“เด็กบางคนที่เกิดมาจากพ่อแม่ที่ไม่มีความรับผิดชอบ การท้องไม่พร้อม เกิดมาพร้อมปัญหาในครอบครัว เหมือนเป็นการสร้างเมล็ดพันธุ์แห่งความเป็นอาชญากร”
“การที่คนหนึ่งจะกลายเป็นฆาตกรต่อเนื่อง มีความเป็นไปได้ที่สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากครอบครัวแตกแยก มีการใช้ความรุนแรงจนเป็นปมในใจตั้งแต่เด็ก แต่ไม่ใช่ทั้งหมด…” นพ.ศรุตพันธุ์ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
มานั่งย้อนดูข่าวอาชญากรรม โหดๆในอดีต รวมถึงคำสารภาพสุดท้ายจากนักโทษประหาร
เห็นการลดโทษปล่อยตัวอาชญากรที่โหดเหี้ยม ไม่มีความสำนึก ติดคุกไม่กี่ปี ออกมาก็ก่อคดีซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้แต่การจะต้องประหารก็มีอาหารมื้อสุดท้าย มีคำขอสุดท้าย มีการปฎิบัติเพื่อตายอย่างได้รับความเมตตา ในขณะที่เหยื่อต้องตายอย่างน่าเวทนา ต้องโดนกระทำอย่างไร้มนุษยธรรม ต้องตายอย่างเจ็บปวดและทรมาน ไม่มีแม้แต่โอกาสจะร้องขอชีวิต…… มันควรจะเป็นอย่างนั้น มันยุติธรรมจริงเหรอ???
เมื่อมองลงไปให้ลึกกว่านั้น อะไรคือจุดเริ่มต้นของความเป็นอาชญากร??
คนเราจะเกิดมาเพื่อเป็นคนเลว เกิดมาเพื่อเดินเข้าคุก เกิดมาเพื่อเข้าสู่แดนประหาร?
สมคิด พุ่มพวง ฆาตกรต่อเนื่อง
ชีวิตวัยเด็กของเขานั้น เขาถูกแม่ทิ้งไปตั้งแต่อายุยังน้อย พ่อมีเมียใหม่ที่เข้ากันไม่ได้กับลูกติดอย่างเขา เมื่อโตเป็นหนุ่มจึงเป็นอาสาทหารพรานอยู่นานหลายปี ไม่กลับเข้าบ้านอีกเลยเป็นเวลานานนับสิบปี กระทั่งพ่อมาถูกคนร้ายยิงตาย โดยมีสาเหตุมาจากพูดในสิ่งที่คนอื่นยากจะเชื่อถือ และคำพูดนั้นส่งผลกลับมาถึงขั้นต้องแลกด้วยชีวิต แพทย์วิเคราะห์พฤติกรรม สมคิด พุ่มพวง ฆาตกรต่อเนื่อง เข้าข่ายอาการไซโคพาธ ฆ่าคนเพราะปมในใจ เคยถูกคนในครอบครัวทำร้าย หล่อหลอมให้เป็นคนไร้สำนึก ไร้ความเห็นใจ
“จ่าคลั่ง” กราดยิง โศกนาฏกรรมกลางเมืองโคราช เปิดปมฉ้อฉลในค่ายทหารจากปมฉ้อฉล ธุรกิจเงินทอนที่คล้ายทำนาบนหลังคนในค่ายทหาร กลายเป็นชนวนโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ สะเทือนขวัญคนทั้งประเทศ
ศักดิ์ ปากรอ กับคดีฆ่าแขวนคอ 5 ศพ ครอบครัวบุญทวี ที่จังหวัดสงขลา หลอนยิ้มสยองฆาตกรโหด ระหว่างสัมภาษณ์กับนักข่าว มือฆ่าไม่ได้สะทกสะท้าน แต่ยังยิ้มกับสิ่งที่ทำลงไป …. มีปมในวัยเด็ก เคยโดนโจรปล้นบ้าน และถูกมัดมือมัดเท้าไว้ทั้งวันก่อนที่จะมีคนมาเจอและช่วยเหลือ
คดีจ้างฆ่าเอ็กซ์ จักรกฤษณ์ แม่หมอนิ่มแค้น ลูกสาวถูกซ้อมทำร้าย ….. แม่หมอนิ่ม เข้ามอบตัวรับทราบข้อกล่าวหา และรับสารภาพเป็นผู้จ้างมือปืนฆ่าเอ็กซ์ จักรกฤษณ์ เพราะเจ็บแค้นที่ลูกสาวถูกทำร้ายมานานกว่า 6 ปี และทำให้แท้งลูกคนที่ 3
นายเสริม สาครราษฎร์ นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 2 ในขณะนั้น ฆ่าหั่นศพ น.ส.เจนจิรา พลอยองุ่นศรี แฟนสาวรุ่นพี่ นักศึกษาแพทย์ ชั้นปี 5 ซึ่งเป็นแฟนแล้วถูกบอกเลิกจึงโกรธ วางแผนชวนมาที่ห้องพัก เพื่อปรับความเข้าใจ แต่ฝ่ายหญิงยืนยันที่จะเลิก จึงใช้ปืนจ่อยิงที่ศีรษะจนเสียชีวิต จากนั้นใช้มีดผ่าตัดชำแหละศพ แยกชิ้นส่วนอวัยวะทิ้งลงชักโครก นำกะโหลกศีรษะทิ้งแม่น้ำบางปะกง
“ไอซ์ หีบเหล็ก” ก่อคดีสะเทือนขวัญ ลงมือฆ่าและอำพรางศพหญิงสาวหลายราย ผ่าดีเอ็นเอโหดจากพ่อสู่ลูก “ไอซ์ หีบเหล็ก” ความรุนแรงเริ่มจากครอบครัว ……. นายไอซ์ถือเป็นคนดี พูดจาสุภาพเรียบร้อย ไม่เคยแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา เพื่อนเชื่อมีปมตอนเด็กถูกเพื่อนล้อพ่อแม่เป็นฆาตกร
เมื่อย้อนดู คดีสะเทือนขวัญดังๆส่วนหนึ่งในประเทศ ก็พบความจริงที่ว่า ………………… อาชญากรของคดีเหล่านั้น คือ เหยื่อรายแรก ของปัญหาความรุนแรง การถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบของใครซักคนหนึ่งมาก่อนเสมอ
จิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาออกมาให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมของฆาตกรพบว่าการเลี้ยงดูจากครอบครัวในวัยเด็กเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญอาจทำให้กลายเป็น “ฆาตกร”
เด็กที่ถูกเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่มีความรุนแรง หรือเหยื่อที่ถูกกระทำ ทำให้มีสภาพจิตใจที่ผิดปกติ สามารถก่อเหตุฆ่าเพื่อนในห้องเรียน ฆ่าแฟนหนุ่มแฟนสาว ฆ่าพ่อแม่ตัวเองและคนในบ้านยกครัว เพียงแค่รู้สึกไม่พอใจ
เด็กที่ขาดความอบอุ่น เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อพัฒนาการ เด็กที่ขาดความรักความเอาใจใส่ เด็กที่ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนเท่าที่ควร หรือมีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจอย่างรุนแรง อาจทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่นิยมการใช้ความรุนแรง และไร้สำนึกผิดชอบชั่วดี โดยพบว่าเหตุจากครอบครัวประกอบด้วย
1. ความรุนแรงในครอบครัว … วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง เคยอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งในครอบครัวอย่างรุนแรงมาก่อน เด็กที่เคยถูกล่วงละเมิดและมีประสบการณ์จากการใช้ความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาแล้วนิยมใช้ความรุนแรง
2. การถูกปฏิเสธหรือถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก … เด็กที่ถูกทิ้งหรือถูกเลี้ยงแบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ตั้งแต่ยังเล็กมาก ๆ ยังอาจส่งผลร้ายแรงต่อการทำงานของสมองในระยะยาว จนอาจมีความผิดปกติทางจิตได้
3. ปัญหาความรักความผูกพัน…หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงดูเด็กให้มีพื้นฐานทางจิตใจที่ดี
4. ความรู้สึกอับอาย ……เด็กที่ถูกทอดทิ้ง ถูกทารุณกรรมทั้งทางร่างกายและทางวาจา หรือมีอคติจากการถูกบูลลี่ ต่าง ๆ ถูกเหยียด ถูกแสดงความรังเกียจจากคนอื่น พจะมีความรู้สึกอับอาย ซึ่งจะกลายเป็นสิ่งที่ติดตัวไปในวัยผู้ใหญ่ และแสดงออกมาในรูปแบบความรุนแรงที่จะปกปิดความอับอายที่เป็นปมอยู่ภายในใจ
“ดังนั้น ตามทฤษฎีหากได้รับความรักในวัยเด็กไม่เพียงพอก็อาจเป็นไปได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าครอบครัวแตกแยกทุกคนจะต้องเป็นแบบนี้ สิ่งสำคัญคือ การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ไม่จำเป็นต้องพ่อแม่ แต่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือพ่อเลี้ยงเดี่ยว ก็ได้ทั้งหมด อยู่ที่ว่าเราให้ความรักมากน้อยแค่ไหน สิ่งสำคัญต้องป้องกันก่อน เพราะหากบุคคลนั้นๆมีพฤติกรรมเข้าข่ายไซโคพาธแล้ว ยิ่งหากอายุ 18 ปีขึ้นไปแล้วก็จะกลายเป็นตัวตนของเขา ซึ่งก็จะยากที่จะแก้ไข แต่ก็พอควบคุมได้ด้วยการเข้ากลุ่มบำบัดพฤติกรรม แต่ป้องกันก่อนจะดีที่สุด” นพ.ศรุตพันธุ์ กล่าว
การตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาและปมชีวิตในวัยเด็ก คือ จุดเริ่มต้นของความเป็น อาชญากร จริงหรือไม่???
คำพูดหนึ่งที่ถูกหยิบยก ขึ้นมาพูดในสังคมปัจจุบันมากขึ้น คือ ‘ยุวอาชญากร’
ในยุคนี้แนวโน้มของความเป็นอาชญกรนั้น ‘เด็กลง-ร้ายขึ้น’??
“ปัจจัยบ่มเพาะยุวอาชญากร” คืออะไร? แนวคิดทางอาชญวิทยา ได้สรุปปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นความเป็นอาชญากร ออกเป็น ปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางจิต ดังนี้
“ปัจจัยทางกายภาพ” เชื่อว่า ความเป็นอาชญากรมีการสืบสายโลหิต โดยบุคคลที่มีญาติหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นอาชญากรมีความเป็นไปได้ว่าบุคคลนั้นมีแนวโน้มในการก่ออาชญากรรมตามญาติหรือสมาชิกในครอบครัว
“ภาวะทุพโภชนาการ” การสารอาหารที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างพัฒนาการไม่ครบถ้วน จนส่งผลต่อระบบร่างกาย เช่น “มีน้ำตาลในเลือดต่ำ” ทำให้คน ๆ นั้น มีการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อคนรอบข้าง หรือมักจะทำให้มีปัญหาด้านการปฏิสัมพันธ์กับสังคม
“ปัจจัยทางจิตใจ” เป็นกระตุ้นให้คนกระทำความผิด ซึ่งอาจมีพัฒนาการมาแต่เด็ก จนติดตัวมาเป็นนิสัยและกระตุ้นให้ทำผิดซ้ำซากขึ้นได้ รวมทั้งปัญหาทางจิตเวช ก็มีส่วนทำให้เกิดการทำผิดขึ้นได้
“ปัจจัยทางสังคม” สิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น สภาพครอบครัว และชุมชนรอบตัว ปัญหาการคบเพื่อนที่ไม่ดีก็มีผลชักนำไปสู่เส้นทางการประกอบอาชญากรรม หรือแม้แต่การได้รับแรงจูงใจและการกระตุ้นจากกลุ่มเพื่อน ซึ่งมีผลกับการ “เลียนแบบอาชญากรรม” และ“ความถี่ในการก่ออาชญากรรม”
การเป็นพ่อคนแม่คน จึงไม่ได้วัดกันที่ผลการผลิตที่ออกลูกเป็นตัวมา มีแต่ปริมาณและไร้คุณภาพ แต่จะต้องเลี้ยงดูให้ความรักความอบอุ่น ปลูกฝังคุณธรรมของความเป็นคน ให้คนหนึ่งคนที่คุณสร้างมา อาจจะดด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ได้เติมโตมาเป็นคนที่ดี มีความสุข และมีคุณภาพของสังคม
เด็กต้องได้รับความอบอุ่น ความรักความเอาใจใส่ การอบรมสั่งสอนควร
เด็กต้องรู้สึกปลอดภัยในสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอยู่
เด็กต้องรู้สึกว่าพวกเขามีตัวตน มีความสำคัญ
เด็กต้องได้รับการปลอบโยนให้รู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในความทุกข์
เด็กต้องรู้สึกว่าตนเองได้รับการปกป้อง
อย่าให้เค้าต้อง กลายเป็น “เหยื่อรายแรก” และกลายเป็น “อาชญากร” เพื่อเข็ญฆ่า “เหยื่อ” รายต่อไปเลย
https://www.sanook.com/campus/1409056/
https://health.kapook.com/view218471.html
https://www.pptvhd36.com/news