ครูกับ AI ในการจัดเรียนการสอน

ครูกับ AI ในการจัดเรียนการสอน

บุปผา  บรรลือเสนาะ

 

ปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) จัดเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะ AI คือเทคโนโลยีสมองกลที่มีการทำงาน

คล้าย ๆ กับสมองของมนุษย์ จึงมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผน ตลอดจนสามารถตัดสินใจได้ ผ่านการประมวลผลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่  ซึ่งในปัจจุบัน AI ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน  เช่นการใช้แอพพลิเคชั่นขายสินค้าออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ และในอนาคต  AI จะเข้ามามีบทบาทกับงานในหลากหลายสาขาอาชีพ รวมถึงงานในด้านการศึกษา ซึ่งครูถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความสำคัญต่อโลกของเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นผู้ส่งผ่านองค์ความรู้  ทุกวันนี้เรามีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ เพื่ออำนวยการสะดวกและส่งเสริมด้านการศึกษาอย่างมากซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์กับนักเรียน ร่วมถึงตัวครูผู้สอน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าครูคือกลุ่มอาชีพที่สำคัญ เพราะเป็นผู้อบรมทรัพยากรมนุษย์และส่งผ่านภูมิปัญญา สร้างคนให้มีเหตุผลทางความคิด และมีคุณธรรม

 

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI

 

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ Al) คือเครื่องจักร (machine) ที่มีฟังก์ชันที่มีความสามารถ ในการทำความเข้าใจเรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้ การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) นั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า A1 ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเครื่องจักรมีความสามารถที่จะเรียนรู้นั่นเอง ซึ่ง AI ถูกแบ่งออกเป็น หลายระดับตามความสามารถหรือความฉลาด โดยจะวัดจากความสามารถในการให้เหตุผล การพูด และทัศนคติ ของ AI ตัวนั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์

 

AI แบ่งเป็น 3 ระดับ ตามความสามารถ ดังนี้

ปัญญาประดิษฐ์เชิงแคบ (Narrow Al ) คือ Al ที่มีความสามารถเฉพาะทางได้ดีกว่ามนุษย์ (เป็นที่มาของคำว่า Narrow (แคบ) ก็คือ AI ที่เก่งในเรื่องแคบๆ หรือเรื่องเฉพาะทาง) อาทิ เช่น AI ที่ช่วยในการผ่าตัด (A-assisted robotic surgery) ที่อาจจะเชี่ยวชาญเรื่องการผ่าตัดกว่าคุณหมอยุคปัจจุบันแต่แน่นอนว่า AI ตัวนี้ไม่สามารถที่จะทำอาหาร ร้องเพลง หรือทำสิ่งอื่นๆที่นอกเหนือจากการผ่าตัดใด้นั่นเอง ซึ่งผลงานวิจัยด้าน AI

ณ ปัจจุบันยังอยู่ที่ระดับนี้

               ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป (General Al)  คือ AI ที่มีความสามารถระดับเดียวกับมนุษย์ สามารถทำทุกๆ อย่างและ ที่มนุษย์ทำได้และมีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับมนุษย์

ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม (Strong Ali)  คือ A) ที่มีความสามารถเหนือมนุษย์ในหลายๆ ด้าน จะเห็นได้ ราวิทยาการของมนุษย์ปัจจุบันอยู่ที่จุดเริ่มต้นเของ AI เพียงเท่านั้น

 

บทบาทปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI)กับการศึกษา

 

ปัจจุบัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน ในทุกภาคส่วนไม่เว้นแม้กระทั่งในโลกของการศึกษา ซึ่งตลอดมาการส่งเสริมการศึกษาเป็นหน้าที่เฉพาะของคนที่เป็นครู

ในการอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ และยากที่จะหาใครแทนได้ แต่ในยุคปัจจุบันนี้ ด้วยการเติบโตอย่างก้าวหน้าของ AI ทําให้ในอนาคต อาชีพครูอาจไม่ใช่เป็นอาชีพที่มีเฉพาะสำหรับมนุษย์อีกต่อไปและครูหลายท่านอาจสงสัยว่า “AI จะสามารถแทนที่ครูได้หรือไม่” ลองวิเคราะห์จากหน้าที่และคุณสมบัติครูแล้วคงต้องตอบว่าในมิติของการสอน พวกสมองกลเหล่านี้คงจะสามารถทดแทนคุณครูได้ในสักวันหนึ่ง โดยเฉพาะในรายวิชาความรู้ที่มีเนื้อหาตายตัวอย่าง

เช่น คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐานหรือภาษาเบื้องต้น ที่องค์ความรู้ไม่มีเพิ่มและไม่ได้เรียนรู้ ผ่านการตั้งคำถาม แต่สำหรับวิชาที่มีความซับซ้อน ต้องมีการใช้คำถามในการเรียนรู้ เช่นศิลปะสังคมวรรณกรรม วิชาชีวิต และประสบการณ์ชีวิต AI คงไม่สามารถทดแทนได้แน่ๆ ทั้งหมดเป็นเรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งหาก เกิดขึ้นจริง เทคโนโลยี AI คงมีวิวัฒนาการใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงการศึกษาให้แตกต่างออกไปในทิศทางที่ดีขึ้น และ ช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างแน่นอน หนึ่งในสิ่งที่คุณครูหลายท่านรู้สึกไม่ค่อยมีความสุขและกลายเป็นภาระหนักในทุกวัน คือการที่ต้อง ตรวจข้อสอบและการบ้านหลายร้อยชุดในแต่ละสัปดาห์รวมไปถึงการรวมคะแนนเรียนเพื่อคัดเกรดคอน ปลายภาค ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอน แม้ว่าในปัจจุบัน AI จะยังไม่สามารถมาแทนการตัดเกรดของคุณครูได้ เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์แต่มันจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตแน่นอน ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นทดลองของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกเช่น Harvard University ด้วยการสร้าง AI เลียนแบบ การประเมินนักเรียนของคุณครูไทยจะนำปัจจัยต่างๆ ใน ห้องเรียนมาวิเคราะห์ ซึ่งเทคโนโลยีการให้เกรด เริ่มเข้ามาในบ้านเราแล้วก็คือโปรแกรมการตรวจข้อสอบแบบปรนัย

 

ทุกวันนี้เรามีการนำเทคโลยี AI เข้ามาใช้ เพื่ออำนวยการสะดวกและส่งเสริมด้านการศึกษาอย่างมากมาย ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากกับนักเรียน ร่วมถึงตัวครูผู้สอนด้วย สำหรับประโยชน์ของ AI ที่มีต่อการศึกษานั้น เราสามารถอธิบายคร่าว ๆ ได้ดังนี้

          AI ลดเวลาการทำงานของครู

            โดยปกติสำหรับคุณครูนอกจากงานสอนที่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้โดยตรงแล้ว งานส่งเสริมการศึกษาอื่น ๆ เช่น งานวัดผล งานทะเบียน หรืองานธุรการต่าง ๆ ในโรงเรียน ก็มีความจำเป็นเช่นเดียวกัน การนำ AI มาช่วยในการทำงานตรงนี้ นอกจากจะช่วยลดภาระงานของครูแล้ว ยังช่วยลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น การตรวจการบ้านหรือการตรวจข้อสอบ  ปัจจุบันมีการประดิษฐ์ซอฟแวร์ที่ช่วยในการตรวจการบ้านหรือข้อสอบที่เป็นลักษณะเลือกตอบ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้คุณครูสามารถตรวจการบ้านหรือข้อสอบได้รวดเร็วและมีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำ AI มาใช้ในงานทะเบียนและวัดผล ในการลงทะเบียนนักเรียน จัดตารางเรียน และคำนวณเกรดเฉลี่ย ซึ่งช่วยให้เกิดความรวดเร็วและลดข้อผิดพลาดได้มาก

 AI ช่วยสร้างสรรค์เนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

            การเติบโตของ AI ทำให้เกิดแอบพิเคชั่นในการส่งเสริมการศึกษามากมาย ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่เฉพาะในห้องเรียน AI จะทำหน้าที่ประเมินผลการเรียนรู้และเลือกเนื้อหาความรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียน นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยให้คุณครูในการสร้างสรรค์เนื้อหาความรู้ต่าง ๆ โดยช่วยประมวลผลการเรียนรู้ของนักเรียน สามารถสืบค้นข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำเป็นเอกสารในรูปของ E-book ได้อีกด้วย 

          AI ช่วยติวเตอร์ให้กับนักเรียนเป็นรายบุคคล

            บางครั้งการเข้าหาครูผู้สอนแต่ละครั้งล้วนมีข้อจำกัด เช่น  คุณครูอาจไม่ว่างพบ  หรือไม่มีเวลาในการอธิบายเพิ่มเติม จากข้อจำกัดนี้ ทำให้มีการนำ AI มาสร้างสรรค์เป็นแอบพลิเคชันที่ช่วยติวเตอร์นักเรียนเพิ่มเติม ซึ่งจะมีการรวมรวบความรู้ให้นักเรียนได้ศึกษาในจุดที่สนใจเพิ่มเติม และนอกจากนี้ยังมีการจัดทำการทดสอบออนไลน์ เพื่อประเมินผลผู้เรียน  อีกทั้งยังเป็นช่องทางพิเศษที่ช่วยให้นักเรียนปรึกษากับคุณครูกันได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

          AI เป็นอาจารย์เสมือน

            ในอนาคต AI อาจจะเข้ามาทำหน้าที่แทนคุณครู ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งข้อดีของ AI นั้นคือความแม่นยำและการประมวลผลที่รวดเร็ว โดยที่ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง คุณครูในอนาคตอาจกลายเป็นผู้ควบคุม AI แล้วทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลที่จำเป็นต่อการส่งเสริมการเรียนรู้แก่นักเรียนให้กับหุ่นยนต์ AI เพื่อทำหน้าที่แทนตัวเอง หรือให้เป็นผู้ช่วยในการสอน ซึ่งทำให้สามารถสอนได้ปริมาณมากและมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

 

ข้อดีและข้อเสียของ AI ในการศึกษา

 

ข้อดีของ AI ในการศึกษา

1. ปรับปรุงการมีส่วนร่วมและแรงจูงใจของนักเรียนการใช้แอปพิลเคชั่น AI ในการสอน สามารถปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้ได้หลายวิธี เช่น แบบฝึกหัดการเรียนรู้ส่วนบุคคลด้วยทีม AI หรือการตอบกลับและการสื่อสารทันทีด้วยการประมวลผลภาษาธรรมชาติของ AI นอกจากนี้ยังสามารถใช้ AI เพื่อ ปรับปรุงการเรียนรู้ด้วยเกม ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้สนุกสนาน มีส่วนร่วม การใช้เครื่องมือ AI สามารถแนะนำ นักการศึกษาให้ใช้วิธีการสอนแบบโต้ตอบมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้การมีส่วนร่วมและแรงจูงใจเพิ่มขึ้นในชั้นเรียน ตลอดจนปรับปรุงวัตถุประสงค์การเรียนรู้

2. การเพิ่มประสิทธิภาพของนักเรียน ข้อดีอีกประการหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ในด้าน การศึกษา คือสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของนักเรียนด้วยความคิดเห็นที่เพิ่มขึ้น ระบบที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถ  ประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน ให้ข้อเสนอแนะตามเป้าหมาย และระบุจุดที่ต้องปรับปรุง ยิ่งไปกว่านั้น AI ยังสามารถติดตามรูปแบบพฤติกรรมของนักเรียน ประเมินระดับความสนใจ และกำหนดว่าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมในบางวิชาขอบเขตย่อย หรือทักษะเฉพาะหรือไม่ ข้อเสนอแนะที่ขับเคลื่อนโดย AI ในทันที จะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้ที่สามารถคาดหวังได้ว่าจะผลักดันความสามารถของนักเรียนให้สูงขึ้น

3. การเรียนรู้ที่คุ้มค่าการใช้ AI ในการศึกษาสามารถลดต้นทุนการศึกษาจากมุมมองของสถาบันการศึกษา และค่อนข้างมากหากใช้ให้เต็มศักยภาพ AI สามารถทำให้งานต่างๆ ที่กำหนดให้กับการ บริหาร ครู ไอที และอื่นๆ เป็นไปโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น AI สามารถทำงานประจำวัน เช่น การให้เกรด การจัด ตารางเวลา การจัดการ ข้อมูล และแม้แต่การสอนพิเศษ ด้วย AI ในด้านการศึกษา สถาบันการศึกษาสามารถ ประหยัดงบประมาณ โดยลดทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ประเมินผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในระยะยาว สุดท้ายในรายการข้อดีของ AI คือ การประเมิน และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือ EdiTech ที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถรวบรวม วิเคราะห์ และให้ข้อมูล รายงานแก่ครูเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ของนักเรียนและรูปแบบพฤติกรรมได้  ด้วยการใช้การวิเคราะห์เชิงทำนาย AI สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าแก่นักการศึกษาจากการทำนายผลการปฏิบัติงานในอนาคต การแทรกแซงส่วนบุคคล การระบุ

ตัวนักเรียนที่มีความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ และการปรับแต่งกลยุทธ์การสอน ข้อมูลที่  เป็นประโยชน์นี้สามารถช่วยให้นักการศึกษาสามารถประเมินผลในเชิงลึกมากขึ้นในการทำความเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของนักเรียน ในห้องเรียน นอกจากนี้ครูยังมีโอกาสนำกลยุทธ์การสอนไปสู่อีกระดับและมอบประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุดแก่นักเรียน

 

ข้อเสียของ AI ในการศึกษา

1. ภัยคุกคามต่อความมั่นคงในอาชีพครูอันดับแรกคือภัยคุกคามต่อความ มั่นคงในอาชีพครู สิ่งนี้ยังไม่เกิดขึ้น แต่เป็นข้อกังวลว่าความก้าวหน้าและการนำ AI มาใช้อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการ ตำแหน่งงานบางอย่างในด้านการศึกษา วิธีที่ AI ดำเนินการด้านต่างๆ ของกระบวนการศึกษาให้เป็นอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง

อาจมีความต้องการนักการศึกษาที่เป็นมนุษย์น้อยลง ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพ การทำงานและ

การสูญเสียงานที่อาจเกิดขึ้น

2. ประสบการณ์การเรียนรู้แบบทนความเป็นมนุษย์ หนึ่งในข้อเสียที่ใหญ่ที่สุดของ AI ในด้านการศึกษา คือสามารถลดทอนประสบการณ์การเรียนรู้ของมนุษย์ได้ ด้วยอัลกอริทึม AI ที่สร้างเนื้อหาและ กำหนดจังหวะของบทเรียน นักเรียนอาจพลาดแนวทางที่เหมาะสมซึ่งครูที่เป็นมนุษย์สามารถนำเสนอได้ นอกจากนี้อัลกอริทึมของ AI ยังสามารถขยายความอคติได้ ซึ่งหมายความว่าอาจล้มเหลวในการจัดเตรียมหลักสูตรที่ครอบคลุมและหลากหลายซึ่งปรับให้เหมาะกับความต้องการของนักเรียนทุกคน

3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสำหรับครู ข้อเสียอีกประการหนึ่งของ AI ในด้านการศึกษา ก็คือการนำไปใช้สำหรับครูอาจมีค่าใช้จ่ายสูง ไม่ใช่ทุกโรงเรียนและสถาบันการศึกษาที่มีงบประมาณเฉพาะสำหรับ การลงทุนในเครื่องมือและเทคโนโลยี  นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการนำ AI ไปใช้จำนวนมากในโรงเรียน หากครูต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายก็อาจมีค่าใช้จ่ายสูงและดูแลรักษายาก

4. การพึ่งพาเทคโนโลยี เนื่องจากโรงเรียนพึ่งพาโซลูชั่นที่ขับเคลื่อนด้วย AI มากขึ้น จึงมีความเสี่ยงที่ครู

และนักเรียนอาจฟัง เทคโนโลยีมากเกินไป ในระยะยาว การพึ่งพาอาศัยกันนี้อาจ ส่งผลให้เกิดการละเลยวิธี การสอนแบบดั้งเดิมสําคัญ และการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา

 

AI มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ในฐานะครูควรจำกัดตัวเองไม่ให้ใช้ AI เพื่อการศึกษาหรือไม่  โลกของเรากำลังพัฒนาและเราต้องยอมรับว่าพลังของปัญญาประดิษฐ์มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ มากกว่าผลเสีย ดังนั้นอาจต้องการคาดหวังให้มีการนำมาใช้ไม่เพียงแต่ในด้านการศึกษาเท่านั้น แต่ในเทคโนโลยีนี้ จะอยู่ในทุกอุตสาหกรรม

ในฐานะครูต้องเรียนรู้ที่จะใช้อย่างพอเหมาะเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างทันยุคทันสมัย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลโลกอย่างสมบูรณ์ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI จุดเปลี่ยนของการเรียนรู้ที่ครูต้องปรับตัวในการจัดการเรียนการสอน

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

กรมประชาสัมพันธ์ (2563). ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence).http://km.prd.go.th/.

Class point (2556). ข้อดีและข้อเสียของ AI ในการศึกษาและผลกระทบต่อครูในปี 2566

        https://blog.classpoint.io/th/

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2561). ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องมีคุณลักษณะอย่างไร. สืบค้น 20 เมษายน 2563,   

       https://www.trueplookpanya.com/education/content/68571/-teaartedu-teaart-teaarttea

รศ. ยืน ภู่วรวรรณ (2562), เทคโนโลยีที่สร้างความพลิกผัน (Disruptive Technology)

AI ด้านการศึกษา ครูยุคดิจิทัลอาจมี AI เป็นผู้ช่วยคนใหม่. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2562
AI Education. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2562