กิจกรรมศิลปะ เป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างจินตนาการ และสร้างแรงบัลใจที่นำไปสู่กระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ และในขณะเดียวกันกิจกรรมศิลปะยังช่วยวส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ การพัฒนา ด้านกาย อารมณ์ สังและสติปัญญา เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาศักยภาพส่วนบุคคล โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย ที่เป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ กิจกรรมศิลปะจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้จัดกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงกระบวนการจัดกิจกรรมและพัฒนาการทางด้านศิลปะของนักเรียนปฐมวัย รวมทั้งจะต้องเข้าใจลักษณะนิสัยในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยอีกด้วย
การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับนักเรียนปฐมวัย ต้องอาศัยองค์ความรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ ทักษะพื้นฐานการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ และความเข้าใจเรื่องพัฒนาการทางศิลปะของนักเรียนปฐมวัย
1. การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
เนื่องจากเด็กปฐมวัย กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนด้านต่างๆของร่างกาย กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ ยังไม่แข็งแรงมากนัก ไม่สามารถควบคุมร่างกาย และอารมณ์ของตนเองได้มากนัก เกิดสภาวะสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดได้นานนัก การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย จึงควรเป็นกิจกรรมที่กระชับ เป็นการเล่นเพื่อการเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by Doing) จนเกิดเป็นทักษะที่นำไปสู่การพัฒนาด้านกายอารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยอาศัยกิจกรรมศิลปะที่ง่าย ใช้เวลาไม่นานนัก และดึงดูดต่อความสนใจ
2. ทักษะพื้นฐานการปฏิบัติงานสร้างสรรค์
กิจกรรมศิลปะ สามารถทำได้หลากหลายวิธี ได้แก่ การวาดภาพ การสร้างผลงานจากสี การปั้น การพิมพ์การประดิษฐ์ได้แก่ ฉีก ปะ ตัด พับ สร้างสิ่งประดิษฐ์ ต่อเติม และการประดับตกแต่ง การจัดดอกไม้ จัดห้อง จัดสวน จัดโต๊ะ ฯลฯ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะทั้งที่เป็นงาน 2 มิติและ 3 มิติ ผู้จัดกิจกรรมจึงไม่จำเป็นต้องมีทักษะพื้นฐานการปฏิบัติงานสร้างสรรค์มากนัก อาศัยความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในการสร้างสรรค์เทคนิคและวิธีการทางศิลปะ ทั่วไปก็สมารถจัดกิจกรรมได้ ซึ่งหากปฏิบัติทักษะอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้น แต่หากจะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก็จะต้องมีทักษะจำเป็น 3 ด้านด้วยกันคือ การวาดภาพระบายสี ภาพพิมพ์ และการปั้น ซึ่งการปั้นเป็นกิจกรรมสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยที่จะพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ได้อย่างดี
3. พัฒนาการทางด้านศิลปะ
พัฒนาการต่าง ๆ ของแต่ละช่วงวัยแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพัฒนาการทางด้านศิลปะ มีพัฒนาการตามร่ายกาย และสติปัญญาของบุคคล ซึ่ง วิคเตอร์ โลเวนเฟลด์ (Viktor Lowenfeld,1947) นักจิตวิทยาการศึกษา ได้ทำการศึกษาค้นคว้างานศิลปะของเด็ก โดยให้เด็กแสดงออกทุกอย่าง อย่างอิสระทดลองกับเด็กที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง อายุตั้งแต่ 2 ปีครึ่งขึ้นไป ให้เด็กวาดภาพด้วยสีเทียน สีอะไรก็ได้พบว่าเด็กมีพัฒนาการในการวาดขีดเขี่ยเป็น 5 ขั้นดังนี้
- ขั้นขีดเขี่ย (Scribbling Stage) ประมาณอายุระหว่าง 2-4 ปีการขีดเขียนยังเป็นแบบสะเปะสะปะ จะเป็นเส้นยุ่งเหยิง โดยปราศจากความหมาย เด็กจะเคลื่อนแขนขีดได้เป็นเส้นแนวยาวขีดเขี่ยซ้ำ ๆ หลายครั้ง ทั้งแนวตั้งและแนวนอนแสดง ให้เห็นพัฒนาการทางกล้ามเนื้อว่าเด็กค่อยๆ ควบคุมกล้ามเนื้อของการเคลื่อนไหวของตนเองได้
- ขั้นเริ่มขีดเขียน (Pre-Schematic Stage) (4-7 ปี) เป็นระยะเริ่มต้นการขีดเขียนภาพอย่างมีความหมาย การขีดเขียนจะปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น สัมพันธ์กับความจริงของโลกภายนอกมากขึ้น มีความหมายกับเด็กมากขึ้น
- ขั้นขีดเขียน (Schematic Stage) (7-9 ปี) เป็นขั้นที่ขีดเขียนให้คล้ายของจริง และความเป็นจริง ถ้าวาดรูปคนอาจไม่รู้ว่าเป็นรูปคน และภาพที่ออกมาเป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น ส่วนใดที่เด็กเห็นว่าสำคัญ น่าสนใจก็จะวาดส่วนใหญ่เป็นพิเศษ
- ขั้นวาดภาพของจริง (The Drawing Realism) (9-11 ปี) เป็นขั้นเริ่มต้น การขีดเขียนอย่างของจริง เนื่องจากระยะนี้ตามหลักจิตวิทยาพัฒนาการ เด็กเริ่มรวมกลุ่มกัน โดยแยกชายหญิง เด็กผู้ชายชอบผาดโผน เดินทางไกล เด็กผู้หญิงสนใจเครื่องแต่งตัว
- ขั้นการใช้เหตุผล (The Stage of Reasoning) (11-12 ปี) ขั้นการใช้เหตุผล ระยะเข้าสู่วัยรุ่น เป็นระยะที่เด็กแสดงออกมาอย่างไม่รู้สึกตัว เช่น เอาบรรทัด ดินสอมาร่อนแล้วทำเสียงอย่างเครื่องบินเป็นต้น เด็กจะทำอย่างเป็นอิสระและสนุกสนาน
นอกจากการคำนึงถึงความรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ ทักษะพื้นฐานการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ และความเข้าใจ เรื่องพัฒนาการทางศิลปะของนักเรียนปฐมวัยแล้ว กิจกรรมศิลปะควรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้ สำรวจความคิด ทดลองการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างบุคคล เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม คือให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างการทำกิจกรรม เช่น การจับกลุ่มทำกิจกรรมด้วยอุปกรณ์ชุดเดียวกัน สร้างสถานการณ์ให้เด็กได้แลกเปลี่ยน พูดคุย และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งปัจจัยส าคัญที่ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมศิลปะส าหรับเด็กปฐมวัย คือ ความพร้อมของผู้จัดกิจกรรม และอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นจะต้องใช้ในการทำกิจกรรม
กิจกรรมศิลปะ จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำมาใช้พัฒนาศักยภาพของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างรอบด้าน ทั้งด้านกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ที่เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต ซึ่งกิจกรรมศิลปะสำหรับนักเรียนปฐมวัยนี้ จะต้องมุ่งเน้นที่กระบวนการปฏิบัติงานสร้างสรรค์มากกว่าผลงานที่ได้รับ คือประเมินผลจากการลงมือปฏิบัติหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีขึ้น เพราะกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยนี้มีเป้าหมายเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพส่วนบุคคลเท่านั้น มิได้ตั้งเป้าเพื่อการพัฒนาทักษะฝีมือทางศิลปะ
อย่างไรก็ตามกิจกรรมศิลปะ อาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุดที่เด็กปฐมวัยต้องได้รับการเรียนรู้ แต่คือสิ่งสำคัญที่จะต้องให้เด็กปฐมวัย ได้รับประสบการณ์ทางศิลปะ เพื่อพัฒนาสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) สร้างความสดุลให้กับการเรียนรู้ทักษะทางวิชาการและสุนทรียภาพ เพราะพัฒนาการความเป็นมนุษย์จะต้องอาศัยการรับรู้ทางสุนทรียศาสตร์เป็นเครื่องมือในการสร้างคุณค่าให้กับชีวิตและสังคม
เอกสารอ้างอิง
ครูประถม.คอม. (2561). Learning by doing การปฏิบัติ หรือ การลงมือทำ. 20 สิงหาคม 2562. https://www.krupatom.com/1637-2/1637/
สิริพรรณ ตันติรตัน์ไพศาล. (2545). ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สุวีร์ยาสาส์น.
รศ.ดร.อรุณี หรดาล อ.ชนิพรรณ จาติเสถียรและคณะ. (2557). พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช มสธ.
Viktor Lowenfeld, W. Lambert Brittain. (1987). CREATIVE AND MENTAL GROWTH. New York: Macmillan Co.