“รู้จักปูนน้ำอ้อย : ปูนฉาบผนังโบราณ องค์ความรู้สำหรับ การอนุรักษ์โบราณสถานสำคัญในประเทศไทยใน 2 นาที”

             น้ำตาลโอวทึ้ง ส่วนผสมสำคัญสำหรับการทำปูนน้ำอ้อยฉาบผนังโบราณ

             โบราณสถานสำคัญในประเทศไทยที่มีจิตรกรรมฝาผนัง มักเป็นโบสถ์ วิหาร ที่ตั้งอยู่ในวัด หรือใน หมู่พระที่นั่ง ที่ตั้งอยู่ในวัง ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่มีการก่ออิฐถือปูนและฉาบผนังด้วย “ปูนน้ำอ้อย” ซึ่งเป็น ปูนฉาบตามองค์ความรู้ของช่างโบราณที่ใช้วิธีสืบทอดแบบปากต่อปากจากครูสู่ลูกศิษย์ จากช่างรุ่นพี่สู่ช่าง รุ่นใหม่และกำลังจะเลือนหายไปตามเวลา ปูนชนิดนี้มีคุณสมบัติเฉพาะคือเมื่อแห้งแล้วจะทนทานอยู่ได้เป็น ร้อยปี และความชื้นจากใต้พื้นดินที่ซึมขึ้นผนังสามารถระเหยออกจากผนังได้ผ่านรูพรุนของวัสดุที่ประกอบเป็นปูนฉาบ ซึ่งมีผลดีต่อตัวอาคารในการช่วยลดความชื้นที่ดูดซึมขึ้นผนังจากน้ำในใต้ดินที่อาคารตั้งอยู่

             ผู้เขียนมีโอกาสสัมภาษณ์ “ครูเชาวลิตร เนินพรหม” ครูช่างเกี่ยวกับสูตรปูนน้ำอ้อยแบบภูมิปัญญาช่างโบราณ ได้ความว่า

อ่านต่อ