อาหารคีโตเจนิก: แบบแผนการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพจริงหรือ
อ.วิทวัส กมุทศรี
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ในปัจจุบันนี้การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการออก
กำลังกายเพื่อสุขภาพ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่ไม่พึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกมากเกินไป หรือที่เกี่ยวกับ
ชีวิตของเราตั้งแต่ตื่นจนก่อนนอน คือ การรับประทานอาหาร มีผู้สนใจหลายคนนิยมการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ การบริโภค
อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic diet) ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีสุขภาพดีปกติทั่วไป หรือผู้ป่วยด้วยโรคต่าง ๆ
หันมาสนใจการบริโภคอาหารดังกล่าวและบางคนก็มีคำถามค่อนข้างมากเกี่ยวกับอาหารคีโตเจนิกว่า
ปลอดภัยกับสภาวะร่างกายของตนเองหรือไม่ และในบทบาทของนักกำหนดอาหารจะแนะนำให้
บริโภคอาหารดังกล่าวหรือไม่ ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า อาหารคีโตเจนิกนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ค้นพบ
กัน ในทางการแพทย์นั้น มีการพบรูปแบบการบริโภคอาหารนี้ประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา เพื่อรักษา
ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักในเด็ก ตั้งแต่ในช่วงปี ค.ศ. 1970 ดร.แอทกินส์ เป็นที่รู้จักมากในฐานะเป็นผู้
ริเริ่มใช้รูปแบบการบริโภคอาหารแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ เพื่อลดน้ำหนัก โดยในระยะสองสัปดาห์แรก
จะเป็นระยะของคีโตเจนิก คือ มีการควบควบอาหารคาร์โบไฮเดรตอย่างเข้มงวด และในหลายปีต่อมา
การรับประทานอาหารรูปแบบอื่น ๆ จึงเป็นที่นิยมและใช้รูปแบบที่คล้ายคลึงกันนี้เพื่อลดน้ำหนัก ใน
บทความนี้จะกล่าวถึงความหมายของอาหารคีโตเจนิก ผลของอาหารคีโตเจนิกต่อกระบวนการเผา
ผลาญของร่างกาย ข้อควรระวังในการบริโภคอาหารคีโตเจนิก และผลข้างเคียงของการบริโภค
อาหารคีโตเจนิก มีรายละเอียดดังนี้ อ่านต่อ…