การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในชั้นเรียน
นางสาวบุปผา บรรลือเสนาะ
กลุ่มวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์
ปัจจุบันในยุคโลกาภิวัตน์คุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามของคนไทยของเรากำลังจะถูกละเลยจนทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนและเยาวชนซึ่งเป็น อนาคตของชาติ ได้รับวัฒนธรรมต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามา พร้อมกับความเจริญทางด้านเทคโนโลยี โดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองประกอบกับการไม่เป็นแบบอย่างที่ดีของบุคคลในสังคมใน การจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ให้เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้
รักเพื่อนมนุษย์ รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและมีจิตใจเป็นกลาง ดังนั้นคุณธรรม จริยธรรมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของคนทุกคนและทุกวิชาชีพ หากบุคคลใดหรือวิชาชีพโดไม่มี คุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักยึดเบื้องต้นแล้วก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จแห่งตนและแห่งวิชาชีพนั้นๆ ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือการขาดคุณธรรมจริยธรรมทั้งในส่วนบุคคลและในวิชาชีพ อาจมีผลร้ายต่อตนเอง สังคมและวงการวิชาชีพในอนาคตได้อีกด้วย
การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในนักเรียนต้องทำอย่างไร
คุณธรรมเป็นความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ จนเกิดเป็นจิตสำนึกที่ดี และมีความกตัญญู ส่วนจริยธรรมนั้น เป็นความประพฤติ หรือแนวทางในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมแก่การยึดปฏิบัติตามความดีงามแห่งคุณธรรม เพื่อเสริมให้ผู้เรียนเติบโตและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข และมีศีลธรรม คือการไม่ละเมิดต่อสิ่งที่จะเป็นเหตุทำลายความดีงามแห่งคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดการเสื่อมลง
ภาพที่ 1 : คุณธรรมความสามัคคี
ที่มา : https://phichit1.go.th
ดังนั้น การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จึงเปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพจิตใจที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของผู้เรียนให้ปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ควร และละทิ้งสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย โดยการสอดแทรกไปกับกิจกรรม
การเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมต่าง ๆ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมช่วย
พัฒนาคุณภาพจิตใจผู้เรียนให้ยกระดับขึ้น
การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ในผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษา จำเป็นต้องสอนควบคู่ไปกับการพัฒนาในส่วนอื่น ๆ ครูจึงเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการสอนและฝึกผู้เขียนให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่าง ต่อเนื่องทั้งในและนอกหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อสร้างผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขอย่าง ยั่งยืน ความคาดหวังของสังคมที่มีต่อเยาวชนไทยปัจจุบัน เราทุกคนคงหนีไม่พ้นความต้องการเห็นเยาวชนมีสติ เกิดปัญญา ที่สะท้อนความรู้คู่คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตที่ดีงาม และสำคัญ ที่สุดคือต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งครูสามารถกระทำได้ก็คือ การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่างๆ เข้าไปในกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริม หลักสูตรต่างๆ โดยมีแนวคิดที่สำคัญอย่างยิ่งว่า หากนักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมทั้งทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
ภาพที่ 2 : การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
ที่มา : https://www.facebook.com/photo/?fbid
การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในชั้นเรียน
การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในชั้นเรียนนั้น ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และต้องพยายามสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงให้นักเรียนเป็นคนดี รวมทั้งจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ไม่เน้นการแข่งขันจนเกินไปหรือจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและในการจัดการเรียนการสอน นอกจากครูจะต้องสอนเนื้อหาสาระวิชาต่างๆ ให้แก่นักเรียนแล้ว หน้าที่อีกอย่างหนึ่งของครูก็คือการอบรม สั่งสอนคุณธรรม จริยธรรมต่างๆ ให้แก่นักเรียนการสอนคุณธรรมจริยธรรมนั้น ครูสามารถสอนได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยเฉพาะในขณะที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ครูควรสอนคุณธรรมจริยธรรมควบคู่กับเนื้อหาสาระด้วยเพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ใช่มุ่งแต่ให้นักเรียนได้รับความรู้เท่านั้น เพราะคุณธรรมเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการมีคุณค่าของความเป็นคนและการสอนให้นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรมจะตรงกับความหมายของหลักสูตร
คือการจัดมวลประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่นักเรียนทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ทั้งแก่ตนเองและสังคมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมมีประโยชน์ต่อการพัฒนานักเรียนเป็นอย่างยิ่ง ที่สำคัญได้แก่ การทำให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รวมทั้งสามารถเรียนรู้ได้ดี และจะเกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุข ห้องเรียนเป็นระบบระเบียบ ครูสามารถจัดการชั้นเรียนได้ดีขึ้น ทำให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผล และที่สำคัญที่สุดการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นบุคคลที่รักของคนในสังคม และส่งผลให้สังคมมีความสงบสุข
เทคนิคการสอนคุณธรรม จริยธรรมในชั้นเรียน
สำหรับเทคนิคการสอนนั้น ครูสามารถใช้การบอกเล่า อธิบาย สมมติสถานการณ์และดำเนินการวิเคราะห์ ใช้เกม เพลง ละคร หรือจัดแสดงบทบาทสมมติ เพื่อสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม นักเรียนควรได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการสอน เมื่อเริ่มสอนครูควรให้นักเรียนนั่งสมาธิเพื่อให้จิตใจ สงบและพร้อมที่จะเรียนรู้ เมื่อสอนก็สอนด้วยความรัก ความเมตตา ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดกับนักเรียน นอกจากนี้ครูต้องสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียนและเป็นบรรยากาศที่นักเรียนได้ฝึกคิดเมื่อครูถามนักเรียน หากนักเรียนตอบไม่ได้ ให้นักเรียนนั่งสงบนิ่งสัก 2-3 นาทีแล้วค่อยหาคำตอบใหม่ ครูต้องจัดสิ่งแวดล้อมที่สะอาด สงบและสวยงาม สร้างสถานการณ์จำลอง ให้นักเรียนได้ฝึกการเลือกและการตัดสินใจ และตระหนักถึงคุณค่าของการประพฤติ และให้กำลังใจแก่นักเรียนที่ประพฤติดี
คุณธรรม 4 ประการที่ควรปลูกฝังในผู้เรียน
ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ ซึ่งความกตัญญูนี้ถือเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจที่สื่อถึงความดีงาม และมีส่วนสำคัญในการกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยน สุภาพ นอบน้อม และมีความจริงใจ แล้วเสริมด้วย คุณธรรม 4 ประการสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ
1. การรักษาความสัตย์ มีความจริงใจต่อตนเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรม
2. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์และความดี
3. การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์ มีแต่ความสุจริต ไม่ว่าจะ ด้วยเหตุประการใด
4. การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อ ประโยชน์ส่วนใหญ่
ของบ้านเมือง
ภาพที่ 3 : จริยธรรมองค์กร
ที่มา : https://www.labour.go.th/index.php/2022-07-19-06-59-54/category/78-2022-07-19-07-12-32
การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ในผู้เรียนประถมฯ จำเป็นต้องสอบควบคู่ไปกับการพัฒนาใน ส่วนอื่น ๆ “ครู” จึงเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการสอนและฝึกผู้เรียนให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่าง ต่อเนื่องทั้งในและนอกหลักสูตรการเรียน เพื่อสร้างผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขอย่าง ยั่งยืน
สรุป การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือตั้งแต่คนในครอบครัว เพื่อน ญาติมิตร ครูอาจารย์ สังคม รวมถึงกระบวนการของประเทศชาติ ผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่าง ครูอาจารย์เป็นทั้งต้นแบบและคอยชี้นำในสิ่งที่ถูกต้อง โรงเรียน วัด บ้านช่วยอบรมปลูกฝัง และขัดเกลาจิตใจ ให้เยาวชนสามารถพัฒนาจิตใจด้านคุณธรรมจริยธรรมได้ด้วยตนเอง สามารถควบคุมความประพฤติปฏิบัติของตนให้อยู่ในกรอบของพฤติกรรมที่พึงปรารถนาของสังคม ทั้งในสภาพการณ์ปกติและทั้งเมื่อเผชิญกับปัญหาหรือความขัดแย้ง ประเทศชาติเปรียบดังเรือลำใหญ่ ต้องอาศัยลูกเรือ ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นคนดี มีคุณค่าในสังคม เพื่อนำพาประเทศชาติสู่จุดหมาย อันมั่นคง เยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติ จึงจำเป็นต้องได้รับการปลูกฝัง จากผู้ใหญ่ทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับครอบครัว ตลอดจนสถาบันชาติ ช่วยขัดเกลาจิตใจหล่อหลอมให้เป็นคนมีคุณธรรม จริยธรรม อันเป็นหลักธรรมสำคัญให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
เอกสารอ้างอิง
พระวิจิตรธรรมาภรณ์. (2558) ความหมายของคุณธรรม สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2566,
จาก http://portal.tebyan.net/Portal/Cultcure/ พิศมัย เทียนทอง. (2553),
การดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขามะกา
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยปทุมธานี
อักษรเจริญทัศน์. (2566), ปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงครูเข้าใจ, สืบค้นเมื่อวันที่ 18
มีนาคม 2566, จาก https://www.aksorn.com/en/morality
เทคนิคและทักษะการสอบเบื้องต้น, สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2566, จาก
http://oservice.skru.ac.th/ebookft/694/chapter_6.pdf