ผีตามคน (Phi Tam Kon)

บทคัดย่อ

ผีตาโขน เป็นประเพณีอันเก่าแก่ในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นการละเล่นที่สนุกสนาน ผาดโผน เล่นทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ โดยผู้เล่นจะทำหน้ากาก ที่มีลักษณะน่ากลัว มาใส่ปกปิดใบหน้า ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา กล่าวถึง พระเวชสันดร และพระนางมัทรี ออกเดินทางจากป่าสู่เมืองหลวง เหล่าภูตผีปีศาจที่อาศัยอยู่ในป่าได้ออกมาส่งเสด็จโดยแฝงตนมากับชาวบ้าน หน้ากากผีตาโขนจึงเป็นสัญลักษณ์ของภูตผีปีศาจ การทำหน้ากากผีตาโขนมีการใช้องค์ความรู้งานประดิษฐ์งานอื่นๆ มาประยุกต์แล้วพัฒนามาเป็นลำดับ ผู้สร้างสรรค์ใช้ทฤษฎีโครงสร้างการเล่าเรื่อง โดยมีแนวคิด คือ ผีตามคนสู่ผีตาโขน ซึ่งต้องการบอกเล่าเรื่องราว ที่มาของหน้ากากผีตาโขนจากในอดีตถึงปัจจุบัน

ผู้สร้างสรรค์ใช้เทคนิค Tufting Gun และ Punch needle เป็นเทคนิคการปักเย็บไหมพรมลงบนผ้า ปัก มีกระบวนการและให้ผลลัพธ์ที่คล้ายกัน คือเมื่อปักไหมพรมจะได้พื้นผิว Cut Pile และ Loop Pile แต่มีข้อแตกต่างกันที่ระยะเวลาและข้อจำกัดในการทำงาน ฉะนั้นสามารถผสมผสานเข้าด้วยกันได้ แต่ควรวางแผนขั้นตอนในการทำงาน โดยพิจารณาการวางตำแหน่งทิศทางการปักแต่ละจุดอย่างเหมาะสมและเป็นทิศทางเดียวกัน การขึงผ้าให้ตึง การนำไหมพรมมาใช้งานควรวางทิศทางของเส้นไหมพรมอย่างเป็นระเบียบ

อ่านต่อ >>>

ผลงานสร้างสรรค์ผีตามคน

บทความผลงานสร้างสรรค์ผีตามคน