ความเป็นมาในการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย

ความเป็นมาในการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย

1.แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการปฐมวัยศึกษา

อมรชัย ตันติเมธ (2550 : 1–15) ได้อธิบายถึงแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการปฐมวัยศึกษา สามารถพิจารณาได้จากแนวคิดและปรัชญาในการจัดการศึกษาแก่เด็กในวัยปฐมวัย ซึ่งแนวคิดและปรัชญาดังกล่าวจะเป็นนโยบายที่สำคัญในการบริหารการปฐมวัยศึกษา และจากนโยบายที่ใช้ในการบริหารการปฐมวัยศึกษา จะเป็นพื้นฐานในการจัดรูปแบบขององค์กรของสถานศึกษาปฐมวัย ตลอดจนการจัดบุคลากรและการบริหารด้านวิชาการของสถาบันปฐมวัยต่าง ๆ

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กในวัย 1–6 ปีได้มีการริเริ่มตั้งเป็นโรงเรียน “แม่” (mother’s School) ในปี ค.ศ. 1657 โดยนักปรัชญาชื่อ โคเมนิอุส (Comenitis) ในปี ค.ศ.1762 รุสโซ ซึ่งเป็นนักปรัชญาอีกคนหนึ่งได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาระยะต้นของ “การรับรู้ เช่น ความรู้พื้นฐาน ที่แท้จริงของมนุษย์” ในปีต้น ๆ ของศตวรรษที่สิบเก้า เฟรดเดอริค เฟรอเบล ซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของเปสตาลอสชี่ เขาได้พัฒนาแนวคิดของอนุบาลศึกษาใหม่ โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญในการวางแผนจัดอุปกรณ์การเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็ก เขาได้เน้นให้เห็นว่าอุปกรณ์ของเล่นและการเล่นของเด็กที่เหมาะสม เป็นสิงที่สำคัญที่ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากแนวคิดเกี่ยวกับการอนุบาลศึกษาที่เฟรอเบลได้ พัฒนาขึ้นนี้ทำให้มีผู้สนใจเกี่ยวกับการอนุบาลมากขึ้น และในค.ศ. 1842 จึงได้มี โรงเรียนอนุบาลแห่งแรกเกิดขึ้นที่เมืองบลาเกนเบอร์ก และในค.ศ. 1870 ก็ได้มี การตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูอนุบาลเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน

สำหรับในสหรัฐอเมริกา คาร์ล ชูลส์ (Carl Schurz) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ เฟรอเบลได้ตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นเป็นแห่งแรกในรัฐ วิสคอนซิน (Wisconsin) ในปี ค.ศ. 1855 ซึ่งโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกนี้สอนเป็นภาษาเยอรมัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1860 เอลิซาเบธ พีบอดี้ (Elizabeth Peabody) ได้จัดตั้งโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้น ในบอสตัน รัฐเมสซาซูเสต และในปี 1875 ซูซาน อี. โบลว์ ได้จัดตั้งโรงเรียนอนุบาล ของรัฐขึ้นเป็นแห่งแรก ที่เมืองเซ็นต์หลุย (St. Louis) ในรัฐมิสชูรี (Missouri) ซึ่ง หลังจากนนความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการอนุบาลศึกษาก็มีพัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว

โรงเรียนเด็กเล็ก (Nursery School) ได้จัดตั้งขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็น ครั้งแรกในสถาบันฝึกหัดครูของมหาวิทยาลัยคอลัมเบีย (Columbia University) และโรงเรียนเมอริล ปาล์มเมอร์ ในดีทรอย (Merrill Palmer School, Detroit) โดยเป็นศูนย์ทดลองการดูแลและสังเกตเด็ก ศูนย์ทดลองเหล่านี้เน้นการแนะแนวการศึกษาของเด็กแก่ผู้ปกครองด้วย ซึ่งแตกต่างจากการจัดโปรแกรมเลี้ยงดูเด็กแต่เพียง อย่างเดียว ศูนย์สาธิตของโรงเรียนเลี้ยงดูเด็กได้เปิดให้นักศึกษาทำวิจัยและปฏิบัติการ ใน ปี ค.ศ. 1922 ซึ่งศูนย์ทดลองและศูนย์สาธิตเหล่านี้ได้ขยายต่อไปยังมหาวิทยาลัย ต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าระหว่างปี ค.ศ. 1930 ถึง 1932 จำนวนโรงเรียนเด็กเล็ก (Nursery School) ได้เพิ่มขึ้นจาก 3 โรงเรียนเป็น 203 โรงเรียน ซึ่งในจำนวนนี้นับ เฉพาะโรงเรียนที่มีการรายงานเท่านั้น ยังมีโรงเรียนที่ไม่ได้รับรายงานอีกเป็นจำนวนมาก จากการขยายตัวดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นถึงความต้องการและความจำเป็นของผู้ปกครอง ที่เสาะแสวงหาสถาบัน ศูนย์ หรือโรงเรียนที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ๆ และจากความ เคลื่อนไหวนี้เอง มีส่วนอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดผลงานวิจัยด้านการอนุบาลศึกษา เป็นจำนวนมากติดตามมา

ตัวอย่างของแนวคิดการอนุบาลศึกษา ซึ่งได้รับความนิยมในประเทศสหรัฐเมริกา ได้แก่ แนวคิดของมอนเตสซอรี่ (Montessori) โดยมาเรีย มอนเตสซอรี (Maria Montessori) ในปี ค.ศ. 1907 หลักการของแนวคิดนี้อยู่ที่การเน้นในเรื่องการเรียนรู้ ของเด็กและความสำคัญในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งนักการศึกษาหลายคนในสหรัฐอเมริกาเห็นว่า แนวคิดในการจัดการศึกษาปฐมวัยของ มอนเตสซอรี่ และวิธีการตลอดจนอุปกรณ์ประกอบในการจัดจะสนองความต้องการ ของเด็กส่วนบุคคล และความต้องการด้านวัฒนธรรมได้

การปฐมวัยศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 จนถึงปัจจุบันได้มีผู้ตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับการปฐมวัยศึกษากันมาก เช่น การศึกษาของเด็กควรเริ่มต้นอย่างไร เด็กควรได้รับการศึกษาเมื่ออายุกี่ขวบ ใครควรจะได้รับเข้าศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัยนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีใดที่เหมาะแก่เด็กในวัยปฐมวัยใครควรเป็นผู้ดูแลโรงเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองหรือระบบการศึกษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันหรือองค์การของรัฐในลักษณะอื่น จากตัวอย่างคำถามต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เป็นมูลเหตุให้รัฐบาลทั้งระดับชาติและระดับมลรัฐ ได้พยายามหาคำตอบโดยอาศัยงานวิจัยเป็นเครื่องมือ แนวโน้มบางประเด็นเกี่ยวกับแนวนโยบายการปฐมวัยศึกษาในสหรัฐอเมริกาสามารถประมวลได้ดังนี้

1. โดยเหตุที่เด็กมีลักษณะเฉพาะอันเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งจะเป็นความแตกต่างโดยพันธุกรรมหรือประสบการณ์ก็ตาม จึงไม่มีแนวการจัดประสบการณ์ใดที่เหมาะสำหรับเด็กทุกคน

2. ผู้ปกครอง มีความสำคัญต่อการให้การศึกษาเด็ก และการมีส่วนร่วมในการจัดโปรแกรมทางการศึกษาให้แก่เด็ก

3. เด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กปฐมวัย สามารถเรียนรู้ได้ ซึ่งนักวิชาการในปัจจุบันได้ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงห้าปีแรกของชีวิตเด็กเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากในการพัฒนาทัศนคติ และค่านิยมต่อตัวเองและผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและการพัฒนาด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งการจัดโปรแกรมสำหรับเด็กปฐมวัยจะต้องมีการวางแผนและใช้บุคลากรที่เหมาะสม

4. บุคลากรต่าง ๆ เช่น อาสาสมัคร และบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ จะเป็น ส่วนสำคัญและมีส่วนร่วมในการจัดการปฐมวัยศึกษา

5. รัฐมีแนวโน้มที่จะจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่าเดิมที่เคยกำหนดไว้

6. โปรแกรมการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันยังเน้นความสำคัญในการพัฒนาด้าน สติปัญญา แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความสนใจการพัฒนาด้านสุขภาพ การได้รับอาหารที่ถูกต้อง การพัฒนาสุขภาพทางจิตใจและสังคม ตลอดจน ความสัมพันธ์กับครอบครัวเพื่อความสำเร็จของเด็ก

จากตัวอย่างแนวนโยบายในการจัดการศึกษาปฐมวัยดังกล่าวนี้ ได้นำไปสู่การจัดรูปแบบโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยในหลายลักษณะ เช่น โรงเรียนอนุบาล ศูนย์ พัฒนาเด็กโรงเรียนเด็กเล็ก ศูนย์เฮดสตาร์ต (Head Start Centers) ศูนย์เลี้ยงดู เด็ก โรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษ ศูนย์เลี้ยงดูเด็กกลางวัน ฯลฯ การจัดโปรแกรม การศึกษาปฐมวัยดังตัวอย่างนี้มีลักษณะเฉพาะในการจัดดำเนินการดังรายละเอียด ดังนี้

โรงเรียนเด็กเล็ก (Nursery School) เป็นแนวการจัดประสบการณ์ที่จัดเป็น โปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กเล็ก ในโรงเรียนของรัฐตามปกติจะจัดสำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 4 ปี แต่ในโรงเรียนเอกชนจะจัดสำหรับเด็กอายุ 3 ปีและ 4 ปี นอกจากนี้ โรงเรียนเลี้ยงดูเด็กยังรวมถึงโครงการทดลองเชิงวิจัยของสถาบันเอกชน หรือองค์การ บางลักษณะด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีโรงเรียนเด็กเล็กหลายแห่ง มีสภาพเป็นห้องทดลอง สำหรับนักศึกษาในการลังเกตการเติบโตและการพัฒนาการของเด็ก

โรงเรียนอนุบาล (Kindergarten) เป็นโรงเรียนที่รับเด็กอายุ 5 ปี และในบาง กรณีอายุ 6 ปี เข้าศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนเป็นแนว จัดประสบการณ์อนุบาลศึกษา มักจัดเป็นแนวประสบการณ์ต่อเนื่องระหว่างบ้านและ โรงเรียน แนวการจัดประสบการณ์ในโรงเรียนอนุบาลมักดำเนินการภายใต้การแนะนำ ของครูที่มีคุณภาพ และความร่วมมือของผู้ปกครอง บางแห่งดำเนินการเป็นส่วนหนึ่ง ของโรงเรียนของรัฐ และบางแห่งก็ดำเนินการโดยเอกชน หรือได้รับการสนับสนุน ให้ดำเนินการโดยจุดมุ่งหมายเฉพาะ

รูปภาพที่ 1 ตัวอย่างลักษณะโรงเรียนอนุบาลในประเทศไทย

ศูนย์พัฒนาเด็ก เป็นโปรแกรมพัฒนาเด็กในวัยปฐมวัยในรูปแบบของศูนย์ พัฒนาเด็ก ศูนย์ดังกล่าวนี้จะจัดกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับเด็กในวัยต่าง ๆ ตั้งแต่เด็ก วัย 2–3 สัปดาห์ จนถึงวัย 5 หรือ 6 ปี โดยศูนย์นี้จะตั้งอยู่ในโรงเรียนอนุบาลในท้องถิ่น ในการจัดการหรือบริหารศูนย์ดังกล่าวนี้ จะจัดให้มีบริเวณกว้างสำหรับการ เล่นของเด็กทั้งในอาคารและกลางแจ้ง มีอุปกรณ์พร้อมสำหรับการเตรียมอาหารและการจัดโปรแกรมพัฒนาสุขภาพ มีการวิเคราะห์ปัญหาของเด็กทั้งทางด้านสุขภาพของฟัน สุขภาพร่างกาย ตลอดจนปัญหาทางอารมณ์ แหล่งทรัพยากรต่าง ๆ ในท้องถิ่น รวมทั้งทรัพยากรบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ ได้รับการเชื้อเชิญมาให้การสนับสนุนใน การสร้างโปรแกรมสำหรับเด็กเป็นรายบุคคล

โรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษ เป็นโรงเรียนที่จัดดำเนินการเพื่อสนองความต้องการ ของเด็กที่มีลักษณะผิดปกติ โดยมีการวิเคราะห์ความผิดปกติของเด็กแต่เนิน ๆ มีการให้การดูแลรักษาและให้การแนะนำแก่เด็กผิดปกติเหล่านี้

2. การบริหารการปฐมวัยศึกษาในประเทศไทย

อมรชัย ตันติเมธ (2550 : 195–200) ได้อธิบายถึงการปฐมวัยศึกษาในประเทศไทย ว่ารัฐได้ตระหนักถึง ความสำคัญของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย รัฐได้กำหนดเป็นแนวนโยบายของรัฐ ดังจะเห็นได้จากแผนการศึกษาแห่งชาติ 2520 รัฐมีนโยบายที่จะสนับสนุนให้มีการ อบรมเลี้ยงดูเด็กในวัยนี้เพื่อเตรียมเด็กให้พร้อมทุกด้าน และเหมาะสมที่จะเข้ารับการ ศึกษาในระดับประถมศึกษาต่อไป แต่เนื่องจากภารกิจด้านการศึกษาภาคบังคับยัง ดำเนินการได้ไม่ครบถ้วน รัฐจึงต้องสนับสนุนให้ท้องถิ่นและเอกชนดำเนินการจัดการ ศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยให้มากที่สุดโดยที่รัฐจะจัดเป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งเพื่อการ ค้นคว้าวิจัย รูปแบบในการจัดนั้นได้จัดเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนและการศึกษา นอกระบบโรงเรียน โดยอาจจัดเป็นโรงเรียนอนุบาลหรือสถานเลี้ยงดูเด็กศูนย์เด็ก ปฐมวัย หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก็ได้

การจัดการปฐมวัยศึกษาในปัจจุบัน รัฐได้ให้ความสำคัญในการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชากรกลุ่มวัยเรียนที่ด้อยโอกาสต่าง ๆ เช่น เด็กที่มีฐานะยากจน เด็กในซนบท เด็กในพื้นที่กันดาร รวมทั้งชนกลุ่มน้อยในเขตชายแดน แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธคักราช 2535 มีหลักการในการสร้างความเจริญงอกงามทางปัญญาความคิด จิตใจ และคุณธรรมของบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ ในช่วงปฐมวัยเป็นการศึกษา ที่มุ่งเน้นการอบรมดูแลและพัฒนาความพร้อมของเด็ก เพื่อการเรียนรู้ในขนต่อไป การจัดการศึกษาดำเนินการในรูปแบบของชั้นอนุบาลศึกษา และศูนย์พัฒนาเด็กประเภท ต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละพื้นที่และกลมเป้าหมาย มีการส่งเสริม ให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการบริการเพื่อเตรียมความพร้อมอย่างน้อย 1 ปี ก่อนเข้าเรียน ในระดับประถมศึกษามีการจัดเครือข่ายขยายบริการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้กว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุกจังหวัด

3.จุดมุ่งหมายของการจัดการปฐมวัยศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานวิจัยเรื่องรูปแบบศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน หรือศูนย์เด็กปฐมวัย และได้กำหนดจุดม่งหมายของการจัดการศึกษาปฐมวัยเอาไว้ดังต่อไปนี้

1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางกายของเด็กอย่างเต็มที่ เพื่อจะได้เป็นพลเมืองไทยที่มีอนามัยสมบูรณ์ แข็งแรง

2. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางบุคลิกภาพ อารมณ์ และสังคมของเด็ก เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ มีความเข้มแข็งทางจิตใจที่จะเผชิญอุปสรรคและอันตรายได้

3. เพื่อให้เด็กมีนิสัยขยัน แข็งแรง ชื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย ประหยัด สะอาด

4. เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านต่าง ๆ

5. เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน หรือศูนย์เด็กก่อน วัยเรียนในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก

6. เพื่อตระหนักในปัญหาความเบี่ยงเบนของพัฒนาการเสียแต่แรก และดำเนินการต่อไปโดยเหมาะสม

การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาสำหรับประเทศไทย หมายถึง การศึกษาที่จัดให้แก่เด็กที่มีอายุประมาณ 3–6 ปี มุ่งหมายอบรมเลี้ยงดูเด็กในวัยก่อนการศึกษา ภาคบังคับหรือระดับประถมศึกษา เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทุกด้านดีพอทีจะ เข้ารับการศึกษาสูงขึ้นต่อไป การจัดสถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานั้น อาจ เป็นการศึกษาในระบบในโรงเรียน หรือนอกระบบโรงเรียนก็ได้

การศึกษาทุกระดับ แผนการศึกษาแห่งชาติ กำหนดว่า “จะต้องมุ่งให้ผู้เรียน คิดเป็น ทำเป็น รู้จักแก้ปัญหา รักการทำงานและสนใจที่จะมีส่วนร่วมในกิจการของส่วนรวม ตามวิถีทางของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีระเบียบวินัยมีวัฒนธรรมและศีลธรรม รู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ภายในขอบเขตแห่งกฎหมาย”

ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยประถมศึกษานั้น ถ้าสามารถอบรมบางส่วน ดังกล่าวแล้วได้ตามความเหมาะสมกับวัย จะดีมากเพราะทัศนคติดังกล่าวนั้นต้องการเวลา และการศึกอบรมตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อให้กลายเป็นวิถีชีวิตจริง มิใช่ เพื่อให้เพียงจำได้หรือเพื่อให้สอบได้เท่านั้น

วัตถุประสงค์ของการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา อยู่ที่การพัฒนาความรู้ความสามารถต่าง ๆ ให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ในเรื่องทุกเรื่อง ให้เด็กเข้าสังคมเด็กอื่นได้ และให้รู้จักแก้ปัญหาของตนได้ตามความเท่าที่เหมาะสมกับวัย มิได้มุ่งให้เรียน อ่าน เขียน คิดเลข หรือเรียนภาษาต่างประเทศ ในทำนองเดียวกับชั้นอื่น ๆ เนื่องจาก การศึกษาระดับนี้มุ่งเตรียมตัวเด็กให้พร้อมที่จะเรียนและอยู่ในโรงเรียนได้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม นักการศึกษามีความเห็นตรงกันว่า ความรับผิดชอบในการ เลี้ยงดูและศึกอบรมเด็กปฐมวัยนั้นอยู่ที่บิดามารดาเป็นส่วนใหญ่ โรงเรียนหรือครู เป็นเพียงผู้ช่วยเหลือได้บางส่วนเท่านั้น ผู้ปกครองจึงควรได้รับการแนะนำให้ทราบ วิธีการศึกอบรมเด็กปฐมวัยให้เป็นพลเมืองดีตามที่รัฐต้องการด้วย

เด็กวัย 2–5 ปี เป็นวัยก่อนการศึกษาระดับประถมศึกษาของต่างประเทศ แต่สำหรับประเทศไทยนั้น เราถือเอาวัย 3–6 ปีเป็นหลัก เพราะสังคมไทยต้องการให้เด็กเติบโตกับบิดามารดา หรือผู้ปกครองอย่างน้อย 2 ปีแรกของชีวิต

จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษาก็เพื่อมุงให้เด็กมีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตต่อไป เพราะการที่จะทำให้คนเรา ได้รับความสำเร็จในชีวิตนั้น ไม่ใช่แต่เพียงการสอนให้เด็กเรียนเก่งเท่านั้น แต่การที่คนเราจะมีชีวิตอย่างมีความสุขนั้น จะต้องมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีสติปัญญา ดีพอที่จะเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ ตลอดจนปรับตัวให้เข้ากับบุคคล และสภาวะแวดล้อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเป้าหมายของการจัดการศึกษาในระดับนี้จึงเป็น ไปเพื่อพัฒนาเด็กทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไป

1. พัฒนาการด้านร่างกาย หมายถึง

– การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่

– การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก

– การพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือ-ตา

– การพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย

2. พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ หมายถึง

– การควบคุมอารมณ์ของตนเองในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่น

– การปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม

– การมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

3. พัฒนาการด้านสังคม หมายถึง

– การมีระเบียบวินัย

– การเล่นหรือการทำงานเป็นกลุ่ม

– การรู้จักการรอคอย . .

– การเอาใจเขามาใส่ใจเรา

– การมีความรับผิดชอบในหน้าที่

4. พัฒนาการทางสติปัญญา หมายถึง

– การเรียนรู้ทางสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การดู การพัง การดม การชิม และการสัมผัสทางผิวหนัง

– การคิดแก้ปัญหา

– การคิดสร้างสรรค์

– การจำ

– การเข้าใจคำศัพท์ และการฝึกพูด

– การยืดระยะความสนใจ

จากพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นจะเป็นตัวกำหนดที่ทำให้เกิดหลักสูตรหรือแนวการจัดประสบการณ์ และเมื่อจะนำไปจัดการเรียนการสอน ครูจะต้องนำหลักสูตรนี้ไปเป็นแนวในการจัดทำแผนการสอนหรือแผนการจัดประสบการณ์

บทสรุป

ในปัจจุบันมีหน่วยงานหลายหน่วยงานที่มีบทบาทในการจัดการศึกษาปฐมวัยทั้งในรูปแบบของโรงเรียนอนุบาล เช่นกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงมหาดไทยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข สมาคม มูลนิธิ และรูปแบบของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่นสถานสงเคราะห์เด็กก่อนวัยเรียนหรือศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนของกรมประชาสงเคราะห์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของกรมพัฒนาชุมชนสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันของกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานต่างๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้นๆ ในการดำเนินการอบรมเลี้ยงดู และจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย การจัดการศึกษาปฐมวัยมีความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการเหมาะสมเป็นไปตามวัยและช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตรหลาน
 
 
 
1