บทความนี้ มุ่งศึกษาแนวพระราชดำริ “ศาสตร์พระราชาด้านการพัฒนามนุษย์” ในมิติของมนุษยศาสตร์จากพระบรมราโชวาท
พระมหาชนก และทองแดง ด้วยวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อวิเคราะห์คุณค่าเชิง “จริยปฏิบัติ” ด้านการพัฒนามนุษย์จากพระราชนิพนธ์ด้วยการวิเคราะห์และใคร่ครวญผ่าน “ภาษา” ตามขอบข่ายของมนุษยศาสตร์ซึ่งเป็นการพัฒนามนุษย์ที่มีความจำเป็นมาทุกยุคทุกสมัยแต่มักถูกละเลยและเพื่อเสนอแนวทางการสืบทอดแนวพระราชดำริดังกล่าวให้ดำรงอยู่และมีผลกระทบต่อ การพัฒนามนุษย์ในวงกว้างสืบไป คุณค่าด้าน “จริยปฏิบัติ” เพื่อพัฒนามนุษย์ พบว่า “พระบรมราโชวาท” ชี้ให้เห็นคุณค่าใน 3 ประการ คือ “มนุษย์พัฒนาได้ด้วยการศึกษา” “มนุษย์ต้องมีคุณธรรมกำกับความรู้” และ “มนุษย์พัฒนาตนจนถึงพร้อม
แล้วจะไปพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนสืบไป” เรื่อง “พระมหาชนก” พบคุณค่าด้านจริยปฏิบัติเพื่อพัฒนามนุษย์ใน 2 ประการ คือ “พัฒนามนุษย์ด้วยความเพียร” และ “พัฒนามนุษย์ด้วยปัญญา” เรื่อง “ทองแดง” ใช้กลวิธีทางภาษาและภาพพจน์เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่า จริยปฏิบัติอันถึงพร้อมของสุนัขเชื่อมโยงมาสู่จริยปฏิบัติเพื่อพัฒนามนุษย์ใน 4 ประเด็น คือ ความกตัญญู
ความมีปัญญา ความจงรักภักดี และ ความวิริยะพากเพียรแนวทางการสืบทอดแนวพระราชดำริ “ศาสตร์พระราชาเพื่อ
การพัฒนามนุษย์” ให้ดำรงอยู่และมีผลกระทบต่อการพัฒนามนุษย์ในวงกว้าง คือ รูปแบบการศึกษาทั้ง การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย ผ่านองค์ประกอบของหลักสูตร และกิจกรรมการเรียนการสอน
-
- HOME
- BSRU
- Check Scholar
- ติดต่อเรา WooCommerce not Found
- Newsletter