การศึกษาภาพสะท้อนการสอนจริยธรรม
จากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม
อาจารย์กฤษฎา กาญจนวงศ์*
บทนำ
เมื่อปีการศึกษา 2563 ผู้เขียนเริ่มต้นประสบการณ์การสอนหนังสือครั้งใหม่ โดยได้ย้ายจากการสอนในระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ย่างก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) และรายวิชาแรกที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากทางสาขาให้เป็นผู้รับผิดชอบ คือ รายวิชาภาพสะท้อนการสอนจริยธรรมในวรรณกรรมไทย ตลอดระยะเวลาการสอนข้าพเจ้ารู้สึกสนุกที่ได้นำนักศึกษาวิเคราะห์ภาพสะท้อนการสอนจริยธรรมในวรรณกรรมไทยทั้งวรรณกรรมแบบฉบับ และวรรณกรรมท้องถิ่น รู้สึกเพลิดเพลินที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองใหม่ ๆ กับนักศึกษา รู้สึกตระหนักถึง ภูมิปัญญาทางความคิดที่ถูกถ่ายทอดสะท้อนให้เห็นความเชื่อ ค่านิยม และมุมมองทางจริยธรรมใหม่ ๆ ที่ปรากฏอยู่ในงานวรรณกรรมหลากหลายรูปแบบ ด้วยเหตุที่กล่าวข้างต้นจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เขียนเริ่มต้นการเขียนบทความนี้ โดยประสงค์จะนำเสนอการศึกษาภาพสะท้อนจริยธรรมที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประเด็นที่น่าวิเคราะห์ และจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านอย่างยิ่ง
การศึกษาภาพสะท้อนการสอนจริยธรรม จากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม
กล่าวถึง “วรรณคดี” นับเป็นวรรณคดีเป็นผลงานที่สร้างสรรค์อันล้ำค่าของมนุษย์ มนุษย์สร้างและสื่อสารเรื่องราวของชีวิตวัฒนธรรมและอารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องหรือสะท้อนความเป็นมนุษย์ด้วย กลวิธีการใช้ถ้อยคำ สำนวนภาษา ซึ่งมีความเหมือนหรือแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย ดังที่ รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ (2544, น.96) ได้กล่าวว่า วรรณคดีเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาของคนในชาติ ที่สามารถนาภาษามาเรียงร้อยเรื่องราวเป็นวิจิตรศิลป์ที่แสดงถึงความละเอียด ประณีต อ่อนโยน สะท้อนเรื่องราวของมนุษย์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ในสังคม ความคิดความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับธรรมชาติและอุดมการณ์ความใฝ่ฝัน ซึ่งให้ประโยชน์ทั้งความบันเทิงใจ เป็นคติสอนใจ เป็นแนวพฤติกรรมปฏิบัติ เป็นบันทึกแสดงวีรกรรมคนกล้า สดุดีพระเกียรติยศ หรือเป็นวรรณกรรมที่ใช้เพื่อประกอบพิธีกรรม
* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หากกล่าวถึงวรรณคดีไทยแล้วเรื่องขุนช้างขุนแผนจัดเป็นเพชรน้ำเอกในวรรณคดีไทย เป็นขุมทรัพย์แห่งวรรณศิลป์ วรรณคดีสโมสรสมัยรัชกาลที่ 6 ตัดสินให้วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นยอดของกลอนสุภาพเป็นเรื่องที่มีคุณค่าอ่านแล้วสนุกเข้าใจง่าย การใช้ถ้อยคำสำนวนมีความหมายเด่นชัด มีความไพเราะเพราะพริ้ง มีการพรรณนาความได้ความหมายดี บรรยายความได้เหมาะสมกับเหตุการณ์ให้อารมณ์ขัน อ่านแล้วไม่เบื่อ มีการสร้างลักษณะของตัวละครที่เด่นชัดเหมือนมีชีวิตจิตใจจริง ๆ ทำให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ มีการจัดการโครงเรื่องได้ดี คุณค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นที่ประทับใจของผู้อ่านมากมาย ทั้งนี้นอกจากเรื่องขุนช้างขุนแผนจะมีคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ และคุณค่าทางด้านอารมณ์แล้ว เรื่องขุนช้างขุนแผนยังมีคุณค่าทางด้านสังคมอย่างมากอีกด้วย โดยในเรื่องขุนช้างขุนแผนได้กล่าวถึงเรื่องของสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในอดีต สะท้อนถึงขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ศิลปะต่าง ๆ การปกครอง การศึกษา สงคราม ภูมิศาสตร์ และชีวิตในสังคมทั้งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เกิดไปจนกระทั่งตายของชาวไทยธรรมดาสามัญไปจนถึงจริยาวัตรของพระมหากษัตริย์ไทยสมัยก่อน
ด้วยความสำคัญที่กล่าวมาต้นจึงทำให้เรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับคัดเลือกให้นำมาบรรจุไว้ในหนังสือแบบเรียนวิชาภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต(วรรณคดีลำนำ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และตอนที่นำมาให้นักเรียนได้ศึกษาคือตอน กำเนินพลายงาม ประพันธ์โดยท่านสุนทรภู่ ซึ่งเป็นตอนที่มีเนื้อหาเข้มข้น เดินเรื่องกระชับ แพรวพราวด้วยวรรณศิลป์ สรรคำมาใช้ในการประพันธ์ได้อย่างเข้าถึงอรรถรส และที่สำคัญที่สุดคือตลอดเนื้อเรื่องแฝงไปด้วยคุณธรรมจริยธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ค่านิยมของคนไทยในอดีต ซึ่งความเชื่อค่านิยมบางประการยังคงปรากฏภาพให้เห็นมาจนถึงปัจจุบันอีกด้วย
ทั้งนี้ผู้เขียนจะมุ่งนำเสนอเนื้อหาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงามเฉพาะตอนที่ปรากฏอยู่ในหนังสือแบบเรียนวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้น กล่าวคือ ตั้งแต่ตอนที่นางวันทองคลอดพลายงาม จนกระทั้งถึงตอนที่พลายงามเดินทางไปพบท่านย่าทองประศรีที่เมืองกาญจนบุรี ทั้งนี้ในเนื้อเรื่อง ขุนช้างขุนแผนฉบับเต็ม ตอนกำเนิดพลายงามนั้นเนื้อหาจะไปสิ้นสุดลงที่จมื่นศรีนำพลายงามเข้าไปถวายตัวต่อสมเด็จพระพันวษา ซึ่งส่วนที่ผู้เขียนจะนำมาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอในบทความนี้ มีเนื้อหาโดยย่อดังนี้
* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
“เมื่ออยู่กับขุนช้าง นางวันทองไม่เคยเป็นสุข จนท้องแก่ได้สิบเดือนก็คลอดบุตรเป็นชาย หน้าตาเหมือนขุนแผน และนางวันทองตั้งชื่อว่าพลายงาม ส่วนขุนช้างเห็นบุตรหน้าเหมือนขุนแผนก็ยิ่งแค้นแล้ว ก็ยิ่งโมโหที่นางวันทองนั้นเป็นคนสองใจ ทั้งยังตั้งชื่อลูกเหมือนขุนแผนซึ่งเป็นพ่อแท้ ๆ อีกด้วย จึงคิดจะฆ่าพลายงามเสีย วันหนึ่งนางวันทองล้มป่วยลง ขุนช้างจึงแกล้งชวนพลายงามไปดูสัตว์ในป่า พอถึงที่เปลี่ยวก็จะฆ่า ได้ทำร้ายจนพลายงามสลบไป ผีพรายลูกน้องขุนแผนเข้าปกป้องไว้ ขุนช้างเข้าใจว่าตายแล้ว ทำเป็นชมป่า จนกระทั่งกลับมาถึงเรือน ฝ่ายผีพรายช่วยกันพยาบาลจนหาย เมื่อพลายงามฟื้นขึ้น นางพรายก็บอกว่าพวกตนเป็นบ่าวของขุนแผน แล้วจะไปบอกนางวันทองให้มารับ นางวันทองนั้น เกิดลางโดยเขม่นคิ้วตั้งแต่กลางวัน พอนอนหลับก็ฝันเห็นพลายงามถูกขุนช้างเอาขอนทับ ก็ตกใจตื่นเห็นแมงมุมอุ้มไข่ตีอก ก็ห่วงลูกลุกออกจากห้องหาลูกไม่พบ รู้ว่าตามขุนช้างไปเที่ยวป่า จึงได้ร้องไห้เดินตามหาไปถึงในป่า เห็นพลายงามยืนร้องไห้อยู่ พลายงามก็เล่าให้นางวันทองฟัง นางวันทองจึงบอกว่า พ่อของพลายงามชื่อขุนแผน เป็นศัตรูคู่แค้นกับขุนช้าง แต่ตอนนี้พ่อถูกขังคุกอยู่ หากลูกอยู่ที่นี่ต่อไปก็จะอันตราย ควรจะไปอยู่กับย่าทองประศรีที่กาญจนบุรี แต่ทางทุรกันดารคงจะลำบากมาก ฝ่ายพลายงามนั้นเมื่อรู้ว่าขุนช้างไม่ใช่พ่อของตน ก็ลาแม่ไปอยู่กับย่าที่กาญจนบุรี นางวันทองกลัวขุนช้างจะตามมา จึงพาพลายงามไปฝากกับขรัวนาก สมภารวัดเขาพร้อมกับเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง สมภารก็รับปากว่าจะดูแลให้ จนถึงเช้านางวันทองก็ห่อผ้าใส่ผ้าผ่อน ขนม มาให้แล้วบอกทางไปบ้านย่า ที่กาญจนบุรี พลายงามกราบลานางวันทอง แล้วบอกว่าตนจะไปหาพ่อให้พบ ส่วนแม่นั้นแม้ว่าตนจะไม่อยู่ด้วยก็รักเสมอ วันข้างหน้าจะกลับมาเยี่ยม เมื่อพลายงามเดินทางไปจนถึงกาญจนบุรี ก็ไถ่ถามแม่เด็กชาวบ้าน ถึงบ้านของนางทองประศรี พวกเด็กก็บอกให้ ฝ่ายนางทองประศรีเมื่อพลายงามลงมากราบแล้วบอกว่า ตนเป็น
2
หลาน มาจากบ้านนางวันทองเมืองสุพรรณบุรี แล้วถามว่ามาหาย่าชื่อนางทองประศรี นางทองประศรีดูหน้า ก็รู้ว่าเป็นหลานจริงก็เข้ากอดพลายงาม”
3
จากการวิเคราะห์ภาพสะท้อนการสอนจริยธรรมตลอดเรื่องผลปรากฏดังนี้
1. ความอดทน
1.1 “จะคลอดบุตรสุดปวดให้รวดร้าว ตึงหัวเหน่าเหน็ดเหนื่อยเมื่อยต้นขา
แสงหิ่งห้อยพรอยพรายพร่างสายตา จะเรียกหาเจ้าขุนช้างให้หมางใจ
แต่นวดนวดปวดมวนให้ป่วนปั่น สุดจะกลั้นกลอกหน้าน้ำตาไหล
พยุงท้องร้องเรียกพวกข้าไท จะขาดใจแล้วช่วยด้วยแม่คุณ…
…นางวันทองร้องไห้ใจจะขาด พอกรรมชวาตวาตะประทะถอน
อรุณฤกษ์เบิกสุรินทร์ทินกร อุทรคลอนเคลื่อนคลอดไม่วอดวาย”
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
บทวิเคราะห์ จากตอนที่นางวันทองปวดท้องใกล้จะคลอดจนตลอดการคลอด นางมีความอดทนต่อ ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น
2. ความกตัญญู
2.1 “พลายงามดิ้นสิ้นเสียงสำเนียงร้อง ยกแต่สองมือไหว้หายใจฝ่อ
มันห้ามว่าอย่าร้องก็ต้องรอ เรียกหม่อมพ่อเจ้าขาอย่าฆ่าเลย
จงเห็นแก่แม่วันทองของลูกบ้าง พ่อขุนช้างใจบุญเจ้าคุณเอ๋ย
ช่วยฝังปลูกลูกไว้ใช้เช่นเคย ผงกเงยมันก็ทุบหงุบลงไป”
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
บทวิเคราะห์ จากตอนที่ขุนช้างรู้ว่าพลายงามไม่ใช่ลูกของตน จึงออกอุบายลวงพลายงามไปฆ่า แม้พลายงามจะถูกทำร้าย ก็ยังกล่าวถ้อยคำสำนึกในบุญคุณของขุนช้างโดยให้เลี้ยงตนไว้ใช้งาน
2.2 “ไปสู้ตายวายวางเสียข้างหน้า ด้วยเกิดมามีกรรมจะทำไฉน
ขอลาแม่แต่นี้นับปีไป แล้วร้องไห้หวนคิดถึงบิดา
โอ้พ่อคุณขุนแผนของลูกเอ๋ย เมื่อไรเลยลูกจะได้ไปเห็นหน้า
ต้องติดคุกทุกข์ทุเรศเวทนา เจ้าครวญคร่ำร่ำว่าด้วยอาลัย ฯ”
บทวิเคราะห์ จากตอนที่พลายงามถูกขุนช้างทำร้าย และได้ทราบความจริงจากนางวันทองว่า พ่อที่แท้จริงของตนคือขุนแผนที่ถูกจองจำอยู่ในคุก จึงเกิดความรักความคิดถึงขุนแผนผู้เป็นพ่อ
2.3 “เจ้าพลายงามความแสนสงสารแม่ ชำเลืองแลดูหน้าน้ำตาไหล
แล้วกราบกรานมารดาด้วยอาลัย ลูกเติบใหญ่คงจะมาหาแม่คุณ
แต่ครั้งนี้มีกรรมจะจำจาก ต้องพลัดพรากแม่ไปเพราะไอ้ขุน
* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
เที่ยวหาพ่อขอให้ปะเดชะบุญ ไม่ลืมคุณมารดาจะมาเยือน
แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก คนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน
จะกินนอนวอนว่าเมตตาเตือน จะจากเรือนร้างแม่ไปแต่ตัว
แม่วันทองของลูกจงกลับบ้าน เขาจะพาลว้าวุ่นแม่ทูนหัว
จะก้มหน้าลาไปมิได้กลัว แม่อย่ามัวหมองนักจงหักใจ ฯ”
บทวิเคราะห์ จากตอนที่พลายงามจะออกเดินทางไปหาย่าทองประศรีที่กาญจนบุรี ได้แสดงความรัก ความกตัญญูกตเวที ให้คำมั่นสัญญาว่าวันหนึ่งจะกลับมาตอบแทนพระคุณของแม่วันทอง
3. ความเมตตา
3.1 “เห็นลับลี้ที่สงัดขัดเขมร สะบัดเบนเบือนเหวี่ยงลงเสียงผลุง
ปะเตะซ้ำต้ำผางเข้ากลางพุง ถีบกระทุ้งถองทุบเสียงอุบโอย
พลายงามร้องสองมือมันอุดปาก ดิ้นกระดากถลากไถลร้องไห้โหย
พอหลุดมือรื้อร้องวันทองโวย หม่อมพ่อโบยตีฉันแทบบรรลัย
ไม่เห็นแม่แลหาน้ำตาตก ขุนช้างชกฉุดคร่าไม่ปราศรัย
จนเหงื่อตกกระปรกประปรอมขึ้นคร่อมไว้ หอบหายใจฮักฮักเข้าหักคอ”
บทวิเคราะห์ กล่าวในมุมกลับ เมื่อขุนช้างลวงพลายงามเข้าไปในป่าลึก หลังจากนั้นได้ทำร้ายพลายงามอย่างโหดร้าย จนกระทั้งพลายงามถึงแก่ความตายแสดงให้เห็นว่าขุนช้างขาดความเมตตาอย่างยิ่ง
3.2 “เอาลูกอ่อนซ่อนไว้เสียในห้อง เผื่อพวกพ้องเขามาหาอย่าให้ปะ
ท่านขรัวครูผู้เถ้าว่าเอาวะ ไว้ธุระเถิดอย่ากลัวที่ผัวเลย
ถ้าหากว่ามาค้นจนถึงห้อง กูมิถองก็จงว่าสีกาเอ๋ย
ฆ่าลูกเลี้ยงเอี้ยงดูกูไม่เคย อย่าทุกข์เลยลุงจะช่วยลูกอ่อนไว้ ฯ”
บทวิเคราะห์ นางวันทองพาพลายงามมาฝากไว้กับขรัวนาก ที่วัดเขา แล้วเล่าเหตุการณ์ที่ขุนช้าง ได้ทำร้ายพลายงามให้ขรัวนากฟังขรัวนากเกิดความเมตตาจึงได้อาสาปกป้องพลายงามอย่างสุดชีวิต
3.3 “จะกล่าวถึงพลายงามทรามสงสาร พึ่งสมภารอยู่ในห้องนั่งร้องไห้
พวกศิษย์เณรเถนชีต้นช่วยฝนไพล มาลูบไล้แผลที่มันตีรัน”
บทวิเคราะห์ นางวันทองพาพลายงามมาฝากไว้กับขรัวนาก ที่วัดเขา พลายงามได้รับคการดูแล จากบรรดาพระ เณร และศิษย์วัดอย่างดี
3.4 “นางกอดจูบลูบหลังแล้วสั่งสอน อำนวยพรพลายน้อยละห้อยไห้
พ่อไปดีศรีสวัสดิกำจัดภัย จนเติบใหญ่ยิ่งยวดได้บวชเรียน
ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน
แล้วพาลูกออกมาข้างท่าเกวียน จะจากเจียนใจขาดอนาถใจ”
* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
4
บทวิเคราะห์ จากตอนที่พลายงามจะออกเดินทางไปหาย่าทองประศรีที่กาญจนบุรี ได้สั่งสอนพลายงามเป็นครั้งสุดท้าย
4. ความซื่อสัตย์
4.1 “บีบจมูกจุกปากลากกระแทก เสียงแอ๊กแอ๊กอ่อนซบสลบไสล
พอผีพรายนายขุนแผนผู้แว่นไว เข้ากอดไว้มิให้ถูกลูกของนาย…
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
…ฝ่ายผีพรายนายขุนแผนแค้นขุนช้าง อุตส่าห์ง้างขอนใหญ่ให้เขยื้อน
แล้วเป่าแก้แผลหายละลายเลือน เจ้าพลายเคลื่อนคลายฟื้นเหมือนตื่นนอน”
บทวิเคราะห์ จากตอนที่พลายงามถูกขุนช้างทำร้ายจนใกล้จะเสียชีวิต ในเวลานั้นโหงพรายบ่าวขุนแผนได้เข้ามาช่วยพลายงามจนทำให้รอดชีวิตในที่สุด ซึ่งโหงพรายได้ทำหน้าที่ที่ตนได้รับมอบจากขุนแผนอย่างเต็มที่
4.2 “เจ้าพลายงามถามแจ้งแล้วแกล้งว่า เอ็งช่วยพาเราไปชมมะยมหวาน
จะขึ้นลักหักห่อให้พอการ มาสู่ท่านทั้งสิ้นกินด้วยกัน”
บทวิเคราะห์ กล่าวในมุมกลับ จากตอนที่พลายงามเดินทางไปถึงเมืองกาญจนบุรี ถามได้ความจาก เด็กเลี้ยงควายถึงตำแหน่งของบ้านย่าทองประศรี จึงออกอุบายให้เด็กเลี้ยงความพาไป โดยแลกเปลี่ยน กับการจะขโมยมะยมมาตอบแทน
5. ความมีสัจจะ
5.1 “ประหลาดลางหมางจิตรคิดคะนึง รำลึกถึงลูกชายเจ้าพลายงาม
ลุกออกมาหาจบไม่พบเห็น ที่เคยเล่นอยู่กับใครเที่ยวไต่ถาม
แต่อีดูกลูกครอกมันบอกความ ว่าเห็นตามพ่อขุนช้างไปกลางไพร
นางแคลงผัวกลัวจะพาไปฆ่าเสีย น้ำตาเรี่ยเรี่ยตกซกซกไหล”
บทวิเคราะห์ จากตอนที่นางวันทองตามหาพลายงาม แล้วได้สอบถามอีดูกบ่าวในเรือน ซึ่งแม้ขุนช้างเป็นนายเรือนมีอำนาจอิทธิพล แต่อีดูกก็ไม่เกรงกลัว กล่าวบอกไปตามความสัจจริง
5.2 “ฝ่ายขุนช้างครางเคราอ้ายเจ้าเล่ห์ เมาโมเยยิ้มกริ่มอยู่ริมฝา
เสียงวันทองร้องไห้จุดไฟมา ส่องดูหน้านั่งเคียงบนเตียงนอน
ทำไถลไถ่ถามเป็นความหยอก ฤๅหนามยอกเจ็บป่วยจะช่วยถอน
พลางรับขวัญวันทองร้องละคร เจ้าทุกข์ร้อนรำคาญประการใด ฯ
…ขุนช้างฟังช่างแก้อีแม่เจ้า ข้าเมาเหล้าหลับซบสลบไสล
ใครบอกเจ้าเล่าว่าข้าพาไป หล่อนไม่ได้ตามข้าผ่าเถิดซิ
เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีปิ
* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมิ ว่าแล้วสิอย่าให้ลงไปดิน
5
ลูกปะหล่ำกำไลใส่ออกกลบ ฉวยว่าพบคนร้ายอ้ายคอฝิ่น
มันจะทุบยุบยับเหมือนกับริ้น ง้างกำไลไปกินเสียแล้วกรรม”
บทวิเคราะห์ กล่าวในมุมกลับ เมื่อนางวันทองกลับมาจากวัดเขาก็แสร้งทำเป็นตามหาลูกไม่พบ ฝ่ายขุนช้างก็แสร้งทำเป็นไม่รู้เรื่องว่าเกิดเหตุการณ์อะไรกับพลายงาม ทั้งยังเข้ามาแสแสร้งถามนางวันทอง ว่าเสียใจด้วยเหตุใด ทั้งยังโกหกว่าไม่ได้พาพลายงามไปในป่าแสดงให้เห็นถึงการไม่มีสัจจะของขุนช้าง
6. ความกล้าหาญ
6.1 “พ่อของเจ้านั้นฤๅชื่อขุนแผน เป็นคนแค้นกับขุนช้างแต่ปางหลัง
เอาทุกข์ร้อนก่อนเก่าเล่าให้ฟัง เดี๋ยวนี้ยังอยู่ในคุกเป็นทุกข์ทน
จึงจนใจไม่มีที่จะพึ่ง มันทำถึงสาหัสก็ขัดสน
ครั้นจะฟ้องร้องเล่าเราก็จน แม้นไม่พ้นมือมันจะอันตราย”
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
บทวิเคราะห์ กล่าวในมุมกลับ แม้ว่านางวันทองจะทราบว่าผู้ที่ทำร้ายพลายงามคือขุนช้าง แต่นางก็เกรงกลัวอิทธิพลของขุนช้าง ขาดความกล้าหาญที่จะปกป้องลูก
6.2 “เจ้าพลายงามถามซักตระหนักแน่ พลางบอกแม่ลูกแสนแค้นหนักหนา
อ้ายคนนี้มิใช่พ่อจะขอลา ไปหาย่าอยู่บ้านกาญจน์บุรี”
บทวิเคราะห์ จากตอนที่นางวันทองแนะนำว่าทางที่จะรอดพ้นจากขุนช้างได้ คงต้องเดินทางไปหาย่าทองประศรีที่จังหวัดกาญจนบุรี แม้การเดินทางจะยากลำบาก และต้องเดินทางโดยลำพัง แต่พลายงาม ก็ตัดสินใจที่จะเดินทางไปหาย่า
7. ความรอบคอบ
7.1 “จนจวนค่ำน้ำค้างลงพร่างพราย ปลอบลูกชายพลายน้อยเสนหา
อ้ายศัตรูรู้ความจะตามมา แม่จะพาเจ้าไปฝากขรัวนากไว้
แล้วพากันดั้นดัดไปวัดเขา เห็นสมภารคลานเข้าไปกราบไหว้
แล้วเล่าความตามจริงทุกสิ่งไป เจ้าคุณได้โปรดด้วยช่วยธุระ”
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
บทวิเคราะห์ จากตอนที่นางวันทองไปพบพลายงามที่กลางป่า พลายงามได้ตัดสินใจจะเดินทางไปหาย่าทองประศรีที่จังหวัดกาญจนบุรี แต่ ณ เวลานั้นเป็นเวลาเย็นการเดินทางเป็นเรื่องยากลำบาก อีกทั้ง ไม่สามารถนำพลสายงามกลับไปที่เรือนขุนช้างได้อีก นางวันทองจึงตัดสินใจพาพลายงามไปฝากไว้กับขรัวนาก ที่วัดเขา
7.2 “นวลนางวันทองค่อยย่องย่าง เห็นขุนช้างหลับสมอารมณ์หมาย
สะอื้นอั้นพันผูกถึงลูกชาย จนพลัดพรายเพราะผัวเป็นตัวมาร
จึงเย็บไถ้ใส่ขนมกับส้มลิ้ม ทั้งแช่อิ่มจันอับลูกพลับหวาน
* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
แหวนราคาห้าชั่งทองบางตะพาน ล้วนต้องการเก็บใส่ในไถ้น้อย
6
ไปอยู่บ้านท่านย่าจะหายาก เมื่ออดอยากอย่างไรได้ใช้สอย
แล้วนั่งนึกตรึกตราน้ำตาย้อย รำคาญคอยสุริยาจะคลาไคล ฯ”
บทวิเคราะห์ จากตอนที่นางวันทองกลับไปเรือนขุนช้างเพื่อไม่ให้ขุนช้างเกิดความสงสัย และเมื่อ ขุนช้างหลับไปด้วยความเมา นางจึงได้ลุกขึ้นมาเตรียมสัมภาระในการเดินทางให้กับพลายงาม ทั้งของกิน ของใช้ และของมีค่า เผื่อไปอยู่ที่กาญจนบุรีแล้วมีความจำเป็นจะได้นำสิ่งมีค่าเหล่านั้นมาใช้
7.3 “ให้ขนมส้มสูกแก่ลูกรัก สงสารนักจะร้างไปห่างแม่
หนทางบ้านกาญจน์บุรีตรงนี้แล จำให้แน่นะอย่าหลงเที่ยววงเวียน
อุตส่าห์ไปให้ถึงเหมือนหนึ่งว่า ให้คุณย่าเป็นอาจารย์สอนอ่านเขียน
จงหมายมุ่งทุ่งกว้างตามทางเกวียน ที่โล่งเลี่ยนลัดไปในไพรวัน”
บทวิเคราะห์ จากตอนที่นางวันทองเตรียมสัมภาระในการเดินทางมาให้พลายงามที่วัดเขา เมื่อถึงเวลาเดินทางจึงกำชับให้พลายงามเดินทางตามทางเกวียน ซึ่งเป็นเครื่องสังเกตได้ว่ามีคนผ่านไปผ่านมา และจะไม่หลงทาง
8. ความรับผิดชอบ
8.1 “พวกเด็กเด็กดีใจไปสิหวา ซ่อนข้าวปลาปล่อยควายแล้วผายผัน
บ้างเหน็บหน้าผ้านุ่งเกี้ยวพุงพัน หัวเราะกันกูจะห่อให้พอแรง
พอถึงบ้านท่านยายทองประศรี พวกเด็กชี้เรือนให้แล้วแอบแฝง
เจ้าพลายงามขามจิตรยังคิดแคลง ค่อยลัดแลงเล็งแลมาแต่ไกล”
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
บทวิเคราะห์ กล่าวในมุมกลับ จากตอนที่พลายงามออกอุบายอาสาเก็บมะยม บรรดาพวกเด็กเลี้ยงควายต่างนึกถึงแต่ความสุนกจนละทิ้งหน้าที่ในการดูแลควายของพวกตน
จากศึกษาวิเคราะห์ภาพสะท้อนจริยธรรมที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม จากหนังสือแบบเรียนวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการศึกษาพบว่า จากเรื่องดังกล่าวปรากฏภาพสะท้อนจริยธรรมจำนวน 8 ประเด็น ดังนี้
1. ความอดทด 1 เหตุการณ์
2. ความกตัญญู 3 เหตุการณ์
3. ความเมตตา 4 เหตุการณ์
4. ความซื่อสัตย์ 2 เหตุการณ์
5. ความมีสัจจะ 2 เหตุการณ์
6. ความกล้าหาญ 2 เหตุการณ์
7. ความรอบคอบ 3 เหตุการณ์
* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
8. ความรับผิดชอบ 1 เหตุการณ์
7
จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นได้ว่าแม้ว่าวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม จะมีความยาวไม่มาก แต่ผู้แต่งสามารถสอดแทรกจริยธรรมต่าง ๆ ไว้ในเนื้อหาได้หลากหลายประเด็นและในแต่ละประเด็นล้วนเป็นจริยธรรมที่มีความสำคัญต่อการนำมาใช้เป็นหลักในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างยิ่ง
8
ผู้เขียนหวังว่าเป็นอย่างยิ่งว่าประโยชน์จากการอ่านบทความนี้คงจะมิใช่เพียงแต่ให้ท่านได้ทราบจริยธรรมในเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนินพลายงามที่วิเคราะห์ไว้ให้ท่านได้ศึกษาแล้วเพียงเท่านั้น แต่ผู้เขียนหวังใจเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ฝากประเด็นการศึกษาภาพสะท้อนจริยธรรมผ่านการอ่านงานวรรณกรรม ในครั้งต่อๆไปของท่าน หากเพราะประเด็นเหล่านี้จะคงมีประโยชน์ต่อกระบวนการศึกษาวรรณกรรม ในอีกแง่มุมหนึ่ง สำคัญที่สุดคือการนำจริยธรรมที่ปรากฏในงานวรรมกรรมไปปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และพัฒนาตนให้ดีขึ้นต่อไป
เอกสารอ้างอิง
กุหลาบ มัลลิกะมาส. 2522. วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เจตนา นาควัชระ. 2520. วรรณคดีวิจารณ์และวรรณคดีศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
นิรนาม. เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. เล่ม 1. 2544. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2544). วรรณคดีศึกษา. กรุงเทพฯ: ธารปัญญา.
ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร. 2517. คุณค่าเชิงวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน.
วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์