การตรวจคุณภาพฟิล์มเลือด (blood smear examination)

การศึกษาโรคเลือดมักมีการวินิจฉัยโดยฟิล์มเลือด ร่วมกับอาการทางคลินิก เพราะฉะนั้น ฟิล์มเลือดที่ใช้ในการช่วยวินิจฉัยโรคจึงจำเป็นต้องมีคุณภาพที่ดี สามารถอ่านผลได้อย่างชัดเจน เพื่อทำให้มีการแปลผลได้อย่างไม่มีความคลาดเคลื่อน ห้องปฏิบัติการจะนำฟิล์มเลือดที่เตรียมแล้วไปย้อมสีแล้วนำมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ตั้งแต่กำลังขยายต่ำสุดถึงกำลังขยายสูงสุด (10X-100X) ที่ตำแหน่งเหมาะสมบริเวณเซลล์เม็ดเลือดแดงกระจายตัวเรียงเดี่ยว ซ้อนทับกันไม่เกิน 3–5 เซลล์ เรียกว่า “Representative area หรือ standard area” ทำการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 10X (low power lens) เพื่อตรวจสอบการติดสีของเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์เกร็ดเลือดว่ามีการติดสีที่ถูกต้องหรือไม่ ต่อมาการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 40X (high power lens) ศึกษาการกระจายตัวของเซลล์เม็ดเลือด และประเมินจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวทั้งหมดอย่างคร่าว ๆ สุดท้ายการศึกษาแยกชนิดของเม็ดเลือดขาวรวมถึงการประมาณจำนวนเกร็ดเลือด ความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาว เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์เกร็ดเลือด หรือความผิดปกติที่แปลกปลอมเพิ่มเติมมาจะทำการศึกษาในกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 100X (oil power lens)

การตรวจคุณภาพฟิล์มเลือด (blood smear examination)