สุริวัลย์ สุธรรม. (2567). มิติสังคมความเชื่อที่มีบทบาทต่อความงามในศิลปะร่วมสมัย. (วิชาการ). การโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ และนิทรรศการแสดงผลงานสร้างสรรค์นานาชาติ ครั้งที่ 6 ประจําปี 2567 Soft Power of Art Culture and Creativity : ความคิดสร้างสรรค์การต่อยอดทุนทางศิลปะและวัฒนธรรม. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. (29 พฤษภาคม 2567).
บทคัดย่อ
การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม ภายใต้หัวข้อวิจัยเรื่อง “มิติสังคมความเชื่อที่มีบทบาทต่อความงามในศิลปะร่วมสมัย” โดยมีวัตถุประสงค์สองข้อดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสัญลักษณ์ของมายาคติแห่งความเชื่อและความงาม การตีความบริบทแวดล้อมตามทัศนะของผู้สร้างสรรค์ และ 2) เพื่อนำเสนอมุมมอง วิธีคิด และการสื่อความหมายผ่านผลงานจิตรกรรม 2 มิติ ในรูปแบบศิลปะสัญลักษณ์นิยม (Symbolism in Art) และเผยแพร่ผลงานศิลปะร่วมสมัยสู่สาธารณะ พิจารณาจากกลุ่มประชากรที่ได้รับสิ่งกระตุ้นเร้า “ความเชื่อ” ที่ยึดโยงมิติสังคม“ความงาม” ผ่าน “สื่อ” สังคมออนไลน์และสื่อสารมวลชน (Mass Media) เพื่อใช้ข้อมูลเป็นฐานคิดที่ช่วยค้นหาประเด็นทางความคิด ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและความงาม รวมไปถึงการตีความบริบทแวดล้อมตามทัศนะ
ผลการศึกษาและสร้างสรรค์ พบว่า การศึกษาทฤษฎีสัญศาสตร์ (Semiotics) ศิลปะสัญลักษณ์นิยม (Symbolism in art) ที่มีความสอดคล้องกับภาษาภาพ สนับสนุนและเผยให้เห็นทัศนะที่นำไปสู่การรับรู้ เป็นผลมาจาก “สื่อ” (Mass Media) ตัวกลางสำคัญ เชื่อมโยงและชักจูงผู้คนในสังคมมีส่วนในการบ่มเพาะ “ความเชื่อ” เป็นพื้นฐานความคิดการแสดงออกทาง“ความงาม” ในยุคดิจิทัลที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ มายาคติ (Mythologies) ที่มีรูปลักษณ์ของความงาม ความหมายแฝงระหว่างสตรีเพศกับสัญลักษณ์ ที่ถูกซ้อนทับโดยเทคนิคการพิมพ์ “การถ่ายโอน” (Transfer) กระบวนการ “ผลิตซ้ำใหม่” (Remannufacture) ภาพลักษณ์ของสตรีเพศในเชิงพานิชย์ ผันแปรไปตามยุคสมัย เรื่องราวเนื้อหาถูกแสดงผ่านรูปแบบงานจิตรกรรม 2 มิติ ตามแนวทางการสร้างสรรค์ ศิลปะร่วมสมัย อย่างมีนัยยะสำคัญ
คำสำคัญ: มิติสังคม ; ความเชื่อ ; ความงาม ; ศิลปะร่วมสมัย
Abstract
Creativity of paintings. The following are the works under the research topic: “Social dimension of beliefs that plays a role in beauty in contemporary art.”, especially the following two items: 1) Learn about the Mythologies and beliefs of beauty. Based on the viewpoint of creativity and 2) Presenting a perspective on how to think about the media through various works 2D. The essence of Symbols in art and disseminating contemporary works of art to the public. Considering the population group that receives stimulation of “beliefs” that are linked to the social dimension of “beauty” through “media”, online society and mass media use the data as a basis of thought that helps find thought issues. Related to belief and beauty, including interpreting the surrounding context according to one’s point of view.
The results of the study and creativity found that studying the theory of Semiotics and Symbolism in art are consistent with visual language. Support and reveal viewpoints that lead to awareness as a result of “Mass Media”, an important intermediary that connects and influences people in society, playing a part in cultivating “belief” as the basis of thought expression. Visa “Beauty” The connotation between feminism and symbolism was overlaid by the printing technique “Transfer”, a process of “Remannufacture” the image of women commercially. In the digital age, there are undeniable Mythologies about beauty. Varies according to the era. The story content is displayed in the form of 2D paintings following the guidelines of contemporary art creation. Significantly.
Keywords: Social dimensions ; Beliefs ; Beauty ; Contemporary art.