ท่าเรือคือ การให้ความสะดวกของวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ในระหว่างบรรทุกการขนส่งทางน้ำ
การขนส่งทางบก ทางอากาศ และทางท่อ บทบาทของท่าเรือประกอบด้วยการให้บริการท่าเรือ เช่น การนำร่อง
การเทียบท่า การให้ความสะดวกการเดินเรือ การให้บริการแก่เรือในเรื่องการซ่อมบำรุง เสบียง น้ำจืด น้ำมัน ฯลฯ
พร้อมกับการให้บริการแก่สินค้า เช่น การเก็บรักษาสินค้า การรักษาความปลอดภัยของสินค้า
ปัจจุบันท่าเรือได้พัฒนาให้มีบทบาทเพิ่มมากขึ้น เพราะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการกระจายสินค้าไปทั่วโลก
หรืออาจเรียกว่า ระบบโซ่อุปทาน ของโลก กรุงเทพมหานครมีท่าเรือที่เรียกว่า
ท่าเรือกรุงเทพเป็นศูนย์ในการขนส่งสินค้าทางเรือ แต่ด้วยพื้นที่มีจำกัด ประกอบกับผู้ประกอบการจำนวนมาก
จึงทำให้มีบริษัทเอกชนหลายราย ได้เปิดท่าเรือเอกชน เพื่อรองรับความแออัดจากท่าเรือกรุงเทพ
ในบทความนี้จะกล่าวถึง ประเภทของท่าเรือ และการดำเนินงานของท่าเรือเอกชน
ประเภทของท่าเรือ แบ่งได้เป็น 1) Transhipment Port เป็นท่าเรือแบบถ่ายลำ
เป็นศูนย์รวมในการเก็บและกระจายตู้คอนเทนเนอร์ ที่ทำหน้าที่เป็น Consolidation Port คือ
เป็นท่าที่ใช้ในการรวมตู้สินค้า จากบริเวณใกล้เคียงโดยตู้สินค้าจะมีการนำมาบรรทุกเรือประเภทที่เรียกว่า Feeder
Vessel เพื่อรอการขนถ่ายไปยังเรือ (Direct Vessel หรือ Master Vessel) ไปส่งมอบตามจุดหมายปลายทาง
ได้แก่ท่าเรือสิงคโปร์ ท่าเรือกรัง ท่าเรือรอทเทอดัมส์ ฯลฯ มีการบริหารจัดการลดเวลาในท่าเรือ (Time in Port
หรือ Waiting Time) คือให้เรือคอยท่าน้อยที่สุด จึงต้องมีพื้นที่ในท่าเรือ (Terminal-Area)
ของการจัดเรียงกองตู้คอนเทนเนอร์ได้เป็นจำนวนบวกกับเทคโนโลยี คลังน้ำมันอู่ซ่อมเรือ
และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ที่ลดการแออัดของท่าเรือ 2) Original Destination Port
หรืออาจเรียกว่าท่าเรือต้นทางปลายทางหรือ
ท่าเรือต้นแบบเป็นท่าเรือที่ใช้ในการรับสินค้าหรือขนถ่ายสินค้าโดยตรงโดยท่าเรือประเภทนี้ประกอบไปด้วยศูนย์รว
บรวมและกระจายสินค้า (Distribute Center) ต้องเชื่อมต่อไปยังศูนย์สินค้าต่อเนื่องไปยังจุดหมายปลายทาง
ตามเงื่อนไขของ Incoterms ในหลายๆ เงื่อนไขก็ได้ครอบคลุมหรือการขนส่งสินค้าจนถึง Original Port เช่น
ท่านิวยอร์ก ท่าเรือ โตเกียวหรือ ท่าเรือแหลมฉบังของประเทศไทย เป็นต้น
ท่าเรือเหล่านี้จะเป็นท่าที่เป็นจุดหมายปลายทางของการขนส่งเพื่อขนถ่ายสินค้าเข้าไปใน Interland สำหรับ
Transit Port จะเป็นท่าเรือที่ตู้คอนเทนเนอร์สินค้าจะมาวางพักเพื่อรอเปลี่ยนเรือลำใหม่เพื่อที่จะขนส่งไป
Original-Port เช่น ท่าเรือ Singapore ท่าเรือฮ่องกง เป็นต้น 3) Inland Container Depot (ICD)
ลานวางตู้หรือท่าเรือในแผ่นดิน (ไม่ติดน้ำ) เป็นสถานีในการเป็นศูนย์ (HUB) ในการรับตู้สินค้าเพื่อขนส่งไปท่าเรือ
(Port) หรือรับตู้สินค้าจากท่าเรือเข้ามาเก็บก่อนที่จะส่งต่อไปให้สถานที่รับมอบสินค้า (Origin Point)
ปัจจุบันสถานะของ ICD จึงทำหน้าที่คล้ายกับท่าเรือในแผ่นดิน
วิธีการขนย้ายคอนเทนเนอร์ในท่าเรือ
การขนย้ายสินค้าในท่าเรือจัดเป็นสิ่งที่ต้องบริหารจัดการเพราะแต่ละท่าจะแข่งขันกันเป็นนาทีในการยกสินค้าขึ้นแ
ละลง ปัจจุบันระบบการจัดการท่าเรือที่เรียกว่า Port Automation จะทำหน้าที่ในการจัดการท่าเรือในระบบที่ใช้
Computer และหุ่นยนต์ในการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์หน้าท่า มีดังนี้
1) Stacking Lanes เป็นการจัดย้ายสินค้าไปวางเรียงกอง ซึ่งจะมีการวาง เป็นชั้นที่เรียกว่า Stack
ซึ่งโดยปกติจะมีการวางเรียงคอนเทนเนอร์ไว้ 4-5 ชั้น โดยมีความกว้างของช่องทางที่เรียกว่า Gantry Crane
เป็นเครื่องมือในการขนย้ายซึ่งปัจจุบัน ในหลายท่าได้นำระบบ Computer Right เข้ามากำหนด Location
ในการวางตู้ โดยมีหอ Control Room ใช้ในการควบคุมการทำงาน
2) การเคลื่อนย้ายคอนเทนเนอร์ไปไว้หน้าท่า ซึ่งอาจจะใช้ตัว Gantry Crane
หรืออาจอาศัยรถยกที่เรียกว่า Top ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้าย
3) การ Slot Stacking เป็นการยกตู้สินค้าที่วางอยู่บริเวณหน้าท่า Quay ขึ้นไปวางไว้บนเรือ โดยมี Quay
Crane คือ Crane ที่อยู่หน้าท่าทำหน้าที่ในการขนย้าย
ชนิดหรือขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
การขนส่งสินค้าด้วย Container Vessel สินค้าจะต้องบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์
หากผู้ขายเป็นผู้บรรจุก็จะเรียกว่า Term-CY คือ Consignee Load and Count
หากบริษัทเรือเป็นผู้บรรจุตู้สินค้าในท่าเรือหรือใน ICD (Inland-Container-Depot)
ซึ่งตัวแทนบริษัทเรือเป็นเจ้าของสถานที่ ก็จะเรียกลักษณะการขนส่งแบบนี้ว่า CFS (Container Freight Station)
โดยสินค้าที่จะเป็น Term CY ได้นั้น จะต้องเป็นสินค้าประเภทเต็มตู้ที่เรียกว่า FCL (Full Container Load)
ส่วนใน Term CFS ก็สามารถเป็นได้ทั้งที่เป็น FCL และการบรรจุแบบรวมตู้ (Consolidated) คือ สินค้าน้อยกว่า
1 ตู้ ซึ่งเรียกว่า LCL (Less Container Load) โดย Containers ที่ใช้ในการบรรจุนี้ ส่วนใหญ่จะมีขนาด ดังนี้
(1) ขนาด 20 ฟุต เป็นตู้ที่มี Outside Dimension คือ ยาว 19.10 ฟุต และกว้าง 8.0 ฟุต สูง 8.6 ฟุต
โดยมีน้ำหนักบรรจุตู้ได้สูงสุดประมาณ 3,233.5CUM (คิวบิกเมตร) และน้ำหนักบรรจุตู้ได้ไม่เกิน 21.7 ตัน
(2) ตู้ขนาด 40 ฟุตจะมีความยาว 40 ฟุต กว้าง 8 ฟุต สูง 9.6ฟุต (Hicute) โดยสามารถบรรจุสินค้าได้
76.40-76.88 CUM และบรรจุสินค้าน้ำหนักสูงสุดได้ 27.4M/T ซึ่งจะ เป็นน้ำหนักสำหรับสินค้าประเภท Dry
Cargoes การขนส่งสินค้าด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์
ได้รับการยอมรับเป็นรูปแบบการขนส่งมาตรฐานโดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณถึง 95%ของการขนส่ง
สินค้าทางทะเลโดยผู้ประกอบการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์จะจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณของการขนส่
งโดยผู้ให้บริการสายการเดินเรือซึ่งเรียกว่าCarrier การรวมตัวกันเป็นชมรม (Conference)
ซึ่งจะมีบทบาทต่อการกำหนดค่าขนส่งสินค้าและค่าบริการในอัตราที่บางครั้งมี ลักษณะกึ่งผูกขาด
ถึงแม้การขนส่งทางเรือจะมีขั้นตอนของเอกสารที่ยุ่งยากและซับซ้อนแต่มีหลายบริษัทฯที่ดำเนินเรื่องเอกสารให้อย่า
งสมบูรณ์แบบเพื่อสะดวกต่อการขนส่ง และประกอบกับการมีท่าเรือเอกชนที่ลดความแออัดของท่าเรือกรุงเทพฯ
และให้ความสะดวกสบายไม่ยิ่งหย่อนไปกับทางเรือรัฐวิสาหกิจ
ผู้ประกอบการขนส่งขาเข้าและขาออกจึงมีทางเลือกที่มากขึ้น สำหรับท่าเรือเอกชนมีหลากหลายบริษัท
ซึ่งแน่นอนต้องอยู่ในทำเลที่ตั้งที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมในแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งในกรุงเทพและจังหวัดสมุทรป
ราการ ดังนั้นผู้เขียนขอยกตัวอย่างท่าเรือเอกชนในอยู่บริเวณจังหวัดสมุทรปราการ
ส่วนใหญ่เอกชนให้บริการด้านท่าเรือขนส่งสินค้าอย่างเต็มรูปแบบ
การโหลดการรับส่งจัดเก็บและการเก็บรักษาอุณหภูมิ และมีลานตู้คอนเทนเนอร์รองรับสามารถนำสินค้ามาบรรจุ
ณ ท่าเรือได้ คือ Stuffing สำหรับสินค้านำเข้าและส่งออก
ท่าเรือเอกชนส่วนใหญ่ทำการบรรจุสินค้า นำเข้า ส่งออก ในน่านน้ำเจ้าพระยา
ที่ทำการขนถ่ายสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อนำเข้าหรือส่งออก ไปยังประเทศปลายทาง หรือประเทศต่าง ๆ
ในการนำเข้า ส่งออก
สถานะการตรวจปล่อยสินค้าจะถูกส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปที่ท่าเรือ เมื่อผ่านการชำระภาษีอากรที่เกี่ยวข้องทั้
งหมดแล้ว ข้อมูลของสินค้าจะถูกตรวจสอบความถูกต้องอย่างละเอียดอีกครั้ง พร้อมทั้งผ่านการเปิดตรวจ
หรือยกเว้นการตรวจ ถ้าหากใบขนสินค้านั้นได้รับการยกเว้น โดยหลังจากผ่านการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว
สถานะการปล่อยสินค้าจะถูกส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปที่ท่าเรือที่ได้กำหนดไว้
และสามารถนำเข้าสินค้าและส่งออกสินค้าได้
การให้บริการเต็มรูปแบบ การดำเนินการรับส่งจัดเก็บและการเก็บรักษาอุณหภูมิสินค้า การบรรจุสินค้า
(Stuffing) สำหรับสินค้านำเข้า-ส่งออก บริการด้านการขนส่งสินค้าทั่วไป บริการขนส่งสินค้า ระหว่างท่าเรือเอกชน
ไปยังขั้วต่าง ๆ ในท่าเรือแหลมฉบัง และขนส่งสำหรับตู้สินค้าและสินค้าทั่วไป
นอกจากนี้ท่าเรือเอกชนยังเป็นตัวแทนที่ให้บริการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศทางเรือ (Shipment)
อาจมีบริการที่ครบวงจรด้วยระบบการจัดการขนส่งสินค้า (Freight Management)
โดยมีบริษัทเครือข่ายที่ครอบคลุม 1 ประเทศทั่วโลก ซี่งได้แก่ สิงค์โปร์
มีบริษัทเครือข่ายในประเทศไทยที่ครอบคลุม 1 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี
โดยดำเนินกิจกรรมเพื่อนำสินค้าจากผู้ส่งสินค้าไปมอบให้ผู้ขนส่งสินค้าทั้งนี้ยังมีผู้บริการตู้คอนเทรนเนอร์
(Container) หรือบริษัท Agent เพื่อให้บริการแก่ภาคอุตสาหกรรมสำหรับการขนส่งสินค้าการเกษตร
และภาคอุตสาหกรรม โดยหลักๆ ท่าเรือเอกชน จะให้บริการเช้าตู้คอนเทรนเนอร์ (Container) สำหรับบรรจุสินค้า
และติดต่อกับกลุ่มลูกค้าหรือ Shipping จะให้บริการเช่าตู้คอนเทรนเนอร์ (Container) ที่ใช้อยู่ 2 ตู้สินค้าหลักๆ
คือ ตู้ขนาด 20 ฟุต หรือ ตู้สั้น และ ตู้ขนาด 40 ฟุต เป็นตู้ยาว ในการบรรจุสินค้าให้กับลูกค้าประเภทของตู้สินค้า
แบ่งได้เป็น 5 ประเภท 1) Dry Cargoes เป็นตู้ที่ใส่สินค้าสินค้าทั่วไปที่มีการบรรจุหีบห่อหรือภาชนะ 2)
Refrigerator Cargoes เป็นตู้สินค้าประเภทที่มีเครื่องปรับอากาศ มีการปรับอุณหภูมิในตู้ 3) Garment
Container เป็นตู้สินค้าที่ออกแบบสำหรับใช้ในการบรรจุสินค้าที่เป็นเสื้อผ้า 4) Open Top ส่วนใหญ่เป็นตู้สินค้า
ขนาด 40 ฟุต โดยจะออกแบบไม่ให้มีหลังคา 5) Flat-Rack เป็นพื้นราบมีขนาดกว้างและยาวตาม Size ของ
Container มาตรฐาน
ดังนั้น การที่มีท่าเรือเอกชนเข้ามาช่วยจัดการดำเนินการการนำสินค้าเข้าออก
เป็นทางเลือกที่ทำให้ระบบโซ่อุปทานของสินค้าได้หมุนเวียนหรือกระจายจุดมุ่งหมายปลายทางได้ทันท่วงที
บรรณานุกรม
กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2552). ความรู้เรื่องท่าเรือ. ท็อปพับพลิชั่น.
กนิษฐา พิพิธภัณฑ์. (2557). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2563 จาก https://www.gotoknow.org/posts/5 6 3
3 6 8. 2557..
ชลธิชา นวลสีฟู และจริยา สันทราย. (2557). การท่าเรือ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม.
ธิดาหาญ ใจใหมคร้าม. (2559). สืบค้นเมื่อวันที่ 05 สิงหาคม 2563 จาก http://dspace.bu.ac.th.
อชิระเมธารัชตกุล. (2557) สืบค้นเมื่อวันที่ 05 สิงหาคม 2562. จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th.