มูลค่าทางเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม
ในที่นี้แยกได้เป็นมูลค่าจากการใช้ของบุคคล (individual preference) โดยทั่วไปแล้วคนแต่ละคนจะมีมูลค่าที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิด (held value) มูลค่านี้คือพื้นฐานของความชอบ (preference) ของแต่ละคน และเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจของทรัพยากร มูลค่าในส่วนนี้ประกอบด้วย
(1) มูลค่าจากการใช้โดยทางตรง (direct use values ) ซึ่งได้แก่สินค้าและบริการที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และใช้ในการบริโภคโดยตรง เช่น การนันทนาการอากาศบริสุทธิ์ แหล่งน้ำบริสุทธิ์ตามธรรมชาติและอาหาร เป็นต้น
(2) มูลค่าจากการใช้โดยทางอ้อม (indirect use value) เป็นมูลค่าที่เกิดจากหน้าที่หรือกิจกรรมที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น ป้าไม้ มีมูลค่าทางอ้อมในการป้องกันการไหลบ่าของน้ำ(flood control) ป่าซายเลนมีมูลค่าทางอ้อมในการรักษาสภาพนิเวศน์วิทยาชายฝั่งทะเล เป็นต้น
(3) มูลค่าเผื่อจะใช้ (option value) เป็นมูลค่าที่บุคคลในสังคมให้กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ แม้ว่าจะยังไม่เคยได้ใช้บริการที่เกิดกับสิ่งแวดล้อมนั้น แต่ยินดีที่จะจ่ายเผื่อว่าเมื่อถึงวันหนึ่งในอนาคตที่ยากจะใช้ แล้วมีให้ใช้ได้มูลค่าที่สร้างขึ้น เป็นมูลค่าอันเกิดจากความต้องการที่จะใช้สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในอนาคตทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าความหลากหลายทางชีวิทยา ตลอดจนแหล่งนันทนาการ และความสวยามตามธรรมชาติเป็นต้น