สิ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยทางไปรษณีย์ จะถูกเปิดตรวจโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรร่วมกับเจ้าหน้าที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อตรวจคัดแยกในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร . จึงขออธิบายถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานพิธีการศุลกากรทางไปรษณีย์ ที่มีขั้นตอนอยู่หลายประการ เริ่มตั้งแต่ เมื่อสิ่งของที่ส่งมาจากต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะทำการคัดแยกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ ประเภทที่ 1 ของยกเว้นอากร ประเภทที่ 2 ของซึ่งมีราคา FOB รวมกันไม่เกิน 40,000 บาท (ต้องชำระอากร) และประเภทที่ 3 ของอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. การคัดแยกสิ่งของที่นำเข้าทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ คือ เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะคัดแยกสิ่งของที่นำเข้าทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศออกเป็น 3 ประเภท เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรและจัดเก็บอากร ได้แก่ ประเภทที่ 1 ของยกเว้นอากรของที่นำเข้าโดยทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ซึ่งแต่ละหีบห่อมีราคารวมค่าขนส่ง และค่าประกันภัยไม่เกิน 1,500 บาท ตามภาค 4 ประเภท 12 แห่งพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 หรือตัวอย่างสินค้าที่ใช้ได้แต่เพียงเป็นตัวอย่างและไม่มีราคาทางการค้า ตามภาค 4 ประเภท 14 แห่งพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 และไม่เป็นของต้องห้ามต้องกำกัด
-
- HOME
- BSRU
- Check Scholar
- ติดต่อเรา WooCommerce not Found
- Newsletter