หลักการระบุรายละเอียดคำสั่งระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อสร้างภาพ โดย ราชนิรันดร์ ดวงชัย

โดย ราชนิรันดร์ ดวงชัย
 Applications of artificial intelligence (AI) หมายถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างเนื้อหาและอาร์ทิแฟกต์ใหม่ ๆ เช่น รูปภาพ วิดีโอ ข้อความ และเสียง จากพรอมต์ข้อความธรรมดา ๆ ได้ AI ช่วยสร้างต่างจาก AI ในอดีตที่จำกัดอยู่เพียงการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ AI ช่วยสร้างจะใช้ประโยชน์จากดีปเลิร์นนิงและชุดข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อสร้างผลลัพธ์เชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพสูง

พื้นฐานการเขียนคำสั่ง (Prompt) เพื่อสร้างภาพในงานออกแบบสร้างสรรค์จากแอปพลิเคชัน AI นั้นมีความสำคัญมาก เพราะคำสั่งที่ชัดเจนและละเอียดจะช่วยให้ AI สร้างภาพที่ตรงกับความต้องการของเราได้มากที่สุด นี่คือหลักการเขียนคำสั่งที่สามารถแยกเป็นข้อๆ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย:

1. ระบุวัตถุประสงค์ของภาพ: อธิบายว่าภาพนี้จะใช้ในบริบทใด เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การนำเสนอผลงาน หรือการสร้างสรรค์งานศิลปะ

2. ระบุประเภทของภาพ: เช่น ภาพการ์ตูน ภาพถ่ายจริง ภาพ 3D หรือภาพสไตล์อนิเมะ

3. ระบุรายละเอียดของวัตถุหรือบุคคลในภาพ: เช่น ลักษณะของตัวละคร สีผิว สีผม เสื้อผ้า ท่าทาง หรืออุปกรณ์ที่ใช้

4. ระบุฉากหรือพื้นหลัง: อธิบายสถานที่หรือบรรยากาศที่ต้องการ เช่น ห้องนั่งเล่น สวนสาธารณะ หรือเมืองในอนาคต

5. ระบุสไตล์หรือโทนของภาพ: เช่น โทนสีสดใส โทนสีเข้ม สไตล์วินเทจ หรือสไตล์โมเดิร์น

6. ระบุแสงและเงา: อธิบายทิศทางของแสง ความเข้มของแสง และเงาที่ต้องการ

7. ระบุอารมณ์หรือความรู้สึกของภาพ: เช่น ความสุข ความเศร้า ความตื่นเต้น หรือความสงบ

8. ระบุรายละเอียดเพิ่มเติม: เช่น ข้อความหรือคำบรรยายที่ต้องการให้ปรากฏในภาพ

ตัวอย่างคำสั่ง:

“สร้างภาพถ่ายจริงของครอบครัวที่กำลังขี่เวสป้าในสวนสาธารณะในวันที่มีแดดจ้า”

บางในการเขียนคำสั่ง ถ้าเราไม่ระบุในองค์ลักษณะขององค์ประกอบอื่นให้ครบ AI ก็จะออกแบบภาพสุ่มๆมาให้ ถ้าเราใส่รายละเอียดให้ครบมากขึ้นก็จะได้ภาพที่ตรงใจมากขึ้น ดังตัวอย่างคำสั่งต่อไปนี้

“ภาพประกอบหนังสือขนาด A4 สไตล์อนิเมะ ครอบครัวชาวเอเชีย พ่อ แม่ ลูกสาว ที่กำลังขี่เวสป้า ฉากหลังในสวนสาธารณะมีผู้คนมาออกกำลังกาย โทนสีสดใส มีแดดจ้าด้านหลัง แสดงอารมณ์ของภาพอบอุ่นมีความสุข มีรถยนต์จอดฉาก” ได้เป็นผลงานนดังตัวอย่างดังภาพนี้

 ภาพที่ได้ที่ได้รายละเอียดที่มากขึ้นตรงที่ได้ระบุไว้

Applications AI บางตัวสามารถระบุคำสั่งได้หลายอย่างมากกว่าที่กล่าวมาเช่น ruma Lab, Leonardo, runwayml เป็นต้น

ระบุคำสั่งรายละเอียดเพิ่มเติมลักษณะที่ไม่ต้องการให้ปรากฏในภาพ

ยกตัวอย่างคำสั่งได้ดังนี้ กายวิภาคแย่ ใบหน้าที่วาดไม่ดี อยู่นอกกรอบ ไร้สาระ ภาพความละเอียดต่ำ ซ้ำของคน น่าขนลุก ความมืด บ้าคลั่ง น่าขนลุก มือหรือขาหลอมรวมเข้าด้วยกัน พื้นหลังเบลอ ตาเหล่ แขนขาเกิน ถูกทำลายขาดหายของคนวัตถุ ดูขาดน้ำ ประหลาดใจ คุณภาพแย่ไม่เสมอกัน ไม่อยู่ตรงกลาง เป็นต้น

ลักษณะภาพ portrait

headshot = ศีรษะ ไม่ต่ำกว่าไหล่ ถ่ายรูปติดบัตรประมาณนี้

portrait = ศีรษะ ลงมาถึงหน้าอก

full frontal = เต็มตัว ด้านหน้า

full backal = เต็มตัว ด้านหลัง

มุมมองภาพ

1. มุมระดับสายตา (Normal Angle shot)

2. มุมกล้องระยะไกลมาก (Extreme long shot)

3. มุมกล้องระยะไกล (Long shot)

4. มุมกล้องระยะกลาง (Medium shot)

5. มุมกล้องระยะใกล้ (Close-up)

6. มุมกล้องระยะใกล้มาก (Extreme close-up)

7. มุมกล้องระดับสูง (High angle)

8. มุมกล้องระดับต่ำ (Low angle)

9. อื่นๆ เช่น มุมมองแบบตานกมอง (Bird’s eye view) มุมมองมดมอง (Ant’s view)

ชนิดของเลนส์

ถ้าแบ่งตามทางยาวโฟกัสของเลนส์ จะแบ่งได้ดังนี้

1. เลนส์ทั่วไป (Normal Lens),

2. เลนส์มุมกว้าง ( Wide angle Lens ),

3. เลนส์ถ่ายบุคคล (Portrait Lens)

4. เลนส์เทเลโฟโต้ (Telephoto Lens),

5. เลนส์มาโคร (Macro Lens)

6. และเลนส์ตาปลา (Fisheye Lens)

https://medium.com/@rruunn111/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-cfca4c0aac1e