การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวจากอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ของอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
Tourism potential development to increase the tourism value from the ethnic identity of U-Thong District, Suphan Buri Province
ผศ.ดร.พัชรา เดชโฮม[1]
Assist. Prof. Dr Patchara Dechhome
อาจารย์กุลธิดา ทุ่งคาใน2 Lect. Kualtida Thungkanai
ว่าที่ร้อยตรีหญิงแฝงกมล เพชรเกลี้ยง3 Pol. Lt. Fangkamol Phetkliang
รศ.ดร.นิรันดร์ สุธีนิรันดร์4 Assoc. Prof. Dr. Nirun Suteenirun
ผศ.ดร.ปัทมา วัฒนบุญญา5 Assist. Prof. Dr. Pattama Wattanaboonya
ผศ.ดร.สายฝน ทรงเสี่ยงไชย6 Assist. Prof. Dr. Saifon Songsiengchai
ผศ.ถาวร วัฒนบุญญา7 Assist. Prof.Thawon Wattanaboonya
ผศ.ดร.อมลณัฐ โชติกิจนุสรณ์8 Assist. Prof. Dr Amonnut Chotkitnusorn
และรศ.พีระพงษ์ กุลพิศาล9 and Assoc. Prof.Peerapong Kulpisan
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวจากอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ของอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีให้ได้ปฏิทินฤดูกาล การกำหนดกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลเชิงลึกเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมหรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่ง แบ่งประชากรออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวทั้งระดับจังหวัด และ ระดับอำเภอ จำนวน 50 คน ภาคเอกชน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการโรงแรม/รีสอร์ท/ที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกผู้ประกอบการรถโดยสาร และบริษัทนำเที่ยว จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประชาชนในท้องถิ่นมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 100 คนผู้วิจัยได้กำหนดการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 100 คน กำหนดการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi – Structured Interview) แบบสังเกต (Observation) แบบสังเกตการณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเซิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และใช้สถิติพื้นฐาน การหาค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Means) และ การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า
1) ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ 5 ชาติพันธุ์ ประกอบด้วยชาวไทยทรงดำ ไทยพวน ลาวเวียง ลาวครั่ง และไทยจีน ซึ่งแต่ละชาติพันธุ์มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย หากแบ่งตามประเภทที่กำหนดออกเป็นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงทรัพยากรธรรมชาติ
2) ปัจจัยที่มีผลต่อการดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านสิ่งดึงดูดใจ พบว่า สิ่งดึงดูดใจทรัพยากรท่องเที่ยวของอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) ทรัพยากรธรรมชาติ 2) ประวัติศาสตร์และโบราณคดี และ 3) วัฒนธรรมและประเพณี ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า สิ่งอำนวยความสะดวกการท่องเที่ยวของอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย ที่พัก โรงแรม โฮมสเตย์ และร้านอาหาร ด้านความสามารถในการเข้าถึง พบว่า ความสามารถในการเข้าถึงการท่องเที่ยวของอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สามาถเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกและใกล้ชิด
3) ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านทรัพยากรท่องเที่ยว พบว่า มีการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้มีความน่าดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว มีเส้นทางคมนาคมสะดวกสบาย สามารถเดินทางได้หลากหลายเส้นทาง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวของอำเภออู่ทองมีความพร้อมในด้านต่างๆ ด้านความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ อย่างเพียงพอและทั่วถึง ด้านความสามารถในการรองรับของพื้นที่ แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภออู่ทองมีร้านอาหารที่มีความหลากหลายให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อตามความชื่นชอบ และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมกับสถานที่ท่องเที่ยวในการประชาสัมพันธ์
4) ศักยภาพในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในปัจจุบันของอำเภออู่ทอง ที่ได้จากการสอบถามผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนนในท้องถิ่น ภาพรวมทุกด้าน พบว่า ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในท้องถิ่น มีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในปัจจุบันของอำเภออู่ทองโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ศักยภาพการปฏิบัติงานด้านทรัพยากรท่องเที่ยว รองลงมาคือ ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และน้อยที่สุด คือ ด้านความปลอดภัย
5) การตรวจสอบความเหมาะสมของปฏิทินฤดูกาลการท่องเที่ยวอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: การพัฒนาศักยภาพ มูลค่าการท่องเที่ยว อัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์
Abstract
This study of tourism potential development to increase the tourism value from the ethnic identity of U-Thong district, Suphan Buri province aimed to 1) collect the data of tourism in U-Thong district, Suphan Buri province, 2) study the factors that affect on attracting tourists to travel in U-Thong district, Suphan Buri province, and 3) develop the tourism potential of U-Thong district, Suphan Buri province for creating seasonal calendars. The sample group for an in-depth interview is from the participants or the people related to each tourism area. There are four groups of the population: 1) Government sector consists of 50 tourism officers at both provincial and district levels. 2) Private sector consists of 10 purposive samplings from hotel entrepreneurs, resort entrepreneurs, accommodation entrepreneurs, restaurants entrepreneurs, souvenir shops, bus entrepreneurs, and tourism companies, 3) 100 purposive sampling from the local people who live in the U-Thong District, Suphan Buri province, and 4) 100 accidental sampling from Thai tourists who are traveling in the U-Thong district, Suphan Buri province. The instruments are Semi-Structured Interview, Observation form, Observation method form, and questionnaires. The data analyzes by Descriptive Analysis and Basic Statistics: Percentage, Means, and Standard Deviation.
This study reveals that
1) The data of tourism in U-Thong district, Suphan Buri province, consisting of five
ethnic identity groups that Thai Song Dum, Thai Phuen, Lao Vieng, Lao Khrang, and Thai-Chinese. For each ethnic identity group, there were attractive places that were divided into historical tourism, cultural tourism, and natural resources tourism.
2) The Factors affecting the attractiveness of tourists to travel in the U-Thong district, Suphan Buri province consist of three aspects 1) the attraction aspect, 2) the facilities aspect, and 3) the accessibilities aspect. The attraction aspect comprises natural resources, history and archeology, and culture and tradition. The facilities aspect includes accommodations, hotels, homestays, and restaurants. The accessibilities aspect, the tourists, can access the tourist attraction conveniently and intimately.
3)The potential of tourism management in U -Thong district, Suphan Buri province consists of six aspects 1) the tourism resource reveals that there are improvements in tourist attraction to attract the tourists. 2) the attractive accessibility indicates that there are various convenient transportation routes, 3) the facilities show that there are appropriate and sufficient cars parking, clean toilets, route maps, tourist service centers, 4) the security presents that there are security guards in various tourist attractions sufficiently and thoroughly, 5) the area’s capacity reveals that there are various restaurants, and 6) the community participation indicates that the community participates in tourist attraction information.
4) The potential of current tourism management in U-Thong district, Suphan Buri province in overall aspects shows that tourism service providers express the opinions about the potential of the existing tourism management of U Thong district as general aspects at a high level. The highest average is the potential of tourism resource operations, followed by access to tourist destinations, and the least is safety.
5) The appropriate investigation of the U-Thong district, Suphan Buri province tourism seasonal calendar overall was at the highest level.
Keywords: Tourism Value, Ethnic Groups Identity, Seasonal Calendar
1-4 อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
5 อาจารย์ประจำคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
7 อาจารย์ประจำวิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
8 อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
9 อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา