ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ซึ่งมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การใช้พลังงานฟอสซิล อุตสาหกรรม และภาคการขนส่ง (IPCC, 2021) เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว แนวคิด “คาร์บอนฟุตพริ้นท์” (Carbon Footprint) ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินและบริหารจัดการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรและสถาบันต่าง ๆ รวมถึงสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืนผ่านการวิจัยและพัฒนานโยบายด้านสิ่งแวดล้อม (Lo-Iacono-Ferreira et al., 2017) หลายมหาวิทยาลัยทั่วโลกได้ดำเนินการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของตนเองเพื่อหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและพัฒนานโยบายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Ragazzi & Ghidini, 2017) ในประเทศไทย มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มให้ความสำคัญกับการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก, 2565) บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้กรอบแนวคิดมาตรฐานการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (GHG Protocol, 2004) และมาตรฐาน ISO 14064-1 (ISO, 2018) ผลการศึกษาจะเป็นแนวทางให้มหาวิทยาลัยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและพัฒนาแนวทางสู่ความยั่งยืนต่อไป
กรอบแนวคิดมาตรฐานการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (Greenhouse Gas Protocol : GHG Protocol) เป็นกรอบแนวทางสากลที่ถูกพัฒนาโดย World Resources Institute (WRI) และ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับการคำนวณและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (WRI & WBCSD, 2004) เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยองค์กรภาครัฐและเอกชนทั่วโลกในการประเมินและรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ โดยแบ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกเป็น สามขอบเขต (Scopes) ได้แก่ (คลิกอ่านเพิ่มเติม)