การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้

เครื่องเรือน (furniture) เป็นสิ่งของที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ที่อาจรองรับการใช้งานของร่างกายมนุษย์ (เช่นเครื่องเรือนการนั่งและเตียงนอน) หรือมีไว้สำหรับเก็บของ หรือเก็บวัตถุทางแนวตั้งเหนือพื้นผิวของพื้นดิน เครื่องเรือนสำหรับเก็บของมักมีประตู บานเลื่อน และชั้นเก็บของ ที่อาจเก็บของชิ้นเล็ก ๆ อย่างเสื้อผ้า อุปกรณ์

วัสดุเพื่อใช้ในการออกแบบและผลิตเฟอร์นิเจอร์ปัจจุบัน มีด้วยกันมากมายหลายประเภทและชนิด ซึ่งเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการแข่งขันในตลาด ไม่ว่าจะเป็นวัสดุพื้นฐานเช่นไม้ โลหะ หรือวัสดุสังเคราะห์ต่างๆที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ ดังนั้นนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์จึงควรมีความเข้าใจถึงคุณสมบัติของวัสดุและการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการเลือกวัสดุที่เหมาะสมนั้นควรนำมาใช้สร้างหรือขึ้นรูปได้ง่าย มีคุณสมบัติทางกลไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสียหายในขณะใช้งาน รวมถึงมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการใช้งาน และมีราคาที่เหมาะสมด้วย

วัสดุเฟอร์นิเจอร์วัสดุที่เราพบเห็นโดยทั่วไปนั้น หากแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆนั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่

1.กลุ่มโลหะ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ โลหะเหล็ก เช่น เหล็กกล้า เหล็กหล่อ เหล็กเหนียว ฯลฯ และ โลหะประเภทอื่นที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น ทองคำ ทองคำขาว ทองเหลือง ทองแดง อลูมิเนียม ตะกั่ว สังกะสี โลหะผสม ฯลฯ

2.กลุ่มอโลหะ หรือ กลุ่มวัสดุที่ไม่ใช่โลหะ กลุ่มอโลหะดังกล่าวยังสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ วัสดุธรรมชาติ อาทิเช่น ไม้ เส้นใยธรรมชาติ หนังสัตว์ ดิน หิน ฯลฯ และวัสดุสังเคราะห์ ได้แก่วัสดุที่มนุษย์คิดค้นหรือประดิษฐ์ขึ้นนอกเหนือจากวัสดุธรรมชาติ เช่น พลาสติก หนังเทียม ยางสังเคราะห์ ฯลฯ

ไม้ธรรมชาติ และไม้ที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ

ไม้เป็นวัสดุหลักที่ได้รับความนิยมในการใช้ทำเฟอร์นิเจอร์สูงที่สุด ด้วยคุณสมบัติที่เหมาะสมหลายอย่างอาทิเช่น ความสามารถในการขึ้นรูปและการผลิตได้ง่าย สวยงาม แข็งแรงทนทาน หาได้ง่าย และราคาเหมาะสม นั่นเอง นอกจากนี้ไม้ยังสามารถแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆได้3 ชนิดได้แก่

1.ไม้ธรรมชาติ

2.ไม้ที่ผลิตจากไม้แผ่น เศษไม้และเส้นใยธรรมชาติ หรือ ไม้วิทยาศาสตร์

3.ไม้ไผ่ และหวาย

ไม้วิทยาศาสตร์

ไม้ที่ผลิตจากไม้แผ่น เศษไม้และเส้นใยธรรมชาติ หรือ ไม้วิทยาศาสตร์ ไม้ที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ นั้นบางครั้งเรียกว่า ไม้วิทยาศาสตร์ก็เป็นวัสดุที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในการทำเฟอร์นิเจอร์ ทั้งนี้จากผลพวงอันเนื่องจากไม้ธรรมชาติหายากและมีราคาแพงขึ้น จึงเกิดประดิษฐกรรมขึ้นใหม่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงไม้ธรรมชาติ ไม้วิทยาศาสตร์นี้สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่

2.1 กลุ่มไม้วิทยาศาสตร์จากแผ่นไม้บาง

กลุ่มไม้วิทยาศาสตร์จากแผ่นไม้บาง หรือแผ่นไม้แปรรูปเล็กๆ มาประสานกัน (Laminated board)แผ่นวัสดุในกลุ่มนี้มักประกอบด้วยแผ่นไม้บาง (Veneer) ซึ่งได้จากการปอกหรือฝานจากเครื่องจักรแล้วนำมาอัดวางซ้อนกันเรียงกันที่ละชั้นในลักษณะขวางเสี้ยน วัสดุดังกล่าวอาจทำจากแผ่นไม้บางล้วนๆมาซ้อนกันจนได้ความหนาตามต้องการหรือใช้แผ่นไม้แปรรูปเล็กๆที่ต่อประสานกันเป็นแผ่นแล้วนำมาทำไส้แกนกลางและปิดทับด้วยแผ่นไม้บาง

กลุ่มไม้วิทยาศาสตร์จากแผ่นไม้บางที่เรารู้จักหรือนิยมใช้มากที่สุดได้แก่ ไม้อัด (Plywood) ไม้อัดสามารถแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ 2 ประเภท ได้แก่ ไม้อัดที่ใช้ภายในอาคารและไม้อัดที่ใช้ภายนอกอาคาร ไม้อัดที่ใช้ภายในอาคารเป็นไม้อัดที่ผ่านการแช่ในน้ำอุ่นในอุณหภูมิระหว่าง องศาเซลเซียส ได้นาน 3 ชั่วโมง โดยไม่มีการแตกหลุดจากกันและต้องได้ความแข็งแรงตามมาตรฐาน และไม่มีร่องรอยตำหนิ ไม้อัดที่ใช้ภายในอาคาร เหมาะสำหรับ ทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง เก้าอี้ ชั้นวางของ ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้สำหรับบุฝาห้อง บุฝ้าเพดาน เป็นต้น สำหรับไม้อัดที่ใช้ภายนอกอาคาร เป็นไม้อัดที่ต้องผ่านการต้มในน้ำร้อน องศาเซลเซียส ได้นานถึง 72 ชั่วโมง โดยไม่มีการแตกหลุดจากกันและต้องได้ความแข็งแรงตามมาตรฐาน และไม่มีร่องรอยตำหนิ ไม้อัดชนิดนี้มีความหนาเพียง ขนาด ได้แก่ 4 และ 6 มิลลิเมตรเท่านั้น มีราคาแพง ไม้อัดชนิดนี้เหมาะกับการใช้งานกลางแจ้ง เช่น ป้ายโฆษณา ทำไม้หล่อคอนกรีต ส่วนของอาคารบ้านเรือนที่ต้องถูกแดดและฝน เรือหางยาว เป็นต้น

2.2 กลุ่มไม้วิทยาศาสตร์ที่ใช้ชิ้นไม้สับอัดเป็นวัตถุดิบ (Partical board) กลุ่มไม้วิทยาศาสตร์ชนิดนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น แผ่นชานอ้อยอัด แผ่นเส้นใยป่านลินนินอัด แผ่นเกล็ดไม้อัด แผ่นเกล็ดไม้อัดเรียงชิ้น แผ่นไม้สับอัด ฯลฯ

2.3 กลุ่มไม้วิทยาศาสตร์ที่ใช้เส้นใยไม้ ( Fiber board) เป็นไม้ที่ได้จากการย่อยชิ้นไม้สับโดยผ่านขบวนการที่ใช้ความร้อนสูงได้เส้นใยแล้วนำเส้นยาเรียงเป็นแผ่นโปร่งๆ หลังจากนั้นจึงนำเข้าเครื่องอัดให้เป็นแผ่นตามขนาดที่ต้องการ ความหนาแน่นของเส้นใยจะแตกต่างตามกำลังอัด การเรียงตัวของเส้นใยเป็นไปด้วยความสม่ำเสมอ ในระหว่างการผลิตอาจผสมสารอื่นๆลงไปด้วยเพื่อให้เกิดความแข็งแรงยิ่งขึ้น มีความต้านทานความชื้น ทนต่อไฟ ต้านทานแมลง หรือ การผุกรอนได้ดียิ่งขึ้น

ไม้ไผ่และหวาย

ไม้ไผ่และหวาย เป็นไม้ประเภทพืชพื้นถิ่นอีกประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องเรือน เครื่องใช้ในบ้าน ทั้งนี้เพราะไม้ไผ่และหวายเป็นพืชที่สามารถหาได้ง่ายในพื้นถิ่น ใช้เวลาปลูกน้อยน้อยก็สามารถนำมาใช้ได้เมื่อเทียบกับการปลุกไม้ธรรมชาติชนิดอื่นๆ ทั้งยังมีความสวยงาม คงทนพอสมควร ราคาถูก จึงได้รับความนิยมโดยเฉพาะการนำมาใช้ผลิตเครื่องเรือนที่ใช้กันในระดับชาวบ้าน

https://medium.com/@j.ronin47/การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้-5474e091d709