งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมยอดขายสินค้า 2) หาเทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมในชนิดสินค้ากลุ่ม A โดยใช้ข้อมูลการพยากรณ์ย้อนหลัง 2 ปี ซึ่งทำการศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคการพยากรณ์ 3 วิธี ได้แก่ 1) การหาค่าเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่ (Moving Average) 2) วิธีปรับเรียบเอกซ์โปเนนเชียลชั้นเดียว (Single Exponential) 3) วิธีพยากรณ์ตามฤดูกาล (Winter’s Method) โดยใช้โปรแกรม Minitab 19 (Beta free trial) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 เพื่อหาเทคนิคการพยากรณ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด ผลการวิจัยพบว่า เทคนิคที่ทำให้ค่าความคาดเคลื่อนร้อยละสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) น้อยที่สุดในชนิดสินค้า ก และ ข คือ วิธีพยากรณ์ตามฤดูกาล โดยชนิดสินค้า ก ได้ค่าความคาดเคลื่อนร้อยละสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) 1.00 และชนิดสินค้า ข ได้ค่าความคาดเคลื่อนร้อยละสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) 2.00 ทำให้สามารถปรับลด
วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ,ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ม.ค. – มิ.ย. 2566 | 15
ต้นทุนจมจากเดิม 5
,800,000 บาท ลดลงเป็น 4,640,410 บาทต่อปี คิดเป็นมูลค่าที่ลดลงได้ 1,159,590 บาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 29.99
-
- HOME
- BSRU
- Check Scholar
- ติดต่อเรา WooCommerce not Found
- Newsletter