ปฏิกิริยานิวเคลียร์

“เคมี”เป็นเรื่องใกล้ อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง การเกิดสนิมของเหล็ก การย่อยอาหาร การสังเคราะห์ด้วยแสง การที่ถุงลมนิรภัยในรถยนต์สามารถพองตัวได้ การระเบิดของTNT ปฏิกิริยาเคมีทั่วไปเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงที่อิเล็กตรอนชั้นนอก แต่ละอะตอมของสารตั้งต้นมีการให้หรือรับอิเล็กตรอน ทำให้มีการจัดเรียงตัวของอะตอมใหม่และเกิดเป็นสารประกอบใหม่ขึ้นมา แต่ปฏิกิริยาเคมีนิวเคลียร์ จะเกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงอนุภาคมูลฐานที่อยู่ในนิวเคลียส ได้แก่ โปรตอน และนิวตรอน ปฏิกิริยานิวเคลียร์นี้มีการดูดหรือคายพลังงานปริมาณมหาศาลมากกว่าปฏิกิริยาเคมีทั่วไป เช่น ระเบิดนิวเคลียร์ little boy ที่ฮิโรชิมา ที่มีน้ำหนัก 4,000 กิโลกรัม มีธาตุยูเรเนียมบรรจุอยู่ประมาณ 64 กิโลกรัม แต่ส่วนที่จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิซชันมีน้ำหนักเพียง 700 กรัมเท่านั้น เมื่อเกิดการระเบิดจะมีการคายพลังงานออกมาเทียบเท่าได้กับระเบิด TNT ปริมาณมากถึง 15,000 ตัน
อ่านบทความฉบับเต็มต่อ  คลิ๊กที่นี่  https://link.bsru.ac.th/ls5