การพัฒนาผลิตภัณฑ์จังหวัดสมุทรสาคร: หมี่กรอบช่างสำรวจ 26

The development of Samut Sakhon Province Product: Mee Krob Chang-Sum-Roj 26

นางสาวอาภา วรรณฉวี[1], ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิมพ์พิไล ไทพิทักษ์[2], ผู้ช่วยศาสตราจารย์นเรศ นิภากรพันธ์[3], นางสาวอารยา แสงมหาชัย[4], ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตุลยราศรี ประเทพ[5], นางสาวมนัสวี พัวตระกูล[6], นางสาวธีร์วรา บวชชัยภูมิ[7], และ ดร.พรรณา ศรสงคราม[8]

 

บทคัดย่อ

                งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการณ์ทางธุรกิจของผลิตภัณฑ์หมี่กรอบช่างสำรวจ 26 อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร และ 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์หมี่กรอบช่างสำรวจ 26 อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่ศึกษาเนื้อหาในประเด็นสภาพการณ์ทางธุรกิจของผลิตภัณฑ์หมี่กรอบช่างสำรวจ 26 โดยการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ คู่แข่ง กลุ่มเป้าหมาย ศักยภาพภายในและภายนอกของธุรกิจ และกำหนดแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์หมี่กรอบช่างสำรวจ 26 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การสัมภาษณ์     เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการระดมสมอง (Brainstorming) ร่วมกันระหว่างคณะผู้วิจัยและผู้ประกอบการ ผลวิจัยพบว่า สภาพการณ์ทางธุรกิจของผลิตภัณฑ์หมี่กรอบช่างสำรวจ 26 มีลักษณะการประกอบธุรกิจแบบธุรกิจครอบครัวที่มีเจ้าของคนเดียว ผลิตภัณฑ์มีรูปลักษณ์ตราสินค้าที่ยังไม่แตกต่างจากคู่แข่ง รสชาติดี ราคาขายปานกลาง ขนาดสินค้ามีหลากหลาย การบริการให้กับผู้บริโภคยังน้อย มีคู่แข่งเฉพาะในจังหวัดหลายราย กลุ่มเป้าหมายใหม่ที่ผู้ประกอบการต้องการคือวัยรุ่นและวัยทำงาน ศักยภาพภายในของธุรกิจยังมีเรื่องที่ควรปรับปรุงในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การเงิน และการผลิต ศักยภาพภายนอกของธุรกิจยังมีโอกาสในการขยายช่องทางการตลาด การเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่ และกำหนดแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เรียงตามลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วน และความเป็นไปได้คือ การพัฒนาฉลากโภชนาการ การพัฒนาตราสินค้าใหม่ และพัฒนาการสื่อสารแบรนด์เบื้องต้น

คำสำคัญ: การพัฒนาผลิตภัณฑ์, หมี่กรอบ

[1] นางสาวอาภา วรรณฉวี สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา  [2] ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิมพ์พิไล ไทพิทักษ์ สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา  [3] ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นเรศ นิภากรพันธ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา  [4] นางสาวอารยา แสงมหาชัย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา  [5] ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตุลยราศรี ประเทพ สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา  [6] นางสาวมนัสวี พัวตระกูล สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการจัดการ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา  [7] นางสาวธีร์วรา บวชชัยภูมิ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา  [8] ดร.พรรณา ศรสงคราม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา  

 

ABSTRACT

This study aims to investigate the business condition and identify the stages of product development on local product called “Mee Krob Chang-Sum-Roj 26” which is the brand of crispy noodle snack based in Kratumban, Samut Sakhon Province.  The study applies the qualitative study as the research method by analyzing the product, competitors and target groups including internal and external proficiencies of this local entrepreneur in order to define the stages of product development. Three different methods of data collection are used in this study which comprised of in-depth interview, focus group and brainstorming. The finding indicates that “Mee Krob Chang-Sum-Roj 26” is the family business and single or sole proprietor business. The brand logo is quite similar to other competitors. Although, the snack tastes delicious, the price is reasonable and the product sizes are various, but it can easily be substituted by other local brands. This is because there are few service channels for customers, but there are many rivals in the same particular area.  From the data analysis, the result suggests that Chang-Sum-Roj 26 should set new target group to teenagers or working people. Besides, there are internal proficiencies that should be improved as product differentiation, marketing, human resource management along with financial and production. Meanwhile, the external proficiencies such as increasing the marketing channels should be considered in order to gain new customer engagement. From this study, the possible way for urgently product development could be performed by the following processes which are creating nutritious label, transforming brand logo and basic brand communicating.

Keywords: Product Development, Mee krob

 

บรรณานุกรม

อาภา วรรณฉวี พิมพ์พิไล ไทพิทักษ์ นเรศ นิภากรพันธ์ อารยา แสงมหาชัย ตุลยราศรี ประเทพ มนัสวี พัวตระกูล ธีร์วรา บวชชัยภูมิ และพรรณา ศรสงคราม. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จังหวัดสมุทรสาคร: หมี่กรอบช่างสำรวจ 26. The 4th International Multiconference of Management Science 2020 (IMMS 2020), 30 July, 2020, Bangkok, Thailand.