คลิปการบรรเลงเดี่ยวซอสามสาย เพลงหกบท
อรรถาธิบายและบทวิเคราะห์เดี่ยวซอสามสาย เพลงหกบท สองชั้น
เดี่ยวซอสามสาย เพลงหกบท สองชั้นนี้ ผู้เขียนได้นำเค้าโครงมาจากทางเดี่ยวซอสามสาย
ในสำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ซึ่งพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ได้ถ่ายทอดให้ศาสตราจารย์อุดม อรุณรัตน์ และได้ถ่ายทอดมายังศาสตราจารย์พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์ ต่อมาได้ถ่ายทอดให้ผู้เขียน
ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการจัดประกวดเดี่ยวซอสามสาย
ในรายการ “ประลองเพลง ประเลงมโหรี” ลูกศิษย์ของผู้เขียนคนหนึ่งชื่อ นายภีมข์ ศุภชลาศัย
ได้เรียนซอกับผู้เขียนเมื่อครั้นศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนจิตรลดา และได้ศึกษาเพิ่มเติมกับครูศิริพันธุ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ต่อมาได้ย้ายได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
และดำริจะลงประกวดในรายการดังกล่าว ผู้เขียนมองเห็นทักษะของลูกศิษย์ผู้นี้ว่าเป็นผู้ที่มีฝีมือ
มีนิ้วมือซ้ายที่แข็งแรง มีมือขวาที่สามารถทำคันชักต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีประสบการณ์ทางดนตรี
ที่ยังไม่มากนัก ประกอบกับได้รับการถ่ายทอด และคำแนะนำการบรรเลงซอสามสายเบื้องต้นมาจาก
ครูศิริพันธุ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้เขียนจึงเห็นว่า ในการประกวดครั้งนี้จึงสมควรใช้ทางเดี่ยว
ในสำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ซึ่งเมื่อได้สอบถามไปยังครูศิริพันธุ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
แล้ว ท่านก็มีความเห็นว่าสมควร อนึ่งในการประกวดครั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการประกวดที่เข้มข้น เนื่องจากมีนักเรียนที่มีทักษะและมีฝีมือจากทั่วประเทศในการแข่งขันครั้งนี้ จึงได้นำความรู้
ในการบรรเลงเพลงเดี่ยวซอสามสายที่ได้รับการถ่ายทอดในสายของศาสตราจารย์อุดม อรุณรัตน์
มาเรียบเรียงให้ทางเพลงมีความโดดเด่น มีลูกเล่นพอที่จะมัดใจกรรมการ และหวังผลให้ได้รับรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้ โดยวิธีการเรียบเรียงผลงานนั้น ผู้เขียนจะนำเสนอเป็นอรรถาธิบายประกอบ
บทวิเคราะห์ดังนี้
ในการขึ้นต้นเพลง ในสำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) นั้น จะมีลักษณะการขึ้นที่นิ่ง
สง่างาม แสดงให้เห็นถึงการสีคันชักที่นิ่ง นิ้วมือที่หนักแน่น ดังนี้
– – – –
– – – ซ
– – – ล
– ซ – ร
– ล – ด
– ซ ร ม
ร ด ร ม
– ฟ – ซ
ผู้เขียนพิจารณาแล้วว่า การขึ้นเพลงในสำนักของพระยาภูมีเสวินนั้น มีความไพเราะและ
สื่อถึงอารมณ์เพลงได้ดีอยู่แล้ว จึงเลือกใช้ทำนองดังกล่าวในการขึ้นต้นเพลง แต่ผู้เขียนได้เพิ่มเติมกลวิธี
ในการบรรเลงเสมอลงไป ดังนี้
– – – –
– – – ซ
– – – ล
-ซลซ —ร
– ล – ด
– ซ ร ม
-ซม รดรม
-ร-ม -ฟ-ซ
ในส่วนของทำนองเพลงในทางโอดนั้น การบรรเลงในสำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี)
จะมีรายละเอียดในการใช้นิ้ว และกลวิธีพิเศษอย่างละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก ซึ่งมีความยาก
และต้องอาศัยประสบการณ์ รวมถึงความเข้าใจในดนตรีที่สูง จึงจะได้สัดส่วน สำเนียงเสียงซอ ช่องไฟ
ในสำนักของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) แต่ด้วยทักษะ และประสบการณ์ที่มีจำกัดของผู้บรรเลง ผู้เขียนจึงเรียบเรียงให้มีความเรียบ ชัดเจน และตัดกลวิธีพิเศษบางช่วงที่มีความยากของการบรรเลงออก ให้เหมาะสมกับทักษะฝีมือของผู้บรรเลง จึงสรุปเป็นทำนองดังในโน้ตเพลงต่อไปนี้
– – – –
– – – ท
–ลซ –ลท
– รํ – ล
– ดํ – ล
–ดํซ -ลซฟ
– – – ซ
-ลซฟ –ซล
– – – ดํ
ทดํรํดํ -รํดํล
– – ดํซ
–ฟซ ลซดํซ
-ลซฟ –ซร
– ม – ร
– ร – ร
-มรด รมรซ
– – – –
– – – ล
– – ดํ ล
ซ ร – ฟ
– – – –
– ม – ฟ
– ซ – ฟ
-มรด —ร
– – – –
– – – ท
-ลซล ซลซล
ทลรํท —ท
– – – –
– รํ – ท
-ลซล ซลซล
ทลรํท —ท
– – – –
– – – ท
– ล – ท
– รํ – ล
– ดํ – ล
– ซ ร ฟ
– – – ซ
-ลซฟ –ซล
– ด – ร
-มรด -รดล
– ฟ – ซ
ฟซลซ ดซ ลซฟ
– ม ซ ร
-มรด —ร
ด ล ด ร
ซ ร ฟ ซ
– ร – ฟ
– ซ – ล
– ดํ – ล
—ซ –ซฟ
– ด – ร
– ม – ฟ
– ล ซ ฟ
– ม – ร
หากเป็นการเดี่ยวอย่างเต็มรูปแบบในสำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) นั้น
จะสีเพิ่มเติมได้ดังนี้
– – – –
– – – ท
-ทลซ –ลท
– รํ – ล
รํ ดํ – ล
–ดํซ -ลซฟ
ซ-ลซฟ —ซ
-ลซฟ ซฟ-ซล
– – – ดํ
ทดํรํดํ -รํดํล
–ดํล –ดํซ
ฟซลซ –ดํซ
-ลซฟ –ซร
– ม – ร
– ด – ร
-ซ-ฟ รฟ-ซ
– – – –
– – – ล
– – ดํ ล
ซ ร – ฟ
– – – ม
– – – ฟ
-ม-ฟ -ซ-ฟ
-มรด -รมร
– – – –
– – – ท
-ลซล ซลซล
ทลรํท —ท
– – – ท
– รํ – ท
-ลซล ซลซล
ทลรํท —ท
– – – –
– – – ท
รํทลซ –ลท
– รํ – ล
– ดํ ซ ล
– ซ ร ฟ
– – – ซฟ
ซลซฟ ซดํลล
– ด – ร
มรด มรด -ร
–ดล -ฟ-ซ
ฟซลซ-ลซฟ
– ม ซ ร
-มรด —ร
ด ล ด ร
ซ ร ฟ ซ
– ร – ฟ
– ซ – ล
– ดํ – ล
—ซ -ลซฟ
– ด – ร
-ฟมร ฟม-ฟ
-ซรฟ –ซฟ
-มรด -รมร
จากโน้ตเพลงดังกล่าวจะสังเกตได้ว่า ได้มีการตัดโน้ตบางตัวที่จะต้องใช้นิ้วมือซ้ายบรรเลง
ที่มากกว่า ต้องอาศัยฝีมือที่ดี จังหวะที่ดี ความเข้าใจสัดส่วนที่ดีของผู้บรรเลง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับทักษะฝีมือของเด็กในระดับมัธยมศึกษา ผู้เขียนจึงเรียบเรียงทำนอง โดยยังคงเค้าโครงของสำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) มิให้เสียหาย การกระทำในลักษณะดังกล่าว ศาสตราจารย์พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์ ได้กล่าวให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “การต่อเพลงในสำนัก จะต่อง่ายๆ ก่อน ต่อจากนั้นครูจะเพิ่มให้
ยากขึ้น ยากขึ้น เมื่อท่านเห็นว่ามีฝีมือ มีประสบการณ์มากขึ้นแล้ว ท่านก็จะเติมให้เอง เด็กๆ ถ้าสีแบบนี้เลย ก็อาจจะเบื่อได้ เพราะรายละเอียดเยอะ ไม่มีทางด้วยที่จะสีดี และเข้าใจได้” (พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์, สัมภาษณ์, 11 กรกฎาคม 2557) ดังนั้นผู้เขียนจึงอาศัยคำสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์พงษ์ศิลป์
อรุณรัตน์มาเป็นแรงบันดาลใจในการเรียบเรียงทางเดี่ยวซอสามสายเพลงหกบท สองชั้น ในครั้งนี้ ต่อมาเมื่อนายภีมข์ ศุภชลาศัย ได้รับการถ่ายทอด และนำไปใช้ประกวดแล้ว ก็ได้มีการถ่ายทอดเพิ่มเติมกลวิธีการบรรเลงเพิ่มเติมให้อีกมากตามวิธีที่โบราณาจารย์ได้ปฏิบัติมา จนในปัจจุบันก็สามารถบรรเลงได้ดีขึ้นจากการประกวดในครั้งนั้น
การเรียบเรียงทางเดี่ยวซอสามสาย เพลงหกบท สองชั้นในส่วนของทางโอดเชื่อมต่อกับทางพันนี้ หากสังเกตดูจะพบว่า ในทางบรรเลงของสำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) นั้น จะบรรเลงว่า
– ร – ฟ
– ซ – ล
– ดํ – ล
—ซ -ลซฟ
– ด – ร
-ฟมร ฟม-ฟ
-ซรฟ –ซฟ
-มรด -รมร
ซึ่งจะมีรายละเอียดของการบรรเลงมาก โดยเฉพาะสี่ห้องสุดท้ายนั้น ต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้บรรเลงเพื่อที่จะเร่งแนวให้มีจังหวะที่ค่อยๆ ขึ้น โดยไม่รู้สึกสะดุด ซึ่งเป็นวิธีการบรรเลงที่ยากมาก ผู้เขียนจึงเรียบเรียงทางเดี่ยวให้ง่ายและชัดเจน สามารถทำให้จังหวะกระชับขึ้นได้โดยบรรเลงดังนี้
– ร – ฟ
– ซ – ล
– ดํ – ล
—ซ –ซฟ
– ด – ร
– ม – ฟ
– ล ซ ฟ
– ม – ร
จะเห็นว่าสี่ห้องสุดท้ายนั้น มีตัวโน้ตที่น้อยลง และเป็นทำนองที่สามารถทำให้ผู้บรรเลงนั้น ขึ้นแนวได้ง่ายขึ้น ซึ่งมีความเหมาะสมกับระดับฝีมือของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา
ในการเรียบเรียงทางเก็บนั้น ผู้เขียนได้รับการถ่ายทอดกลวิธีการบรรเลงทางเดี่ยว เพลงหกบท สองชั้นนี้ จากศาสตราจารย์พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์ ซึ่งท่านได้ถ่ายทอดไว้หลายรูปแบบ ผู้เขียนพิจารณาแล้วว่าการเรียบเรียงทางเดี่ยวในเที่ยวพันนี้ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงได้ศึกษา สังเกต สอบถาม
จนพบว่า กลวิธีการบรรเลงทางพัน ในเพลงหกบท สองชั้น สำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) นั้น
มีความหลากหลายมีทำนองพิเศษ(ศัพท์ภาษาปากที่คุ้นเคยกันคือ ลูกเล่น) และวิธีการบรรเลงทั้งมือซ้าย
และมือขวา ที่มีรายละเอียดมากมาย จากการศึกษาข้อมูลดังกล่าวทำให้ผู้เขียนได้เรียบเรียงให้มีทำนองดังนี้
– – – ซ
– ซ ซ ซ
ร ฟ ซ ล
ซ ฟ ม ร
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ร ด ร ม
ร ม ฟ ซ
– – – ท
– ท ท ท
– ล – ท
– รํ – ล
– รํ ดํ ล
ดํ ล ซ ฟ
ม ร ด ร
ม ฟ ซ ล
ดํ ร – ร
ดํ ล – ล
ดํ ด – ด
ร ฟ – ฟ
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ร ด ร ม
ร ม ฟ ซ
ด ร ม ฟ
ล ซ ดํ ล
ซ รํ ดํ ล
ดํ ล ซ ฟ
ม ร ด ร
ซ ร ม ฟ
ม ร ด ฟ
ซ ฟ ม ร
ร ล ร ท
ร ม ร ท
ร ล ร ท
ร ม ร ท
ร ล ร ท
ร ม ฟ ซ
– ร – ซ
– ล – ท
– – – ท
– ท ท ท
ล ท รํ ท
ล ซ ท ล
ซ ฟ ซ ล
ดํ ล ซ ฟ
ซ ดํ ล ซ
ล รํ ดํ ล
ดํ รํ มํ รํ
ดํ – ล –
ดํ ล ร ม
—ฟ -ลซฟ
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ร ด ร ม
ร ม ฟ ซ
– ร – ฟ
– ซ – ล
– รํ ดํ ล
ซฟลซ -ลซฟ
– ด – ร
-ฟมร ฟม-ฟ
– ซ ร ฟ
ซฟมร ดร-ร
ทางเพลงข้างต้นนี้ เป็นการเรียบเรียงเพื่อประกวดในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งจะเห็นว่ามีลักษณะทางเดี่ยวที่มีการรูดนิ้ว เช่นในทำนองที่บรรเลงว่า
ดํ รํ มํ รํ
ดํ – ล –
ดํ ล ร ม
—ฟ -ลซฟ
ทำนองข้างต้นนี้ ต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นอย่างมาก เพราะมีการรูดนิ้ว หากรูดไม่ดีนั้น
จะเกิดความเพี้ยนซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกตัดคะแนน ความยากอีกประการหนึ่งของทำนองข้างต้น
คือ การใช้สัดส่วนจังหวะที่มีจังหวะยก ในห้องที่สอง ซึ่งเป็นจังหวะลอยที่ยากมาก คันชัก นิ้วจะต้องตรงกัน และทำโดยไม่ขัดกับจังหวะฉิ่ง และจังหวะหน้าทับที่ยืนจังหวะอยู่ ซึ่งจากการเรียบเรียงทางเดี่ยวในครั้งแรก ยังไม่ใช่ทางเดี่ยวดังกล่าว แต่ผู้เขียนเรียบเรียงจากทางเดี่ยวที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากศาสตราจารย์พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์ และคำแนะนำของครูศิริพันธุ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ดังนี้
– – – ซ
– ซ ซ ซ
– ดํ – ล
ซ ฟ ม ร
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ร ด ร ม
ร ม ฟ ซ
– – – ท
– ท ท ท
– ล – ท
– รํ – ล
– รํ ดํ ล
ดํ ล ซ ฟ
ม ร ด –
ฟ – ซ ล
– ร – ร
ดํ ล ดํ ซ
ฟ ม ร ม
ฟ ล ซ ฟ
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ร ด ร ม
ร ม ฟ ซ
– ร – ฟ
ล ซ ดํ ล
ซ รํ ดํ ล
ดํ ล ซ ฟ
ม ร ด ร
ซ ร ม ฟ
ม ร ด ฟ
ซ ฟ ม ร
ร ล ร ท
ร ม ร ท
ร ล ร ท
ร ม ร ท
ร ล ร ท
ร ม ฟ ซ
– ร – ซ
– ล – ท
– – – ท
– ท ท ท
ล ท รํ ท
ล ซ ท ล
ซ ฟ ซ ล
ดํ ล ซ ฟ
ซ ดํ ล ซ
ล รํ ดํ ล
ดํ ล ดํ ร
– ล ดํ ซ
ฟ ม ร ม
ฟ ล ซ ฟ
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ร ด ร ม
ร ม ฟ ซ
– ร – ฟ
– ซ – ล
– รํ ดํ ล
ซฟลซ -ลซฟ
– ด – ร
-ฟมร ฟม-ฟ
– ซ ร ฟ
ซฟมร ดร-ร
โน้ตทำนองที่เป็นตัวหนานั้น คือทำนองที่ผู้เขียนเรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ประกวดในรอบคัดเลือก
ซึ่งเป็นทำนองที่ง่ายกว่า ทำนองที่บรรเลงในรอบชิงชนะเลิศ สาเหตุที่ผู้เขียนเปลี่ยนทางเพลง เนื่องจาก
ผู้บรรเลงมีพัฒนาการของทักษะที่ดี ขยันฝึกซ้อม และมีความตั้งใจ จึงคิดว่าน่าจะทำกลวิธีพิเศษเหล่านี้ได้ ผู้เขียนจึงเรียบเรียงในลักษณะดังกล่าว จึงทำให้เกิดความลงตัวของทางเพลงและฝีมือ
ของผู้บรเลง
จากการเรียบเรียงของผู้เขียน พบว่า เพลงหกบท สองชั้น ในสำนักพระยาภูมีเสวิน
(จิตร จิตตเสวี) มีทางที่หลากหลายเป็นอย่างมาก เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงปฏิภาณ และภูมิปัญญาของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ซึ่งท่านจะต่อเพลงให้ลูกศิษย์แต่ละคนแตกต่างกันไป ตามลักษณะของฝีมือและอุปนิสัย ของลูกศิษย์แต่ละคน ซึ่งศาสตราจารย์อุดม อรุณรัตน์ ลูกศิษย์เอกของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ก็ได้มีการเรียบเรียงตกแต่งเพิ่มเติมให้ลูกศิษย์หลายท่านแตกต่างไปอีกเช่นกัน ผู้เขียน
ก็ได้นำทำนองเหล่านี้มาสร้างสรรค์ เรียบเรียงทางเดี่ยวในครั้งนี้ด้วย
ทำนองเพลงหกบท สองชั้น ซึ่งศาสตราจารย์อุดม อรุณรัตน์ ใช้บรรเลงเดี่ยว
– – – ซ
– ซ ซ ซ
ร ฟ ซ ล
ซ ฟ ม ร
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ฟ ม ล ม
ฟ ซ ล ซ
ร ม ร ซ
ท ล รํ –
ท – ล ท
รํ มํ รํ ล
ซ ฟ ซ ล
ดํ ล ซ ฟ
ม ร ซ ฟ
ล ซ ดํ ล
– ร – ร
ดํ ล ดํ ซ
ฟ ม ร ม
ฟ ล ซ ฟ
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ฟ ม ล ม
ฟ ซ ล ซ
ด ร ซ ฟ
ล ซ ดํ ล
ซ รํ ดํ ล
– – ซ ฟ
ม ฟ ซ ล
ดํ ล ซ ฟ
ม ร ด ทฺ
ลฺ ทฺ ดฺ ร
ม ร ล ท
ร ม ร ท
ร ล ร ท
ร ม ร ท
ล ท ร ม
ซ ท ล ซ
ร ม ร ซ
ท ล รํ ท
ท ล ท ท
ท รํ ท ท
ล ท รํ มํ
รํ ดํ ท –
ล – ดํ ซ
ดํ ล ซ ฟ
ม ร ซ ฟ
ล ซ ดํ ล
รํ มํ รํ ดํ
ท – ล –
ร ม ฟ ซ
ดํ ล ซ ฟ
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ร ซ ร ม
ฟ ซ ล ซ
ด ร ซ ฟ
ล ซ ดํ ล
ร ม ฟ ซ
ดํ ล ซ ฟ
– ด – ร
-ฟมร ฟม-ฟ
– ซ ร ฟ
ซฟมร ดร-ร
ทำนองเพลงหกบท สองชั้น ซึ่งศาสตราจารย์อุดม อรุณรัตน์ เรียบเรียงให้อาจารย์เอกวิทย์
ศรีสำอางค์
– – – ล
– ดํ – ซ
ล ซ ดํ ล
ซ ฟ ม ร
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ฟ ม ร ม
ฟ ซ ล ซ
ซ ม ร ซ
ร ม ร ท
ล ท รํ มํ
รํ ดํ ท ล
ร ม ฟ ซ
ดํ ล ซ ฟ
ร ด ล ซ
ล ซ ดํ ล
– ร – ร
ดํ ล – ล
– ด – ด
ร ฟ – ฟ
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ฟ ม ร ม
ฟ ซ ล ซ
ฟ ม ร ซ
ร ม ฟ ด
ร ม ฟ ซ
ดํ ล ซ ฟ
ม ร ด ร
ม ร ซ ฟ
ม ร ด ฟ
ซ ฟ ม ร
ม ร ล ท
ร ม ร ท
ร ล ร ท
ร ม ร ท
ล ท ร ม
ซ ท ล ซ
ร ม ร ซ
ท ล รํ ท
ซ ท ล ซ
รํ ซ ล ท
ล ท รํ มํ
รํ ดํ ท ล
ซ ม ฟ ซ
ดํ ล ซ ฟ
ร ม ซ ร
ม ร ด ลฺ
ร ลฺ ดฺ รฺ
ซ ร ฟ ซ
ฟ ซ ล รํ
ดํ ล ซ ฟ
– ม ร ร
– ซ ด ด
ร ซ ร ม
ฟ ซ ล ซ
ด ล ซ ฟ
ม ฟ ซ ล
ดํ ร ฟ ซ
ดํ ล ซ ฟ
– ด – ร
-ฟมร ฟม-ฟ
– ซ ร ฟ
ซฟมร ดร-ร
ทำนองเพลงหกบท สองชั้นซึ่งศาสตราจารย์อุดม อรุณรัตน์ เรียบเรียงให้ศาสตราจารย์
ดร. ณัชชา พันธุ์เจริญ
– – – ล
– ดํ – ซ
– ฟ – ล
ซ ฟ ม ร
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ฟ ม ร ม
ฟ ซ – ซ
ร ม ร ซ
ร ม ร ทฺ
ลฺ ทฺ ร ม
ร ดฺ ทฺ ลฺ
ร ล ด ร
ฟ ร ซ ฟ
ม ร ด ร
ม ฟ ซ ล
– ร – ร
ดํ ล – ล
– ด – ด
ร ฟ – ฟ
ด ร ม ฟ
ซ ฟ ม ร
ล ด ร ม
ฟ ซ – ซ
ด ร ซ ฟ
ล ซ ดํ ล
ซ รํ ดํ ล
ดํ ล ซ ฟ
ม ร ด ร
ม ร ซ ฟ
ม ร ด ฟ
ซ ฟ ม ร
ม ร ล ท
ร ม ร ท
ร ล ร ท
ร ม ร ท
ล ท ร ม
ซ ท ล ซ
ร ม ร ซ
ท ล รํ ท
ซ ท ล ซ
รํ ซ ล ท
ซ ล ท ล
รํ ท ล ซ
ร ม ฟ ซ
ล ม ฟ ซ
ม ร ด ร
ม ฟ ซ ล
ดํ ล ดํ ร
– ล ดํ ซ
ฟ ม ร ม
ฟ ล ซ ฟ
ซ ร ม ฟ
ซ ฟ ม ร
ล ด ร ม
ฟ ซ ฟ ซ
ด ม ร ซ
ร ม ฟ ด
ร ม ฟ ซ
ดํ ล ซ ฟ
– ด – ร
-ฟมร ฟม-ฟ
– ซ ร ฟ
ซฟมร ดร-ร
เดี่ยวซอสามสาย เพลงหกบท สองชั้น
อาจารย์สุรพงษ์ บ้านไกรทอง เรียบเรียงทางเดี่ยว
จากทางเดี่ยวซอสามสาย ในสำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี)
ทางโอด
– – – –
– – – ซ
– – – ล
-ซลซ —ร
– ล – ด
– ซ ร ม
-ซม รดรม
– ฟ – ซ
– – – –
– – – ท
–ลซ –ลท
– รํ – ล
– ดํ – ล
–ดํซ -ลซฟ
– – – ซ
-ลซฟ –ซล
– – – ดํ
ทดํรํดํ -รํดํล
– – ดํซ
–ฟซ ลซดํซ
-ลซฟ –ซร
– ม – ร
– ร – ร
-มรด รมรซ
– – – –
– – – ล
– – ดํ ล
ซ ร – ฟ
– – – –
– ม – ฟ
– ซ – ฟ
-มรด —ร
– – – –
– – – ท
-ลซล ซลซล
ทลรํท —ท
– – – –
– รํ – ท
-ลซล ซลซล
ทลรํท —ท
– – – –
– – – ท
– ล – ท
– รํ – ล
– ดํ – ล
– ซ ร ฟ
– – – ซ
-ลซฟ –ซล
– ด – ร
-มรด -รดล
– ฟ – ซ
ฟซลซ ดซ ลซฟ
– ม ซ ร
-มรด —ร
ด ล ด ร
ซ ร ฟ ซ
– ร – ฟ
– ซ – ล
– ดํ – ล
—ซ –ซฟ
– ด – ร
– ม – ฟ
– ล ซ ฟ
– ม – ร
ทางพัน
– – – ซ
– ซ ซ ซ
ร ฟ ซ ล
ซ ฟ ม ร
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ร ด ร ม
ร ม ฟ ซ
– – – ท
– ท ท ท
– ล – ท
– รํ – ล
– รํ ดํ ล
ดํ ล ซ ฟ
ม ร ด ร
ม ฟ ซ ล
ดํ ร – ร
ดํ ล – ล
ดํ ด – ด
ร ฟ – ฟ
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ร ด ร ม
ร ม ฟ ซ
ด ร ม ฟ
ล ซ ดํ ล
ซ รํ ดํ ล
ดํ ล ซ ฟ
ม ร ด ร
ซ ร ม ฟ
ม ร ด ฟ
ซ ฟ ม ร
ร ล ร ท
ร ม ร ท
ร ล ร ท
ร ม ร ท
ร ล ร ท
ร ม ฟ ซ
– ร – ซ
– ล – ท
– – – ท
– ท ท ท
ล ท รํ ท
ล ซ ท ล
ซ ฟ ซ ล
ดํ ล ซ ฟ
ซ ดํ ล ซ
ล รํ ดํ ล
ดํ รํ มํ รํ
ดํ – ล –
ดํ ล ร ม
—ฟ -ลซฟ
ม ร ซ ด
ทฺ ด ร ม
ร ด ร ม
ร ม ฟ ซ
– ร – ฟ
– ซ – ล
– รํ ดํ ล
ซฟลซ -ลซฟ
– ด – ร
-ฟมร ฟม-ฟ
– ซ ร ฟ
ซฟมร ดร-ร