การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (MMWBI) วิชาวรรณกรรมการละคร Development of Multimedia Web-Based Instruction (MMWBI) : Dramatic Literature

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา หาประสิทธิภาพ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ก่อนเรียน และหลังเรียน และหาความพึงพอใจของอาจารย์ผู้สอน กับผู้เรียนที่ผ่านการเรียน ด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาระบบปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 2 ระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต  แขนงวิชานาฏศิลป์ศึกษา สาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลาก ใช้หมู่เรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจากการจัดชั้นเรียนที่มีผู้เรียน เก่ง ปานกลาง และอ่อน คละกัน เพื่อเป็นกลุ่มทดลองเรียนด้วยเว็บช่วยสอนแบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย เว็บช่วยสอน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย รายวิชาวรรณกรรมการละคร โดยผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนประกอบด้วยบทเรียนทั้งหมด 4 บทเรียน 2) วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาวรรณกรรมการละคร โดยได้นำเครื่องมือไปทดสอบประสิทธิภาพผลปรากฏว่าบทเรียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพที่ 85.20/85.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย รายวิชาวรรณกรรมการละคร  พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย รายวิชาวรรณกรรมการละคร ซึ่งอยู่ในระดับดี ( x =4.03 , SD=0.13) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้

 

Abstract

          The objectives of this research were to develop a Multimedia Web Based Instruction (MMWBI) on Dramatic Literature, to find the efficiency of the developed MMWBI, to compare the learning effectiveness of students before and after studying the developed MMWBI, and to find the satisfactory of students after studying.

          The purposive sample was 50 Bachelor degree students from Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University who had participated in learning course in the academic year 2013. The research tools consisted of MMWBI, and questionnaires.

          The result found that the efficiency of the developed MMWBI was 85.20/85.50 which was higher than the criterion at 85/85, the learning effectiveness of student was significant at .05 level, and the satisfactory of teachers and students was good. In conclusion, this can be used the developed MMWBI properly.

 

ความสำคัญและความสำคัญของปัญหา

         ในยุคปัจจุบันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทและความสำคัญอย่างมาก ส่งผลต่อสภาพสังคมที่จะต้องเตรียมคนให้เผชิญกับยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะด้านการศึกษา เหตุที่เทคโนโลยีสารสนเทศหรือ Information Technology เข้ามามีบทบาทมายมายเช่นนี้เพราะเป็นเสมือนเครื่องจักรที่ขับดันให้ทุกสิ่งทุกอย่างก้าวไปอย่างรวดเร็ว ในขณะนี้คอมพิวเตอร์ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาในปัจจุบันนี้ก็เพราะว่าคอมพิวเตอร์สามารถที่จะช่วยในการเรียนรู้เรื่องต่างๆ มากมาย ได้ทั่วทุกมุมโลก เนื่องจากได้มีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่จึงมีการพัฒนาในการเรียนการสอนแบบอิสระ โดยที่ผู้เรียนไม่ต้องมาเข้าเรียนในห้องเรียนเหมือนเดิม

            ในด้านการศึกษานั้น (ครรชิต มาลัยวงศ์,2540 : 39-47) กล่าวถึงบทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาว่าสามารถนำเทคโนโลยีสารเทศมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาในลักษณะต่างๆ ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ CAI ระบบสื่อประสม (Multimedia) ระบบสารสนเทศ (Information System) ระบบฐานข้อมูล (Database System) ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) หรือ AI และระบบอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น จากผลกระทบของความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลให้รูปแบบหรือวิธีการจัดการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปจากการศึกษารูปแบบเดิมที่ยึดครูผู้สอนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ไปเป็นการจัดการศึกษาในลักษณะเป็นระบบเปิดมากขึ้น ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต เน้นการศึกษาเป็นรายบุคคล เน้นเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เน้นคุณธรรมจริยธรรม ส่งเสริมนันทนาการและการพักผ่อนหย่อนใจมากขึ้น

            คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสอนจะทำให้การเรียนการสอนมีการโต้ตอบกันได้ระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับการสอนระหว่างครูกับนักเรียนที่อยู่ในห้องเรียนปกติ นอกเหนือจากนี้คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในการตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้าไปในทันทีทันใด ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมแรงให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

            คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า CAI นั้นหมายถึงการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน การทบทวน การทำแบบฝึกหัด หรือการวัดผลประเมินผลทางการเรียนโดยมีการโต้ตอบกันตลอดเวลาระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ จึงกล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นเครื่องช่วยสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยกัน องค์ประกอบที่ทำให้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นอยู่ที่โปรกรม (Software) ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามคำสั่งของผู้ใช้โดยที่ผู้สอนและผู้เขียนโปรแกรมเป็นผู้พิจารณาควรผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะใด จึงจะทำให้เกิดกระบวนกาเรียนรู้ที่สมบูรณ์ เมื่อผู้เรียนมีปัญหาไม่เข้าใจบทเรียนผู้เรียนก็สามารถกลับไปเรียนตรงจุดที่ผู้เรียนไม่เข้าใจได้ทันที หรือถ้าตอบถูกทำกิจกรรมได้ถูกต้องคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะรายงานผลให้ทราบทันที ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนและสนใจมากขึ้น

            (มนต์ชัย, 2545:72) เนื่องจาก WBI สามารถจักกระบวนการเรียนรู้ให้กับนิสิตนักศึกษาที่มีถิ่นฐานกระจัดกระจายตามจุดต่างๆ ทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัด ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้ให้ทัดเทียมกัน และสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ร่วมกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่มีความสะดวดรวดเร็วและคล่องตัว นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคมการเรียนรู้ให้กว้างไกลขึ้น เนื่องจากได้มีการเรียนการสอนแบบ WBI อยู่เป็นจำนวนมากจึงได้ประยุกต์ใช้ให้เกิดการเรียนการสอนที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้นและได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในระบบมัลติมีเดียบน WBI หรือเรียกกันว่า MMEBI (Multimedia Web Base Instruction) เพื่อสร้างการเรียนรู้แบบออนไลน์โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต (Internet) หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วีดีโอ และมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังนิสิตนักศึกษาผ่าน Web Browser โดยนิสิตนักศึกษา ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย

            ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นระบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยมีสภาวะแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) และการเรียนรู้ที่เน้นนิสิตนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง (Child Center Learning) นิสิตนักศึกษาเป็นคิด ตัดสินใจเรียน เสริมสร้างความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ ด้วยตนเอง สามารถเชื่องโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบคลุมการเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการเรียนทางไกล และการเรียนผ่านเครือข่ายระบบต่างๆ

            จากสภาพปัญหาและเหตุผลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (MMWBI) วิชาวรรณกรรมการละคร หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต แขนงวิชานาฏศิลป์ศึกษา สาขาศิลปกรรมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้าสมาเด็จเจ้าพระยา โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งรายวิชา สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนตรงตามหลักสูตร โดยนำเนื้อหารายวิชา 1007235 วรรณกรรมการละคร มาสร้างเป็นเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (MMWBI) ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกระบวนการเรียนกานสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับการประเมินคุณภาพเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (MMWBI) จะต้องถูกประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 2 กลุ่ม คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาวิชาวรรณกรรมการละคร และผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคการจัดทำเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (MMWBI)

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

    1. เพื่อพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาวรรณกรรมการละคร

      2. เพื่อหาประสิทธิภาพเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาวรรณกรรมการละคร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85

      3. เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาวรรณกรรมการละคร

      4. เพื่อหาค่าความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาวรรณกรรมการละคร

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

     1. ได้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาวรรณกรรมการละคร ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน แขนงวิชานาฏศิลป์ศึกษา สาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และสถาบันอื่นๆ ที่มีขอบเขตเนื้อหาตามหลักสูตรคล้ายคลึงกับเนื้อหาของเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สร้างขึ้น

       2. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยการใช้เทคโนโลยี เป็นการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล

       3. สามารถแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในโอกาสทางการศึกษาได้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่มีโอกาสได้ศึกษาในสถาบันการศึกษาได้ตามปกติสามารถนำเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่สร้างขึ้นไปเรียนรู้ด้วยตนเองได้

       4. เป็นแนวทางการสร้างโปรแกรมเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในรายวิชาอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นการสอน ทั้งรายวิชาตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในวงการศึกษาของไทยให้แพร่หลาย และมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น

 

ขอบเขตของงานวิจัย

    1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

            1.1 ประชากร

          ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้เรียนระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต  แขนงวิชานาฏศิลป์ศึกษา สาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

               1.2  กลุ่มตัวอย่าง

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้จากกลุ่มผู้เรียนระดับชั้นปีที่ 2 ระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต  แขนงวิชานาฏศิลป์ศึกษา สาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลาก ใช้หมู่เรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจากการจัดชั้นเรียนที่มีผู้เรียน เก่ง ปานกลาง และอ่อน คละกัน

      2. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้

               2.1 ตัวแปรที่ 1

          ตัวแปรต้น  คือ เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาวรรณกรรมการละคร      

               2.2 ตัวแปรที่ 2 

          ตัวแปรตาม คือ

                         2.2.1 ประสิทธิภาพเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาวรรณกรรมการละคร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85

                         2.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาวรรณกรรมการละคร

                         2.2.3 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาวรรณกรรมการละคร

       3. ขอบเขตเนื้อหาของบทเรียนที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้

               รายวิชา 1007235 วรรณกรรมการละคร (Dramatic Literature) ระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต  แขนงวิชานาฏศิลป์ศึกษา สาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้

               ตอนที่ 1 ความหมายของวรรณกรรมและวรรณคดี

               ตอนที่ 2 วรรณคดีสำหรับการแสดง

               ตอนที่ 3 วิเคราะห์โครงเรื่องและตัวละคร

               ตอนที่ 4 การตีความบทละคร

 

วิธีดำเนินการวิจัย

          การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อหาประสิทธิ์ภาพของเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย ของผู้เรียนชั้นปีที่ 2 ระดับปริญญาตรี แขนงวิชานาฏศิลป์ศึกษา สาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวิธีการดำเนินงานวิจัยดังนี้

              3.1  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

              3.2  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

              3.3  วิธีสร้างเครื่องมือในการวิจัย

              3.4  วิธีการดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล

              3.5 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน

              3.6  การวิเคราะห์ข้อมูล

              3.7  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

 

สรุปผลการวิจัย

            ผลการวิจัยสรุปว่า การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

(MMWBI) วิชาวรรณกรรมการละคร สรุปผลได้ดังนี้

1. ผลการพัฒนาบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียรายวิชาวรรณกรรมการละครได้บทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ทั้งหมด 4บทเรียนประกอบด้วย

ตอนที่ 1 ความหมายของวรรณกรรมและวรรณคดี 

ตอนที่ 2 วรรณคดีสำหรับการแสดง

ตอนที่ 3 วิเคราะห์โครงเรื่องและตัวละคร

ตอนที่ 4 การตีความบทละคร

        ซึ่งบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมานั้น ได้ออกแบบบทเรียนตามขั้นตอนต่างๆ ทั้งการสร้างข้อความ ภาพเคลื่อนไหว และสามารถตรวจคำตอบได้จากบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมาได้

            2. การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียรายวิชาวรรณกรรมการละครโดยได้นำเครื่องมือไปทดลองและได้ทดสอบประสิทธิภาพผลปรากฏว่า 85.20/85.50อยู่ในเกณฑ์สมมติฐานที่ตั้งไว้คือ 85/85โดยที่คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนจะมีค่าคะแนนสูงกว่าระหว่างเรียน เนื่องจากว่าในระหว่างที่เรียนนั้นผู้เรียนได้ทบทวนและยังสามารถจำเนื้อหาของบทเรียนได้ จึงสามารถทำแบบทดสอบหลังได้คะแนนสูง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานตามที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้

            3. การวิเคราะห์หาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียน และหลังเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียรายวิชาวรรณกรรมการละครผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียรายวิชาวรรณกรรมการละครมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 37.25และมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 42.78 ซึ่งผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียรายวิชาวรรณกรรมการละครมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานตามที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้

            4. ผลการหาความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญและผู้เรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียรายวิชาวรรณกรรมการละครในแต่ละด้าน ได้แก่ด้านเทคนิคและวิธีการ และด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง ทั้ง 2ด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานตามที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้

 

การอภิปรายผล

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสามารถอภิปรายผลการวิจัยได้ดั้งนี้

        1. ผลการหาประสิทธิภาพ ผลปรากฏว่าประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยคิดจากคะแนนเฉลี่ยร้อยละของการทำแบบทดสอบระหว่างเรียนด้วยบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียE1 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนด้วยบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียE2 ที่ผู้เรียนคือผู้เรียนจำนวน 40 คน ทำคะแนนมีค่าเท่ากับ 85.20/85.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 85/85 และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้นั้นก็เพราะว่าในการพัฒนาบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย ได้ผ่านการตรวจสอบจากอาจารย์ผู้สอนเนื้อหารายวิชาวรรณกรรมการละครและประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทุกท่านอยู่ในระดับดี และข้อสอบได้ผ่านการวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบแล้วจึงได้บทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ การทำแบบทดสอบระหว่างเรียนเมื่อเรียนจบในแต่ละบทเรียน ทำให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้ที่เรียนผ่านมาแล้วเป็นการย้ำเตือนความจำและความเข้าใจในบทเรียนในขณะที่การเรียนด้วยบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย ผู้เรียนจะต้องเรียนทุกบทเรียนก่อนแล้วจึงสามารถมาทำแบบแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนได้ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ กำชัย ทบบัณฑิตเรื่อง การพัฒนาหาประสิทธิภาพและหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียน WBI รายวิชาการตลาดเกษตรและสหกรณ์การเกษตรโดยใช้เทคนิคเพื่อนร่วมคิดบนระบบ ATutor LMS มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา หาประสิทธิภาพ และหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของบทเรียน WBI รายวิชาการตลาดเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (5002602) โดยใช้เทคนิคเพื่อน ร่วมคิด บนระบบ ATutor LMS กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน จับกลุ่ม 15 คู่ ๆ ละ 2 คนเมื่อปีการศึกษาที่ 2/2551 โดยใช้เทคนิคเพื่อนร่วมคิดในการเรียน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยบทเรียน WBI แบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน รวมทั้ง แบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และด้านเทคนิควิธีการ ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 86.81/86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 85/85 ที่ตั้งสมมติฐานไว้ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของผู้เรียน โดยใช้การทดสอบค่าทีแบบจับคู่ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ .05 สรุปได้ว่าบทเรียน WBI รายวิชาการตลาดเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (5002602) โดยใช้เทคนิคเพื่อนร่วมคิด บนระบบ ATutor LMS สามารถนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายได้ อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับ เยาวลักษณ์ พรมศรี เรื่อง การ พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนรู้ร่วม กันโดยใช้เทคนิคปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคจิกซอว์เรื่อง อินเทอร์เน็ตเบื้องต้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิคการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ เรื่อง อินเทอร์เน็ต เบื้องต้นที่สร้างขึ้นและเพื่อหาความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนที่ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิคการใช้ปัญหาเป็น ฐานร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบระหว่างบทเรียนและแบบทดสอบหลัง เรียน แบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และด้านเทคนิควิธีการ ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิคการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค จิกซอว์ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 81.04/80.17 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งสมมติฐานไว้ และความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ 35.29 สรุปได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิคการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพดี สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนได้ และส่งเสริมให้ ผู้เรียนทำงานร่วมกัน โดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพากัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด

       2. ผลการวิเคราะห์หาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียรายวิชาวรรณกรรมการละครหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจะเห็นว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน(Posttest) มีค่าเท่ากับ 42.78สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 37.25 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียรายวิชาวรรณกรรมการละครทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ของพรรณทิพย์ วชีรสุต เรื่อง การ พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเว็บ วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพ เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตสืบค้นข้อมูลเพื่อพัฒนางานอาชีพ ด้วยวิธีการสอนแบบฝึกปฏิบัติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหาประสิทธิภาพของบทเรียน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษา และประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนผ่านเว็บ วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพ เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตสืบค้นข้อมูลเพื่อพัฒนา งานอาชีพ ด้วยวิธีการสอนแบบฝึกปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาการตลาด วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนผ่านเว็บ ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหา วีดิโอสาธิต และแบบฝึกปฏิบัติ 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน 3)แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาของบทเรียน 4)แบบประเมินคุณภาพด้านเทคนิค การผลิตสื่อบทเรียน และ 5)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเว็บ วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพ เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตสืบค้นข้อมูลเพื่อพัฒนางานอาชีพ ด้วยวิธีการสอนแบบฝึกปฏิบัติ ที่ผู้วิจัย พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.83/84.19 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งสมมติฐานไว้ และเมื่อนำคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียนมาวิเคราะห์เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อบทเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 อยู่ในระดับมาก

       3. ผลการหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียรายวิชาวรรณกรรมการละครในแต่ละด้านโดยมีผลการประเมินดังนี้

       ความพึงพอใจของผู้เรียนมีคะแนนความพึงพอใจในระดับดี เนื่องจากผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย รายวิชาวรรณกรรมการละครมีสีสันสดใส มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว ทำให้ผู้เรียนเกิดความชอบและความสนใจต่อบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (ค่าเฉลี่ย 4.03 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.13)ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของวันเพ็ญ ทองแดง เรื่อง การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรื่องและความพึงพอใจในการเขียนเรื่อง ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานกับการเรียนรู้แบบปกติมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรื่อง และความ พึงพอใจในการเขียนเรื่องของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานกับการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนในเขตอำเภอบางไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 เลือกมาจากห้องเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์และสภาพแวดล้อมไม่ต่างกัน จับฉลากเพื่อเลือกกลุ่มทดลอง ห้องเรียนแรกเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการเรียนรู้ โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน คือ โรงเรียนวัดแก้ว (ประโชติวิทยาภรณ์) จำนวน 22 คน และห้องเรียนที่สองเป็นกลุ่มควบคุม ที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติ คือ โรงเรียนวัดทางยาว จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการเรียนรู้การเขียนเรื่องโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน แผนการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบความสามารถในการเขียนเรื่อง และแบบทดสอบวัดความพึงพอใจในการเขียน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 20 ชั่วโมง โดยใช้แผนแบบการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ที่ไม่เท่าเทียมกันสอบก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมหลายตัวแปร (MANCOVA) ซึ่งใช้ความฉลาดทางอารมณ์ก่อนทดลองเป็น ตัวแปรร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการเขียนเรื่อง ของกลุ่มที่เรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานกับกลุ่มที่เรียนรู้แบบปกติ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มที่เรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่เรียนรู้แบบปกติ 2. ความพึงพอใจในการเขียนเรื่องของกลุ่มที่เรียนรู้ โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานกับกลุ่มที่เรียนรู้แบบปกติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มที่เรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่เรียนรู้แบบปกติ

                 จึงสรุปได้ว่าบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียรายวิชาวรรณกรรมการละครที่สร้างขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนในรายวิชาวรรณกรรมการละครสำหรับผู้เรียนชั้นปีที่ 2 ระดับปริญญาตรี แขนงวิชานาฏศิลป์ศึกษา สาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ข้อเสนอแนะ

       1. การนำระบบและรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนบนเครือข่ายไปใช้งาน ควรพิจารณาความพร้อมด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การติดต่อกับเครือข่าย ถ้าหากยังไม่พร้อมก็ควรใช้การเรียนการสอนบทเรียนบนเครือข่ายร่วมกับสื่อประสมประเภทอื่นๆที่เหมาะสมกับเนื้อหา

       2. ควรมีการสำรวจ และแนะนำการใช้บทเรียนบนเครือข่ายแก่ผู้เรียนให้เข้าใจอย่างละเอียดก่อน เพื่อให้ผู้เรียนทราบวิธีการใช้งานที่ถูกต้องซึ่งจะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียน และช่วยให้สามารถเรียนรู้รวดเร็วและได้ผลดียิ่งขึ้น

       3. ควรออกแบบให้ตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง และภาพเคลื่อนไหวให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกัน เพราะถ้าบทเรียนประกอบด้วยภาพกราฟิก เสียง และภาพเคลื่อนไหวมากเกินไปจะทำให้การเข้าสู่บทเรียนบนเครือข่ายต้องใช้เวลานาน และทำให้การโหลดข้อมูลช้า

       4. ควรศึกษาวิธีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำมาออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2517). วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2540). ทัศนะไอที. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แห่งชาติ,

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2546). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์และบทเรียนบนเครือข่าย. มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปัทมน รักสนอง. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อวิชาภาษาไทย ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้เทคนิคการจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพกับการสอนตาม

คู่มือครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). พระนครศรีอยุธยา

: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. ถ่ายเอกสาร.

พรรณทิพย์ วชีรสุต (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเว็บ วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพ เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตสืบค้นข้อมูลเพื่อพัฒนางานอาชีพ ด้วยวิธีการสอนแบบฝึกปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พิชัย ศรีใส. (2534). ความพึงพอใจในการทำงานของครูวิชาการงานและอาชีพโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 3 . วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

(การบริหารการศึกษา). สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). e-Learning : Learning Solutions for the Next Education ตอนที่ 1.

กรุงเทพฯ : พัฒนาเทคนิคศึกษา.

ศึกษา.  กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ราตรี พลวุฒิ. (2546). การสร้างแบบวัดภาคปฎิบัติกิจกรรมนาฏศิลป์ กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รักพงษ์ วงษ์ธานี. (2546). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคงทนในการเรียนและความพึงพอใจ โดยการใช้โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวิธีเรียนต่างกัน.

วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสาคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิชิต ชาวะหา. (2549). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายเรื่องแนวคิด พัฒนาการ ICT กับการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนิสิตระดับปริญญาโท หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. (2521). สรุปผลการสัมมนาวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ.

สิทธา พินิจภูวดล และคณะ. (2515). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อมรา กล่ำเจริญ. (2535) .วิธีการสอนนาฎศิลป์.กรุงเทพฯ:โอเดียร์สโตร์.

เอื้อมพร เนาว์เย็นผล และคณะ.(2544).สุนทรียภาพของชีวิต. กรุงเทพฯ:ศูนย์เอกสารและตำรา

Gilmer, Von Haller B. (2008). Industrial and Organization Psychology. New York : Mc

Graw-Hill,

Hornby, A. F. (2009). Advance learner’s dictionary (6th ed.). London, England: Oxford
            University.

Joseph mersand. (1973). Dramas of American Realism 1 edition – first published

Price, J.,and Mueller, C. (2009). Absenteeism and turnover of hospital employee.

Greenwich; CT: LAI Press.

Quirk, R. (2008). Longman dictionary of contemporary English (2nd ed.). London,

England: Richard Clay Ltd.