การสวมบทบาทเป็นตัวละครหญิงในการแสดงละครนอก

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการราและวิธีการแสดงของนักแสดงชายในการสวมบทบาท เป็นตัวละครหญิงในการแสดงละครนอก ของสานักการสังคีต กรมศิลปากร โดยศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนาฏศิลป์ไทย ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม กรณีศึกษา 3 ตัวละครหญิง ได้แก่ นางรจนา นางแก้วหน้าม้าและนางเกศสุริยง (ตัวแปลง) ผลการวิจัยพบว่า 1. วิธีการราประกอบด้วย วิธีการรา อวดฝีมือ เน้นการราที่ประณีต ใช้แรงและพลังที่ช้าและนิ่งเป็นหลัก และ วิธีการราตีบท เน้นการราสื่อความหมายตามบทร้องที่ประณีตแต่เพิ่มแรงและพลังที่กระฉับกระเฉงในการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติท่าราตามลักษณะของ ตัวละคร 2. วิธีการแสดง ได้แก่ วิธีการแสดงมุกตลก ใช้น้าเสียงที่หลากหลายในการเจรจา กล่าวคือ ตัวละครหญิง ที่มีพฤติกรรมเรียบร้อยใช้น้าเสียงที่เชื่องช้านุ่มนวล หรือหากเป็นตัวละครหญิงที่มีพฤติกรรมไม่เรียบร้อยใช้น้าเสียงกระชับและดัง วิธีการแสดงท่าทางเสริมบทใช้ท่าทางที่โลดโผนประกอบการแสดงเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน รวมถึงใช้ปฏิภาณไหวพริบ จึงกล่าวได้ว่า เป็นการผสมผสานระหว่างแบบแผนการราของละครนอกแบบหลวง และ แบบแผนการแสดงที่มุ่งเน้นความสนุกสนานของละครนอกแบบดั้งเดิมซึ่งเผยแพร่และสืบทอดโดยสานักการสังคีต กรมศิลปากร ให้คงอยู่ต่อไป อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่  https://drive.google.com/file/d/1oX9YsNKnQC686jGX93_jF97y7TT86T4j/view?usp=sharing