ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวตลาดน้ำคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ              จังหวัดกรุงเทพมหานคร The satisfaction of tourists floating Khlong Bang Luang Phasi Charoen district in Bangkok

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวตลาดน้ำคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำคลองบางหลวง 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำคลองบางหลวง

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำคลองบางหลวงโดยการสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 200 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัย พบว่าพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ทราบแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยวจากอินเตอร์เน็ต มีวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวคือการเดินทางมาท่องเที่ยว มีแรงจูงใจในการท่องเที่ยวคือทัศนียภาพที่สวยงาม การตัดสินใจมาท่องเที่ยวเพื่อศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวต่ำกว่า 1,000 บาท ม วิธีการเดินทางโดยใช้รถส่วนตัว ประสบการณ์ท่องเที่ยวมีความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 98.5 และทัศนคติการท่องเที่ยวเพราะศิลปวัฒนธรรม

          ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำคลองบางหลวง โดยภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใจมาก (  = 4.24) เมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่ามีด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใจมาก 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสถานที่ท่องเที่ยว   (  = 4.44) รองลงมาด้านร้านค้า ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม (  = 4.38) รองลงมาด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (  = 4.29) รองลงมาด้านด้านความปลอดภัย (  = 4.19) รองลงมาด้านการบริการ         (  = 4.17) และด้านการคมนาคม (  = 3.95) ตามลำดับ

 

Abstract

 Research The satisfaction of tourists floating Khlong Bang Luang area of ​​Bangkok Phasi Charoen province. The objectives are 1) to study the behavior of tourists floating in Klong Luang 2) the satisfaction of the tourist market in Khlong Bang Luang. This research is a survey research. The questionnaire was used to collect data. This research is a survey research. The questionnaire was used to collect data. The samples are available in the market Khlong Bang Luang random sample of 200 random statistical methods used to analyze data were percentage, average, and standard deviation. 

The research found that travel habits of most tourists know the tourist information from the Internet. The purpose of the tour is to travel. An incentive tour is the beautiful scenery. The decision to study hospitality community life. The cost of trips less than 1,000 baht a way to travel by private car. Travel experience satisfaction 98.5 percent attitude and because tourism, art and culture.

The majority of respondents have a positive attitude towards the satisfaction of the tourist market in Khlong Bang Luang. The overall mean score in a very pleasant (  = 4.24) on the side. Found that the side with the average score in a very pleasant 6 includes the sights (  = 4.44), followed by the shops, food and beverage (  = 4.38), followed by the guests. convenience (  = 4.29), followed by the security (   = 4.19), followed by services (  = 4.17) and transport (  = 3.95), respectively

 

 ที่มาและความสำคัญของปัญหา

ตลาดน้ำคลองบางหลวงเป็นแหล่งชุมชนที่ตั้งอยู่ริมคลองบางหลวง ในพื้นที่เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร บริเวณนี้เคยเป็นพื้นที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองบางกอกในอดีต ซึ่งเป็นเมืองแห่งสายน้ำลำคลอง ที่มีอยู่มากระทั่งเป็นผลทำให้เกิดลักษณะวิถีของชุมชนชาวบ้าน ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ ได้อาศัยพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในการสัญจร ค้าขาย ปลูกผักทำสวน และดื่มกินจากการสั่งสมของมรดกทางวัฒนธรรมที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเป็นภูมิปัญญาทางด้านต่างๆในการใช้ชีวิต ประกอบกับระบบสังคมแบบชนบทที่ยังคงรักษาความสัมพันธ์อันดี ระหว่างวัดและคนในชุมชนที่อยู่อาศัยมาหลายรุ่นสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้มีเกร็ดประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและ ศาสนสถาน อันเป็นหลักฐานสำคัญที่เคยเป็นแหล่งเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา จากการก่อสร้างวัดด้วยแรงศรัทธาของคนในท้องถิ่นและยังดำรงชีวิตอยู่ด้วยความเรียบง่ายจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าภายในบริเวณคลองบางหลวงนั้นเป็นชุมชนโบราณ ที่มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยเหตุผลการเป็นจุดเชื่อมต่อการค้าทางทะเล ของกรุงศรีอยุธยากับนานาประเทศ และหลักฐานที่สำคัญที่สามารถระบุได้ว่าพื้นที่แห่งนี้มีการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเกิดจากการขุดคลองลัดบางกอกในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชระหว่าง พ.ศ. 2077-2089 จึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่านั้นแคบลงกลายเป็นคลอง ซึ่งต่อมามีชื่อเรียกว่า คลองบางกอกใหญ่-คลองบางกอกน้อย สืบมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้       (สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2555: 33) ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่นั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย (บริเวณโรงพยาบาลศิริราชกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) จนถึงปากคลองบางกอกใหญ่           (บริเวณพระราชวังเดิม กรุงธนบุรีกับปากคลองตลาด) ซึ่งตรงบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ เมื่อขุดคลองลัดแล้วจะกลายเป็นที่ตั้งชุมชนบ้านเมืองใหม่ เพราะช่วงโค้งน้ำเดิม ในภายหลังจากการตั้งพระราชวังหลวงเดิมจึงเรียกชื่อว่า “บางข้าหลวง” หรือ “บางหลวง” แต่คนทั่วไปเข้าใจเป็นชื่อคลอง “บางกอกใหญ่” (สมบัติ พลายน้อย, 2556: 33) ในอดีตบรรดาข้าหลวงและชาวบ้าน โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเรือนแพและใช้คลองบางหลวงเป็นเส้นทางสัญจรติดต่อค้าขายเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของประชาชนมาเป็นเวลานาน ซึ่งมีความสำคัญในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นแหล่งสั่งสมวัฒนธรรมอันดีงามมานับแต่อดีต ด้วยเหตุนี้ จึงมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมแหล่งวิถีชีวิตชุมชน ด้านการค้า ภูมิปัญญางานฝีมือ ประเพณี ศาสนสถานที่ทรงคุณค่าอยู่มากมาย กระทั่งเมื่อมีการพัฒนาเมืองจึงเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากทางน้ำเป็นการคมนาคมทางบกที่พัฒนาถนนในพื้นที่ฝั่งธนบุรีตั้งแต่เริ่มการตัดถนนหลายสายในพ.ศ. 2475         (กรมศิลปากร, 2525) จึงทำให้บทบาททางน้ำที่เคยใช้สัญจรปรับเปลี่ยนเป็นทางบกอันเป็นผลของการขยายเมืองในฝั่งธนบุรี

การพัฒนาเมืองและเปลี่ยนรูปแบบการสัญจรเป็นทางบก ทำให้สภาพบรรยากาศตลาดริมน้ำที่เคยคึกคักเคยเป็นแหล่งแวะจับจ่ายซื้อสินค้าที่มีร้านต่างๆซึ่งประกอบด้วย ร้านค้าทองร้านขายข้าวสาร แผงผัก แผงผลไม้ ค่อยๆซบเซาจากสาเหตุที่จำนวนเรือที่เคยสัญจรลดน้อยลงเมื่อราวพ.ศ. 2530     (สุดารา สุจฉายา, 2542: 46) จนผู้คนดั้งเดิมที่ประกอบอาชีพค้าขายในคลองบางหลวงทยอยปิดกิจการ คลองบางหลวงปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจสำหรับสมาชิกในชุมชน รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามา พื้นที่ที่จะรองรับได้รวมถึงแนวการพัฒนารูปแบบตลาดน้ำควบคู่กันโดยไม่มีการกำหนดทิศทางสร้างสิ่งที่อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวโดยไม่ได้คำนึงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นจนเกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนกำแพงทองพัฒนาและชุมชนคูหาสวรรค์ จากการพัฒนาการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครอย่างไร้การกำหนดทิศทาง จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำลายสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ที่มีอยู่เดิมด้วยสิ่งปรุงแต่งจากภายนอกและการเอื้อประโยชน์ให้นักท่องเที่ยวทำให้คลองบางหลวงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาเพียงเพื่อการได้ชม“หุ่นละครเล็ก” คณะคำนาย แต่หากว่าในพื้นที่คลองบางหลวงนี้แวดล้อมด้วยมรดกแห่งประวัติศาสตร์ที่มีความน่าสนใจทั้งด้านภูมิปัญญา สถาปัตยกรรม ศาสนสถาน และวิถีชีวิต ซึ่งยังคงสภาพของสังคมเครือญาติของเมืองบางกอกในอดีตที่มีศักยภาพที่จะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ได้อันก่อให้เกิดความรู้และเข้าใจในมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนคลองบางหลวงได้ดียิ่งขึ้นและทั้งนี้นักท่องเที่ยวยังมีความประสงค์เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังชุมชนคลองบางหลวงเพื่อศึกษาวัฒนธรรมของชุมชน และได้เรียนรู้งานศิลปะ เช่น บ้านศิลปิน ที่จัดแสดงเกี่ยวกับโขนและหุ่นละครเล็ก ที่ถ่ายทอดโดยเด็กๆในชุมชน เป็นการต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จึงทำให้นักท่องเที่ยวส่วนมากมีความพึงพอใจที่ได้เข้ามาเที่ยวชมชุมชนคลองบางหลวงแห่งนี้ นักท่องเที่ยวหรือผู้ใช้บริการอาจมีทัศนคติทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังที่ นภารัตน์ (2544) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกทางบวกความรู้สึกทางลบและความสุขที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน โดยความพึงพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อความรู้สึกทางบวกมากกว่าทางลบ

รายงานการศึกษานี้จึงศึกษาข้อมูลที่ได้จากการสำรวจความพึงพอใจในการใช้บริการตลาดคลองบางหลวงจะนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกในตลาดคลองบางหลวงให้มีความสะดวกในการใช้บริการมากขึ้นและมีความยั่งยืนต่อไป

1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

          1.2.1 เพื่อศึกษาของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำคลองบางหลวง

          1.2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำคลองบางหลวง

1.3 ขอบเขตของการวิจัย

1.3.1 ขอบเขตประชากร

                   นักท่องเที่ยวในตลาดน้ำคลองบางหลวง

          1.3.2 ขอบเขตพื้นที่

                   ตลาดน้ำคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

          1.3.3 ขอบเขตเวลา

                   ระยะเวลาในการวิจัย ตั้งแต่ มกราคม-เมษายน

          1.3.4. ขอบเขตด้านเนื้อหา

                   1.3.4.1 พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว

                   1.3.4.2 ความพึงพอใจ

                   1.3.4.3 การบริการ

1.3.4.4 การท่องเที่ยว

                   1.3.4.5 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

                   1.3.4.6 การพัฒนาการท่องเที่ยว

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          1.4.1 ทราบถึงพฤติกรรมความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อ ตลาดน้ำคลองบางหลวง

          1.4.2 ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการตลาด ปรับปรุง และพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด

 

 

 

 

 

1.5 กรอบแนวคิดในการวิจัย

          ตัวแปรอิสระ                                                   ตัวแปรตาม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

3.1 ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำคลองบางหลวง จำนวน 200-300 คน (อาทิตย์ วงษ์สมบูรณ์ : เจ้าของบ้านศิลปิน. 2562 สัมภาษณ์)

          3.2 กลุ่มตัวอย่าง

          ผู้วิจัยจึงได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปรียบเทียบตารางประมาณการกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie& Morgan) ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% และระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling)

 

3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

          การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสร้างขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร งานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีความสอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย เพื่อสำรวจความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการให้บริการและการอำนวยความสะดวกในการเดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำคลองบางหลวง ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและแบบสอบถาม ดังนี้

          ส่วนที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์หรือข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพ และรายได้ต่อเดือน คำถามส่วนนี้จะใช้มาตราวัดระดับบัญญัติ (Nominal Scale)และมาตรเรียงอันดับ (Ordinal Scale)

          ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อตลาดน้ำคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร คำถามส่วนนี้จะใช้มาตรวัดระดับบัญญัติ (Nominal Scale) และมาตรเรียงอันดับ (Ordinal Scale)

          ส่วนที่ 3 เป็นการวัดระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวด้านต่างๆ ที่มีต่อตลาดน้ำคลองบางหลวง โดยลักษณะคำถามเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ของลิเคอร์ด เกี่ยวกับการวัดระดับความพึงพอใจแบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อยและน้อยที่สุด ในข้อความแต่ละข้อจะใช้เกณฑ์การตรวจให้คะแนน (ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2549 : 104-015 : อ้างอิงจาก บุญชม ศรีสะอาด. 2535 : 99) ดังนี้ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

เมื่อรวบรวมข้อมูลและแจกแจงความถี่แล้วจะใช้คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมาพิจารณาระดับความคิดเห็น ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้ (กัลยา วานิชย์บัญชา, 2540, หน้า 27-28)

ส่วนที่ 4 เป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิด (Open-ended) เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในด้านต่างๆ เกี่ยวกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำคลองบางหลวง คำถามส่วนนี้จะใช้มาตรวัดระดับบัญญัติ (Nominal Scale)

5.6 สรุปผลการวิจัย

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำคลองบางหลวง2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำคลองบางหลวงและเพื่อทราบความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อตลาดน้ำคลองบางหลวง

          ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลเพื่อทำวิจัยโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 200 ชุด เก็บจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คน และนำแบบสอบถามทั้งหมดที่ได้กลับมาวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัย        ได้ดังต่อไปนี้

          ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

1. เพศ มีผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 37.0 และเพศหญิง จำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 63.0

2. อายุ มีผู้ตอบแบบสอบถามอายุน้อยกว่า 20 ปี จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 20.5 อายุ 20 – 30 ปี จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 47.5 อายุ 31 – 40 ปี จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 21.5 อายุ 41 – 50 ปี จำนวน 10 คิดเป็นร้อยละ 5.0 อายุ 51 – 60 ปี จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 5.5 และอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.5

3. ระดับการศึกษา มีผู้ตอบแบบสอบถามระดับประถมศึกษา จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 6.0 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 16.0 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 11.0 ระดับ ปวส./อนุปริญญา จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 8.0 ระดับปริญญาตรี จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 57.0 ระดับปริญญาโท จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.5 และระดับปริญญาเอก จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.5

          4. สถานภาพ มีผู้ตอบแบบสอบถามสถานภาพโสด จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 72.5 สถานภาพสมรส จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 26.5 และสถานภาพหม้าย/หย่าร้าง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.0

          5. อาชีพ มีผู้ตอบแบบสอบถามเป็นนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 126 คิดเป็นร้อยละ 63.0 อาชีพข้าราชการ/ลูกจ้างของรัฐ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 2.5 อาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 7.0 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 13.0 อาชีพรับจ้างทั่วไป จำนวน 20 คิดเป็นร้อยละ 10.0 อาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 3.5 และอาชีพข้าราชการบำนาญ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.0

          6. รายได้ต่อเดือน มีผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่มีรายได้ จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 51.5 รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 8.5 รายได้ต่อเดือน5,000 – 10,000 บาท จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 10.0 รายได้ต่อเดือน10,001 – 20,000 บาท จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 12.0 รายได้ต่อเดือน20,000 – 30,000 บาท จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 17.5 และรายได้ต่อเดือน 30,000 บาทขึ้นไป จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.5

          ส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อตลาดน้ำคลองบางหลวง

          พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ทราบแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยวจากอินเตอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 41.5 มีวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวคือการเดินทางมาท่องเที่ยว คิดเป็นร้อยละ 59.0 มีแรงจูงใจในการท่องเที่ยวคือทัศนียภาพที่สวยงาม คิดเป็นร้อยละ 47.2 การตัดสินใจมาท่องเที่ยวเพื่อศึกษาวิถีชีวิตชุมชน คิดเป็นร้อยละ 28.4 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวต่ำกว่า 1,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 73.5 มีการเตรียมตัวก่อนเดินทางโดยเตรียมของใช้ส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 34.7 วิธีการเดินทางใช้รถส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 37.0 ประสบการณ์ท่องเที่ยวมีความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 98.5 และทัศนคติการท่องเที่ยวเพราะศิลปวัฒนธรรม คิดเป็นร้อยละ 29.5

          ส่วนที่ 3 ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในตลาดคลองบางหลวง

          ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำคลองบางหลวง โดยภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใจมาก (  = 4.24) เมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่ามีด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใจมาก 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสถานที่ท่องเที่ยว   (  = 4.44) รองลงมาด้านร้านค้า ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม (  = 4.38) รองลงมาด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (  = 4.29) รองลงมาด้านด้านความปลอดภัย (  = 4.19) รองลงมาด้านการบริการ (  = 4.17) และด้านการคมนาคม (  = 3.95) ตามลำดับ

          ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรปรับปรุงถนนทางเข้ามากที่สุด ร้อยละ 25.2 รองลงมาคือจำนวนที่จอดรถ ร้อยละ 21.7 ป้ายบอกทาง ร้อยละ 20.7 ขยะมูลฝอยในลำคลอง ร้อยละ 13.9 ขยะมูลฝอยตามทางเดิน ร้อยละ 13.9 การให้บริการร้อยละ 9.3 และอื่นๆ ร้อยละ 0.7 ตามลำดับ

 

5.7 อภิปลายผล

          จากการวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำคลองบางหลวง ผู้วิจัยได้ค้นพบประเด็นที่สามารถนำมาอภิปลายผล ได้ดังต่อไปนี้

          1. นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยว ณ ตลาดน้ำคลองบางหลวง มีทั้งเพศชายและเพศหญิง มีระดับการศึกษา สถานภาพ การประกอบอาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวจากอินเตอร์เน็ตและบุคคลใกล้ชิด เนื่องจากเห็นว่าตลาดคลองบางหลวงมีทัศนียภาพ ร้านค้า ร้านอาหารและเครื่องดื่มที่หลากหลาย และวิถีชีวิตที่เรียบง่ายริมคลอง ทำให้อยากเดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อชมทัศนียภาพที่สวยงาม ศิลปวัฒนธรรม เช่น หุ่นละครเล็ก ภาพวาด และงานปัก จากบ้านศิลปิน และวิถีชีวิตชุมชนที่เรียบง่ายริมคลอง ชมวิวทิวทัศน์ ให้อาหารปลา และทำกิจกรรมที่บ้านศิลปินได้ ตลาดน้ำคลองบางหลวงยังเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอีกด้วย ทำให้นักท่องเที่ยวมีความพอใจอยู่ในระดับพอใจมาก แต่การเดินทางมายังตลาดน้ำคลองบางหลวง อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวน้อยเพราะไม่มีรถรับ-ส่ง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงจะขับรถส่วนตัวมาเอง และบางส่วนใช้บริการเรือท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง

2. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อตลาดน้ำคลองบางหลวงโดยรวมอยู่ในระดับพอใจมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสถานที่ท่องเที่ยว ด้านร้านค้า ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านด้านความปลอดภัย และด้านการบริการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านคมนาคม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าตลาดน้ำคลองบางหลวง มีทัศนียภาพที่สวยงามและมีความหลากหลายของแหลางท่องเที่ยว เหมาะกับการเดินทางมาท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ ที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสถึงวิถีชีวิตชุมชนและศิลปวัฒนธรรม เช่น      การแสดงหุ่นละครเล็ก เป็นต้น และยังรวมไปถึงร้านค้า ร้านอาหารและเครื่องดื่มที่หลากหลาย สิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เช่น ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ร้านขายของที่ระลึก ห้องน้ำ ที่จอดรถ เป็นต้น จึงมีผลทำให้นักท่องเที่ยว มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สำหรับด้านการคมนาคม เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวเข้าถึงได้ลำบาก แม้จะมีทั้งเรือท่องเที่ยวและรถรับจ้างก็ตาม แต่ไม่มีรถรับ-ส่ง ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้า-ออกสถานที่ท่องเที่ยวลำบาก จึงเป็นเหตุทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจปานกลาง

 

5.8ข้อเสนอแนะ

          นักท่องเที่ยวบางส่วนมีความเห็นว่าควรปรับปรุงถนนทางเข้า และอยากให้มีรถรับ-ส่ง หรือรถรับจ้างให้บริการภายในตลาดน้ำคลองบางหลวง เพื่อสะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยวมากขึ้น เนื่องจากปากทางลงรถประจำทางไปยังตลาดน้ำคลองบางหลวงต้องเข้าไปลึก และขากลับไม่มีรถให้บริการนักท่องเที่ยวที่ไม่มีรถส่วนตัวต้องเดินออกมา ถือเป็นข้อเสนอแนะและความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยเป็นอย่างมาก

 

 

บรรณานุกรม

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2540). หลักสถิติ.โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.(2545). การจัดการการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักงาน    

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

นภารัตน์ เสือจงพร.(2546).ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการด้านสินเชื่อ : กรณีศึกษาศูนย์ธุรกิจสะพานขาว ธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญา.มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา        กรุงเทพฯ        

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล สำนักพิมพ์ สุวีริยาสาสน์.กรุงเทพฯ

บุญชม ศรีสะอาด (2553) การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 5 สํานักพิมพ์สุวีริยาสาส์น กรุงเทพมหานคร

สุจิตต์ วงษ์เทศ (2555). วารสารภาษาและวัฒนธรรม ปีที่ 33 (มกราคม –มิถุนายน 2557)

สมบัติ พลายน้อย (2556) เล่าเรื่องมังกร : ตำนานหลากชนชาติ: พิมพ์ครั้งที่ 6, ฉบับปรับปรุง  :   พิมพ์คำสำนักพิมพ์ กรุงเทพฯ

สุดารา สุจฉายา. (2542) .หนังสือชุดนักเดินทางเพื่อความเจ้าใจในแผ่นดิน ธนบุรี. กรุงเทพฯ