การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย

การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า 

         1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน  พบว่า บทเพลงที่เป็นความต้องการในการเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยของครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับมากที่สุด มีเพียง 3 บทเพลง คือ เพลงลาวดวงเดือน(  = 4.55, S.D. = 0.74) เพลงแขกต่อยหม้อ เถา(  = 4.54, S.D. = 0.76) และเพลงสุดสงวน เถา(  = 4.52, S.D. = 0.72) ซึ่งเพลงลาวดวงเดือน สองชั้น เพลงแขกต่อยหม้อ เถา มีลักษณะเป็นเพลงบังคับทาง การปฏิบัติทักษะเครื่องดนตรีต่างๆ จะใช้ทำนองที่มีความคล้ายคลึงกัน จึงอาจทำให้ทำนองเพลงไม่เอื้อต่อการเรียนรู้เทคนิคเฉพาะและทำนองเพลงเฉพาะทางของเครื่องดนตรีได้อย่างหลากหลาย แตกต่างจากเพลงสุดสงวน เถา ที่มีลักษณะเป็นเพลงทางพื้น ซึ่งเอื้อต่อการแปรทำนองจึงส่งผลให้สามารถเรียนรู้เทคนิคเฉพาะ และทำนองเพลงเฉพาะทางของแต่ละเครื่องดนตรีได้ ผู้วิจัยจึงกำหนดบทเพลงที่ใช้ในการฝึกอบรมในหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย คือ เพลงสุดสงวน เถา

          2. ผลการสร้างหลักสูตร โดยหลักสูตรประกอบด้วยสภาพปัญหาและความจำเป็น หลักการของหลักสูตร เป้าหมายของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมและระยะเวลา สื่อการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรม แนวทางการฝึกอบรม และการประเมินผลและเครื่องมือที่ใช้ ซึ่งทำนองเพลงที่นำมาใช้ในการสร้างหลักสูตรได้ผ่านการประเมินความเหมาะสมของทำนองเพลงรายเครื่องดนตรี และการประเมินความเหมาะสมของทำนองเพลงในลักษณะของการบรรเลงรวมวง โดยหลักสูตรฝึกอบรมมีหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 10 หน่วยการเรียนรู้ คือ (1) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย (2) หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติฆ้องวงใหญ่ในบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย (3) หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติฆ้องวงเล็กในบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย (4) หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติระนาดเอกในบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย (5) หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติระนาดทุ้มในบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย (6) หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติจะเข้ในบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย (7) หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติซอด้วงในบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย (8) หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติซออู้ในบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย (9) หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 การฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติขลุ่ยเพียงออในบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย และ (10) หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 การฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการขับร้องในบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของหลักสูตรฝึกอบรม(ฉบับร่าง) และความเหมาะสมสอดคล้องของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย ได้แก่ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยก่อนและหลังการฝึกอบรม และแบบประเมินทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยของผู้เรียนซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากผู้เข้ารับการฝึกอบรม แบบสอบถามความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย พบว่า ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรมีความเหมาะสมสอดคล้องกัน

          3. ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า การกำหนดระยะเวลาการฝึกอบรมควรปรับเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่นของระยะเวลาในการฝึกอบรมในหน่วยการเรียนรู้ โดยปรับลดจำนวนชั่วโมงในหน่วยการเรียนรู้ 2 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 และหน่วยการเรียนรู้ที่ 10 

          4. ผลการประเมินหลักสูตร ซึ่งเป็นการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย พบว่า         

             4.1  ทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยก่อนการฝึกอบรมอยู่ในระดับสูง(  = 5.98, S.D. = 1.42) และหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับสูง(  = 7.52, S.D. = 0.60) โดยผลการประเมินทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยหลังการฝึกอบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

             4.2 ความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด(  = 4.78, S.D. = 0.42)

             4.3  ความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยโดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด(  = 4.84, S.D. = 0.37)

             4.4  ทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยของผู้เรียน ก่อนได้รับการถ่ายทอดจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมอยู่ในระดับปานกลาง(  = 4.24, S.D. = 1.44) และหลังได้รับการถ่ายทอดจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมอยู่ในระดับสูง(  = 7.06, S.D. = 0.83) โดยผลการประเมินทักษะการปฏิบัติบทเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยของผู้เรียน หลังได้รับการถ่ายทอดจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับการถ่ายทอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05