แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาปฐมวัย

แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาปฐมวัย

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2550) แก่สถานศึกษาอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 39 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ โดยจำแนกอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษาเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1)ด้านวิชาการ 2)ด้านงบประมาณ 3)ด้านการบริหารงานบุคคล และ 4)ด้านการบริหารทั่วไป ใช้หลักการกระจายอำนาจ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และหลักความร่วมมือกันระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายปฏิบัติการสอน ฝ่ายสนับสนุนการสอน และบุคลากร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภายนอกอื่น ๆ ดังนั้นงานด้านวิชาการถถือเป็นงานที่สำคัญและเป็นหัวใจในการปฏิบัติในสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อนักเรียนได้อย่างมีคุณภาพ

1)     ความหมายของการบริหารงานด้านวิชาการ ดังนี้

 ผ่องศรี รัตนสถิติย์ (2535 : 10 ; อ้างถึงใน อมรชัย ตันติเมธ, 2550 : 208) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการ ว่าการบริหารงานวิชาการ หมายถึงการที่ผู้บริหารดำเนินงานเกี่ยวกับกิจกรรมวิชาการใน 4 ด้าน คือการบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการอสน การนิเทศการศึกษาและการวัดและการประเมินผลการศึกษา

กมล ภู่ประเสริฐ (2546 : 6 ) การบริหารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของภารกิจสถานศึกษา

นฤมล เนียมหอม, กันตวรรณ มีสมสาร และราศี ทองสวัสดิ์ (2555 : (8-6) – (8-23)) ได้ให้ความหมายของ

การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาปฐมวัย ไว้ว่า การบริหารงานวิชาการ หมายถึงการดำเนินการตามกระบวนการบริหารการศึกษาที่เกี่ยวกับกิจกรรมทุกอย่างในสถานศึกษา ซึ่งทำให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน

สรุปว่า การบริหารงานวิชาการ หมายถึงการดำเนินงานตามกระบวนการบริหารเกี่ยวกับงานวิชาการ       4 ด้าน ได้แก่การบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการอสน การนิเทศการศึกษาและการวัดและการประเมินผลการศึกษาซึ่งทำให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน

2)     ขอบข่ายของงานบริหารวิชาการ

กระทรวงศึกษาธิการ (2542 : 9-37) ได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติราชการสำหรับข้าราชการ เพื่อ

กำหนดแนวทางการดำเนินงานการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ไว้ดังมีรายละเอียด ต่อไปนี้

          หลักการและแนวคิด

1)     ยึดหลักให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นไปตามกรอบหลักสูตร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ ของชุมชนและสังคม อย่างแท้จริง  โดยมีครู  ผู้บริหาร  ผู้ปกครอง  และชุมชนมีส่วนร่วม

               2)  มุ่งส่งเสริมสถานศึกษาให้จัดกระบวนการเรียนรู้  โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

               3)  มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ 

รวมทั้งเป็นเครือข่ายและแหล่งเรียนรู้

          4)  มุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานโดยจัดให้มีดัชนีชี้วัดคุณภาพการจัด

หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้  และสามารถตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาได้ทุกช่วงชั้น  ทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

          5)  มุ่งส่งเสริมให้มีการร่วมมือเป็นเครือข่าย  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการ

จัดและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

3)     ขอบข่ายและภารกิจงานวิชาการ  ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฯประกอบไปด้วย 17 งาน ดังนี้ (ราชกิจจานุเบกษา, 2550 : 29-30)

                1) การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น

                2) การวางแผนงานด้านวิชาการ

                2) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา

                4) การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา

                5) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้

                6) การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน

                7) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา

                8) การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้

                9) การนิเทศการศึกษา

                10) การแนะแนว

                11) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา

                12) การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ

                13) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์การอื่น

                14) การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์การ หน่วยงานสถาน ศึกษาประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา

                15) การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา

                16) การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียน เพื่อใช้ในสถานศึกษา

                17) การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

             กมล ภู่ประเสริฐ (2544 : 9-17 ; อ้างถึงใน นฤมล เนียมหอม, กันตวรรณ มีสมสาร และราศี ทองสวัสดิ์, 2555 : (8-8) – (8-13)) กล่าวถึงขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการ ดังต่อไปนี้

1)       การบริหารหลักสูตร เป็นการจัดให้มีการดำเนินงาน ดังนี้

1.1)          การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางระดับประเทศ

1.2)          การกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้

1.3)          การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

1.4)          การจัดทำหน่วยการเรียนรู้

2)       การบริหารการเรียนการสอน เป็นการจัดให้มีการดำเนินงาน ดังนี้

2.1)           การรวบรวม วิเคราะห์ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

2.2)           การกำหนด เตรียมการและจัดหาสื่อการเรียนการสอน

2.3)           การกำหนดวิธีการประเมินผลการเรียน

2.4)           การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ของครูตามหลักสูตรสถานศึกษา

2.5)           การควบคุมดูแลและส่งเริมให้มีการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้

2.6)           การร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนการสอน

3)       การบริหารการประเมินผลการเรียน เป็นการจัดให้มีการดำเนินงาน ดังนี้

3.1) การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้

3.2) การกำหนดวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้

3.3) การควบคุม ดูแล และส่งเสริมให้มีการประเมินผลการเรียนตามวิธีการและ

เครื่องมือที่กำหนด

3.4) การจัดทำหลักฐานการตามที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด

3.5) การนำผลการประเมินไปใช้ในการแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียน

3.6) การกำหนดรูปแบบ ระยะเวลาการรายงานผลการเรียนรู้

                4)   การบริหารการนิเทศภายใน เป็นการจัดให้มีการดำเนินงาน ดังนี้

          4.1) การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายใน

4.2) การกำหนดวิธีการและระยะเวลาในการนิเทศภายใน

4.3) การควบคุม ดูแลให้มีการนิเทศภายในอย่างสม่ำเสมอ

4.4) การร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

5)   การบริหารการพัฒนาบุคลากรทางวิชาการ เป็นการจัดให้มีการดำเนินงาน ดังนี้

          5.1) การวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันเกี่ยวกับความรู้ความสามารถของบุคลากร

5.2) การกำหนดช่วงเวลาของการพัฒนาบุคลากรเป็นระยะ

5.3) การควบคุมดูแลให้การดำเนินการพัฒนาบุคลากรเป็นไปตามที่กำหนด

6)   การบริหารการวิจัยและพัฒนา เป็นการจัดให้มีการดำเนินงาน ดังนี้

6.1) การทความเข้าใจและส่งเสริมให้มีการวิจัยในชั้นเรียน

6.2) การร่วมกันกำหนดประเด็นที่ควรพัฒนาร่วมกันในสถานศึกษา

6.3) การควบคุม ดูแล และส่งเสริมการดำเนินการวิจัยที่ได้กำหนดไว้

7)   การบริหารโครงการทางวิชาการอื่น ๆ  เป็นการจัดให้มีการดำเนินงาน ดังนี้

7.1) การกำหนดหัวข้อเรื่องทางวิชาการที่เป็นการสนับสนุนงานหลัก

7.2) การกำหนดวิธีการดำเนินการและระยะเวลาให้เหมาะสมกับการพัฒนาผู้เรียน

7.3) การควบคุม ดูแล และส่งเสริมให้มีการดำเนินการตามที่กำหนดไว้

                    8) การบริหารข้อมูลและสารสนเทศทางวิชาการ เป็นการจัดให้มีการดำเนินงาน ดังนี้

                              8.1) การกำหนดข้อมูลและสารสนเทศทางวิชาการทางการบริหารทั้งหมดที่จะต้องจัดเก็บร่วมกัน

8.2) การกำหนดเวลาในการรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศให้เหมาะสม

8.3) การควบคุม ดูแล และส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ

8.4) การนำข้อมูลและสารสนเทศไปใช้ในประกอบการดำเนินงานในหัวข้ออื่นๆ

9) การบริหารการประเมินผลงานทางวิชาการของสถานศึกษา เป็นการจัดให้มีการดำเนินงาน ดังนี้

9.1) การกำหนดหัวข้อการประเมินผลงานจากงานข้างต้น

9.2) การกำหนดวิธีการและเครื่องมือในการประเมิน

9.3) การควบคุม ดูแล และส่งเสริมให้มีการดำเนินการประเมินตามที่กำหนด

9.4) การสรุปผลและเขียนรายงานประจำปี

             อมรชัย ตันติเมธ (2550 : 208) ได้กล่าวถึงขอบข่ายของงานวิชาการไว้ดังนี้

1)   งานด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้

2)   งานการจัดประสบการณ์

3)   งานสื่อการเรียนการสอน

4)   งานวัดผลและประเมินผล

5)   งานห้องสมุด

6)   งานนิเทศการศึกษา

7)   งานด้านการวางแผนและกำหนดวิธีการดำเนินงาน

8)   งานส่งเสริมการจัดประสบการณ์

9)   งานประชุมอบรมทางวิชาการ

 

บทสรุป

          ปัจจุบันนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2550) ไว้เป็น 4 ฝ่ายได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านงานบุคคล และด้านบริหารทั่วไป ซึ่งการบริหารงานวิชาการนับเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้สถานศึกษาบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ผู้บริหารตลอดจนผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีทักษะและความสามารถในการบริหารงานเพื่อให้สถานศึกษาบรรลุนโยบายและเป้าหมายของสถานศึกษา

 

เอกสารอ้างอิง

 

กมล ภู่ประเสริฐ. (2544). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : ทิปส์ พับบลิเคชั่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์

          โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ราชกิจจานุเบกษา. (2550).กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัด

          การศึกษา พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ

นฤมล เนียมหอม, กันตวรรณ มีสมสาร และราศี ทองสวัสดิ์.(2555).การบริหารจัดการสถานศึกษา

          ปฐมวัยหน่วยที่ 6-10.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิ

          ราช.

อมรชัย ตันติเมธ.(2550). การบริหารจัดการสถานศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน

          ดุสิต.