โลจิสติกส์กับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชาวต่างชาติ

บทคัดย่อ
ปัจจุบันโลจิสติกส์ได้เข้ามามีอิทธิพลในด้านธุรกิจ ด้านอุตสาหกรรม
ด้านการบริการและด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก
เรื่องของการท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นแหล่งที่มาของรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศ
ทั้งยังช่วยสร้างอาชีพและการจ้างงานอย่างกว้างขวางและมีการให้บริการด้านอื่น ๆ ที่ควบคู่กับการท่องเที่ยว เช่น
โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านขายของชำร่วย บริษัทฯนำเที่ยว (ทัวร์) และมีธุรกิจทางอ้อม เช่น
การเที่ยวชมสถานที่ต่าง ๆ ทางวัฒนธรรม วัดวาอาราม ตลาดน้ำ ศูนย์ท่องเที่ยวอื่น ๆ ทั้งนี้
การให้บริการที่เป็นปัจจัยรอบด้านของการท่องเที่ยวนั้น ต้องใช้เรื่องของโลจิสติกส์ที่เป็นเครื่องมือขับเคลื่อน
ด้วยการเคลื่อนย้ายนักท่องเที่ยวจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การสัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ
การจัดการโลจิสติกส์ที่ดีจึงเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้บริการท่องเที่ยวไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ
โดยเฉาพะการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในเชิงวัฒนธรรมยิ่งเป็นส่วนที่ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความประทับใจ
มากขึ้น บทความนี้ได้นำเสนอกระบวนการโลจิสติกส์กับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศษ
จำนวน 100 คน ที่นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ บริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้เข้ามามีส่วนร่วมจัดกิจกรรมกับบริษัท ไทเทรเวิล พลัส
เพื่อการวางแผนกำหนดเดินทางที่เกี่ยวข้องระหว่าง โลจิสติกส์กับจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมใน 1 วัน
คำสำคัญ การจัดการโลจิสติกส์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ธุรกิจนำเที่ยว
บทนำ
โลจิสติกส์ในช่วงสองทศวรรษนี้ได้กลายเป็นที่รู้จักในความหมายของ“การบริการภาคการขนส่ง”
ของวัตถุดิบ อะไหล่ สินค้าสำเร็จรูปและอื่น ๆ
มีการเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งในกรอบของความต้องการของโรงงาน ร้านค้า ลูกค้า เป็นต้น
ความสับสนของคนทั่วไป ยังคงเข้าใจว่าเป็นเรื่องของขนส่ง ซึ่งไม่ได้ผิดที่จะกล่าวแบบนั้น
แต่ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในกิจกรรมโลจิสติกส์จะเหมาะสมมากกว่า เพราะ
โลจิสติกส์ได้แทรกอยู่ทุกกระบวนการเริ่มตั้งแต่ การจัดซื้อวัตถุดิบ การผลิต การเก็บสต็อก การจัดส่ง
หรืออาจเป็นลักษณะซื้อมาขายไป พร้อมทั้งการบริหารจัดการในเรื่องของเอกสาร การเงินและข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
ตามเงื่อนไขความต้องการของลูกค้า จึงนับได้ว่าโลจิสติกส์อยู่รอบตัวทั่วไป ในการคลื่อนย้านสินค้า
การเคลื่อนย้ายคนสู่การเดินในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ตัวเลขการรายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี

2561 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2561) กล่าวว่า
สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ณ ราคาประจำปีร้อยละ 13.9 สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP
เฉลี่ยของโลกในปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 10.6
โดยประเทศในทวีปอเมริการเหนือและยุโรปมีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP อยู่ในระดับต่ำที่สุดร้อยละ 8.6
และ 9.5 ตามลำดับ ในขณะที่ ประเทศไทยในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกมีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP
เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 12.7 ดังนั้น สัดส่วนต้นทุนร้อยละ 13.9 มีความหมายว่า ในทุก 100 บาท
จะมีสัดส่วนต้นทุนร้อยละ 13.9 ในสินค้านั้น ๆ เช่น การผลิตแก้ว 1 ใบ มิใช่เพียงค่าแก้ว
แต่จะหมายรวมถึงเรื่องของการจัดการคลังสินค้า การจัดเก็บ การบริหารขนส่ง รวมถึงต้นทุนของการเสียหาย
เสียเวลาต่าง ๆ ที่อยู่ในแก้วใบนั้น ถึงร้อยละ 13.9 ทำให้ผู้คนบริโภคต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงขึ้น
จากที่กล่าวมาพบว่า
การขนส่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโลจิสติกส์แต่เป็นกิจกรรมที่เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดด้วยการผันเปลี่ยนตามราคา
น้ำมัน (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2562) เพราะภาคขนส่งใช้น้ำมันเป็นต้นทุน ถึงร้อยละ 45
ถ้ายิ่งราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นยิ่งมีแนวโน้มของต้นทุนโลจิสติกส์เพิ่มมากขึ้นตาม
กอปรกับอัตราดอกเบี้ยของการทำธุรกิจจะมีผลต่อการเพิ่มต้นทุนโลจิสติกส์เช่นกัน จึงชี้ชัดว่า
การขนส่งถึงมีบทบาทมากในโลจิสติกส์แต่โลจิสติกส์มีขอบเขตมากเกินกว่าการขนส่ง เพราะเริ่มตั้งแต่การจัดซื้อ
จัดหา การผลิต การจัดเก็บ สินค้าคงคลัง การขนส่ง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการบริหารจัดการ
การวางแผน การดำเนินงาน การประสานงาน การปฏิบัติ การควบคุม
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการตอบโจทย์หลายด้านของลูกค้า นำไปสู่การบริการด้วยคุณภาพ

การจัดการโลจิสติกส์คืออะไร
มีผู้ให้คำนิยามคำว่า โลจิสติกส์มากมาย
ขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของผู้นิยามที่อาจมาจากสายผลิต สายการขนส่ง คลังสินค้า ผู้นำเข้าส่งออก
แต่ความหมายโดยรวมพอสังเขปได้ดังนี้
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์ (2550: 19) โลจิสติกส์ คือ
การออกแบบและการจัดการระบบการควบคุมการเคลื่อนย้ายหรือการไหลของสินค้าและข้อมูลจากต้นทางบริษัทแ
ละออกจากบริษัทฯ ไปยังลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
มีการครอบคลุมกิจกรรมและกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าทั้งหมดทุกระดับและมีขั้นตอนการปฏิบัติแบบเชิงระบบ
Barratt. M (2004: 4) เป็นกระบวนการวางแผน การปฏิบัติการและการควบคุม การเคลื่อนย้าย
การจัดเก็บสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการให้บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง

ตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงจุดการบริโภคสินค้า เพื่อวัตถุประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
Douglas M Lambert (2008: 15) กล่าวว่า
เป็นระบบการจัดการส่งสินค้าจากจุดต้นทางไปยังจุดปลายทาง โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการผสมผสานของข้อมูล
การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ
และโลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่
กล่าวโดยสรุป พบว่า การจัดการโลจิสติกส์ คือ การวางแผน การออกแบบ การปฏิบัติของการเคลื่อนย้าย
จัดเก็บ รวบรวม การกระจายของวัตถุดิบ สินค้า ข้อมูล บริการ จากบริษัทฯ ต้นทาง ผลิตให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป
ไปยังลูกค้าปลายทาง
ในยุคปัจจุบัน การประยุกต์การจัดการโลจิสติกส์เข้าสู่งานอุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมถึง
โลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย
สร้างรายได้มหาศาลและขยายต่อไปในธุรกิจอื่น ๆ ได้แก่ โรงแรม ที่พัก ภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านเครื่องประดับ
ร้านจำหน่ายของที่ระลึก การใช้หลายรูปแบบของการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ
เพื่อการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว
อำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สามารถเชื่อมโยงกับรู
ปแบบการเดินทางอื่น ๆ ได้ (แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 : 2560 – 2564)
ด้วยหนึ่งในวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์ คือ การเติบโตบนพื้นฐานของความเป็นไทย
เป็นการเน้นพัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์และวิถีไทย
เสริมสร้างความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนถึงอัตลักษณ์ของความเป็นไทย
เสริมสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและการเป็นเจ้าบ้านที่ดีสำหรับประชาชนทุกระดับ
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตามหลักการของแผนแม่บทของโลก (Agenda: 21) (สำนักงานคณะกรรม-
การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2546) เป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยังยืน (Sustainable Tourism
Development) มีหลักการ 4 ประการ 1)
การดำเนินกิจการท่องเที่ยวในขอบเขตความสามารถการรองรับของธรรมชาติ ชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี
วัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว 2)
การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชน ขนบธรรมเนียม วัฒนรธรรมประเพณี
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน (เอกลักษณ์และอัตลักษณ์) 3)
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวช ชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม
และวิถีชีวิตที่มีต่อการท่องเที่ยว 4) การประสานความต้องการและกำหนดแผนงานทางเศรษฐกิจ
การดำรงอยู่ของสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

(สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว, 2549: ออนไลน์) การวางแผนตามแผนแม่แบบสอดคล้องกับสิ่งที่มนุษย์สนใจ
จึงกลายเป็นหนึ่งในตารางของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มาจากความต้องการของมนุษย์ที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมข
องชนชาติ การดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากตนเอง อย่างไรก็ตามเพื่อสร้างความเข้าใจ เรื่องของ
โลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่หมายถึงกระบวนการจัดการให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงแหล่งท่องเที่ยวตา
มตารางที่กำหนดไว้ด้วยความสนุกสนาน และสนใจในเชิงวัฒนธรรมที่สามารถสัมผัสได้โดยตรง

การท่องเที่ยวคืออะไร
การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มนุษย์สามารถที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยความสุขสนุกสนาน
การท่องเที่ยวเป็นกระบวนการนันทนาการรูปแบบหนึ่ง
การเดินทางจากที่หนึ่งไปยังแหล่งท่องเที่ยวในบรรยายกาศใหม่ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อน
หาประสบการณ์ที่ไม่เคยพบเห็นในชีวิตประจำวันในภูมิลำเนาของตนเอง ทำให้ได้เรียนรู้จากสถานที่ต่าง ๆ
มีการพักค้างแรมในสถานที่นั้น ๆ เป็นการชั่วคราวด้วยความสมัครใจ
ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพหรือหารายได้ (McIntosh & Goeldner & Ritchie , 1995, สุรเชษฏ์
เชษฐมาส, 2541: 2, ฉลองศรี พิมลสมพงษ์, 2548: 4)
องค์ประกอบของการท่องเที่ยว
แมคอินทอช, โกลดเนอร์, และริทชี (1995) ได้แบ่งองค์ประกอบของการท่องเที่ยว มี 4
ประการที่มีความสัมพันธ์กันเป็นวงจรดังนี้
1. กลุ่มนักท่องเที่ยว มีความสำคัญที่สุด ถ้าปราศจากนักท่องเที่ยวไม่สามารถกระทำใด ๆ ได้
เป็นผู้ที่ใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น ค่าอาหาร ที่พัก ของที่ระลึก การบริการอื่น ๆ ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1)
นักท่องเที่ยว คือ ผู้มาเยือนชั่วคราวในที่นั้นอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อการพักผ่อน บันเทิง สุขภาพ ศาสนา
การศึกษา การกีฬา การเยี่ยมญาติ การประชุม สัมมนา 2) นักทัศนาจร คือ ผู้มาเยือนชั่วคราว น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
2. กลุ่มธุรกิจ ที่ทำหน้าที่จัดหาสินค้า บริการต่าง ๆ สิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว เช่น
การคมนาคม ที่พักแรม ร้านอาหาร บริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ร้านค้า
3. กลุ่มรัฐบาล ที่ทำหน้าที่จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์ เช่น ถนน ท่าเรือ ท่าอากาศยาน
ระบบไฟฟ้า การสื่อสารทันสมัย

4. กลุ่มประชาชนในประเทศนั้น ๆ
มีบทบาทสำคัญในการต้อนรับและดึงดูดนักท่องเที่ยวหรือแขกผู้มาเยือนท้องถิ่นนั้นซ้ำอีก
รูปแบบการท่องเที่ยวในประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แบ่งตามความสำคัญและสภาพแวดล้อมได้ 12 ประการดังนี้
1. แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco-tourism) จะมีลักษณะทางธรรมชาติที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น
มีเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง
มีกิจกรรมที่ส่งเสริม ให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ
มีการจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น
เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสํานึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
2. แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะวิทยาการ (Arts and Sciences Educational Attraction Standard):
หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวหรือกิจกรรมที่สามารถตอบสนองความสนใจพิเศษของนักท่องเที่ยว เช่น
พิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมและ เทคโนโลยี และ MICE
(Meeting & Incentives & Conventions & Exhibitions) เป็นต้น
3. แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ (Historical Attraction) หมายถึง
แหล่งท่องเที่ยวที่มีความสําคัญและ คุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศาสนา รวมถึง
สถานที่หรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่มีอายุเก่าแก่หรือเคยมีเหตุการณ์สําคัญเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ เช่น โบราณสถาน
อุทยานประวัติศาสตร์ ชุมชนโบราณ กําแพงเมือง คูเมือง พิพิธภัณฑ์ วัด ศาสนสถาน
และสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางศิลปะและสถาปัตยกรรม
4. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (Natural Attraction) หมายถึง
สถานที่ที่เปิดใช้เพื่อการท่องเที่ยวของทรัพยากรธรรมชาติ ความงดงามตามสภาพธรรมชาติ
ความแปลกตาของสภาพธรรมชาติ สัณฐานที่สําคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์
อันเป็นเอกลักษณ์หรือเป็นสัญลักษณ์ของท้องถิ่น สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษ (Special
Environmental Features) หรือสภาพแวดล้อมที่มีคุณค่าทางวิชาการ
5. แหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ (Recreational Attraction) หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
เพื่อการพักผ่อนและเสริมสร้างสุขภาพ ให้ความสนุกสนาน บันเทิง ไม่มีความสําคัญในแง่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี
ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม แต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวร่วมสมัย เช่น ย่านบันเทิงหรือสถานบันเทิง สวนสัตว์
สวนสนุกและสวนสาธารณะลักษณะพิเศษ สวนสาธารณะ และสนามกีฬา (ที่มา: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย,
2560)

6. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม (Cultural Attraction) หมายถึงแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่าทาง
ศิลปะและขนบธรรมเนียมประเพณีที่บรรพบุรุษได้สร้างสมและถ่ายทอดเป็นมรดกสืบทอดกันมา
แหล่งท่องเที่ยวประเภท นี้ประกอบด้วย งานประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน การแสดงศิลปวัฒนธรรม
สินค้าพื้นเมือง การแต่งกาย ภาษา ชนเผ่า
ซึ่งตัวอย่างของแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของประเทศไทยในประเภทนี้ได้แก่ ตลาดน้ำดําเนินสะดวก
งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์ งานร่มบ่อสร้าง ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น
7. แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อนธรรมชาติ แนวทางในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำพุร้อน
ธรรมชาติโดยด้านการกำหนดมาตรฐานที่จําเป็นสําหรับการบริการต่างๆ จะต้องคํานึงถึง
ด้านความปลอดภัยของนักท่อง เที่ยวเป็นสําคัญ และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม
8. แหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาด (Beach Attraction) หมายถึง
มีชายหาดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ดึงดูดใจให้ นักท่องเที่ยวมาเยือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความเพลิดเพลิน
และนันทนาการในรูปแบบที่ใกล้ชิดกับ ธรรมชาติและอาจเสริมกิจกรรมเพื่อการศึกษาหาความรู้เข้าไปด้วย
ซึ่งกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น บริเวณชายหาด ได้แก่ การเล่นน้ำ การอาบแดด กีฬาทางน้ำ การนั่งพักผ่อน
รับประทานอาหาร เป็นต้น
9. แหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตก มีน้ำตกเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเยือน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความเพลิดเพลินและนันทนาการในรูปแบบที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติและอาจเสริมกิจก
รรมเพื่อการศึกษาหาความรู้เข้าไปด้วย ซึ่งกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในแหล่งน้ำตก ได้แก่ การว่ายน้ำ
การนั่งพักผ่อน รับประทานอาหาร การเดินสํารวจน้ำตก การล่องแก่ง การดูนก และการตกปลา เป็นต้น
10. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทถ้ำ แหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ำ หมายถึง
สถานที่ที่เปิดใช้เพื่อการท่องเที่ยว โดยมีถ้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความ
เพลิดเพลินและนันทนาการในรูปแบบที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติและอาจเสริมกิจกรรมเพื่อการศึกษาหาความรู้เข้าไปด้ว
ย ซึ่งกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ำ ได้แก่ การเข้าชมบรรยากาศหินงอก
หินย้อยภายในถ้ำ การศึกษาด้านโบราณคดีของมนุษย์ยุคต่างๆ ที่เคยอาศัยในถ้ำ การนมัสการพระพุทธรูป
การให้อาหารสัตว์ การปิกนิกและการรับประทานอาหาร เป็นต้น
11. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทเกาะ
ด้วยการประเมินมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวประเภทเกาะต่าง ๆ

12. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทแก่ง คือ สถานที่ที่เปิดใช้เพื่อการท่องเที่ยว โดยมีแก่งเป็น
ทรัพยากรธรรมชาติที่ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเยือน ได้แก่ การล่องแก่ง การพายเรือ การพักแรม และการเดินป่า
ซึ่งอาจเสริมกิจกรรมเพื่อการศึกษาธรรมชาติเข้าไปด้วย ได้แก่ การดูนก การสํารวจธรรมชาติ
การศึกษาพันธุ์พืชต่างๆ เป็นต้น (ที่มา
https://manopas.com/ประเภทและรูปแบบการท่องเที่ยวในประเทศไทย )

โลจิสติกส์กับการจัดการท่องเที่ยว

การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยจัดระบบการเดินทางจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งได้ตามที่วาง
แผนไว้ เริ่มตั้งแต่การขนส่ง (การรับ – ส่งจากสนามบิน) นักท่องเที่ยว สัมภาระ สิ่งของ การให้ข้อมูลข่าวสาร
ซึ่งถือว่าเป็นการประสานงานระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อทำให้การไหลของนักท่องเที่ยวจากต้นทางไปสู่ปลายที่ลดความข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุดและได้รับความพึงพอใจ
ในระดับสูงสุด ลักษณะของการขนส่งนักท่องเที่ยวเป็นลักษณะที่คล้ายการขนส่งสินค้า ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง
เช่น การเดินทางด้วยการขนส่งทางเครื่องบิน ทางเรือ ทางรถยนต์ มีการหยุดพักตามระยะทางที่กำหนดไว้
การเคลื่อนย้ายแบบนี้จะเป็นการเคลื่อนย้ายที่ต้องอาศัยการให้บริการในระหว่างเดินทางและการหยุดพักระหว่างที่
รอการเดินทาง การให้บริการต้องตอบสนองความสะดวกสบาย
ข้อมูลข่าวสารที่มีความสำคัญทุกช่วงของการเดินทาง
Lumsdon and Page (2004) ได้เสนอกรอบแนวคิดเรื่องการวิเคราะห์การขนส่งนักท่องเที่ยวไว้ 8
ประการ ดังนี้
1. สิ่งที่มีให้บริการ (Availability) คือ ยานพาหนะ
เส้นทางที่ให้บริการและระดับการให้บริการที่แบ่งเป็นระดับสูงสุด
ระดับรองลงมาหรือการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกลิฟท์ การเคลื่อนย้ายสัมภาระ ตู้เก็บสัมภาระ
และการสื่อสารระหว่างการเดินทาง
2. การเข้าถึง (Accessibility) คือ ความสามารถของผู้คนที่เข้าถึงการใช้บริการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
ที่ตั้งของสถานีขึ้นรถ
3. ข้อมูลข่าวสาร (Information) คือ การให้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและรวดเร็ว
ลดความสับสนของนักท่องเที่ยว การมีแผนสำรองต่าง ๆ

4. เวลา (Time) หมายถึง การจัดตารางเวลาในการเดินรถหรือการให้บริการที่เหมาะสม
ไม่ทิ้งช่วงนานเกินไปจนทำให้ผู้โดยสารรอนานมากเกินไปหรือบ่อยเกินไปจนไม่มีผู้โดยสาร
ความรวดเร็วในการเดินทาง รวมทั้งความสามารถในการรักษาเวลา ความตรงต่อเวลา
5. การเอาใจใส่นักท่องเที่ยว (Customer Care) หมายถึง ความคำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้โดยสาร เช่น
ความสะอาดและถูกสุขลักษณะของที่นั่ง ห้องน้ำ พื้น และที่เก็บสัมภาระ
การบริการอาหารและเครื่องดื่มบนยานพาหนะ การมีสถานที่แยกกันต่างหากระหว่างผู้สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่
การมีเจ้าหน้าที่ตรวจตราความสงบเรียบร้อยและรับเรื่องราวร้องทุกข์บนยานพาหนะ
รวมทั้งการให้ส่วนลดสำหรับผู้ที่เดินทางเป็นประจำ เป็นต้น
6. ความสะดวกสบาย (Comfort) หมายถึง
ความเอาใจใส่ในการจัดให้บริการอันสะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร ทั้งด้านกายภาพ เช่น เบาะนั่ง
ช่องว่างสำหรับการเหยียดเท้า การออกแบบห้องโดยสารให้เหมาะสำหรับสรีระของมนุษย์
การปรับอุณหภูมิและความชื้นในห้องโดยสารให้พอเหมาะ และความเงียบสงบในการเดินทาง เป็นต้น
7. ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง การปราศจากอุบัติเหตุในการเคลื่อนย้ายของยานพาหนะ
รวมถึงไม่มีอุบัติเหตุในห้องผู้โดยสาร ไม่มีการร่วงหล่นสิ่งของสัมภาระ
การเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยในห้องโดยสาร และการมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น
8. ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendliness) หมายถึง
การไม่ปล่อยขยะและของเสียออกไปจากยานพาหนะโดยไม่ผ่านการบำบัด การใช้พลังงานทดแทน
การไม่ก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนผู้คนที่อาศัยอยู่ระหว่างเส้นทางที่ยานพาหนะแล่นผ่านไปหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ
นอกจากนี้ คมสัน สุริย (2551) ได้เพิ่มกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์การท่องเที่ยวมากขึ้นเป็น 4 ข้อดังนี้
1. แม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว หมายถึง สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ งานเทศกาล หรือสิ่งสำคัญที่นักท่องเที่ยว
ต้องไม่พลาดที่จะมาเยี่ยมชม ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยว หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เข้ามาเพื่อบริการนักท่องเที่ยว
2. ถนนคนเดิน หมายถึง ย่านหรือถนนที่ปิดการจราจรไม่ให้มียานพาหนะผ่านสัญจร
เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนเดินเท้าได้ท่องเที่ยวรอบบริเวณสำคัญของเมืองและซื้อสินค้า
  3. จุดทำเงิน หมายถึง สถานที่บริการหรือย่านที่จัดไว้สำหรับการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว
ด้วยการคาดการณ์แล้วว่านักท่องเที่ยวจะมีอารมณ์อย่างไร เมื่อมาถึงจุดนั้น เช่น ตื่นเต้น เมื่อยล้า หิวกระหาย
หรือต้องการรีบแสวงหาสิ่งของเพื่อไปเป็นของฝากก่อนที่จะจากเมืองนั้นไป
4. การสร้างความเพลินเพลินระหว่างการเดินทาง หมายถึง การสร้างความเพลิดเพลินใจ
ในเรื่องของการจัดเส้นทางผ่านสถานที่อันสวยงาม การจัดกิจกรรมบนยานพาหนะ
การเสิร์ฟอาหารชั้นเลิศบนยานพาหนะ เป็นต้น
 

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การท่องเที่ยววัฒนธรรม คือ
การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ผู้อื่นและย้อนกลับมามองตนเองอย่างเข้าใจเกี่ยวพันของสิ่งต่าง ๆ
ในโลกที่มีความเกี่ยวโยงพึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2540: 1-10)
อาจเป็นการท่องเพื่อการศึกษา มีความชื่นชมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี เทศกาล
ที่เกิดจากความเชื่อที่สืบทอดของชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้
เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันตามแต่ละสถานที่ ดังนั้น
วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การสัมผัส
การชื่นชมกับเอกลักษณ์ความงดงามของวัฒนธรรม คุณค่าทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของกลุ่มชนอื่น
ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชนต่างสังคม จากศิลปะสถาปัตยกรรมโบราณสถาน โบราณวัตถุ
เรื่องราวและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ รูปแบบวิถีชีวิต ภาษา การแต่งกาย การบริโภค ความเชื่อ ศาสนา
จารีตประเพณี เป็นสิ่งดึงดูดใจที่สำคัญช่วยกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขึ้น
ทำให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนด้วยการรับผิดชอบต่อปัจจัยพื้นฐานทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 4 ประการ ดังนี้
1. เพื่อมุ่งเน้นคุณค่าทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น
2. เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณค่าของวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
3. เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความพึงพอใจสูงสุด แต่ในขณะเดียวกันต้องเคารพในวัฒนธรรมท้องถิ่น
4. เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างพอเพียง
พร้อมทั้งปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นให้ดีขึ้น นอกจากนี้องค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
มีดังนี้ (บุญเลิศ จิตตั้งพัฒนา, 2548: 288)
1. องค์ประกอบด้านแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ประกอบด้วย 10 ประการ 1)
ประวัติศาสตร์และร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ยังปรากฏให้เห็น 2) โบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานต่าง ๆ 3)
งานสถาปัตยกรรมเก่าแก่ดั้งเดิมในท้องถิ่นและสิ่งปลูกสร้าง ผังเมือง รวมทั้งซากปรักหักพัง 4) ศิลปะ หัตถกรรม
ประติมากรรม ภาพวาด รูปปั้น และแกะสลัก 5) ศาสนารวมถึงพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา 6) ดนตรี
การแสดงละคร ภาพยนต์ มหรสพ 7) ภาษาและวรรกรรม รวมถึงระบบการศึกษา 8) วิถีชีวิต เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
การทำอาหาร ธรรมเนียมการรับประทานอาหาร 9) ประเพณี วัฒนธรรมพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียม และเทศกาลต่าง
ๆ 10) ลักษณะงานหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีการนำมาใช้เฉพาะท้องถิ่น
2. องค์ประกอบด้านกระบวนการศึกษาสิ่งแวดล้อม
เป็นการท่องเที่ยวที่มีการกระบวนการศึกษาสิ่งแวดล้อม

โดยมีการศึกษาเรียนรู้สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
เพื่อปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้แก่ผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
3. องค์ประกอบด้านธุรกิจนำเที่ยว
เป็นการท่องเที่ยวที่มีการให้บริการทางการท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวและได้รับการบริการตามที่นำเสนอแก่นักท่องเที่ยว
4. องค์ประกอบด้านการตลาดท่องเที่ยว เป็นการท่องเที่ยวที่มีการคำนึงถึงการตลาดท่องเที่ยวคุณภาพ
โดยแสวงหานักท่องเที่ยวคุณภาพให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
เพื่อให้นักท่องเที่ยวคุณภาพได้รับรู้และประสบการณ์จากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างพึงพอใจ
อีกทั้งช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
5. องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น
เป็นการท่องเที่ยวที่มีการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน
โดยให้ชุมชนท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมนั้นมีส่วนร่วมในการการพัฒนาหรือจัดการท่องเที่ยวอย่างเต็ม
รูปแบบ และได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเพื่อกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น
และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่น
6. องค์ประกอบด้านการสร้างจิตสำนึกแก่ผู้เกี่ยวกับท่องเที่ยว
เป็นการท่องเที่ยวที่ต้องคำนึงถึงการปลูกฝังจิตสำนึกแก่ผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
เป็นการท่องเที่ยวที่ต้องคำนึงถึงการปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องทางการท่องเที่ยวแก่ผู้เกี่ยวทุกฝ่าย
โดยมีการให้ความรู้และสื่อความหมายในการอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความรักความหวงแหนทรัพยากรท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

โลจิสติกส์กับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การดำเนินการจัดการโลจิสติกส์กับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ
การประสานการสร้างความสะดวกสบายในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์
ที่ไม่จำเป็นต้องครอบคลุมกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งหมด แต่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
เริ่มจากการรับผู้โดยสารจากสนามบิน การมีที่เก็บสัมภาระที่เหมาะสม
เนื่องจากนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมีกระเป๋าขนาดใหญ่ จึงต้องมีพื้นที่เพียงพอต่อการเก็บสัมภาระ
การเข้าสู่ที่พักของนักท่องเที่ยว ที่ใกล้แหล่งชอปปิ้ง
แหล่งสะดวกต่อการเดินทางขึ้นอยู่กับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มทัวร์หรือการท่องเที่ยวด้วยตนเอง
การได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการเดินทางและความสะดวกของการจับจ่ายใช้สอยในทุกที่
สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นกิจกรรมหนึ่งที่อยู่ในตารางของการเดินทาง

ขึ้นอยู่กับนักท่องเที่ยวจะใช้วิธีการเลือกการเดินทางแบบกลุ่มหรือแบบเดี่ยวด้วยตนเอง
ถ้าเป็นกลุ่มจะได้รับการจัดจากกลุ่มทัวร์ 1 วัน ที่จัดเป็นกิจกรรมให้สัมผัสกับวัฒนธรรมไทยในรูปแบบต่าง ๆ
ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีตารางกำหนดแต่ละวัน เช่น การเที่ยวทัวร์อัมพวา การไหว้พระ
การเดินตลาดน้ำยามเย็น 1 วัน โดยรถตู้ปรับอากาศ รายละเอียดเป็นการเที่ยวสมุทรสาคร ไหว้พระ
วัดเพชรสมทรวรวิหาร วัดจุฬามฯ ออร์คิดฟาร์ม วัดอัมพวันเจติยาราม สัมผัสบรรยายกาศในตลาดอัมพวา
จะเห็นว่าเป็นการท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสวัฒนธรรมอย่างแท้จริง ส่วนการเดินทางด้วยตนเอง
อาจจะต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจเดินทางในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
โลจิสติกส์ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับการท่องเที่ยวไทย
เพราะยังเน้นในเรื่องการขายสินค้ามากกว่าการจัดระบบรองรับที่สร้างความพึอใจให้แก่นักท่องเที่ยว
สำหรับบทความนี้ได้นำเสนอกระบวนการการจัดการโลจิสติกส์กับการท่องเที่ยงในเชิงวัฒนธรรมที่ให้นักศึกษาสาขา
วิชาการจัดการโลจิสติกส์ได้มีโอกาสร่วมจัดกิจกรรมกับบริษัท ไทเทรเวิล พลัส
เพื่อการวางแผนกำหนดเดินทางจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยการนำนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส จำนวน 100 คน
ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
และสามารถทำให้เป็นไปตามแผนการได้ค่อนข้างแน่นอน เพราะเวลาของพาหนะต่าง ๆ
มีการเชื่อมโยงต่อกันตลอดของการจัดนำเที่ยวครั้งนี้
สำหรับตารางการจัดท่องเที่ยวครึ่งวันของนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส จำนวน 100 คน กิจกรรมกรุ๊ป MESTRE
ในวันที่ 6 มีนาคม 2562 เวลา 8.00 – 14.00 น.

สรุปการเดินทาง กิจกรรมกรุ๊ป MESTRE วันนที่ 6 มีนาคม 2562 เวลา 8.00 -14.00 น.

  กิจกรรม เวลา
1 รถตุ๊ก ๆ ไปรับแขกที่ โรงแรมรามาด้า แบ่งเป็น 10 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน 8.00
  แขก 2 + นักศึกษา 2 คน/ รถตุ๊ก  
2 ไปตลาดคลองเตย ซื้อวัตถุดิบสำหรับการทำส้มตำ 8.30
 
ด้วยงบประมาณ 500 บาทสำหรับซื้อวัตถุดิบ
การเจรจาต่อรองให้ต้นทุนต่ำสุด  
  มารับส่งจุดเดิมที่ตลาดคลองเตย  
3 มุ่งหน้าไปที่วัดคลองเตยนอก 9.30
  แบ่งเป็น 2 ทีมใหญ่ ให้แขกใส่หมวกตามกลุ่มย่อย  
  กลุ่มที่ 1 – 6 ตำส้มตำ พับดอกบัว นำดอกบัวไปถวายที่โบสถ์ สลับกัน  
  กลุ่มที่ 7 – 10 ข้ามไปปั่นจักรยานที่บางกระเจ้า  
  สลับกันไปมา ให้ครบกิจกรรม  
4 รถบัสมารับแขกที่หน้าวัดคลองเตยนอก เวลา 14.30 มุ่งหน้าไปรับอาหาร 13.30
 
กลางวันที่ร้านบุษราคัม ถนนประมวล สาธร เล่นเกม ปิดตาชิมอาหาร
ส่งตัวแทนมากลุ่มละ 1 คน  
  ประกอบด้วย หลนเต้าเจี้ยว ห่อหมทะเลมะพร้าวอ่อน  
 
ข้าวคลุกกะปิ ผัดไทยกุ้งสด ปลาหมึกผัดไข่เค็ม ต้มยำไก่
ปลากะพงซ้อสมะกรูด  
  ต้มกะทิปลาสลิด แพนงเป็ดย่าง แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลา  

ตารางที่ 1 การจัดทริปให้นักท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในเชิงวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ฐานกิจกรรม

1. แหล่งวัฒนธรรม คหกรรมศิลป์ เขตคลองเตย เป็นตลาดเก่าแก่ เป็นแหล่งรวมอาหารสดต่าง ๆ

เช่นเนื้อสัตว์ ผลไม้ ดอดไม้
ซึ่งผู้ผลิตส่งตรงถึงตลาดทำให้สินค้ามีราคาถูกเป็นที่นิยมของผู้ประกอบการร้านอาหารต่าง ๆ
จึงมีการจัดนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมตลาดคลองเตยโดยการแบ่งกลุ่ม 10 กลุ่ม 10 สีหมวก ได้แก่ สีเขียว สีเหลือง

สีแดง สีบานเย็น สีชมพู สีขาว สีน้ำเงิน สีครีม สีส้ม สีฟ้า
ด้วยการทำกิจกรรมซื้อส่วนประกอบการทำส้มตำให้งบประมาณกลุ่มละ 500 บาท

ภาพที่ 1 ส่วนประกอบของวัตถุดิบให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อวัตถุดิบที่ตลาดคลองเตยโดยรถตุ๊ก ๆ
มาที่วัดเพื่อทำฐานกิจกรรมต่าง ๆ เริ่มจาก การแข่งขันการตำสัมตำแต่ละกลุ่ม

แบ่งตามสีของหมวก (นิตยา มณีวงศ์, 2562)

2. การพับดอกไม้ วัดคลองเตย ดอกบัวในสังคมไทย ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ดอกบัวเป็นต้นกำเนิดของพุทธและควบคู่กับศิลปะไทย ที่นิยมนำมาเป็นรูปรองพระพุทธปฏิมากร
และการพับดอกบัว เป็นการเชื่อในเรื่องของความดีงามที่ไว้สำหรับสักการะบูชา
อธิฐานเพื่อให้ดอกไม้ได้เบ่งบานในใจของผู้ถวาย

เมื่อได้รับการสาธิตและฝึกการพับดอกบัวแล้ว จึงนำนักท่องเที่ยวเข้าไปสักการะที่โบสถ์

และอธิบายพระองค์ประทาน การทำพิธีกรรมทางศาสนา การพับดอกไม้ วัดคลองเตย

ภาพที่ 2 ตัวอย่างการพับดอกบัว และนำไปสักการะที่โบสถ์วัดคลองเตยนอก (นิตยา มณีวงศ์, 2562)

3. ข้ามเรือแม่น้ำเจ้าพระยาจากวัดคลองเตยนอกไปเที่ยวบางกะเจ้า อ.พระประกอง
จังหวัดสมุทรปราการ ปั่นจักรยานไปตามเส้นทางแคบในป่าและเส้นทางสีเชียว
สัมผัสวิถีชีวิตของชาวไทยท้องถิ่น พร้อมทั้งแวะชมวัดต่าง ๆ ตลอดเส้นทาง

ภาพที่ 3 นักท่องเที่ยวนั่งเรือข้ามฟากในแม่น้ำเจ้าพระยาสู่บางกะเจ้า (นิตยา มณีวงศ์, 2562)

ภาพที่ 4 เจ้าหน้าที่บริษัทฯ ทัวร์ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
ถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส (นิตยา มณีวงศ์, 2562)

สรุป
การท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อการสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย นักท่องเที่ยวชาติต่าง ๆ
ที่เข้ามาในประเทศไทยเพิ่มจำนวนขึ้นในแต่ละปี นอกจากให้ความสนใจในเรื่องการท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ
ในเมืองไทยแล้ว การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลายเป็นกิจกรรมได้รับความนิยมสูงขึ้น
การนำระบบการจัดการโลจิสติกส์ประยุกต์ใช้บริหารจัดการทำให้การเคลื่อนย้ายนักท่องเที่ยวจากจุดหนึ่งไปสู่จุดห
นึ่งได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นพร้อมการจัดกิจรรมเป็นไปตามตารางที่กำหนด
จากการร่วมกันระหว่างบริษัทฯท่องเที่ยวและนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

ทำให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์การทำงานจริง ให้นำพานักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสเข้าถึงวัฒนธรรมอาหารไทย คือ
การทำสัมตำ ด้วยจุดแรกคือ การเดินทางไปซื้อวัตถุดิบจากตลาดคลองเตย
มีการเจรจาต่อรองการซื้อขายวัตถุดิบตามเงื่อนไขที่กำหนดให้แต่ละกลุ่มบริหารจัดการเรื่องงบประมาณการซื้อวัตถุ
ดิบ และทำกิจกรรมตามฐาน ได้แก่ ฐานดอกบัว อธิบายถึงความสำคัญของดอกบัว การพับดอกบัว
การถวายดอกบัวต่อองค์พระพุทธรูป
และการปั่นจักรยานเที่ยวที่บางกะเจ้าเป็นจุดสุดท้ายโดยนักศึกษาจะประจำอยู่กลุ่มต่าง ๆ ตามสีของหมวก
ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ภาพรวมของการนำโลจิสติกส์มาใช้กับการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมได้อย่างสมบูรณ์แบบมาก
ขึ้น
บรรณานุกรม
______________. (2560). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2560. สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้น 12 เมษายน 2562, จาก https://www.nesdb.go.th .
______________. (2562). ธนาคารแห่งประเทศไทย 2562. สืบค้น 12 เมษายน 2562 จาก
https://www.bot.or.th.
______________. แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชิต ฉบับที่ 2 (พ.ศ 2560 – 2564).
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. สืบค้น
12 เมษายน 2562,
https://www.dot.go.th.
______________. การศึกษาแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา. ทุนสนับสนุนการ
ศึกษาวิจัยจากศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ประจำปี
งบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ. ศ. 2554. สืบค้น 16 เมษายน 2562,
http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/8658/1/361531.pdf.
______________. (2546). การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย. เอกสารประกอบการประชุมประจำปี. สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้น 12 เมษายน 2562, จาก
https://www.nesdb.go.th.
คมสัน สุริยะ. (2551). กรอบแนวคิดโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยว. สืบค้น 10 เมษายน 2562, จาก
http://www.tourismlogistics.com.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2550). โลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน กลยุทธ์สำหรับลดต้นทุนและเพิ่มกำไร.
กรุงเทพฯ: บริษัท โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.
ชาญวิทย์ เกษราศิริ. (2540). การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ฉลองศรี พิมลสมพงษ์. (2548). การวางแผนการพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร:
คณะมนุษยศาตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชิตพงษ์ อัยสานนท. (2558). Logistics & Supply Chain มองรอบทิศคิดอย่าง supply Chain Logistics and
supply Chain Management ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. Industrial Technology Review No.
274 ประจำเดือน กันยายน 2558, 45-54.
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2550). การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.
สิรวิทชญ์ วรมงคล. (2562). เศรษฐกิจไทยปี 2562 ชะลอลงแต่ยังเติบโตดี. ธนาคารแห่งประเทศไทย.
สืบค้น 16 เมษายน 2562. จาก https://www.bot.or.th/
สุรเชษฐ์ เชษฐมาส. (2541). ท่องเที่ยวแบบ “นิเวษสัญจร” ทางรอดแหล่งท่องเที่ยวไทย. (รายงานผลการวิจัย)
กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Barratt, M. (2004). Understanding the meaning of collaboration in the supply chain. Supply
chain Management: An International Journal, 9 (1), 30 – 42.
Douglas M. Lambert. (2008). SUPPLY CHAIN MANAGEMENT, Process, Partnerships, Performance,
3 th Edition. Supply Chain Management Institute Sarasota, Florida.
Lumsdon and Page (2004). Tourism and Transport Issues and Agenda for the New Millennium.
London: Elsevier.
Mcintosh, R.W, Goeldner, C.R, & Ritchi, Jr. B. (1995). Pleasure Travel Motivation Tourism:
Principle, Practices and Philosophies. New York: John Wiley & Sons. 7 th Edition, 167 –
190.