การจัดการคลังสินค้า
Warehouse Management
ขวัญชัย ช้างเกิด
บทนำ
การจัดการคลังสินค้าเกี่ยวข้องกับประสิทธิ ภาพและประสิทธิผลของการจัดการความ สัมพันธ์ของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงกับปริมาณสินค้าที่จะเก็บในคลัง เพื่อสนองตอบต่อความพึงพอใจของลูกค้า อีกทั้งการวางแผนการบริหารจัดการคลังสินค้า (Warehouse) และสินค้าคงคลัง (Inventory) เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จสามารถต่อสู้คู่แข่งขันได้ซึ่งคลังสินค้ามีความสำคัญที่สุดในระบบโลจิสติกส์ ในการบริหารจัดการคลังสินค้าต้องมีองค์ประกอบสำคัญหลายอย่างเข้ามาร่วมด้วย และด้วย ความซับซ้อนที่ต้องการให้การบริหารมีคุณภาพที่ดี ต้องอาศัยระบบการทำงานที่มีคุณภาพ มีระบบเทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย และบุคลากรที่เป็นมืออาชีพทั้ง 3 สิ่งนี้ต้องทำงานสอดคล้องประสานกันเพื่อให้เกิดความแม่นยำในการทำงาน
ความหมายของ Warehouse ตามหลักของ โลจิสติกส์
สถานที่ใช้ในการเก็บรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดี และคุณสมบัติที่พร้อมจะส่งมอบให้กับบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยบรรลุเป้าหมายแบบ Right Time , Right Quality , Right Quantities , Right Place
ภาระกิจที่สำคัญคลังสินค้าจึงทำหน้าที่เป็น “ที่พักและเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบหรือวัสดุสิ่งของต่างๆ โดยเป็นสถานที่ซึ่งใช้ในการพักสินค้าชั่วคราวจนกว่าจะมีการเคลื่อนย้ายไปสู่ผู้ที่มีความต้องการไม่ว่าจะเพื่อการผลิตหรือเพื่อจำหน่ายจ่ายแจก หรือขาย หรือส่งมอบ”
ความสำคัญของการคลังสินค้า
ความสำคัญของคลังสินค้า หมายถึง ของการประกอบกิจการค้าขายที่เกี่ยวกับสินค้าชนิดต่างๆ นั้น นับว่าเป็น ธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ไม่ว่านั้นจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร หรือผลผลิตทางอุตสาหกรรมประเทศใดก็ตาม กิจการคลังสินค้านับว่าเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่สำคัญในอันที่จะให้การประกอบธุรกิจค้าขายเกี่ยวกับสินค้าบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ คลังสินค้ามีความสำคัญโดยทั่วไปและโดยเฉพาะต่อกิจการต่าง ๆ ดังจะได้แยกอธิบายดังนี้
ความสำคัญของคลังสินค้าโดยทั่ว ๆ ไป
คลังสินค้าเป็นห่วงเชื่อมที่สำคัญในสายโซ่ (Supply Chain) ของการกระจายสินค้าจากผู้ผลิต ไปยังผู้บริโภค ในการเป็นห่วงเชื่อมนี้ คลังสินค้าทำหน้าที่รักษาสมดุลระหว่างการบริโภค ซึ่งมีอัตราความต้องการไม่สม่ำเสมอ และคาดการณ์ล่วงหน้าได้ยากเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตสินค้าซึ่งมีอัตราของการผลิตเป็นปริมาณที่ค่อนข้างแน่นอน
แม้ว่าการวางแผนการผลิตสินค้าต้องอาศัยอัตราการบริโภคที่สามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้าก็ตาม ความไม่คงที่แน่นอนของความต้องการในการบริโภคอาจทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นได้ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เนื่องจากระบบการผลิตต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตามที่วางแผนไว้ถ้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาใดที่ผลิตภัณฑ์ออกมาเกินความต้องการในตลาดบริโภค คลังสินค้า (warehouse) ก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสะสมปริมาณส่วนที่เกินความต้องการนั้นไว้ เมื่ออัตราความต้องการบริโภคสูงขึ้นเกินกว่าปริมาณการผลิตในห้วงเวลาใด คลังสินค้าก็จะทำหน้าที่ระบายสินค้าที่สะสมไว้นั้นออกสู่ตลาดเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการสินค้า ทำให้เกิดความสมดุลโดยเฉลี่ยในระยะยาว แต่ในขณะที่การผลิตเกิดอุปสรรคขัดข้องต้องหยุดชะงักลงชั่วคราวด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม เช่นเกิดการเสียหายของเครื่องจักร ต้องทำการซ่อมแซม หรือเกิดการขาดแคลนของวัสดุการผลิต หรือเวลา ปริมาณ และตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ก็จะเป็นที่เชื่อมั่นได้ว่า จะสามารถนำสินค้าออกจำหน่ายสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอนอันเป็นผลดีแก่ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภคและต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอันเป็นส่วนรวมอีกด้วย อาจจะเกิดกรณีพิพาททางด้านแรงงาน มีการหยุดงานสินค้าที่เก็บสะสมอยู่ในคลังสินค้าก็จะถูกนำออกสู่ตลาดเป็นการชดเชย แม้ว่าอาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการตามปกติที่กิจการผลิตยังดำเนินงานอยู่ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะบรรเทาความเดือดร้อนของผู้บริโภคลงได้บ้างในระดับหนึ่ง จนกว่าจะแก้ไขข้อขัดข้องของการผลิตลงได้คลังสินค้าที่ตั้งกระจายกันอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ หากได้มีการวางแผนอย่างเหมาะสมไว้ ในการวางสินค้าในคลังสินค้าเหล่านั้นใน
ความสำคัญต่อการผลิตสินค้า
กิจการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรกลที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นสายงานอย่างต่อเนื่อง ทุกขั้นตอนของการผลิตต้องรับช่วงติดต่อกันไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่การป้อนวัสดุการผลิตเข้าไปจนได้ผลผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และเป็นการผลิตจำนวนมากๆ ที่เรียกว่า Mass Production หรือการผลิตแบบต่อเนื่อง การผลิตสินค้าในระบบนี้จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีวัสดุการผลิตอย่างเพียงพอ ที่จะป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อย่างไม่ขาดตอน คลังสินค้ามีบทบาทสำคัญในการจัดให้มีการสะสมวัสดุการผลิตไวอย่างเพียงพอ เพื่อให้กระบวนการผลิตดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายการเก็บรักษาวัสดุการผลิตสะสมไวเพื่อการนี้ผู้ผลิตสินค้าอาจลงทุนจัดตั้งและดำเนินการคลังสินค้าของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิต ที่จัดอยู่ในจำพวกคลังสินค้าประเภทคลังเก็บพัสดุของกิจการผลิตสินค้า หรือผู้ผลิตสินค้าอาจเลือกใช้บริการ ของคลังสินค้าสาธารณะเพื่อการนี้ก็ได้
การจำแนกประเภทของคลังสินค้า
การจัดจำหน่ายสินค้านั้น บางกิจการอาจจัดส่งสินค้าโดยตรงจากโรงงานสู่ลูกค้าโดยไม่ใช้บริการของการคลังสินค้าเลย และส่วนมากมักจะมีแหล่งเก็บสินค้าระหว่างโรงงานและลูกค้า กิจการต้องตัดสินใจว่าจะใช้บริการของคลังสินค้าประเภทใดการเก็บสินค้าและพัสดุ แต่จุดมุ่งหมายในการประกอบกิจการแตกต่างกันออกไปในหลายลักษณะ ตลอดจนหลักเกณฑ์ในการดำเนินกิจการ
ดังนั้นจึงสามารถจำแนกได้หลายประเภท
การแบ่งคลังสินค้าตามประเภทต่างๆ 2 ประเภท
1. การแบ่งคลังสินค้าตามตำแหน่งที่ตั้ง
คลังสินค้าระดับประเทศ (National Warehouse)
คลังสินค้าระดับภูมิภาค (Regional Warehouse)
คลังสินค้าระดับท้องถิ่น (Local Warehouse)
คลังสินค้าภายในบริษัท (Internal Warehouse)
ศูนย์กระจายสินค้ากลาง (Central Distribution Center)
ศูนย์กระจายสินค้าท้องถิ่น (Local Distribution Center)
2. การแบ่งคลังสินค้าตามประเภทของสินค้า
สินค้าแห้ง (Dry) ข้อแตกต่างอุณหภูมิ
สินค้าที่เป็นของสด (นม,ผักสด,ผลไม้) ต้องส่งรวดเร็ว
สินค้าที่ต้องการดูแลในด้านสิ่งแวดล้อม
สินค้าที่ไม่สามารถทนต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ความชื้น,อุณหภูมิ,ฝน เป็นต้น
สินค้าที่ไม่สามารถทนต่อ แมลง,แบคทีเรีย,เชื้อรา
คลังสินค้าที่รักษาความเย็น (Temperature Control)
การบริหารสินค้าคงคลัง
การบริหารสินค้าคงคลังหมายถึงการเก็บทรัพยากรไว้ใช้ในปัจจุบัน หรือในอนาคต เพื่อให้การดำเนินการของกิจการดำเนินไปอย่างราบรื่น ผ่านการวางแผนกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังที่เหมาะสม การจัดการต่างๆ ที่เกี่ยวกับรายการสินค้าในคลัง ตั้งแต่รวบรวม จดบันทึกสินค้าเข้า-ออก การควบคุมให้มีสินค้าคงเหลือในปริมาณที่เหมาะสม มีระเบียบ เพื่อให้สินค้าที่มีอยู่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งในด้านแบบ สี ขนาด แฟชั่น
ประเภทของสินค้าคงคลังในเส้นทาง ของระบบโลจิสติกส์ (Lambert และ Stock, 2001) แบ่งเป็น 6 ประเภท
1) สินค้าที่เก็บตามรอบ (Cycle Stock)
2) สินค้าคงคลังระหว่างทาง (In-transit Inventories)
3) สินค้าคงคลังสำรองหรือสินค้ากันชน (Safety or Buffer Stock)
4) สินค้าที่เก็บไว้เพื่อเก็งกำไร (Speculative Stock)
5) สินค้าที่เก็บไว้ตามฤดูกาล (Seasonal Stock)
6) สินค้าไม่เคลื่อนไหว (Dead Stock)
1 สินค้าที่เก็บตามรอบ (Cycle Stock)
สินค้าที่เก็บตามรอบเป็นสินค้าที่มีไว้เติมสินค้าที่ขายไปหรือสินค้าที่ใช้ไปในการผลิต ซึ่งสินค้าประเภทนี้จะเก็บไว้เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าภายในเงื่อนไขที่มีความแน่นอนคือ อยู่ภายใต้สมมติฐานที่ว่าความต้องการสินค้าและช่วงเวลารอคอยในการสั่งคงที่และทราบล่วงหน้า ซึ่งจะต้องสามารถพยากรณ์ความต้องการสินค้าได้แน่นอน เนื่องจากมีการกำหนดไว้แล้วว่าความต้องการสินค้าและช่วงเวลารอคอยคงที่และทราบล่วงหน้า
ดังนั้นการกำหนดวันให้สินค้าในแต่ละรอบมาถึงจะตรงกับเวลาที่สินค้าชิ้นสุดท้ายหมดพอดี ซึ่งปริมาณสินค้าคงคลังสูงสุดจะไม่เกินปริมาณที่สั่งซื้อไปในแต่ละครั้ง โดยที่ปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ยจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของปริมาณสินค้าที่สั่งซื้อ
2 สินค้าคงคลังระหว่างทาง (In-transit Inventories)
สินค้าคงคลังระหว่างทางเป็นสินค้าที่อยู่ระหว่างการลำเลียงจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งซึ่งสินค้าเหล่านี้อาจจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าที่เก็บไว้ตามรอบ (Cycle Stock) แม้ว่าสินค้าเหล่านี้จะยังไม่สามารถขายหรือขนส่งในลำดับต่อไปจนกว่าสินค้านั้นจะไปถึงผู้ที่สั่งสินค้านั้นเสียก่อน ดังนั้นในการคำนวณต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าของต้นทางควรจะรวมต้นทุนของสินค้าคงคลังระหว่างทางไว้ด้วย เนื่องจากสินค้าเหล่านี้ยังไม่สามารถขายหรือนำไปใช้ที่จุดหมายปลายทางได้
3 สินค้าคงคลังสำรองหรือสินค้ากันชน (Safety or Buffer Stock)
สินค้าคงคลังสำรองหรือสินค้ากันชนเป็นสินค้าจำนวนหนึ่งที่เก็บไว้เกินจากจำนวนสินค้าที่เก็บไว้ตามรอบปกติเนื่องจากความไม่แน่นอนในความต้องการสินค้าหรือช่วงเวลารอคอย ซึ่งปริมาณสินค้าคงคลังโดยเฉลี่ยจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของปริมาณการสั่งซื้อตามปกติบวกกับปริมาณสินค้าคงคลังสำรอง
4 สินค้าที่เก็บไว้เพื่อเก็งกำไร (Speculative Stock)
สินค้าที่เก็บไว้เพื่อเก็งกำไรเป็นการเก็บสินค้าคงคลังเผื่อไว้โดยมีเหตุผลในการเก็บมากกว่าเพียงแค่การเตรียมไว้สำหรับความต้องการในปัจจุบันเช่น การสั่งซื้อวัตถุดิบจำนวนมากกว่าปกติเพื่อต้องการส่วนลดหรือมีการพยากรณ์ว่าวัตถุดิบจะมีการขึ้นราคา หรือขาดแคลนในอนาคต หรือการสั่งซื้อสินค้าเนื่องจากมีแนวโน้มว่าโรงงานของซัพพลายเออร์จะมีการสไตรค์เกิดขึ้นนอกจากนั้นการประหยัดจากการผลิต (Production Economies) ทำให้ต้องมีการผลิตสินค้าในแต่ละช่วงในปริมาณที่มากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้นจริงในช่วงเวลาดังกล่าว
5 สินค้าที่เก็บไว้ตามฤดูกาล (Seasonal Stock)
สินค้าที่เก็บไว้ตามฤดูกาลเป็นรูปแบบหนึ่งของสินค้าที่เก็บไว้เพื่อเก็งกำไร โดยเป็นการสะสมสินค้าคงคลังไว้จำนวนหนึ่งก่อนที่ฤดูกาลของการขายสินค้าจะมาถึง สินค้าประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตผลทางการเกษตรหรือผลิตผลตามฤดูกาล ฯลฯ อนึ่ง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับแฟชั่น (Fashion Industry) จัดเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าตามฤดูกาลโดยจะมีการสต็อกสินค้ารุ่นใหม่เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในแต่ละฤดูกาลที่กำลังจะมาถึง
6 สินค้าไม่เคลื่อนไหว (Dead Stock)
สินค้าประเภทนี้เป็นสินค้าที่กิจการเก็บไว้และไม่มีความต้องการสินค้าเกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นสินค้าล้าสมัย เสื่อมสภาพ หรือเป็นสินค้าตกค้างอยู่ในคลังสินค้าแห่งใดแห่งหนึ่งสินค้าประเภทนี้เป็นสินค้าที่กิจการเก็บไว้และไม่มีความต้องการสินค้าเกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นสินค้าล้าสมัย เสื่อมสภาพ หรือเป็นสินค้าตกค้างอยู่ในคลังสินค้าแห่งใดแห่งหนึ่ง
เอกสารอ้างอิง
คำนาย อภิปรัชญากุล. (2555). การจัดการคลังสินค้า. กรุงเทพ : โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิซชิ่ง
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2556). กลยุทธ์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง. กรุงเทพ : การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า.
Jay Heizer & Barry Render.(2551). การจัดการผลิตและปฏิบัติการ : Operations Managementแปลและเรียบเรียงโดย จิณตนัยไพรสณฑ์และคณะ. กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็คดูเคชัน อินโดไชน่า.