ผลงานสร้างสรรค์ เดี่ยวซออู้ เพลงสาลิกาชมเดือน สามชั้น

คลิปการบรรเลงเดี่ยวซออู้ เพลงสาลิกาชมเดือน สามชั้น

อรรถาธิบายและบทวิเคราะห์เดี่ยวซออู้ เพลงสาลิกาชมเดือน สามชั้น

            เดี่ยวซออู้ เพลงสาลิกาชมเดือน สามชั้นนี้ ผู้เขียนได้ประพันธ์ขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยทำนองหลักจากเกณฑ์การประกวดศิลปหัตถกรรมนักเรียน ในครั้งแรกนั้นได้ประพันธ์และเผยแพร่ในเฟซบุ้ค (Facebook) ส่วนตัวเพื่อเป็นวิทยาทานแก่นักเรียนในภูมิภาคห่างไกล ต่อมาจึงมีผู้นำทางที่ได้ประพันธ์ขึ้นนี้ไปบรรเลงในการประกวดทั้งในระดับเขต และระดับภาค โดยโรงเรียนที่นำทางเพลงที่ประพันธ์ขึ้นไปบรรเลงจนได้รางวัลชนะเลิศในระดับภาคใต้ คือ โรงเรียนสตรีปากพนัง ซึ่งมีครูกำแพง มูสีสุทธิ์
เป็นครูผู้ควบคุมการบรรเลง ผู้เขียนได้รับการติดต่อจากครูกำแพง มูสีสุทธิ์ว่าจะขออนุญาตนำทางเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่นี้ให้เด็กหญิงพัชราภา บุญเหลือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ไปใช้บรรเลง
ซึ่งผู้เขียนก็มีความยินดีที่จะส่งเสริม และพัฒนาทักษะของเยาวชน

            สำหรับการประพันธ์ทางเดี่ยวซออู้เพลงสาลิกาชมเดือนนี้ จะมีความแตกต่างจากการ
เรียบเรียงและประพันธ์เพลงที่ผ่านมาข้างต้น เนื่องจากผู้เขียนไม่เคยเห็นฝีมือการบรรเลงของนักเรียน
ไม่ทราบว่านักเรียนที่จะนำทางที่ประพันธ์ไปบรรเลงนั้นมีประสบการณ์ทางดนตรีไทยมากน้อยเพียงใด และไม่ทราบว่ามีทัศนคติทางด้านดนตรีอย่างไร ในการประพันธ์ครั้งนี้ผู้เขียนจึงประพันธ์โดยคำนึงถึงโจทย์ว่า เด็กที่อยู่ต่างจังหวัดห่างไกลสามารถนำไปแกะหรือเลียนแบบการบรรเลงได้ไม่ยาก ทางเพลงจะต้องไม่โลดโผน พอที่จะแสดงศักยภาพของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยวิธีการเรียบเรียงผลงานนั้น ผู้เขียนจะนำเสนอเป็นอรรถาธิบายประกอบบทวิเคราะห์ดังนี้

           ในการขึ้นเพลงนั้น ผู้เขียนได้สร้างสรรค์ทำนอง โดยใช้วิธีการแปล (Transfer) จากทำนองหลัก และเพิ่มเติมกลวิธีพิเศษสำหรับซออู้ ได้แก่ การรูดสาย การพรม การเอื้อนเสียงเข้าไป เพื่อแสดงศักยภาพของผู้บรรเลง ซึ่งผู้เขียนมีแนวคิดว่าการขึ้นเพลงนั้น เปรียบเสมือนการพบกันครั้งแรก จะต้องขึ้นเพลงให้ดี แสดงศักยภาพให้สมบูรณ์ที่สุด ดังโน้ตต่อไปนี้

 

ทำนองหลัก

  – ท – –
  ล ล – –
 ท ท – –
  รํ รํ – มํ
  – มํ – มํ
  – รํ – –
  ดํ ดํ – –
  ท ท – ล
  – ทฺ – ลฺ
  – – – ทฺ
  – – – ร
  – – – ม
  – ซ – ม
  – ร – ด
  – – – ทฺ
  – – – ลฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– – – ล
– ทลซ –ลท
— –ซํรํ
-มํรํท –รํมํ
– ซํ – มํ
ซํรํมํรํ รํมํรํดํ
– ซ – ดํ
รํดํ-ท ลซ-ล
 

 

 

 

 

ในวรรคต่อมาจะเห็นว่า สำนวนรับใน 4 ห้องท้ายของวรรคก่อน (ที่เป็นตัวหนา) ผู้เขียนได้สร้างสรรค์ให้ในวรรคแรกทำเสียงสูง และในวรรคหลังทำเป็นเสียงต่ำ 

 

ทำนองหลัก

  ท ล – –
  ซ – ซ ล
 ท ล – –
  ท – – ดํ
  – มํ – มํ
  – รํ – –
  ดํ ดํ – –
  ท ท – ล
  – – ซ ร
  – ร – –
  – – ซ ล
  – ด – –
  – ซ – ม
  – ร – ด
  – – – ท
  – – – ลฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– รํ – ซ
-ทลซ –ลท
– ล – ท
– ดํ – รํ
– ซ – ม
รดมร รมรด
– ซ – ดํ
-ทลซ –ทล
 

ในวรรคต่อมานั้น ผู้เขียนได้ดัดแปลงจังหวะของทำนองหลัก ซึ่งมีจังหวะว่างในห้องที่ 1 และห้องที่ 4 โดยได้เพิ่มกลวิธีการเอื้อนเสียงเข้าไปในห้องที่ 1 ส่วนสำนวนรับใน 4 ห้องท้ายนั้น ผู้เขียน
ได้นำทำนอง เม็ดพรายที่ใช้ในทางปี่ในมาประพันธ์เป็นทางเดี่ยวสำหรับซออู้ ผู้เขียนจะสร้างสรรค์ทำนองเรียบๆ ให้อิงทำนองหลักไว้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้
ใช้เพื่อเผยแพร่ให้นักเรียนในภูมิภาคซึ่งผู้เขียนไม่เคยฟังฝีมือการบรรเลงมาก่อน ทำนองที่ผู้เขียนได้สร้างสรรค์ดังต่อไปนี้ จึงน่าจะมีความเหมาะสมสำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด

 

ทำนองหลัก

  – – – –
  – ล – ท
  – ล – รํ
  – – – –
  – ร – ซ
  – – ล ท
  – รํ – ท
  – ล – ซ
  – – – –
  – ลฺ – ทฺ
  – ลฺ – ร
  – – – –
  – ลฺ – ซฺ
  – – – ทฺ
  – ร – ทฺ
  – ลฺ – ซฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– – – ล
-ทลซ –ลท
– ล – รํ
– – – –
– ร – ม
รํม-ซ –ลท
– รํ – ท
– ล – ท
–ลซ —-
 
 

สำหรับในวรรคต่อมานี้ ผู้เขียนได้ใส่กลวิธีพิเศษที่เรียกในสำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ว่า “นิ้วนาคสะดุ้ง” ในห้องที่ 1 และห้องที่ 2 ซึ่งนิ้วนี้เป็นนิ้วพิเศษที่มักจะพบในทางเดี่ยวเครื่องสีไทย
มาแต่โบราณ ผู้บรรเลงจะต้องฝึกฝนนิ้วนาง นิ้วกลางให้แข็งแรง เพื่อที่จะสะดุ้งนิ้วได้อย่างชัดเจน
ในสำนวนรับนั้น (ตัวหนา) ผู้เขียนได้พิจารณาว่า เป็นสำนวนที่แสดงถึงสำเนียงเพลง ดังที่
ครูมนตรี ตราโมทได้อธิบายไว้ในประวัติเพลง (ดูบทที่ 2) ว่าเป็นเพลงที่มีสำเนียงแขกระคนอยู่ ผู้เขียนจึงได้สร้างสรรค์ทำนองให้มีความเป็นแขกชัดเจนมากขึ้น ดังทำนองต่อไปนี้

 

ทำนองหลัก

  – – ล ท
  – – ดํ รํ
  – มํ – –
  รํ ดํ – –
  – ท – ล
  – ซ – ล
  – ซ – ฟ
  – – – ซ
  – ซ – –
  ล ท – –
  ดํ – รํ ดํ
  – – ท ล
  – ทฺ – ลฺ
  – ซฺ – ลฺ
  – ซฺ – ฟฺ
  – – – ซฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

–ลซ -มํรํดํ
ซมํรํดํ ซดํรํมํ
ซํมํรํดํ -มํรํดํ
– ท – ล
ซลท รํ – ล
-ทลซ —ล
ม ฟ ซ ล
ทล– ซฟ-ซ
 

ในวรรคต่อมา ในสำนวนท้านั้น ผู้เขียนได้ประพันธ์ให้มีกลวิธีพิเศษ คือการลอยจังหวะ (ตัวหนา)
ให้ผู้บรรเลงมีอิสระที่จะเล่นกับสัดส่วนของจังหวะ ซึ่งผู้บรรเลงสามารถจัดสัดส่วนอย่างไรก็ได้ แต่ให้จังหวะของห้องที่ 4 นั้น ลงกับเสียงฉับอย่างพอดี  ในส่วนของสำนวนรับ ได้ทำเป็นทำนองเรียบๆ เนื่องจากในสำนวนท้ามีทำนองที่ซับซ้อนมาแล้ว หากสร้างสรรค์เพิ่มเติมในสำนวนรับนั้น จะทำให้สำนวนท้าไม่มีความโดดเด่น สะดุดหูผู้ฟัง

 

ทำนองหลัก

  – – – ล
  – ซ – ร
  – – – –
  – ซ ซ ซ
  – – รํ –
  ท ล – –
  ม – ม ฟ
  – – ซ ล
  – – – ลฺ
  – ซฺ – ซฺ
  – – – ซฺ
  – – – –
  – ท – ล
  – – ซ ร
  – ร – –
  ม ฟ – –
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– – – ล
-ทลซ —ร
ทลซร -ทลซ
รซ– -ซซซ
– – รํ ล
-ทลซ —ฟ
–มร –มฟ
– ซ – ล
 

ในวรรคต่อมาในสำนวนท้านั้น ผู้เขียนแปลทำนองจากทำนองหลัก โดยได้ประพันธ์เป็นทำนองเรียบๆ เพื่อที่จะส่งอารมณ์เพลงให้วรรครับนั้นโดดเด่นขึ้น โดยมีการใส่กลวิธีรูดสายเข้าไปใน 2 ห้องสุดท้าย ซึ่งผู้บรรเลงนั้นจะต้องแสดงศักยภาพในการบรรเลงให้ออกมาสมบูรณ์ ก็จะได้คะแนนในส่วนของทักษะการบรรเลงและความไพเราะ กลมกลืน (ดูเกณฑ์การประกวดในบทที่ 2) จากกรรมการเพิ่มขึ้น

 

 

 

ทำนองหลัก

  – ซ – –
  ซ ซ – –
  ล ล – –
  ท ท – ดํ
  – ล – –
  ซ ซ – –
  ดํ ดํ – –
  รํ รํ – มํ
  – ร – ซฺ
  – – – ลฺ
  – – – ทฺ
  – – – ด
  – ม – ซฺ
  – – – ด
  – – – ร
  – – – ม
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– – -ทลซ
ร ซ – ล
ท ล รํ ล
– ท – ดํ
– – -ทลซ
รซ – ดํ
– – ซํ รํ
-มํรํดํ –รํมํ
 

อนึ่ง ในวรรคนี้จะเห็นว่าผู้เขียนได้ประพันธ์ให้มีลักษณะของสำนวนถาม ตอบ (ตัวหนา) ซึ่งทำนองหลักนั้นไม่มีลักษณะของสำนวนถาม ตอบ ในกรณีนี้ผู้เขียนได้ใช้องค์ความรู้จากวิธีการประพันธ์เพลงไทยของโบราณาจารย์มาปรับแต่งสำนวน ซึ่งหากไม่ได้ปรับแต่งสำนวนอาจจะบรรเลงทางเดี่ยว
เป็นทำนองดังนี้  

 

– – -ทลซ
ร ซ – ล
ท ล รํ ล
– ท – ดํ
—ซ -ลซม
– ซ – ดํ
– – ซํ รํ
-มํรํดํ –รํมํ
 

ซึ่งจะเห็นว่า การประพันธ์เดี่ยวในแบบแรกนั้นจะมีสำนวนที่น่าฟัง และคมคายกว่า
การประพันธ์ทางเดี่ยวในแบบที่ 2

ในวรรคต่อมานั้น เป็นวรรคต่อเนื่องจากวรรคก่อน เมื่อในวรรคก่อนหน้านั้นมีการรูดสาย มาแล้ว ในวรรคนี้จึงได้ประพันธ์ให้มีการรูดสายเพื่อให้สอดรับกัน ซึ่งเป็นการรูดสายที่มีความยาก พอสมควร ผู้บรรเลงจะต้องอาศัยทักษะในการบรรเลงที่สูงพอสมควร หากผู้บรรเลงในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อดทน พยายาม ในการฝึกซ้อม ก็จะสามารถบรรเลงออกมาได้ดี

 

ทำนองหลัก

  – – มํ มํ
  – มํ – รํ
  – มํ – รํ
  – ดํ – ท
  – ร – ซ
  – – ล ท
  – รํ – ท
  – ล – ซ
  – ม – –
  – ซ – ร
  – ม – ร
  – ด – ทฺ
  – ลฺ – ซฺ
  – – – ทฺ
  – ร – ทฺ
  – ลฺ – ซฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– – – ซํ
ฟํซํลํซํ —รํ
ดํ ท ดํ รํ
มํ รํ ดํ ท
– ล รํ ซ
-ทลซ –ลท
– รํ – ล
–ทล –รํท
–ลซ —-
 
 

 

สำหรับในวรรรคต่อมา จะเป็นวรรคสุดท้ายของทางโอด ผู้เขียนได้ประพันธ์สำนวนท้าให้มีความเรียบ เนื่องจากในวรรคก่อนหน้านี้มีทำนองที่แสดงศักยภาพมาก่อนแล้ว หากสร้างสรรค์ให้ทำนอง
มีความซับซ้อนจะมากเกินความงาม ในสำนวนรับนั้นผู้เขียนประพันธ์ทำนองเพื่อให้ผู้บรรเลงนั้น
เร่งจังหวะขึ้นมา ให้เกิดแนวบรรเลงที่จะมีความกลมกลืน พอดี กับบุคลิกของซออู้ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรี
ที่มีหน้าที่หยอกล้อ ยั่วเย้า ดังทำนองดังนี้

 

ทำนองหลัก

  – – ล ท
  – – ดํ รํ
  – มํ – –
  รํ ดํ – –
  – ท – ล
  – ซ – ล
  – ซ – ฟ
  – – – ซ
  – ซ – –
  ล ท – –
  ดํ – รํ ดํ
  – – ท ล
  – ทฺ – ลฺ
  – ซฺ – ลฺ
  – ซฺ – ฟฺ
  – – – ซฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

ลซ– -ทลซ
รซ – ดํ
– รํ – ดํ
– ท – ล
รํ ท – ล
-ทลซ —ล
ท ล ซ ล
ซ ฟ – ซ
 

ในการประพันธ์ทางเดี่ยวในทางพันนั้น ผู้เขียนได้เริ่มจากการใช้กลอนไต่ในสำนวนท้า และเลือกใช้สำนวนของระนาดทุ้ม ของครูพุ่ม บาปุยวาทย์ มาดัดแปลงทำนองเป็นทางเดี่ยวซออู้ในสำนวนรับ
มีทำนองดังนี้

 

ทำนองหลัก

  – ท – –
  ล ล – –
 ท ท – –
  รํ รํ – มํ
  – มํ – มํ
  – รํ – –
  ดํ ดํ – –
  ท ท – ล
  – ทฺ – ลฺ
  – – – ทฺ
  – – – ร
  – – – ม
  – ซ – ม
  – ร – ด
  – – – ทฺ
  – – – ลฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

ร ม ฟ ล
ม ฟ ล ท
ฟ ล ท รํ
ล ท รํ ม
ซ ม ร ม
ร ด รํ ดํ
ท ดํ ท ล
ท ล ซ ล
 

ในวรรคต่อมา ผู้เขียนได้ประพันธ์ทำนองให้มีการใช้เสียงซ้ำ(ตัวหนา) โดยให้เสียงเรต่ำ ที่กดด้วยนิ้วชี้ในสายทุ้ม สลับกับเสียงเรสูงของซออู้ ให้เกิดเสียงที่โดดขึ้นมา เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกเพลิดเพลินกับ
ทำนองเพลง ในส่วนของทำนองเพลงนี้ ผู้เขียนได้แรงบันดาลใจมาจากเสียงของนกสาลิกา ซึ่งเวลาร้องนั้นมีเสียงสูง สลับกับเสียงต่ำ (อาจจะได้ยินว่า วี่ หวี๊ด วี่ หวี๊ด แล้วแต่หูของแต่ละคน) จึงได้ทำนองดังต่อไปนี้

 

 

ทำนองหลัก

  ท ล – –
  ซ – ซ ล
 ท ล – –
  ท – – ดํ
  – มํ – มํ
  – รํ – –
  ดํ ดํ – –
  ท ท – ล
  – – ซ ร
  – ร – –
  – – ซ ล
  – ด – –
  – ซ – ม
  – ร – ด
  – – – ท
  – – – ลฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

ร ร ร ซ
ร ซ รํ ท
ร ซ รํ ท
ล ท ดํ รํ
ซ ล ซ ม
ซ ม ร ด
ซ ร ซ ดํ
รํ ดํ ท ล
 

ในวรรคต่อมานั้น จะเห็นได้ว่าในสำนวนท้านั้น ทำนองหลักจะมีห้องเพลงที่ว่างอยู่ คือห้องที่ 1 และห้องที่ 4 ซึ่งหากผู้เขียนประพันธ์ทำนองตามรูปแบบของทำนองหลัก จะทำให้ทำนองเพลงมีความไม่ต่อเนื่อง จึงได้สร้างสรรค์ทำนองขึ้น โดยการแปรทำนอง (Variation) และใช้การผูกทำนอง (Creative) เข้ามาเสริม โดยให้ทำนองในวรรครับนั้น มีลักษณะของการใช้เสียงโดดเหมือนในวรรคก่อนหน้านี้ จึงได้ทำนองดังต่อไปนี้

 

ทำนองหลัก

  – – – –
  – ล – ท
  – ล – รํ
  – – – –
  – ร – ซ
  – – ล ท
  – รํ – ท
  – ล – ซ
  – – – –
  – ลฺ – ทฺ
  – ลฺ – ร
  – – – –
  – ลฺ – ซฺ
  – – – ทฺ
  – ร – ทฺ
  – ลฺ – ซฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

– ท ล ล
ซ ฟ ซ ล
ท ล ซ ล
ซ ฟ ม ร
ซ ซ ร ซ
ร ซ รํ ท
ล ท รํ ม
รํ ท ล ซ
 

ในวรรคต่อมานั้น สำนวนท้า ผู้เขียนได้ดำเนินทำนองให้มีกระสวนทำนองขึ้น สลับกับลง และกลับมาขึ้น แสดงอาการโผบินของนกสาลิกา ซึ่งมีความสุขกับการได้เห็นแสงของพระจันทร์ ในสำนวนรับนั้น เป็นสำนวนเพลงที่มีสำเนียงแขกระคนอยู่ ผู้เขียนจึงได้ศึกษานกสาลิกาแต่ละประเภทว่า นกสาลิกา
พันธุ์ใด ที่พบในประเทศที่เป็นแขกบ้าง ซึ่งคำว่า “แขก” หรือสำเนียงแขกในทางดนตรีไทยนั้น
อาจหมายถึง แขกอินเดีย เช่นสำเนียงที่ปรากฏในเพลงสร้อยแขกลพบุรี หรือแขกชวา เช่น สำเนียง
ที่ปรากฎในเพลงแขกโหย แขกไทร ซึ่นกสาลิกาที่มีคุณสมบัติดังกล่าวคือ นกสาลิกาเขียว ซึ่งพบในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย และในประเทศอินโดนีเซีย นกชนิดนี้จะหากิน
เป็นคู่ ฉะนั้น เพลงสาลิกาชมเดือนนี้ ผู้เขียนจึงจินตนาการว่า การชมเดือนของนกสาลิกานี้จะไม่ได้
ชมเพียงตัวเดียว แต่จะต้องชมอยู่กับคู่ของมัน ผู้เขียนจึงคิดว่าควรจะประพันธ์เพลงให้มีทำนองที่อ่อนหวาน ระคนสำเนียงแขก และมีเสียงโดดเข้ามาผสมเล็กน้อย โดยประพันธ์ทำนองได้เป็นดังนี้

 

ทำนองหลัก

  – – ล ท
  – – ดํ รํ
  – มํ – –
  รํ ดํ – –
  – ท – ล
  – ซ – ล
  – ซ – ฟ
  – – – ซ
  – ซ – –
  ล ท – –
  ดํ – รํ ดํ
  – – ท ล
  – ทฺ – ลฺ
  – ซฺ – ลฺ
  – ซฺ – ฟฺ
  – – – ซ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

ร ซ ล ท
ดํ รํ ซ ดํ
ท ล ซ ร
ม ฟ ซ ล
รํ ท รํ ล
ท ฟ ซ ล
ม ฟ ซ ล
ซ ฟ ล ซ
 

ในวรรคต่อมานี้ ผู้เขียนจะอธิบายรวม 3 วรรค เนื่องจากมีแนวคิด และแรงบันดาลใจเหมือนกัน และเป็นการผูกทำนองที่เป็นชุดต่อเนื่องกัน จึงคิดว่าการอธิบายรวมกันจะเห็นภาพพจน์ของจินตภาพ
ที่ผู้เขียนพยายามนำเสนอมากกว่า ในชุดของวรรคเหล่านี้ ผู้เขียนประพันธ์ให้มีทำนองที่เล่นกับจังหวะ
มีจังหวะโดดๆ ในช่วงแรก ซึ่งจะต้องอาศัยกลวิธีพิเศษ คือการใช้คันชัก หนัก เบา มาช่วย ในวรรคนี้ผู้เขียนได้จินตนาการว่า นกสองตัวที่กำลังชมพระจันทร์ (เดือน) อยู่นั้น มิได้ชมด้วยตาเฉยๆ หากแต่มีการไล่จิกกัน มีการกระโดดวิ่งตามกัน ในวรรคต่อมาแสดงจินตภาพด้วยการดำเนินกลอนไต่ มีการ ตีปีก สะบัดหางใส่กันด้วย แต่ในการวิ่งไล่อยู่นั้น มิได้เป็นการไล่ล่าเพื่อจะฆ่ากัน แต่เป็นการไล่กันเชิงสังวาส ผู้เขียนจึงเลือกลักษณะของสำนวนกลอนที่มีความอ่อนหวาน ดังนี้

 

ทำนองหลัก

  – – – ล
  – ซ – ร
  – – – –
  – ซ ซ ซ
  – – รํ –
  ท ล – –
  ม – ม ฟ
  – – ซ ล
  – – – ลฺ
  – ซฺ – ซฺ
  – – – ซฺ
  – – – –
  – ท – ล
  – – ซ ร
  – ร – –
  ม ฟ – –
 

  – ซ – –
  ซ ซ – –
  ล ล – –
  ท ท – ดํ
  – ล – –
  ซ ซ – –
  ดํ ดํ – –
  รํ รํ – มํ
  – ร – ซฺ
  – – – ลฺ
  – – – ทฺ
  – – – ด
  – ม – ซฺ
  – – – ด
  – – – ร
  – – – ม
 

  – – มํ มํ
  – มํ – รํ
  – มํ – รํ
  – ดํ – ท
  – ร – ซ
  – – ล ท
  – รํ – ท
  – ล – ซ
  – ม – –
  – ซ – ร
  – ม – ร
  – ด – ทฺ
  – ลฺ – ซฺ
  – – – ทฺ
  – ร – ทฺ
  – ลฺ – ซฺ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

ล ล ซ ล
ท ล ซ ร
ซ – ซ ร
ซ – ร ซ
ร ซ รํ ดํ
ท ล ซ ร
ซ –  ซ ร
ซ ดํ ท ล
ซ ล ท ซ
ล ซ ท ล
ท ล ดํ ท
ดํ ท รํ ดํ
ซ ร ซ รํ
ซ ร ซ ดํ
ท ดํ รํ ดํ
ท ล ซ ม
ซ ร ม รํ
ดํ ท ดํ รํ
ดํ ท ล ดํ
ท ล ดํ ท
ซ ม ร ม
รํ ท ล ท
รํ ม ซ ม
รํ ท ล ซ
 

สำหรับในการประพันธ์ทางเดี่ยวซออู้ เพลงสาลิกาชมเดือน ในวรรคสุดท้ายนี้ ผู้เขียนได้ใส่กลวิธีพิเศษคือ การขยี้ เพื่อแสดงจินตภาพของการสิ้นสุดการไล่จับกันของนกสาลิกาทั้งสองตัว และมี
การทอดจังหวะเพื่อลงจบ เปรียบเสมือนการจบลงด้วยการนอนพักผ่อนในค่ำคืนที่มีความสุข ดังทำนองต่อไปนี้

 

ทำนองหลัก

  – – ล ท
  – – ดํ รํ
  – มํ – –
  รํ ดํ – –
  – ท – ล
  – ซ – ล
  – ซ – ฟ
  – – – ซ
  – ซ – –
  ล ท – –
  ดํ – รํ ดํ
  – – ท ล
  – ทฺ – ลฺ
  – ซฺ – ลฺ
  – ซฺ – ฟฺ
  – – – ซ
 

การประพันธ์ทางเดี่ยว

ร ซ ล ท
ดํรํดํท ดํรํ-ดํ
ซ ร ซ ดํ
– ท – ล
รํ ท – ล
– ซ – ล
ท ล ซ ล
ซ ฟ – ซ
 

            ทางเดี่ยวซออู้ เพลงสาลิกาชมเดือน ที่ได้ประพันธ์ขึ้นใหม่นี้ ผู้เขียนได้ประพันธ์จากจินตนาการ ให้ทำนองเพลงนั้น แสดงจินตภาพของนกสาลิกาเขียวสองตัวที่อยู่ในรังเดียวกัน กำลังมีความสุข เพลิดเพลินกับแสงของพระจันทร์อยู่ในรังของตน ซึ่งเป็นแนวคิด และการตีความส่วนตัวของผู้เขียนที่ผู้เขียนได้รับผัสสะ (Senses) และเกิดเพทนาการ (Sentiment) ต่อบทเพลงนี้ และได้สำแดงออก (Expression) มาเป็นทางเดี่ยว เพลงสาลิกาชมเดือนนี้ โดยใช้วิธีการประพันธ์ตามแบบนักประพันธ์ประเภทขนบภักดิ์สบสมัยซึ่งอาศัยบริบทของการประกวดระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในการประพันธ์
ผลของการประพันธ์นี้จึงได้ ทางเดี่ยวซออู้ สำนวนใหม่ ซึ่งใช้การตีความที่แตกต่างจากทางเดี่ยว
เพลงสาลิกาชมเดือน ของนักประพันธ์ท่านอื่นๆ และพบว่ามีกลวิธีพิเศษที่ใช้ในเพลงได้แก่ การพรม
การรูดสาย การเอื้อนเสียง นิ้วนาคสะดุ้ง การลอยจังหวะ การใช้คันชักหนัก เบา 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เดี่ยวซออู้ เพลงสาลิกาชมเดือน สามชั้น

ประพันธ์ทางเดี่ยว โดย อาจารย์สุรพงษ์ บ้านไกรทอง

 

เที่ยวโอด

– – – ล
– ทลซ –ลท
— –ซํรํ
-มํรํท –รํมํ
– ซํ – มํ
ซํรํมํรํ รํมํรํดํ
– ซ – ดํ
รํดํ-ท ลซ-ล
– รํ – ซ
-ทลซ –ลท
– ล – ท
– ดํ – รํ
– ซ – ม
รดมร รมรด
– ซ – ดํ
-ทลซ –ทล
– – – ล
-ทลซ –ลท
– ล – รํ
– – – –
– ร – ม
รํม-ซ –ลท
– รํ – ท
– ล – ท
–ลซ -มํรํดํ
ซมํรํดํ ซดํรํมํ
ซํมํรํดํ -มํรํดํ
– ท – ล
ซลท รํ – ล
-ทลซ —ล
ม ฟ ซ ล
ทล– ซฟ-ซ
– – – ล
-ทลซ —ร
ทลซร -ทลซ
รซ– -ซซซ
– – รํ ล
-ทลซ —ฟ
–มร –มฟ
– ซ – ล
– – -ทลซ
ร ซ – ล
ท ล รํ ล
– ท – ดํ
– – -ทลซ
รซ – ดํ
– – ซํ รํ
-มํรํดํ –รํมํ
– – – ซํ
ฟํซํลํซํ —รํ
ดํ ท ดํ รํ
มํ รํ ดํ ท
– ล รํ ซ
-ทลซ –ลท
– รํ – ล
–ทล –รํท
ลซ– -ทลซ
รซ – ดํ
– รํ – ดํ
– ท – ล
รํ ท – ล
-ทลซ —ล
ท ล ซ ล
ซ ฟ – ซ
 

เที่ยวพัน

ร ม ฟ ล
ม ฟ ล ท
ฟ ล ท รํ
ล ท รํ ม
ซ ม ร ม
ร ด รํ ดํ
ท ดํ ท ล
ท ล ซ ล
ร ร ร ซ
ร ซ รํ ท
ร ซ รํ ท
ล ท ดํ รํ
ซ ล ซ ม
ซ ม ร ด
ซ ร ซ ดํ
รํ ดํ ท ล
– ท ล ล
ซ ฟ ซ ล
ท ล ซ ล
ซ ฟ ม ร
ซ ซ ร ซ
ร ซ รํ ท
ล ท รํ ม
รํ ท ล ซ
ร ซ ล ท
ดํ รํ ซ ดํ
ท ล ซ ร
ม ฟ ซ ล
รํ ท รํ ล
ท ฟ ซ ล
ม ฟ ซ ล
ซ ฟ ล ซ
ล ล ซ ล
ท ล ซ ร
ซ – ซ ร
ซ – ร ซ
ร ซ รํ ดํ
ท ล ซ ร
ซ –  ซ ร
ซ ดํ ท ล
ซ ล ท ซ
ล ซ ท ล
ท ล ดํ ท
ดํ ท รํ ดํ
ซ ร ซ รํ
ซ ร ซ ดํ
ท ดํ รํ ดํ
ท ล ซ ม
ซ ร ม รํ
ดํ ท ดํ รํ
ดํ ท ล ดํ
ท ล ดํ ท
ซ ม ร ม
รํ ท ล ท
รํ ม ซ ม
รํ ท ล ซ
ร ซ ล ท
ดํรํดํท ดํรํ-ดํ
ซ ร ซ ดํ
– ท – ล
รํ ท – ล
– ซ – ล
ท ล ซ ล
ซ ฟ – ซ