การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณและคณะ. (2562).การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม,18(2), 61-78.

http://culture.bsru.ac.th/wp-content/uploads/2019/12/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%8818-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2%E0%B8%9B%E0%B8%B52562.pdf

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Product Development: Souvenirs from Laos Ethnic Groups’ Weaving Textiles, U-thong District, Suphanburi Province

สุปราณี ศิริสวัสดิ์ชัย / Supranee Siriswattchai ๑ วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์ / Wisit Potiwat ๒ อารยา วาตะ / Araya Wata ๓ อารียา จุ้ยจำลอง / Areeya Juichamlong ๔ พัชนี แสนไชย / Patchanee Sanchai ๕ เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ / Saowalak Srisuwan ๖

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึกจากผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ๑) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ๒) แบบข้อคำถามในการสนทนากลุ่ม และ ๓) แบบประเมินผลความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าทอ ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว โดยนักวิชาการ ผู้ที่อาศัยในชุมชนลาวครั่ง ลาวเวียง ลาวโซ่ง และ นักท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า ๑. อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีดังนี้ ๑) ลาวเวียง มีสีอัตลักษณ์ คือ น้ำเงินสด การสร้างลวดลายผ้า ใช้เทคนิคการจกและขิด ลาวเวียงมีความเชื่อมโยงของความเชื่อกับ ลักษณะของลายทอ โดยจะไม่นำลายทอที่ใช้ในส่วนของตีนซิ่นซึ่งอยู่ต่ำมาใช้เป็นลวดลายของผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกายที่อยู่สูงกว่าเอว ๒) ลาวครั่ง มีสีอัตลักษณ์ คือ สีแดง ใช้เทคนิคการจกผ้าในการทอช่วงตีนซิ่น ๓) ลาวโซ่ง มีสีอัตลักษณ์ คือ สีดำ ส่วนอัตลักษณ์ ของผ้าทอคือ ผ้าซิ่นแตงโม เทคนิคการสร้างลายด้วยวิธีการพับผ้าสีต่าง ๆ แล้วสอยให้เกิด ลวดลาย และวิธี “เอื่อแส่ว” คือ การปักสอดเส้นด้ายด้วยลวดลายต่าง ๆ ลงบนผ้าพื้นสีดำ ๒. แนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก คือ ๑) แนวคิดที่นำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างคุณค่า ๒) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ๓) ความงดงามและส่งเสริมรูปแบบการใช้ชีวิต และ ๔) ประโยชน์ใช้สอยที่ดีนำไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ๒ ชุด คือ ชุดเครื่องประดับ และชุดเครื่องใช้ ๓. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๓ คน ผู้ที่อาศัยในชุมชนลาวครั่ง ลาวเวียง และลาวโซ่ง จำนวน ๓๐ คน และ นักท่องเที่ยว จำนวน ๓๐ คน ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ผ้าทอ กลุ่มชาติพันธุ์ลาว อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Abstract

The research titled “Product Development: Souvenirs from Laos Ethnic Groups’ Weaving Textiles, U Thong Suphan Buri” aims to study the identity of souvenirs from Laos Ethnic Groups’ Weaving Textiles in U Thong District, Suphan Buri and to design souvenirs from Laos Ethnic Groups’ Weaving Textiles in U Thong District, Suphan Buri. The research instrument are 1) in-depth interview forms 2) group conversation questionnaire forms and 3) satisfaction survey forms about souvenirs from Laos Ethnic Groups’ Weaving Textiles. The respondents are academics, local people in Laos Krang, Laos Vieng, and Laos Soung community, and tourists. The findings are as follows: 1.The identity of Laos Ethnic Groups’ Weaving Textiles, U Thong, Suphan Buri are as follows: 1) Laos Vieng’s distinctive color is bright blue. The pattern creation techniques used are Discontinuous Supplementary Weft and Continuous Supplementary Weft. Laos Vieng’s belief is tied to the woven pattern; the pattern used in the lower part of the sarong is not used in any products designed to be worn higher than waist. 2) Laos Krang’s distinctive color is red. The Discontinuous Supplementary Weft technique is used to create pattern in the lower part of the sarong. Nowadays, Laos Krang locals in U Thong District no longer weave. 3) Laos Soung’s distinctive color is black. The distinctive characteristic of the textile is Tang-Mo patterned sarongs (stripe pat- tern). The patterns are created by folding multicolor fabrics and stitching patterns, and by “Auey Saew” technique which is the stitching patterns with threads on to black fabrics. 2.The process includes data collec- tion, analyzation, product designing, data checking, and presentation. The concepts of the design are 1) making use of cultural capital 2) creativity 3) aesthetics and lifestyle promotion and 4) utility. All of which lead to two sets of product designs which are accessories and appliance. 3. Satisfaction assessment results of three experts and locals who live in Laos Krang, Laos Vieng, and Laos Soung community, and 30 tourists show that the satisfaction level towards souvenirs from Laos Ethnic Groups’ Weaving Textiles in U Thong District, Suphan Buri is at the very satisfied scale.

Keywords : Development of Souvenir, Woven Fabrics, Laos Ethnic Groups, U-thong District, Suphanburi Province