มโนทัศน์พื้นฐานระบบไวยากรณ์
มโนทัศน์ในระบบไวยากรณ์นั้นนักภาษาศาสตร์มักแบ่งการวิเคราะห์ไวยากรณ์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวิเคราะห์โครงสร้าง (syntactic analysis) และกลุ่มการวิเคราะห์เชิงความหมาย (semantic analysis) ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ กลุ่มวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง ดังนี้
1. ไวยากรณ์ดั้งเดิม
นักไวยากรณ์ดั้งเดิมภาษาไทยที่ได้รับการยอมรับของไทย คือท่านพระยาอุปกิตศิลปสาร ซึ่งได้อธิบายแนวคิดไว้ดังนี้
1.1 ไวยากรณ์ดั้งเดิม เป็นไวยากรณ์ที่มีรากฐานอยู่บนกฎที่ยึดถือกันมาเป็นประเพณี กำเนิด
มาจากไวยากรณ์กรีก และละติน
1.2 ไวยากรณ์ดั้งเดิมเป็นไวยากรณ์บังคับ (prescriptive) มีความเข้มงวด ความศักดิ์สิทธิ์
เพราะมีจุดยืนที่ว่าไวยากรณ์ด้องทำหน้าที่ชี้ให้ผู้ใช้ภาษาเห็นแต่สิ่งที่ถูกต้อง หรือมาตรฐาน เพื่อให้สังคม ยึดถือปฎิบัติตาม และแก้ไข หรือลบล้างลักษณะที่ไม่ถูกต้องในภาษาให้หมดไปถึงแม้จะเป็นรูปแบบที่ใช้ทั่วก็ตาม
1.3 ไวยากรณ์ดั้งเดิมเน้นภาษาเขียน เพราะในสมัยแรกเริ่มนักไวยากรณ์วิเคราะห์แต่ภาษาเขียน ไม่นิยมภาษาพูดเนื่องจากไม่ได้รับความสนใจ และยังถือว่าเป็นรูปแบบที่วิบัติอีกด้วย
1.4 ไวยากรณ์ดั้งเดิมใช้หลักตรรกวิทยาในการตัดสินว่ารูปแบบใดถูกหรือผิด ไม่ได้ตัดสินจากความรู้ของเจ้าของภาษา หรือรูปแบบที่ปรากฏในการใช้ชีวิตประจำวัน
1.5 เนื้อหาของไวยากรณ์ดั้งเดิม เน้นเรื่องชนิดของำ และประเภททางไวยากรณ์ทีเกี่ยวพันกับคำ จึงมีการเน้นระบบวิภัตติปัจจัยเพราะเป็นลักษณะของภาษาอินโดยูโรเปียน ซึ่งเป็นภาษาที่ให้กำเนิดไวยากรณ์ดั้งเดิม ภาษาที่ไม่มีวิภัตติปัจจัยจึงไม่ได้รับความสนใจ
1.6 ไวยากรณ์ดั้งเดิมไม่มีเกณฑ์ที่เป็นระบบในการจำแนกหน่วยต่างๆ เช่นเรื่องชนิดของคำมักใช้เกณฑ์ความหมาย และหน้าที่ แต่ไม่มีความเป็นวัตถุวิสัย ทำให้เกิดการซ้อนเกิน หรือความลักลั่นในการจำแนก
1.7 ไวยากรณ์ดั้งเดิมไม่มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ในการวิเคราะห์ทางวากยสัมพันธ์ ไม่มีแนวทางการวิเคราะห์ที่เห็นได้ชัด เพราะจุดประสงค์ คือการชี้บอกว่าอะไรถูก อะไรผิด มิใช่เพื่อให้ข้อสรุปเกี่ยวกับภาษาที่ใช้จริงๆ
2. ไวยากรณ์โครงสร้าง
ไวยากรณ์โครงสร้างเน้นการวิเคราะห์ภาษาอย่างวิทยาศาสตร์ เน้นภาษาพูด เน้นรูปของภาษามากกว่าความหมาย สิ่งที่สำคัญที่สุดในไวยากรณ์โครงสร้าง คือ โครงสร้าง ซึ่งหมายถึงวิธีที่ส่วนต่างๆ รวมกันเป็นหน่วยสร้าง หรือการที่หน่วยเล็กรวมตัวกันเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้น ดังนั้น ไวยากรณ์โครงจึงเน้น ชั้น (layer) หรือ ระดับ (level) ของหน่วยต่างๆ เช่น หน่วยเสียง หน่วยคำ คำ วลี และประโยค (เรียงจากเล็กไปหาใหญ่ หรือต่ำไปหาสูง) นักภาษาศาสตร์ กลุ่มนี้ ได้แก่ ชาร์ลส์ ซี ฟรีส (Charles C. Fries) ดับเบิ้ลยู เนลสัน ฟราน ซิส (W. Nelson Francis) และนักไวยากรณ์โครงสร้างของไทย วิจินตน์ ภาณุพงศ์
3. หลักการในการวิเคราะห์ไวยากรณ์โครงสร้างภาษาไทย
หลักการในการวิเคราะห์ไวยากรณ์โครงสร้างภาษาไทย คือ เน้นภาษาพูดเป็นอันดับแรก และพยายามแยกภาษาพูดออกจากภาษาเขียน เน้นความเป็นวิทยาศาสตร์ คือสังเกตโดยตรง และไม่ตัดสินความถูกผิด สนใจรูปภาษามากกว่าความหมาย และใช้ถ้อยคำเป็นหน่วยในการวิเคราะห์
3.1 การจำแนกหมวดคำ
ในการจำแนกชนิดของคำ ซึ่ง วิจินตน์ ภาณุพงศ์ เรียกว่าหมวดคำ โดยใช้เกณฑ์ ตำแหน่งของคำ โดยมีกรอบประโยคทดสอบเหมือนพรีส และแบ่งคำออกเป็น 26 หมวด เช่น หมวดคำนาม หมวดคำกริยาอกรรม หมวดคำกริยาสกรรม และอื่น ๆ
3.2 วลี
วิจินตน์ ภาณุพงศ์ ให้คำจำกัดความ วลี ว่าเป็นส่วนของประโยค จะประกอบด้วยคำๆเดียว หรือหลายคำก็ได้ แบ่งเป็น 5 ชนิด ได้แก่ นามวลี กริยาวลี พิเศษวลี สถานวลี กาลวลี
3.3 อนุพากษ์
ไวยากรณ์โครงสร้างของไทย วิจินตน์ ภาณุพงศ์ มี 4 ชนิด ซึ่งเข้าใจว่าแบ่งตามหน้าที่ ได้แก่ อนุพากษ์นาม อนุพากษ์คุณศัพท์ อนุพากษ์วิเศษณ์ อนุพากษ์หลัก
3.4 การวิเคราะห์ประโยค
ใช้วิธีระบุหน่วยโครงสร้างในประโยค โดยใช้ตัวอักษรย่อระบุหน้าที่ เช่น ป หมายถึงประธาน อ หมายถึง อกรรมกริยา ส หมายถึง สกรรมกริยา ท หมายถึง กริยาทวิกรรม ซึ่งเป็นกริยาที่ต้องการกรรม 2 ตัว ได้แก่ กรรมตรง และกรรมรอง ต หมายถึง กรรมตรง และ ร หมายถึง กรรมรอง นด หมายถึง หน่วยนามเดี่ยว
ตัวอย่าง การวิเคราะห์
ประโยค มีโครงสร้างแบบ
แม่ นด
เหนื่อย อ
ฝนตก ป อ
หิวน้ำ ส ต
คน เคาะ ประตู ป ส ต
แม่ให้ของตำรวจ ป ท ต ร
กรณีที่มีการย้ายกรมไว้หน้าประโยค การระบุโครงสร้างก็เปลี่ยนไป เช่น
ยา น้อง เพิ่งทาน ต ป ส
3.5 การวิเคราะห์ภาษาไทยด้วยวิธีวิเคราะห์หน่วยประชิด
ถึงแม้จะไม่มีตำราไวยากรณ์ใดของไทยที่ใช้วิธีวิเคราะห์หน่วยประชิดกับภาษาไทย เราอาจประยุกต์วิธีที่ใช้กับภาษาอังกฤษ มาวิเคราะห์ได้เหมือนกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
พ่อ กับ แม่ ไป ทำงาน แล้ว
หน่วยสร้างเข้าศูนย์ หน่วยสร้างที่มีส่วนประกอบ 2 แบบ คือแบบที่เป็นส่วนหลักซึ่งต้องมีเสมอ และส่วนขยายหรือเติมเต็มที่อาจมีหรือไม่มีก็ได้ กล่าวง่ายๆคือ หน่วยสร้างเข้าศูนย์มีโครงสร้างแบบขยายและแบบเติมเต็ม
หน่วยสร้างไร้ศูนย์ คือหน่วยสร้างที่มีส่วนประกอบสำคัญทั้งคู่ ไม่สามารถตัดส่วนใดออกได้ อันที่จริงหน่วยสร้างแบบนี้มีโครงสร้างแบบภาคแสดง บุพบทวลีก็เป็นหน่วยสร้างประเภทนี้
หน่วยสร้างความรวม เป็นหน่วยสร้างที่มีส่วนประกอบที่มีน้ำหนักเท่าเทียมกัน และอาจเชื่อมด้วยคำเชื่อม เช่น และ แต่ หรือ
สรุปลักษณะเด่นการวิเคราะห์ไวยากรณ์โครงสร้างภาษาไทยเน้นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน การวิเคราะห์เป็นแบบอุปมัย (inductive) กล่าวคือวิเคราะห์ข้อมูลแล้วจึงสรุปภาพรวมใช้ชุดข้อมูล(corpus) ภาษาที่ใช้จริงๆ เช่นตัวอย่างไวยากรณ์ของฟรีสเป็นไวยากรณ์แบบพรรณนา (descriptive) กล่าวคือให้ข้อเท็จจริงว่าภาษามีโครงสร้างอย่างไร ไม่เป็นแบบตัดสินหรือบังคับให้ใช้แต่ที่นักไวยากรณ์คิดว่าถูกต้อง (presciptive) เป็นวิทยาศาสตร์ ในแง่ที่การวิเคราะห์และการสรุปความเป็นไปตามข้อเท็จจริงไม่มีการเอนเอียง แบบวัตถุวิสัย (Objective) ไม่มีโครงสร้างลึก หรือ ไม่มีการแบ่งโครงสร้างเป็นหลายระดับ (แบบไวยากรณ์ปริวรรต) ไม่มีการสร้างทฤษฎีเชิงอธิบาย กล่าวคือไม่ตีความเกินกว่าที่ข้อมูลแสดงให้เห็นคุณสมบัติข้อนี้เอง ทำให้ชอมสกีโจมตีว่าไวยากรณ์โครงสร้างมีความสมบูรณ์อยู่เพียง ที่ระดับการพรรณนาเท่านั้น ในการวิเคราะห์ ใช้หน้าที่ของภาษาเข้ามาพิจารณาด้วย ไม่มีการเขียนกฎอย่างเป็นรูปแบบชัดเจน (formal rules) ไม่มีแนวร่วมในการวิเคราะห์ กล่าวคือไม่มีการปฏิบัติตามแนวทาง (approach) ที่เหมือนกัน หรือที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน ไม่เหมือนกับไวยากรณ์ระยะหลัง เช่น ไวยากรณ์ปริวรรตไวยากรณ์การก ที่มีการยึดแนวทางหรือวิธีการแบบเดียวกันไม่มีเงื่อนไขบังคับ (constraints) เน้นโครงสร้าง และความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (syntagmatic relationship) เน้นระดับหรือลำดับชั้นของหน่วยต่างๆ ในโครงสร้าง หน่วยใหญ่ประกอบด้วยหน่วยที่เล็กรองลงมา เน้นความร่วมสมัย (synchronic) ไม่เน้นความเป็นพลวัต (dynamic) หรือการข้าม สมัย(diachronic) ผลการวิเคราะห์ในไวยากรณ์โครงสร้างถือว่าเป็นความจริงในสมัยหนึ่งเท่านั้น
ไวยากรณ์ปริวรรต
ทฤษฏีไวยากรณ์ปริวรรตเพิ่มพูน (Transformational-Generative Grammar) ซึ่งแสดงให้รู้ถึง การที่เจ้าของภาษาหนึ่งๆ จะเข้าใจระบบไวยกรณ์ในการใช้ภาษาจริงๆ
แนวคิดพื้นฐานทางภาษาศาสตร์ของ นอม ชอมสกี้
งานวิจัยทางภาษาศาสตร์และทฤษฎีในเรื่องความสามารถและการทำงานของสมองของชอมสกี้ เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในทางวิชาการว่าเป็นวิวัฒนาการทางภาษาศาสตร์ ที่นำไปสู้ทฤษฎีใหม่ๆ เป็นประโยคอย่างยิ่งยวดต่อวงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีของการค้นพบระบบในภาษาที่มีชื่อว่า ไวยากรณ์ปริวรรตเพิ่มพูน (Transformational-Generative Grammar) ซึ่งเป็นการพัฒนามาจากความสนใจทางด้านตรรกวิทยา และคณิตศาสตร์ที่เขาสนใจ ด้วยแนวคิดทั้งหลายของเขาได้นำไปสู่ทฤษฎีที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งอธิบายปรากฏการณ์ทางภาษา การรับรู้เข้าใจ และการได้มาของภาษาในมนุษย์ในเวลาต่อมา
แนวคิดพื้นฐานทางภาษาศาสตร์
ชอม สกี้ ได้พยายามแนวคิดในการอธิบายมนุษย์ โดยการนำเสนอทฤษฏีไวยกรณ์
ปริวรรตเพิ่มพูน (Transformational-Generative Grammar) ซึ่งแสดงให้รู้ถึงการที่เจ้าของภาษาหนึ่ง ๆ จะเข้าใจระบบไวยกรณ์ในการใช้ภาษาจริงๆ ในชีวิตประจำวัน โดยที่เขาชี้ให้เห็นว่าเจ้าของภาษานั้นๆ จะสามารถสร้างประโยคในภาษาได้อย่างจำกัดหรือไม่รู้จบโดยอาศัยกฎของภาษาในจำนวนที่จำกัด และความสามารถนี้เป็นสิ่งที่กล่าวได้ว่าเป็นตัวนำผู้ที่เกิดและเติมโตมาพร้อมกับภาษานั้นให้กลายเป็นผู้ใช้ภาษาที่สมบูรณ์แบบ (Native Speaker) ที่เป็นเช่นนี้ สืบผลเนื่องมาจากการทำงานอันทรงประสิทธิภาพของสมองมนุษย์ซึ่งถ้าว่าไปแล้วอาจมีข้อจำกัดในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ในเรื่องของการแสดงออกทางภาษาแล้วนั้น มนุษย์ที่มีสติปัญญาประกอบย่อยสามารถสร้างและเข้าใจประโยคในภาษาของตนที่ยาวและยากอย่างไม่มีปัญญา ในปี 1890 ชอมสกี้ได้เสนอความคิดหลักที่สำคัญนี้ในการอธิบายภาษามนุษย์ดังนี้ความรู้ในภาษานี้หมายถึงการที่เจ้าของภาษาหนึ่งๆ จะรู้อย่างเป็นอัตโนมัติในไวยกรณ์ภาษาของตัวเองโดยไม่ได้ผ่านการเรียนอย่างเป็นทางการ โดยความรู้นี้คือความสามารถในการตัดสินความถูกผิดของภาษาในประโยคถึงแม้ว่าจะไม่เคยได้ยินประโยคนั้นมาก่อนก็ตาม เช่นคนไทยเรารู้ได้ทันทีว่า “เขาพวกเห็นควายอันหนึ่ง” เป็นประโยคที่ผิด หรือคนอังกฤษจะรู้ได้ทันทีว่า “I want to see him”นั้นถูกต้อง แต่ประโยคที่ว่า “I want to seeing him” นั้นผิดถึงแม้ว่าทุกคำที่ใช้ในประโยคนี้จะเป็นคำที่มีใช้ในภาษาอังกฤษก็ตาม ในทางกลับกัน การใช้ภาษานั้นคือความสามารถจริงๆของเจ้าของภาษาในการถ่ายทอดความให้เกิดความหมายความเข้าใจได้ โดยทั้งนี้ทั้งนั้นการใช้ภาษาจะไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นถึงแม้เจ้าของภาษาจะรู้กฎทางภาษาที่ถูกหรือผิดก็ตาม เพราะความผิดพลาดนี้อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น การพูดผิด หรือพูดไมจบประโยคเพราะ เหนื่อย ตื่นเต้น ตกใจ เบื่อไม่สนใจ เป็นต้น ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า การใช้ภาษาเป็นรูปธรรมที่เราเห็นได้ และความรู้ความเข้าใจภาษาเป็นนามธรรมที่อยู่ในตัวผู้ใช้ภาษาที่มองไม่เห็นนั้นเอง
โครงสร้างลึก (Deep structure) และโครงสร้างผิว (Surface structure )
โครงสร้างลึกคือความคิดหรือความหมายจริงๆที่อยู่ในหัวสมองของผู้พูดภาษา ส่วนโครงสร้างผิวนั้นคือสิ่งที่ผู้พูดพูดหรือเขียนออกมาซึ่งมีรูปเดียวกัน ถึงแม้ความหมายจากโครงสร้างลึกมีมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น การที่เจ้าของภาษาพูดว่า “The parents of John and Marry are waiting” ประโยคนี้มีโครงสร้างผิวที่เหมือนกัน (ตามรูปแบบประโยค) แต่จริงๆแล้วประโยคนี้อาจมีสองความหมาย คือ พ่อแม่ทั้งของจอห์นและแมรี่กำลังคอย หรืออาจหมายถึงว่า พ่อแม่ของจอห์นและแมรี่กำลังคอย โดยเราจะเห็นได้ว่าความหมายที่เราเห็นเป็นสองอย่างนี้มาจากโครงสร้างลึกในภาษานั้นเอง ความคิดหลักๆเหล่านี้ได้ชี้ให้เราได้เห็นภาพของทฤษฎีไวยากรณ์ปริวรรตเพิ่มพูนซึ่งแสดงให้เห็นถึงรูปแบบและกระบวนการความสามารถของมนุษย์ในการผลิตและเข้าใจภาษาที่ใช้เพื่อการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีไวยากรณ์เพิ่มพูนนี้หาได้เป็นสิ่งเดียวที่อธิบายและปรากฏการณ์ทางการรู้และใช้ภาษาของมนุษย์ไม่ เพราะสิ่งที่สำคัญที่ชอมสกี้ได้นำเสนอก็คือ ความมหัศจรรย์ของสมองงที่ให้ความรู้ทางไวยากรณ์ในภาษารอพร้อมอยู่แล้ว สิ่งที่มนุษย์ต้องการเป็นสิ่งรองก็คือ การได้มีโอกาสในการได้ยิน และมีปฎิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ในสังคมเดียวกันเพื่อให้ความสามารถทางภาษาที่ติดตัวมานี้ได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาของชอมสกี้เกิดขึ้นหลังจากยุคทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ที่ เชื่อว่าการเรียนรู้ภาษาของมนุษย์หลักๆแล้วเกิดจากการที่มนุษย์เมื่อแรกรู้ความได้ฟังและพูดตามแบบภาษาซ้ำๆกัน (จากการกระตุ้นและเลียนแบบ) แล้วจึงเกิดความจำในตัวภาษาและนำไปใช้ได้ในที่สุด ซึ้งชอมสกี้ได้โต้แย้งว่าแค่ความสามารถที่ติดตัวมาข้างต้นเพียงพอสำหรับการได้มาซึ่งภาษาแล้วการเลียนแบบและทำซ้ำเป็นเพียงปัจจัยย่อยที่ส่งเสริมการใช้ภาษาในสถานการณ์จริงเท่า ทฤษฎีของชอมสกี้นี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวาง และเป็นทฤษฎีหลักในการเป็นแม่แบบในการศึกษาทฤษฎีอื่นๆ ที่เชื่อมโยง ซึ่งได้แก่การศึกษาเรื่องของสมองมนุษย์ และการศึกษาภาษาศาสตร์ปริชาน (Cognitive Linguistics) ซึ่งเปรียบเทียบสมองมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก ในแง่ที่ว่าคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตราบใดที่มันได้ถูกวางโปรแกรมไว้อย่างมีระบบตั้งแต่เริ่มแรก เช่นเดียวกับสมองของมนุษย์ที่มีการวางโปรแกรมทางภาษามาตั้งแต่แรกเกิด ซึ้งอาจเรียกโปรแกรมที่อยู่ในสมองของมนุษย์นี้ว่า LAD ( LanguageAoquisitiion Device )
ชอมสกี้ได้เสนอความคิดอีกอย่างหนึ่งซึ่งกล่าวว่า มนุษย์สามารถเรียนรู้ภาษาได้ด้วยไม่จำเป็นต้องเรียนกฎอย่างเป็นทางการใดๆในภาษาแม้แต่น้อย ในความจริงแล้วทุกๆภาษามีกฎหรือรูปแบบที่เป็นไปในทางเดียวกันแทบทั้งสิ้น แต่ผลของกฎที่เป็นไปในรูปของการแสดงออกทางภาษาในระหว่างมีปฎิสัมพันธ์นั้นอาจแตกต่างกันอย่างมากมายโดยขึ้นอยู่กับข้อจำกัดเฉพาะบางประการของภาษาต่างๆ ที่ไม่สามารถให้เห็นรูปทางภาษาที่เหมือนกันได้
แนวคิดเรื่องไวยากรณ์สากล (Universal Grammar) ของชอมสกี้ พยายามจะอธิบายการ
ได้มาซึ่งภาษาของมนุษย์โดยทั่วไป มิได้อ้างถึงว่าภาษามีความเหมือนกันทุกประการในเรื่องไวยากรณ์หรือโครงสร้างผิวที่ใช้ในการพูด ฟัง อ่าน หรือ เขียน แต่อย่างใด หากแต่ไวยากรณ์สากลนี้ได้พยายามกล่าวถึงการได้มาซึ่งภาษาของมนุษย์ตั้งแต่เด็กที่พยายามจะสื่อสารโดยใช้ข้อความตามความรู้สึกที่ต้องการสื่อโดยใช้รูปแบบภาษาที่เข้าใจได้ในภาษานั้นๆ (ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันอยู่ในทุกภาษา) และแนวคิดนี้นี้เองที่ทำให้ แนวคิดทางภาษศาสตร์ของชอมสกี้โดดเด่นแตกต่างจากแนวคิดของนักภาษาศาสตร์คนอื่นๆ และได้รับการยกย่องให้เป็นทฤษฎีแม่บทอีกบทหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาภาษาจนถึงปัจจุบัน
บทความนี้ผู้เขียนแปลและเรียบเรียงจาก
1. Bursky, Robert F. 1997. Noam Chomsky: A Life of Dissent. Cambridge: The MIT Press.
2. Lyons, John.1978.Noam Chomsky. New York : Penguin Books.
3. Richards, Jack C; Platt, John :Platt, Heidi.1988. Longman Dictionary of Language :Applied Linguistics. English- Chinese edition.
4. Addison Longman China Ltd.http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id= joechou: month = 01-2009:date=28: group=4: gblog= 1