การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นโดยบูรณาการความรู้และการจัดการแบบมีส่วนร่วม ของคณาจารย์ นักศึกษา ชุมชน และองค์กรภาคีเครือข่าย

ภารกิจที่เป็นหัวใจหลักของการเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗ ในมาตรา ๗ ซึ่งให้มหาวิทยาลัยเป็น “สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” นำมาสู่แนวคิดการบูรณาการความรู้และการจัดการแบบมีส่วนร่วมของคณาจารย์ นักศึกษา ชุมชน และองค์กรภาคีเครือข่าย เพื่อการปฏิบัติการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ ตามมาตรา ๘ ของ พ.ร.บ.ฯ ได้ก าหนดภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะในประเด็นภารกิจการพัฒนาท้องถิ่น คือ ๑) แสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล ๒) ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ องค์กรอื่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ๓) ศึกษา วิจัย ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริในการปฏิบัติ

ภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นโดยบูรณาการความรู้และการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการและการทำงานวิจัยของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ผ่านมา จึงนำปรัชญาของการเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏและพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นแนวทางในการแปลงยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการบูรณาการความรู้และการจัดการแบบมีส่วนร่วมของคณาจารย์ นักศึกษา ชุมชน และองค์กรภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมี “นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง” ในการเรียนรู้การบูรณาการความรู้ ทักษะ และการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติการเพื่อ “การพัฒนาท้องถิ่น” ซึ่งทำให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ประสบการณ์วิชาชีพที่ตนเรียนอยู่ในปัจจุบัน และฝึกปฏิบัติการให้บริการทางวิชาการและการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 

การพัฒนาท้องถิ่นของคณะวิทยาการจัดการในจังหวัดสุพรรณบุรีและสมุทรสาคร

ตัวอย่างของการพัฒนาท้องถิ่นในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ – พ.ศ. ๒๕๖๓ ของคณะวิทยาการจัดการ ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดสมุทรสาคร โดยมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นด้วยการบูรณาการความรู้จากคณาจารย์และนักศึกษาหลากหลายสาขาวิชา รวมทั้งความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โดยมีรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ดังนี้
๑. การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน อาหารทะเล อาหารว่างไทยโบราณ และเครื่องปรุงรส
๒. การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ ามะนาวไร่ภูมินทร์ผลิตภัณฑ์กระเป๋าดาวล้อมเดือน และผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว
๓. การพัฒนาตราสินค้ากัลยาผ้าทอในสวน หมี่กรอบช่างส ารวจ 26 ปลาทูซาเตี๊ยะ และหมึกตากแห้ง
๔. การพัฒนาฉลากสินค้าบ้านปลาทูมหาชัย กะปิตราเรือรุนเคย เคยตราเรือไทย ขันทองข้าวกล้องหอมมะลิและอาหารทะเลแปรรูป
๕. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์กะปิแบบเป็นของฝาก ผ้าซิ่นลายแตงโมไทยทรงด า สไบมอญ หมึกตากแห้ง มะพร้าวน้ำหอมอบกรอบ ข้าวเกรียบเผือก และกล้วยกรอบทุ่งทอง

ผลของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

ผลของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตามแนวคิดดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจในชุมชนได้ยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถนำผลิตภัณฑ์ใหม่ไปใช้ในการทำการตลาดและการขายที่สามารถเพิ่มคุณค่าและมูลค่าสูงขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนในชุมชน

นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาความรู้ใหม่ในสถานการณ์จริงของชุมชน ได้ร่วมเรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่ตนมีในสาขาวิชาชีพที่เรียน มาใช้ในการพัฒนาการให้บริการวิชาการและทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งท าให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการท างานและการประกอบวิชาชีพในอนาคต

คณาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการได้ใช้ความรู้ความสามารถเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และได้เขียนผลงานวิชาการ เช่น บทความวิจัย และบทความวิชาการ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่นในงานประชุมทางวิชาการประจำปี ทำให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ได้ความรู้ที่หลากหลายจากผลงานวิชาการของคณาจารย์

การเชื่อมโยงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและการท่องเที่ยว

การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นควรกระท าไปด้วยกัน โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีการระบาดของโรคอุบัติใหม่ โควิด 19 (Covid 19) ท าให้เกิดมาตรการปิดพื้นที่ (Lockdown) ส่งผลให้มีการหยุดชะงักด้านการเดินทางท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวต่างประเทศ ทำให้มีความสนใจในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ เช่น การท่องเที่ยวเมืองรอง การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวชุมชน

ซึ่งถ้าหากคณาจารย์ นักศึกษา ภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น และคนในชุมชน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้ประกอบการในพื้นที่สามารถพัฒนาเรื่องการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชน และผนวกเรื่องการขายสินค้าท้องถิ่น หรือของดีที่มีในชุมชนให้กับนักท่องเที่ยวในประเทศที่มาท่องเที่ยวในชุมชนได้ ก็จะทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งจากการท่องเที่ยว การพักค้างในชุมชน และการขายสินค้าที่ผู้ประกอบการได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าของฝาก ของที่ระลึก และสินค้าที่เป็นของขึ้นชื่อของชุมชน ฯลฯ ซึ่งจะท าให้เศรษฐกิจชุมชนมีการพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในอนาคต

สรุป

การนำปรัชญาของการเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นแนวทางในการแปลงยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ท าให้เกิดการบูรณาการความรู้และการจัดการแบบมีส่วนร่วมของคณาจารย์ นักศึกษา ชุมชน และองค์กรภาคีเครือข่าย เกิดการร่วมมือกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน ยกระดับคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และเรียนรู้ร่วมกันในกระบวนการบริการวิชาการและการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น และอาจมีการเชื่อมโยงเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนได้ด้วย โดยทุกฝ่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมได้รับประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งรูปแบบความร่วมมือนี้จะทำให้ผลผลิตของมหาวิทยาลัยฯ คือนักศึกษา ที่เข้ามามีส่วนร่วมได้รับประสบการณ์และแนวคิดการกลับไปพัฒนาบ้านเกิดหรือชุมชนของตนเอง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่นต่อไป

 

อ้างอิง

อาภา วรรณฉวี. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นโดยบูรณาการความรู้และการจัดการแบบมีส่วนร่วมของคณาจารย์ นักศึกษา ชุมชน และองค์กรภาคีเครือข่าย. วารสารศรีสมเด็จ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.