การทำนาของเกษตรกรตั้งแต่อดีตนิยมให้นำ้ในนาข้าวสูงกว่าระดับผิวดิน เพื่อป้องกันวัชพืชและ
มั่นใจว่าต้นข้าวได้รับน้ำเพียงพอ ทำให้เกษตรกรต้องสูญเสียเวลา แรงงานและค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำเข้านา
เพื่อรักษาระดับน้ำในนา ทำให้ต้องใช้นำ้จำนวนมากในการทำนาแต่ละรอบการผลิต ประกอบกับปัจจุบันมี
ข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งบ่อยขึ้น เพื่อเป็นการลดปริมาณการใช้นำ้ในการทำนาข้าว ดังนั้นงานวิจัยนี้
จึงทำการศึกษาผลของการจัดการนำ้ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 และพันธุ์
พิษณุโลก 2 ที่ปลูกในกระถางพลาสติกสีดำขนาด 12 นิ้ว โดยวิธีหว่านนำ้ตม (1 ต้น/กระถาง) ทำการทดลอง
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ วางแผนการทดลองแบบ 2×3 Factorial in
completely randomized design (CRD) ปัจจัยที่ 1 คือ พันธุ์ข้าว 2 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ปทุมธานี 1 และ
พันธุ์พิษณุโลก 2 ปัจจัยที่2 คือ การจัดการน้ำ 3 แบบ คือ (1) ให้น้ำขังระดับ 5 เซนติเมตร ตลอดฤดู(2) ให้น้ำ
แบบเปียกสลับแห้งที่ระดับ 5/-5 เซนติเมตร และ (3) ให้น้ำแบบเปียกสลับแห้งที่ระดับ 5/-10 เซนติเมตร พบว่า
การจัดการน้ำทุกวิธีไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 และพิษณุโลก 2 อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) โดยการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งที่ระดับ 5/-10 เซนติเมตร ให้ผลผลิตของ
ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 สูงที่สุดเท่ากับ 1,260.22 กิโลกรัม/ไร่ ในขณะที่การจัดน้ำที่เหมาะสมสำหรับข้าวพันธุ์
พิษณุโลก 2 คือ การจัดการน้ำแบบขังน้ำตลอดฤดูที่ระดับ 5 เซนติเมตรให้ผลผลิตเท่ากับ 1,141.11 กิโลกรัม/
ไร่ จากผลการศึกษาทำให้สามารถแนะนำให้เกษตรกรนำวิธีการจัดการนำ้แบบเปียกสลับแห้งนี้มาใช้ในการ
ปลูกข้าวในระยะก่อนต้นข้าวตั้งท้องเพื่อลดค่าใช้จ่ายและประหยัดแรงงานในการให้น้ำ
คำสำคัญ: การจัดการน้ำ เปียกสลับแห้ง การเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว
-
- HOME
- BSRU
- Check Scholar
- ติดต่อเรา WooCommerce not Found
- Newsletter