ภาวะเสี่ยงโรคจากการดื่มน้ำแก้วเดียวกัน

การใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูด สามารถทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางน้ำลายได้เช่น
1. ไวรัสตับอักเสบ A,E
2. ไข้หวัด
3. ไข้หวัดใหญ่
4. การติดเชื้อแบคทีเรีย/และไวรัสบริเวณช่องคอ
5. โรคมือเท้าปาก
6. โรคเริมที่ปาก
7. โรคหัด
8. โรคคางทูม

รู้จัก “โรค”
โรค (Disease) คือ ความไม่สบาย ความเจ็บป่วย เป็นภาวะที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือขัดขวางการทำงานตามปกติของส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจนปรากฏอาการ ซึ่งโรคสามารถแบ่งตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้เป็น 2 ประเภท

1. โรคไม่ติดต่อ หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปกติหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายและจิตใจ ไม่สามารถที่จะติดต่อไปหาบุคคลอื่นได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคนิ่ว โรคจิต โรคประสาท และโรคความดันเลือดต่าง ๆ เป็นต้น
แนวทางในการปฏิบัติโดยทั่วไปของการป้องกันโรคไม่ติดต่อ
1.1 ต้องรักษาอนามัยส่วนบุคคลให้ดี เช่น การดูแลความสะอาด การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน การขับถ่ายอุจจาระในทุกวัน เป็นต้น
1.2 จัดให้มีการสุขาภิบาลที่ดี
1.3 ล้างพืชผักให้สะอาดก่อนรับประทาน รับประทานอาหารที่สุกสะอาด
1.4 เลือกซื้ออาหารที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา มีมาตรฐาน ระบุวันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุ
1.5 ควรเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม เป็นประจำ

2. โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่สามารถถ่ายทอดหรือติดต่อจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยัง อีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ โดยไม่จำกัดว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นมนุษย์หรือไม่ก็ตาม โรคติดต่ออาจสามารถแพร่ไปสู่ สิ่งมีชีวิตอื่นได้โดยการสัมผัสโดยตรง การสูดดมหายใจเอาเชื้อโรคที่แพร่จากผู้ป่วย การรับประทานอาหารหรือ น้ำดื่มที่มีเชื้อปนอยู่ หรือแม้แต่ผ่านตัวกลางที่เรียกว่า “พาหะ” หากโรคติดต่อนั้น ๆ มีการแพร่กระจายไปอย่าง รวดเร็วสู่ชุมชนที่มีประชากรจำนวนมาก โรคดังกล่าวก็จะกลายเป็นโรคระบาดได้

การแพร่กระจายโรค หมายถึง การที่คนหรือสัตว์ได้รับเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคจาก คนป่วยหรือสัตว์ป่วยแล้วทำให้เกิดเป็นโรคนั้นขึ้น ซึ่งได้รับเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคนั้นอาจได้รับโดยตรงหรือ ได้รับโดยทางอ้อมโดยมีตัวนำเชื้อที่เรียกว่า “พาหะนำโรค”

พาหะนำโรค คือคนหรือสัตว์ที่มีเชื้อโรคแต่ไม่แสดงอาการและสามารถนำเชื้อโรคนั้นไปสู่ผู้อื่นได้
โรคติดต่ออันตราย หมายถึง โรคติดต่อพวกหนึ่งที่มีอาการรุนแรง มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทeให้มีผู้เจ็บป่วยเสียชีวิต ซึ่งในเวลาต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้จัดกลุ่มของโรคติดต่อตามความรุนแรงของโรคไว้ด้วย และในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาได้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความ
รุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ โรคอีโบลา โรคโคโรน่า 2019 เป็นต้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงหลาย ๆ ด้าน ทั้งที่เกิดจากปัจจัยตามธรรมชาติและที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์

การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นอย่างการกินน้ำแก้วเดียวกัน อาจนำพาหลายโรคมาสู่ร่างกายได้ การใช้แก้วน้ำ หลอดน้ำ หรือภาชนะส่วนตัวอื่น ๆ เป็นเรื่องของพฤติกรรมการรับประทานที่ถูกสุขลักษณะ เหมาะสำหรับการรับประทานอาหารร่วมกันหลายคน ทั้งในครัวเรือนและการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นนอกจากนี้ ยังช่วยลดความรังเกียจในการใช้อุปกรณ์ร่วมกันด้วย ถือเป็นมารยาททางสังคมที่ดีอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองควรเลือก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นและถ้าหากมีอาการป่วยควรรีบมาพบแพทย์ หรือแพทย์แผนไทย เพื่อทำการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง

เอกสารอ้างอิง
1. พระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
2. อรอุมา บรรพมัย. 2561. กินอาหารไม่ใช้ช้อนกลาง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง. สืบค้นจาก https://link.bsru.ac.th/gjo
3. โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ