเป็นอาหารว่าง

เช่น มะม่วงหรือ  มะละกอสุก 3-4 ชิ้น หรือส้มเขียวหวาน 1 ผล
13-24 เดือน
ให้อาหาร 3 มื้อ เป็นอาหารหลัก อาหารของเด็กจะคล้ายอาหารของผู้ใหญ่ แต่

เป็นอาหารที่ไม่รสจัดและไม่ควรเติมสารปรุงแต่งใด ๆ อาหาร 1 มื้อ ควรมีข้าว

สวยนิ่มๆ 1 ทัพพี เพิ่มโปรตีนโดยเติมไข่ หรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ 1 ช้อนกินข้าวเติม ผักใบเขียว หรือผักสีส้มเหลือ ½ ทัพพี เพื่อเสริมวิตามิน และแร่ธาตุประกอบ

อาหารโดยวิธีผัด ทอดหรือทำเป็นแกงจืด และยัง แนะนำให้เด็ก ดื่มนมรสจืด

วันละ 2-3 แก้ว (400-600 มิลลิลิตร)  เมื่อ อายุได้ 1½ ถึง 2 ปี เด็กจะเริ่มใช้ ช้อนตักอาหารกินได้ด้วยตนเอง จึงควรฝึกให้เด็กกินอาหารที่มีประโยชน์ โดย สอนบ่อย ๆ เช่น ประโยชน์ของผัก-ผลไม้ ที่ให้วิตามิน และ แร่ธาตุ เนื้อปลา จะให้โปรตีนทำให้ร่างกายแข็งแรง เด็กก็จะเริ่มเรียนรู้และ มีบริโภคนิสัยที่ดี ต่อไป ควรสร้าง บรรยากาศ และจูงใจเด็กให้ได้ลองกินอาหารใหม่ ๆ
 

ที่มา : วันทนีย์ เกรียงสินยศ และคณะ , 2559 , น.27-28

 

                                ดังนั้นในช่วงทารกแรกเกิด–6 ปี นมแม่ถือเป็นอาหารหลักของทารกเพราะ

มีสารอาหารและมีประโยชน์กับเด็กทารกอย่างเพียงพอ ส่วนการให้อาหารตามวัยเริ่มได้ตั้งแต่ 6 เดือน

ขึ้นไปควบคู่ไปกับนมแม่  โดยอาหารตามวัยควรมีสารอาหารครบ 5 หมู่ ถูกสุขอนามัยเพื่อเป็นการฝึก

นิสัยการกินที่ดี เมื่อทารกเข้าสู่วัยเด็กเล็ก

                    1.2 การดูแลสุขภาพปากและฟัน  การดูแลฟันเด็กควรเริ่มตั้งแต่แรกเริ่ม  ไม่จําเป็น

ต้องรอจนกระทั่งฟันนํ้านมซี่แรกขึ้น  ผู้ปกครองมีหน้าที่ในการเอาใจใส่ดูแลสุขภาพปากและฟันทั้งใน

ด้านการรักษาความสะอาดและการสอน   ให้เด็กเลือกรับประทานอาหาร  ที่ไม่ก่อให้เกิดสาเหตุของ

ฟันผุได้ง่าย  ดังนั้นควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์ครั้งแรก  เมื่อฟันซี่แรกเริ่มขึ้นอายุประมาณ 6 เดือน

ผู้ปกครองจะได้รับคําแนะนำ  ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่แรกเริ่ม  ทั้งทางด้านการทํา

ความสะอาดช่องปากหลังรับประทานอาหารหรือนม การพบทันตแพทย์อย่างสมํ่าเสมอ

แนวทางปฏิบัติ ในการดูแลสุขภาพปากและฟัน มีดังนี้

                          1) ใช้ผ้าชุบนํ้าสะอาดเช็ดฟันและกระพุ้งแก้มให้เด็ก อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและก่อนนอน

                          2) แปรงฟันให้เด็ก ด้วยแปรงสีฟันขนอ่อนนุ่ม เมื่อฟันขึ้นหลายซี่

                          3) สอนเด็กแปรงด้วยตนเองและผู้ปกครองแปรงซํ้า จนกว่าเด็กอายุประมาณ 6 ถึง 7 ปี  เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                          4) ควรให้เด็กดื่มนมแม่ แต่ถ้าเด็กกินนมผง นมผงไม่ควรมีลักษณะหวาน ถ้าจะ

ให้เด็กรับประทานอาหารเสริมที่มีลักษณะเหนียวข้นควรแปรงฟันให้เด็กหลังรับประทานอาหารเสริม

                          5) งดการดูดนมขวดและหลับไปพร้อมกับขวดนม

                          6) เลือกอาหารว่างที่มีประโยชน์  เช่น  ผลไม้  ถั่วต้ม หรือเนื้อสัตว์อบแห้งแทน ขนมหวาน

                          7) หมั่นตรวจและสังเกตฟันเด็ก โดยเปิดริมฝีปากเด็กดูฟันถ้าพบคราบสกปรก

ให้เช็ดหรือแปรงออกและ หากฟันสีขุ่นขาวหรือเปลี่ยนเป็นสีดำหรือมีรูผุ ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์

                          8) ควรพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก เพื่อรับคําแนะนำ

จากทันตแพทย์

                    1.3 การได้รับวัคซีน  การฉีดวัคซีนเด็กนั้น จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยของคุณ

ให้มีสุขภาพดีและไม่มีการติดเชื้อโรคได้ง่าย   พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรพาบุตรหลานไปรับวัคซีนตาม

กำหนดทุกครั้งตามสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เพื่อเป็นประโยชน์ในการติดตามการรับวัคซีนอย่าง

ครบถ้วน ตามกำหนด

                    คําแนะนําเกี่ยวกับการได้รับวัคซีน มีดังนี้

      1) วัคซีนบางชนิด จําเป็นต้องได้รับมากกว่า 1 ครั้ง  เพื่อกระตุ้นร่างกายสร้าง

ภูมิต้านทานได้สูงเพียงพอในระดับที่สามารถป้องกันโรคได้   ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรพาบุตรหลานไป

รับวัคซีนตามกำหนดนัดทุกครั้ง

                          2) เด็กที่เจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น หวัด ไอ หรือไข้ตํ่าสามารถรับวัคซีนได้

                          3) หลังได้รับวัคซีนบางชนิด เด็กอาจตัวร้อนเป็นไข้ ซึ่งจะหายได้ในเวลาอันสั้น

 ให้เช็ดตัว ดื่มนํ้ามาก ๆ และให้ยาลดไข้ตามคําแนะนำของแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

                          4) ถ้าเด็กเคยมีประวัติแพ้ยาหรือเคยมีอาการรุนแรงหลังได้รับวัคซีน เช่น ชัก

ไข้สูงมาก  ต้องแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขก่อนรับวัคซีนด้วย

                          5) แผลที่เกิดจากการรับวัคซีนป้องกันวัณโรค  อาจเป็นฝีขนาดเล็กอยู่ได้นาน

3-4 สัปดาห์  ไม่จําเป็นต้องใส่ยาหรือปิดแผล  เพียงใช้สำลีสะอาดชุบนํ้าต้มสุกที่เย็นแล้วเช็ดรอบ ๆ

แผล

 

              2.  การส่งเสริมเรื่องการเล่น การออกกําลังกาย และพักผ่อน

              การเล่นของเด็กเป็นวิธีการเรียนรู้อย่างหนึ่งโดยธรรมชาติ  การเล่นของเด็กที่แท้จริงต้อง

เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอย่างอิสระทั้งทางกาย ทางความคิดและทางสังคม เด็กจะมีความสุขเมื่อได้เล่น

ผู้ปกครองควรจัดเวลาและสถานที่ให้เหมาะสม    เพื่อให้เด็กได้มีการออกกำลังกายเคลื่อนไหว  เช่น

การคืบ การคลาน การเกาะ การเดิน หรือการวิ่ง ในที่โล่งกว้างบรรยากาศถ่ายเท และคำนึงถึงความ

ปลอดภัย เพราะการเล่นการออกกำลังกายมีความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทุก ๆ ด้าน ให้เด็ก

แต่ละวัยเกิดการเรียนรู้ มีความสนุกสนาน ได้สำรวจค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ได้แสดงออกเลียนแบบ ท่าทาง

ต่าง ๆ  ผู้ปกครองควรให้จัดกิจกรรมที่น่าสนใจให้เด็ก ๆ  สามารถเล่นและออกกำลังกายไปด้วย  ใน

ขณะเดียวกันหากเห็นว่าเด็กร่าเริงแจ่มใสสนุกเพลิดเพลินแสดงว่าการเล่นและออกกำลังกายของเด็ก

อยู่ในระดับพอดี ซึ่งจะเกิดผลดีทําให้เด็กคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง กล้ามเนื้อแข็งแรง ฝึกความคิด

สร้างสรรค์และเรียนรู้การแก้ไขปัญหาได้ดี   ทั้งนี้ควรให้เด็กอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่  และระมัดระวัง

การเล่นที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือการเลียนแบบที่อาจทําให้เด็กใช้ความรุนแรง เช่น การเล่นโลดโผน

เล่นรุนแรง การเลียนแบบที่ไม่ดี เช่น เล่นอาวุธหรือสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ที่สูง ใกล้ถนน ใกล้นํ้า

เป็นต้น  หลังจากการเล่นและออกกำลังกายแล้ว ควรมีเวลาพักผ่อนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ ซึ่ง

การนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

              ข้อเสนอแนะในการเลือกของเล่น

              1.  เลือกของเล่นที่ปลอดภัย  คงทน ไม่มีมุม หรือเหลี่ยมคม   ใช้สีที่ไม่เป็นพิษ  มีความ

แข็งแรงคงทน ทําความสะอาดได้ง่าย มีนํ้าหนักที่เหมาะสมกับเด็ก

              2.  ของเล่นเหมาะสมกับวัย สีสันสดใส  มีประโยชน์รอบด้าน และเด็กสามารถเรียนรู้ได้

หลากหลาย

              3. หลีกเลี่ยงของเล่นที่มีขนาดเล็กให้กับเด็กที่อายุตํ่ากว่า 3 ปี เนื่องจากเป็นวัยชอบหยิบ

ของเล่นเข้าปาก

              4. หลีกเลี่ยงของเล่นที่ส่งเสริมความก้าวร้าวรุนแรง เช่น ของเล่นที่เป็นอาวุธ

              5.  ของเล่นมีมาตรฐานความปลอดภัยโดยได้รับความปลอดภัยจากสถาบันที่ได้มาตรฐาน

เช่น มอก.

              6.  พ่อแม่อาจประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุที่มีในบ้าน  หรือการพูดคุย  เล่านิทาน ร้องเพลง

การทายปัญหา เล่นโยกเยก เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นตบแปะ เล่นซ่อนหาแบบง่าย ๆ  ให้เด็กรู้จักหาของเล่น ที่

เด็กชอบเล่น   โดยเอาผ้าห่มปิดไว้เมื่อโตขึ้นค่อยซ่อนในที่ที่หายากขึ้น  เด็กจะเรียนรู้ว่าสิ่งของต่าง ๆ

นั้น ยังคงมีอยู่แม้มองไม่เห็น เป็นต้น  โดยอยู่ในสายตาผู้ใหญ่ พูดชมเชยเมื่อเด็กทำสิ่งต่าง ๆ ได้

              7.  หาของให้เด็กจับและให้เด็กหัดคืบ คลานบนพื้นราบที่สะอาดปลอดภัย ควรเลือกของ

ที่มีขนาดพอเหมาะที่เด็กจะจับและถือได้อย่าใช้ของหลายอย่างเกินไปเพราะเด็กจะสับสน เมื่อคุ้นชิน

กับของชิ้นแรกจึงค่อยเริ่มชิ้นใหม่

              8.  จัดหาของที่มีสีสันสดใส และมีเสียง เวลาขยับแขวนไว้เหนือที่นอน เพื่อให้เด็กมองดู

เป็นการฝึกใช้สายตา  หรือจัดหาสิ่งต่าง ๆ เคลื่อนไหวให้เด็กดู  เล่นกลิ้งลูกบอลผ่านหน้า  หรือตั้งไม้

บล็อกสูงแล้วกลิ้งลูกบอลชนหรือแขวนโมบาย ฯลฯ

 

 

 

                        ภาพที่ 1 ของเล่นที่เสริมสร้างพัฒนาการเด็กทารก  

ที่มาhttps://www.momjunction.com/articles/toys-for-one-month-old-baby_00369015/#gref

 

              3.  การสร้างความผูกพัน ภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

              ระยะตั้งแต่อยู่ในครรภ์ถึงอายุ 5 ปี   เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุด ของการสร้างรากฐานชีวิต

จิตใจของมนุษย์  เด็กมีความรู้สึก รับรู้สัมผัสทั้งรูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัส และยังเลียนแบบตั้งแต่

แรกเกิด สิ่งกระตุ้นที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกแรกเกิดคือประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากความรักที่แม่มีต่อ

ลูก เด็กเล็ก ๆ เรียนรู้จากประสบการณ์การเลี้ยงดูและภาวะแวดล้อมได้เร็ว และฝังลึกในจิตใจ ดังนั้น

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่หรือผู้ปกครองก่อให้เกิดจุดเริ่มต้นของความผูกพัน ซึ่งผู้ปกครอง

สามารถสร้างความรักความผูกพันผ่านทางการให้อาหาร การสัมผัส โอบกอด เห่กล่อม สีหน้าอารมณ์

ของแม่การสื่อสารพูดคุย การมอง การร้องเพลง เล่านิทาน เล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกัน   ซึ่งสิ่งต่าง ๆ

เหล่านี้ จะช่วยสร้างสายสัมพันธ์ให้แก่เด็กทําให้เด็กเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง ส่งเสริมพัฒนาการ

ด้านอารมณ์ และพัฒนาทักษะทางสังคม  นอกจากนี้การเลี้ยงดูเด็ก  ส่งผลให้เด็กเป็นผู้ที่มีสติปัญญาดี

โดยการเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้ลูกฉลาดไม่ได้มีเคล็ดลับ เพียงเลี้ยงดูด้วยความรักความผูกพันที่พ่อแม่ลูกมี

ต่อกัน ก็สามารถกระตุ้นให้สมองลูกเกิดการสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองมาเชื่อมโยงเซลล์สมอง  ทำให้

สมองลูกพัฒนาได้ดียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ (ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ , 2543 , น. 55) เด็กจะเติบโตอย่างแข็งแรงใฝ่รู้

และใฝ่ดี  พร้อมที่จะพัฒนาตนเองเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต  ให้เป็นคนเก่ง คนดี  อยู่อย่างมี

ความสุข  และไม่ลืมที่จะเผื่อแผ่ความช่วยเหลือให้กับผู้อื่นในสังคมด้วย  ซึ่งจําเป็นต้องให้เวลาและเอา

ใจใส่อย่างสมํ่าเสมอ เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างกัน เกิดความมั่นคงทางจิตใจ  ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันทาง

จิตใจ จะมีความสำคัญต่อชีวิตของเด็กมาก

              4.  การระวังอุบัติเหตุและสารพิษ

              การที่สมองเด็กได้รับความกระทบกระเทือนแรง ๆ หรือ   ได้รับการกระแทกบ่อย ๆ จาก

อุบัติเหตุ จากการเล่นหรือจากการถูกจับเขย่าจะมีผลต่อสมอง  อาจทําให้สมองช้ากระทบต่อความจํา

และทักษะการเคลื่อนไหว ซึ่งขึ้นอยู่กับส่วนของสมองที่ได้รับการกระทบกระแทก เนื่องจากเนื้อสมอง

ที่ละเอียดและซับซ้อน เป็นส่วนที่เปราะบางเป็นพิเศษ  ในเรื่องของสารพิษ  สมองเด็กจะมีความเสี่ยง

ต่อสารพิษที่ละลายในนํ้า เช่น สารปรอท สารตะกั่ว ส่งผลอันตรายต่อสมองของเด็กเพราะทําให้สมอง

ถูกทําลายได้ ถ้าสมองถูกทำลายประสิทธิภาพในการเรียนรู้จะลดลงตามไปด้วย

                  4.1 การพลัดหกล้ม การชนกระแทก พ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูควรป้องกัน ดังนี้

                        1) ไม่วางเด็กบนที่สูงโดยลำพัง

                        2) ไม่มีความจำเป็นต้องใช้รถหัดเดินเพราะทำให้เด็กเดินช้า พลิกคว่ำได้ง่ายและ

ตกที่สูงได้ง่าย

                        3) ควรมีประตูกั้นที่บันไดที่สูงกว่าตัวเด็กและปิดกลอนไว้เสมอ

                        4) ซี่ราวบันไดและลูกกรงต้องมีช่องห่างไม่เกิน 9 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้เด็กรอดได้

                        5) หน้าต่างต้องอยู่สูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร เพื่อป้องกันเด็กปีนป่ายเอง

                        6) ควรระวังเด็กปีนป่ายหรือโหนชั้นวางของโต๊ะตู้ ควรมีอุปกรณ์ยึดติดกับกำแพง

เพื่อป้องกันการล้มคว่ำทับเด็ก

                        7) หมั่นตรวจสอบประตูรั้วบ้านโดยเฉพาะประตูเลื่อนที่น้ำหนักมาก เพื่อป้องกัน

 การล้มทับเด็ก

                  4.2 ความร้อนลวกและอันตรายจากไฟฟ้า

                        1) อย่าอุ้มเด็ก หรือให้เด็กนั่งตักขณะถือของร้อน

                        2) ติดตั้งปลั๊กไฟสูง 1.5 เมตร ให้พ้นมือเด็กหรือใช้อุปกรณ์ครอบปลั๊กไฟ

                        3) อย่าวางของร้อนบนพื้นหรือบนโต๊ะที่มีผ้าปูโต๊ะห้อยชาย

                        4) เก็บสายไฟ กาน้ำร้อนให้พ้นมือเด็ก

                        5) ต่อสายดินและเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ

                  4.3 อุบัติเหตุจราจร

                        1) ไม่ควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 9 เดือน โดยสารรถจักรยานและไม่ควรให้เด็กอายุ

น้อยกว่า 2 ปี โดยสารรถจักรยานยนต์

                        2) เด็กต้องสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อโดยสารรถจักรยาน หรือจักรยานยนต์

                        3) ควรติดตั้งที่นั่งสำหรับเด็กที่เบาะที่นั่งด้านหลังในรถยนต์ ถ้าอายุน้อยกว่า 2 ปี

ให้หันหน้าเด็กไปด้านหลังรถ หากเป็นรถไม่มีเบาะหลังให้ติดที่นั่งเด็กข้างเบาะคนขับและห้ามใช้ถุงลม

นิรภัย

                        4) อย่าทิ้งเด็กไว้ในรถคนเดียว และผู้ใหญ่ต้องตรวจสอบว่า  ลืมเด็กในรถทุกครั้ง

ก่อนลงจากรถ

                        5) ก่อนถอยรถหรือออกรถให้สำรวจทุกครั้งว่าไม่มีเด็กใกล้รถ

 

                สรุปว่า ในช่วงวัยทารกและวัยเตาะแตะ เป็นวัยที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ ด้วยความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดู รวมถึงการดูแลในเรื่องสุขภาพ อนามัย ความเจ็บป่วย  เพื่อเป็นพื้นฐานในส่งเสริมการเรียนรู้ที่ซับซ้อนขึ้นและพัฒนาการในขั้นต่อไป

 

 

เอกสารอ้างอิง

กรมสุขภาพจิต (ม.ป.ป). คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปีสำหรับผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ : กรม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546ก). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546. กรุงเทพ: กระทรวง.

ชนิกา ตู้จินดา. (2552). คู่มือเลี้ยงลูก. (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: รักลูกกรุ๊ป.

พัชรี ผลโยธิน และอรณี หรดาล. (2558). หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพัฒนาการและ

          การเรียนรู้ ของเด็กปฐมวัยในเอกสารการสอนชุดวิชาพัฒนาการและการเรียนรู้ของ

          เด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย

          สุโขทัยธรรมาธิราช.

วันทนีย์ เกรียงสินยศ, กิตติพร พันธุ์วิจิตรศิริ, อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์, ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล, 

          กุลพร สุขุมาลตระกูล,  ชนิพรรณ บุตรยี่,…. วรรณี นิธิยานันท์. (2559). องค์ความรู้ด้าน

          อาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

ณัฐภร อินทุยศ. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

          มหาวิทยาลัย.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. (2543). สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร (ฉบับพ่อแม่). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี). กรุงเทพฯ: กระทรวง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทบาทของพ่อแม่ครูพี่เลี้ยงและผู้ดูแลเด็กในการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สักนักงาน.

สุขจริง ว่องเดชากุล. (2558). หน่วยที่ 2 การเจริญเติบโตพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ในเอกสาร

          การสอนชุดวิชาสุขภาวะเด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์

          สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Manjiri Kochrekar. (2017, 5 April). Baby’s toys. Retrieved from https://www.momjunction.com/articles/toys-for-one-month-old-baby_00369015/#gref