จิตรกรรมของหนึ่ง

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในวัยเด็กของทุกคนนั้น เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกผ่านงานศิลปะที่บริสุทธิ์ การขีดเขียนด้วยประสบการณ์จากความจำเพียงชั่วเวลาน้อยนิดตามอายุของเด็ก  ผ่านการชี้นำของบุคคลในครอบครัวจากการเลือกวัสดุต่างๆเช่น การใช้สี การปั้น การพิมพ์ภาพ  แต่จินตนาการของเด็กนั้นไร้การควบคุม การระเบิดพลังความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในกรอบ เราจึงเห็นเด็กๆขีดๆเขียนๆ รูปภาพ หรือปั้นดินน้ำมันด้วยรูปทรงที่ง่ายๆ แต่แฝงไปด้วยความคิดที่ทะลุกรอบความเป็นจริง  พร้อมชวนขบขัน และน่าติดตาม แต่เมื่อเด็กเติบโตขึ้นมา พัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กนั้น   ก็จะถูกลดทอนลงเรื่อยๆ ด้วยกรอบมาตรฐานต่างๆ ตามแต่สังคมเลือกให้ปฏิบัติ การประเมิณและวัดคุณค่าทางการศึกษาของเด็กแต่ละคนนั้น ใช้เกณฑ์เดียวกันโดยไม่ได้สนใจว่าเด็กๆ ทุกคนมีความถนัดที่แตกต่างกัน  จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์นั้นถดถอยลง หลายคนจึงเลือกที่จะละทิ้ง “จินตนาการ” การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้เพียงในความทรงจำแค่วัยเด็ก มีเพียงไม่กี่คนที่ยังคงเก็บการรักษาสิ่งที่เราเรียกว่า “จินตนาการ” ที่มีอยู่ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะหลากหลายประเภทนั้นไว้ในจิตใจ

ผลงานของ”หนึ่ง” วุฒิพงษ์ สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม ก็เช่นกัน ไม่ได้ละทิ้งความฝันให้เป็นเพียงความทรงจำในวัยเด็กสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม โดยใช้วิธีการทำงานศิลปะแบบการหยิบยืมและสร้างความหมายใหม่ จัดองค์ประกอปใหม่ ให้กับผลงานจิตรกรรมของ อากิระ โทริยาม่า ชาวญี่ปุ่น ผู้ให้ชีวิตกับตัวละครในการ์ตูนเรื่องดรากอนบอล เราเรียกวิธีการนี้ว่า Appropriation Art

การ Appropriation ผลงานจิตรกรรมของ”หนึ่ง”  มีวิธีการเล่าเรื่องโดยนำตัวละครต่างๆ ที่อยู่ในผลงาน นำมาจัดองค์ประกอบใหม่ และสร้างความรู้สึกที่เราย้อนเวลากลับไปสมัยในวัยเด็ก เป็นอาณาจักรหนึ่งนำพาเราเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการ ซึ่งเป็นโลกคู่ขนานของเราในวัยเด็กว่ามันมีอยู่จริงในอดีตที่ ”หนึ่ง” พาเราย้อนเวลากลับไป ให้เรานึกถึงฮีโร่ของเรา ซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ไม่ต่างจากคนที่สะสมพระเครื่อง หรือ หมกมุ่นกับการเมือง นอกจากการทำงานหาเลี้ยงชีพเพื่อหาอาหารทางกาย เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเหล่านี้เป็น ก็เป็นอาหารทางใจให้เกิด ความบันเทิงในการใช้ชิตประจำวันได้เช่นเดียวกัน จากการเห็นภาพผลงานของเขา การผสมผสานการสร้างสรรค์ศิลปไทยเข้าไปนั้นทำให้ผู้เขียนเกิดข้อสงสัย และตั้งคำถามกับตัวผลงานว่า เกี่ยวข้องกันอย่างไรกับ ภาพการ์ตูนที่ปรากฏอยู่ผืนผ้าใบ ผู้เขียนขออนุญาตใช้ความรู้สึกส่วนตัว มองว่าเป็นการต่อสู้กันทางวัฒนธรรมที่ สังคมไทยทุกวันนี้มีการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมของต่างชาติ บางสิ่ง บางอย่างไม่ใช่วัฒนธรรมของไทย แต่เนื่องจากสังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่เปิดรับเอาสิ่งใหม่เข้ามาเป็นวิถีชีวิตของเราได้อย่างไม่ยากนัก จากภาพผลงานหลายๆชิ้น หนึ่งสามารถจัดองค์ประกอบได้อย่างลงตัว บางชิ้นงานมีการใช้โมเดลตัวละครดรากอนบอล เข้าไปผสมกับผลงานช่วยเพิ่มอรรถรสในการย้อนนึกถึงอดีตในวัยเด็ก นอกจากผลงานชุดล่าสุดแล้ว ยังมีผลงานในอดีตที่ยืนยันความเป็นตัวตนชัดเจนของ “หนึ่ง” วุฒิพงศ์ เพื่อให้เราเห็นการเดินทาง ว่ามีพัฒนาการการเดินทางอย่างไร เช่นในผลงานชุดที่เป็นลายเส้นนั้นบ่งบอกถึงการเดินทางของ “หนึ่ง” วุฒิพงศ์ เพราะเขาชอบการเดินทางโดยใช้จักรยานเดินทางไปที่ต่างๆในเมืองหลวง และมีการบันทึกเหลุการณ์และสถานที่ต่างๆ ออกมาเป็นภาพลายเส้น และย้อนกลับไป ภาพที่เป็นลายเส้นที่ใช้ตัวอักษรเป็นเป็นใบหน้าของ ในหลวงรัชกาลที่9 ที่แสดงออกถึงความจงรักภัคดีและบ่งบอกถึงความเพียร ในการบรรจงเขียนข้อความการใช้ภาษาเขียนให้ออกมาเป็นภาษาภาพขนาดใหญ่ ให้เราระลึกถึง ความดีความงาม ของฮีโร่ในชีวิตจริงของเราได้เช่นเดียวกัน ผลงานทั้งหมดของเขาถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา ไม่ต่ำกว่า 5 ปี บ่งบอกถึงวิถีชีวิต การเดินทาง ความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ผลงาน และความอดทนกับการทำงานศิลปะแบบ “นอกกระแส” ที่ศิลปินส่วนใหญ่ทำกัน เป็นเครื่องยืนยันผลงานของหนึ่ง วุฒิพงศ์ คำมูล ได้เป็นอย่างดี

การแสดงงานจิตรกรรม ชุด ไตรพากย์ จัดแสดงวันถึงวันที่ 12 มกราคม 2563 ที่Dialogue coffee and gallery

 

อ่านเพิ่มเติม