การวิเคราะห์ที่มา แนวคิด และเนื้อหา ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัย ชุด INVISIBLE MEMORY

จากประสบการณ์ตั้งแต่วัยเยาว์ของผู้เขียน ที่ได้มีโอกาสรับชมละครทีวีซึ่งถูกเขียนบทและเรียบเรียงขึ้นใหม่จากนวนิยายเรื่อง “สี่แผ่นดิน” ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งมีเนื้อหาอิงประวัติศาสตร์ไทยในช่วงรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 8 เมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการจากบทความและผลงานวิจัยที่มุ่งศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมวัฒนธรรม และการเมืองของไทยร่วมสมัยที่น่าสนใจ กล่าวคือนวนิยายเรื่องนี้ มิใช่เพียงเป็นการกล่าวถึงความทรงจำของผู้เขียนและอธิบายความสัมพันธ์ตามที่เป็นจริงในช่วงรัชสมัย ร.5-ร.8 เพียงอย่างเดียว หากพิจารณาจากช่วงเวลาในการเขียนและตีพิมพ์ในระหว่าง พ.ศ.2494 – 2495 นั้นเป็นช่วงเดียวกับที่มีการนำเอารัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2475 กลับมาใช้ใหม่ โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ถูกลดบทบาททางการเมืองไปด้วย จึงเป็นไปได้ว่าผู้เขียนสี่แผ่นดินมุ่งจะสร้างอุดมคติใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรขึ้น เพื่อให้เหมาะยุคสมัยภายใต้ระบอบประชาธิปไตย เมื่อพระมหากษัตริย์หมดสิ้นพระราชภาระในการบริหารปกครองบ้านเมืองแล้ว         (นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2562)

ผู้เขียนได้ศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่ส่งอิทธิพลต่อประสบการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม และการเมืองของคนไทย จากการดำเนินเรื่องที่มุ่งสร้างการถวิลหาอดีต และชี้ให้เห็นถึงสังคมที่เสื่อมลงหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ผ่านชีวิตของตัวละครเอก ซึ่งเป็นหญิง    ชนชั้นสูงที่เติบโตและมีชีวิตที่สวยงามในระบอบเก่า แต่ชีวิตเผชิญความพลัดพรากและความโศกเศร้าหลังจากการปฏิวัติ ครอบครัวที่สงบสุขก็เผชิญกับปัญหา การเมืองสับสนวุ่นวาย เกิดภาวะสงคราม และปิดเรื่องด้วยนางเอกเสียชีวิตเพราะการสูญเสียพระมหากษัตริย์ นวนิยายเรื่องนี้ได้ถูกผลิตซ้ำ อย่างต่อเนื่องยาวนานผ่านภาพยนตร์ ละครทีวี จนถึงละครเพลง จนสามารถครอบงำความรู้สึกนึกคิดของคนไทยจำนวนมากจนกระทั่งปัจจุบัน (ณัฐพล ใจจริง, 2556 : 61) นวนิยายเรื่องนี้จึงเป็นมากกว่า นวนิยายเกี่ยวกับชีวิตชาววังสมัยก่อน แต่เป็นนวนิยายที่สร้างความจริงอันใหม่ขึ้นใน “สามัญสำนึก” ของคนไทยทั่วไปผ่านเรื่องเล่าที่มีมาอย่างยาวนาน (นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2562)

ผู้เขียนสนใจนวนิยายเรื่อง “สี่แผ่นดิน” ที่ถูกผลิตซ้ำในแบบฉบับละครเวทีในชื่อ “สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล” ซึ่งถูกจัดแสดงครั้งแรกในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง 100 ปี ชาตกาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และเป็นส่วนหนึ่งของผลงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 จากนั้นมีกี่จัดแสดงขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่มีสถานการณ์ทางการเมืองที่เข้มข้น และครั้งสุดท้ายในปี 2560 ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพียง 1 ปี นอกจากนั้นยังมีการผลิตสร้างในรูปแบบละครโทรทัศน์อีกหลายครั้ง

ผลงานชื่อ “Obedience” เป็นผลงานชิ้นแรกในชุดนี้………….

อ่านบทความฉบับเต็มได้ผ่านลิ้งค์นี้ การวิเคราะห์ที่มา แนวคิด และเนื้อหาผลงานจิตรกรรมร่วมสมัย ชุด INVISBLE MEMORY.pdf