ลูกปัดทวารวดี เครื่องประดับโบราณที่งดงามและเปี่ยมความหมาย

ลูกปัดทวารวดี เป็นเครื่องประดับโบราณที่พบมากในสมัยทวารวดี ซึ่งเป็นยุคที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย มีอายุประมาณ 1,500–1,300 ปี ทำจากวัสดุหลากหลายชนิด เช่น แก้ว หิน และดินเผา โดยมีสีสันและลวดลายที่สวยงามหลากหลาย ซึ่งสะท้อนถึงความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของช่างในสมัยนั้น

ตามความเชื่อดั้งเดิม ลูกปัด คือ เครื่องประดับที่บ่งบอกรสนิยมและสถานภาพทางสังคมของผู้สวมใส่ เป็นเครื่องรางของขลังที่มีพลังอำนาจ บางคนเชื่อถึงการให้โชคลาภ บางครั้งลูกปัดอาจถูกใช้ในพิธีกรรมตามความเชื่อความศรัทธาของมนุษย์ในแต่ละอารยธรรม นอกจากนี้ลูกปัดยังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ หรือแม้กระทั่งการรักษาโรค ลูกปัดเป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้นและใช้เมื่อหลายพันและหลายหมื่นปีมาแล้ว มนุษย์ในสมัยแรกๆ ทำลูกปัดจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น กระดูกสัตว์ เขี้ยว เปลือกหอย เมล็ดพืช เปลือกไม้ ยางไม้ ต่อมามนุษย์ทำลูกปัดจากวัสดุที่ทำขึ้นเอง เช่น ดินเผา แก้ว สำริด ทอง เป็นต้น ลูกปัดถูกใช้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีการขุดพบลูกปัดมากมายในแหล่งอารายธรรมเก่าแก่ทั้งหลาย

ลูกปัดเกิดพร้อมพัฒนาการของมนุษย์ในทุกๆ มุมโลก ลูกปัดจำนวนมากมายบอกเล่าถึงรสนิยม ความเชื่อ ภูมิปัญญา ศิลปะ กระบวนการผลิต เส้นทางการค้า เศรษฐกิจ อายุหรือสมัยที่ผลิตและอาจสื่อถึงนัยยะการเมืองอีกด้วย ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ลูกปัดเป็นมากกว่าเครื่องประดับหรือเครื่องรางของขลังตามความเชื่อของมนุษย์วัสดุที่ใช้ : ส่วนใหญ่ทำจากแก้ว ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถขึ้นรูปได้หลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ยังพบลูกปัดที่ทำจากหิน เช่น หินหยก หินควอตซ์ และดินเผา ซึ่งบ่งบอกถึงความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตในสมัยนั้น

ความพิเศษของลูกปัดทวารวดี
ความหลากหลายของสีและลวดลาย : ลูกปัดทวารวดีมีสีสันที่สดใสและหลากหลาย เช่น สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแดง และสีน้ำตาล นอกจากนี้ยังมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายดอกไม้ ลายเรขาคณิต และลายสัตว์ ซึ่งบ่งบอกถึงความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้สร้าง
รูปทรง : มีทั้งรูปทรงกลม ทรงกระบอก ทรงกระชัง
ลวดลาย : บางลูกปัดมีลวดลายที่สวยงาม เช่น ลายดอกไม้ ลายเรขาคณิต และลายสัตว์ ซึ่งแต่ละลายก็มีความหมายและสื่อถึงความเชื่อที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างของลวดลายบนลูกปัดทวารวดีและความหมายที่เชื่อกัน
ลายลูกยอ : เชื่อกันว่าสามารถรักษาโรคได้ เนื่องจากลวดลายคล้ายผลลูกยอซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง
ลายทวาหัวดำ : หัวและท้ายของลูกปัดจะเป็นสีดำ ส่วนตรงกลางจะเป็นสีขาว เชื่อว่าเป็นเครื่องรางป้องกันคุ้มครอง
ลายนกยูง : เป็นสัญลักษณ์ของความงาม ความอุดมสมบูรณ์ และความเป็นอมตะ
ลายเรขาคณิต : อาจสื่อถึงความสมดุล ความเป็นระเบียบ หรือองค์ประกอบต่างๆ ในจักรวาล
ลายสัตว์: อาจสื่อถึงคุณลักษณะของสัตว์นั้นๆ เช่น ความแข็งแกร่ง ความฉลาด หรือความอ่อนโยน

ความหมายของลูกปัดทวาราวดี
คนสมัยก่อนนิยมลูกปัดซึ่งทำจากหินที่มีค่าสีต่าง ๆ มานาน เจาะเป็นรูสำหรับร้อยเป็นเครื่องประดับสวมคอและข้อมือ สีของลูกปัดทวาราวดีมี 20 สี ดังนี้
1. ทวาราวดีแท้ ดีที่สุดเป็นของสูงหาได้ยากสีออกน้ำตาลอ่อน เนื้อละเอียดมาก ป้องกันปืน ดาบ แหลน หลาว ธนู หน้าไม้
2. ทวาหัวดำท้ายดำ กลางขาว ป้องกันได้เช่นเดียวกับทวารวดีแท้
3. ทวาลูกยอ มีลายเหมือนลูกยอ ใช้สำหรับฝนต้มกับลูกยอเป็นยารักษาโรค
4. ทวาหัวเทียน หัวดำ จะทำให้เกิดไหวพริบปฏิภาณเฉลียวฉลาดหลักแหลม
5. อำพันทอง อยู่ยงคงกระพัน กันโรคนิ่ว หมากัดไม่เข้า เงินทองไหลมา
6. น้ำเงินเนื้อกษัตริย์ มีอำนาจวาสนา ส่งเสริมวาสนาให้สูงขึ้น นำโชคดีมาให้
7. หยก กันอุบัติเหตุ กันผี เป็นมหามงคลอันอุดม
8. เหลือง มีเสน่ห์ เมตตามหานิยม ไปไหนก็มีแต่คนรัก
9. เหลืองสวาทหรือเหลืองตองอ่อน เสน่ห์แรง คนรักใคร่ลุ่มหลง
10. สแลน ป้องกันอุบัติเหตุ
11. หยกขาว ไม่แก่ อายุมั่นขวัญยืน ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บไข้
12. ฟ้า เสริมทรัยพ์ ร่ำรวย
13. ดำ กันผีสาง กันขโมย นำโชค
14. เขี้ยวหนุมาน (แก้วสารพัดนึก) นึกอะไรได้ทั้งนั้น นึกเงินได้เงิน นึกทองได้ทอง
15. ส้มปู อยู่ยงคงกระพัน รวยมาก ไม่อดอยาก ดูดพิษสัตว์ได้
16. น้ำผึ้ง มีวาสนา มีความสุข มีชีวิตสดชื่นอยู่เสมอ หวานเหมือนน้ำผึ้ง
17. สีแดงเข้ม มีอำนาจดังพญาราชสีห์ คนไม่กล้าทำร้าย โชคดี
18. สีอิฐ ป้องกันเขี้ยวงา อสรพิษกัดต่อย
19. สีม่วง คนเมตตาสงสาร นำทรัพย์สินมาให้ อุปถัมภ์ตลอดและคอยช่วยเหลือส่งเสริมบารมีให้สูงยิ่งขึ้น
20. อิฐไส้ดำหรืออิฐหน้าดำ ป้องกันปืน ดาบ หลาว แหลน ธนู หน้าไม้และอาวุธต่างๆ อยู่ยงคงกะพัน

นิยามของลูกปัด
“ลูกปัด” (Beads) ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง เม็ดแก้วมีรูตรงกลางสำหรับร้อยเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ “ลูกปัด” จึงมืองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่
1. วัสดุ อาจเป็นแก้ว หิน รวมถึงวัสดุอื่น ๆ ที่มีความสวยงาม มีค่าและเป็นที่นิยม
2. มีรูตรงกลาง ลูกปัดจะต้องมี “รู” อยู่ตรงกลางเสมอ ส่วนประเภทที่มีรูแต่ไม่อยู่ตรงกลางอาจะอยู่ที่มุมด้านใดด้านหนึ่ง อาจเรียกว่าจี้ (Penden) เพราะเป็นเครื่องประดับประเภทเดียวกัน เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานแบบเดียวกัน
3. ใช้ร้อยเป็นเครื่องประดับ ลูกปัดนอกจากจะต้องมีรูแล้วต้องสามารถร้อยเป็นเครื่องประดับได้ หากมีรู แต่ใช้ร้อยไม่ได้ เช่น เจาะรูไม่ทะลุ หรือยังไม่ได้เจาะรู ก็ยังไม่ถือว่าเป็นลูกปัดที่สมบูรณ์ ส่วนวัสดุที่เจาะรูตรงกลาง เพื่อใช้เป็นตถุประสงค์อย่างอื่นไม่ได้ใช้ร้อยเป็นเครื่องประดับ ก็ไม่อาจเรียกว่าลูกปัด รูปแบบการร้อย ไม่ว่าจะร้อยประดับส่วนไหนของร่างกาย หรือใช้กับสัตว์อื่น ๆ นอกจากมนุษย์ก็ถือว่าเป็นลูกปัดเช่นเดียวกัน

การกำเนิดลูกปัด
ลูกปัดเป็นเครื่องประดับรูปแบบแรกๆ ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการเกิดสังคมนุษย์ ในยุคแรกเริ่มลูกปิดถูกทำขึ้นด้วยวัสดุที่พบได้ในชีวิตประจำวัน เลือกเอาชนิดที่นิดที่มีความสวยงามและคงทนนำมาแต่งทรงเจาะรูร้อยเรียง ให้ดูสวยงาม สามารถเก็บสะสมได้ และสามารถนำมาใช้แลกเปลี่ยนสิ่งของอื่นๆ รูปแบบของลูกปัดถูกกำหนดโดย วัตถุประสงค์ของการใช้งาน คือใช้ร้อยประดับตามร่างกาย ดังนั้นลูกปัดไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนหรือยุคสมัยใดจึงต้องมี “รู” ลูกปัดในยุคแรกเริ่มสามารถเกิดขึ้นในสังคมทุกหนทุกแห่ง และมีรูปแบบคล้ายคลึงกัน เกิดจากพื้นฐานด้านความคิด ความต้องการ และวิวัฒนาการทางสังคมที่เหมือนๆ กัน โดยเริ่มจากการนำวัสดุตามธรรมชาติ (Natural materials) ที่พบได้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น เมล็ดพืช เปลือกหอย กระดูก
เขาสัตว์ นำมาขัดแต่งขึ้นรูปเป็นทรงพื้นฐานง่ายๆ เช่น ทรงกลม ทรงแบน ทรงกระบอก ต่อมาจึงค่อยพัฒนารูปแบบและรูปทรงหลากหลายมากยิ่งขึ้น มีการแสวงหาวัตถุดิบการผลิตก็หลากหลายมากขึ้น

วัสดุการผลิตลูกปัด
วัสดุที่ใช้ผลิตลูกปัดมีหลากหลายประเภท ในยุคเริ่มต้นส่วนใหญ่เป็นเศษที่นำมาจากธรรมชาติที่พบได้ในชีวิตประจำวัน หรือในท้องถิ่นใกล้เคียง โดยทั่วไปการผลิตลูกปัดแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
1. วัสดุที่หาได้เองตามธรรมชาติ เช่น วัสดุอินทรีย์ หิน แร่
2. วัสดุสังเคราะห์ เช่น แก้ว โลหะผสม

รูปทรงของลูกปัด
ทรงของลูกปัดเริ่มมาจากการเลียนแบบรูปทรงของวัสดุตามที่พบในธรรมชาติ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนารูปทรงใหม่ๆ ที่สวยงามและเหมาะกับการใช้งานมากขึ้น โดยเฉพาะรูปทรงแบบเรขาคณิตง่ายๆ บางรูปทรงได้รับความนิยมต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เช่น ทรงกลม ทรงเหลี่ยม ทรงแบน เป็นต้น การพัฒนารูปทรงชับช้อนหลากหลายตามสมัยนิยมที่เปลี่ยนแปลงไป รูปแบบรูปทรงของลูกปิดในยุคต่อมายังนำเอาอิทธิพลของความเชื่อ ศาสนา เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ทำให้เกิดความหลากหลายด้านรูปทรงเป็นจำนวนมาก การจัดหมวดหมู่รูปทรงลูกปัดโบราณของ Horace C. Beck ซึ่งได้รวบรวมเอาไว้ตั้งแต่ปี ศ.ศ. 1928 (พัชรี สาริกบุตร, 2523, น.173) ได้แบ่งหมวดหมู่รูปทรงพื้นฐานย่อย ๆ ของลูกปัดออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. รูปทรงมาตรฐาน (Standard Beads)
2. รูปยาว (Long Beads)
3. รูปสั้น (Short Beads)
4. รูปแบแบน (Short Beads )

โดยนำมาพิจารณาร่วมกับลักษณะหน้าตัดด้านหน้าและหน้าตัดด้านข้างของลูปัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่
1. กลุ่มหน้าตัดรูปโค้ง เช่น หน้าตัดรูปวงรี, หน้าตัดรูปครึ่งวงกลม
2. กลุ่มหน้าตัดรูปเหลี่ยม เช่น หน้าตัดรูปสามเหลียม สี่เหลี่ยม หน้าตัดรูปห้าเหลี่ยม
เมื่อนำรูปทรงมาจับคู่กับรูปแบบหน้าตัดด้านหน้าและด้านข้างแบบต่าง ๆ ให้เกิดรูปแบบรูปทรงที่เป็นไปได้เกิดขึ้นมากมาย แต่ในความเป็นจริงจากลูกปัดที่พบบางรูปทรงก็เป็นที่นิยม หรือบางรูปทรงแทบไม่พบนำมาผลิตลูกปัดเลยก็มี

การกำหนดชื่อเรียกลูกปัด
เนื่องจากไม่สามารถสืบค้นหาหลักฐานการเรียกชื่อลูกปัดได้ จึงมีการกำหนดชื่อเรียกลูกปัดรูปแบบต่างๆ ขึ้นมาใหม่ในปัจจุบัน เพื่อความสะดวกในการสื่อความหมายให้ตรงกัน หลักเกณฑ์เรียกชื่อไม่มีกำหนดแน่นอนตายตัว อาจแตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่น การกำหนดชื่อเรียกลูกปัดในเบื้องต้นพิจารณาตามลักษณะรูปทรงที่พบเห็น รวมทั้งการเทียบเคียงกับลักษณะรูปร่างของสิ่งของอื่น ๆ โดยทั่วไปหลักการกำหนดชื่อลูกปัดพอสรุปกว้าง ๆ ได้ดังนี้

1. พิจารณาจากลักษณะทางกายภาพภายนอก รูปทรง เนื้อลูกปัด สี ลาย ว่าเหมือนกับอะไร นำมาเรียกรวมกันเพื่อเจาะจงตัวลูกปัดรูปแบนั้น ๆ เช่น ส้มกลม=คาร์เนเลี่ยนกลม (สี+รูปทรง) อเกตกลม (เนื้อ+รูปทรง) ทุ่นสัมเหลี่ยม (รูปทรง+สี+ลักษณะเฉพาะ) เป็นต้น

2. แหล่งที่พบครั้งแรก หรือพบหนาแน่น หรือมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เช่น ถังเบียร์แบบบ้านเชียง (ลักษณะรูปทรง+รายงานการค้นพบครั้งแรก)

3. เรียกชื่อเฉพาะ โดยเทียบเคียงสิ่งของหรือวัตถุที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น แห้ว (อเกตสีดำ ลักษณะกลมแบนคล้ายหัวแห้ว) ม้าลาย (ลูกปัดหินหรือแก้วที่มีลายสีดำสลับขาว เหมือนสีของสีของม้าย) เม็ดพริกไทย (ใช้เรียกลูกปัดทรงกลมขนาดเล็กเท่าเม็ดพริกไทย)

4. เรียกชื่อจากจินตนาการหรือความเชื่อ เช่น ลูกปัดนกแสงตะวัน ลูกปัดมีรูปนก อีกด้านเป็นรูปดาวแฉก (ดวงอาทิตย์) ลูกปัดสุริยะเทพ (ลูกปัดแก้วรูปหน้าคนที่มีแถบสีรอบ ๆ คล้ายแสงอาทิตย์)

5. เรียกชื่อตามสัญลักษณ์ที่พบหลักฐานการเรียกชื่อมาตั้งแต่โบราณอยู่แล้ว เช่น ตรีรัตนะ สวัสดิกะ

6. เรียกชื่อตามรูปลักษณ์ที่ปรากฏ หรือคาดเดาได้ว่าคนโบราณต้องการสื่อถึงสิ่งนั้น เช่น รูปตัวสัตว์ชนิดต่าง ๆ เขี้ยว หอก ดาบ ขวาน ใบไม้ เป็นต้น

https://www.bsru.ac.th
https://medium.com/@janyawan.ja/