การสร้างสรรค์ผลงานสตรีทอาร์ต (Street Art) ในเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน มีอยู่มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในฝั่งของเขตพระนคร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เสื่อมโทรม โดยหลายพื้นที่ได้กลายสภาพเป็นเป็นแลนด์มาร์ก แหล่งท่องเที่ยว เช่น 1. สวนเฉลิมหล้า 2.สะพานหัวช้าง 3.Chula Art Town 4.คลองยานนาวา 5.ซอยเจริญกรุง 32 6.ตลาดน้อย 7.คลองโอ่งอ่าง 8.ล้ง 1919 9.พิพิธบางลำพู 10.สถานีรถไฟฟ้าบางหว้า โดยทางฝั่งธนบุรี อยู่บริเวณตลาดพลู ซึ่งพื้นที่ต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นมีเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอยู่มากมาย ที่ยังสามารถพัฒนาเพื่อให้เกิดการต่อยอด และสนันสนุน ให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจเส้นทางการท่องเที่ยวให้แข็งแรงยิ่งขึ้น จากชุมชุนในพื้นที่มีเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ต้องขับเน้นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาพื้นที่ ด้วยการนำกิจกรรมทางศิลปะเข้าไปร่วมกับชุมชน โดยการปรับภูมิทัศน์ให้สภาพแวดล้อมของชุมชนเกิดความ สวยงาม ด้วยสุนทรียศาสตร์ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมวัฒนธรรม และภูมิทัศน์ใหม่หลังวิกฤติ โควิด-19 โดยปัจจุบันเรื่องของ Soft-Power หรืออำนาจอ่อน หมายถึงอำนาจในการดึงดูด และการมีส่วนร่วม โดยไม่ต้อง บังคับ หรือให้เงินสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง และสร้างอิทธิพลต่อความคิดของสังคมและประชาชนในประเทศได้ ด้วยการอาศัยทรัพยากรที่สำคัญข้อหนึ่งคือ “วัฒนธรรม” (Cultuer) ซึ่งคำสำคัญนี้ มีความเกี่ยวข้องกับศิลปวิทยาการหลายด้าน เช่น ศิลปะ ประเพณี ซึ่งศิลปะเองก็มีความเกี่ยวข้องในสาขาหลากหลายเช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพยนตร์ ดนตรี การแสดง ฯลฯ การพัฒนาพื้นที่ด้านการปรับภูมิทัศน์โดยการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้มีความเป็น Soft-Power ด้วยภาพ จิตรกรรมฝาผนังสตรีทอาร์ต (Street Art) ภายใต้อิทธิพลแนวทางจิตรกรรมฝาผนังรูปแบบภาพกราฟฟิตี้” (Graffiti) คลิ๊กเพื่ออ่านต่อ
-
- HOME
- BSRU
- Check Scholar
- ติดต่อเรา WooCommerce not Found
- Newsletter