การจัดการผลิตในธุรกิจระดับโลก
Global production management
ขวัญชัย ช้างเกิด
บทนำ
การดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศหรือธุรกิจระดับโลกเป็นการตัดสินใจในการดําเนินธุรกิจ ที่มี สภาวะแวดล้อมที่มีความแตกต่างจากการดําเนินธุรกิจภายในประเทศอย่างมาก และยังเป็นการขยาย ขอบเขตการดําเนินธุรกิจที่กว้างขวางออกไปจากการดําเนินธุรกิจภายในประเทศ ซึ่งการดําเนินธุรกิจ จะมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อน เนื่องจากสภาวะแวดล้อมมีความแตกต่างกันออกไปในปัจจัยต่างๆ หลายประการ เช่น กฎหมาย ประเพณี วัฒนธรรม ภาษา เทคโนโลยี ระบบเศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา เป็นต้น ซึ่งความแตกต่างด้านสภาวะแวดล้อมในแต่ละประเทศในด้านต่างๆ ดังกล่าวจะมีผล ทําให้กลยุทธ์การดําเนินธุรกิจขององค์การ หรือบริษัทในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นความ เสี่ยงหรือความไม่แน่นอนในการดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศ จึงมีมากกว่าการดําเนินธุรกิจ ภายในประเทศ เนื่องจากเป็นการดําเนินธุรกิจในสภาวะแวดล้อมที่องค์การไม่คุ้นเคย ขาดความรู้และ ประสบการณ์ จึงเป็นสาเหตุทําให้ธุรกิจประสบความล้มเหลวได้มากกว่าการดําเนินธุรกิจ ภายในประเทศ โดยทั่วไปเมื่อผู้บริหารได้ดําเนินธุรกิจในประเทศใดประเทศหนึ่งมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ผู้บริหารอาจจะตัดสินใจขยายขอบเขตการดําเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น เช่น ทําการตัดสินใจยกเลิกธุรกิจ ใน ประเทศลง จากนั้นจึงทําการจัดตั้งเป็นองค์การธุรกิจระหว่างประเทศหรือระดับโลกขึ้นมาแทนที่ อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหารทําการวางแผนและตัดสินใจในการดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ผู้บริหาร จําเป็นจะต้องตระหนังถึงความพร้อมขององค์การ ทําการค้นหาและศึกษาข้อมูลที่สําคัญๆ ตลอดจน วิเคราะห์ถึงสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศอย่างรอบคอบ จึงจะทําให้องค์การมีโอกาสประสบ ความสําเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ สําหรับการตัดสินใจจัดตั้งองค์การธุรกิจระหว่างประเทศหรือ ระดับโลกมีประโยชน์หลายประการ เช่น ทําให้องค์การสามารถแสวงหาความต้องการที่ยังไม่ได้รับ การ ตอบสนองจากต่างประเทศ สามารถลดต้นทุนการผลิตด้วยการใช้วัตถุดิบและแรงงานในต่างประเทศ เกิดการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีที่จําเป็นต่อการดําเนินธุรกิจ เป็นต้น
นอกจากนี้การดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศ หรือธุรกิจระดับโลกมีส่วนสําคัญในการเปิด โอกาสทางการตลาดในต่างประเทศซึ่งเป็นที่มาของการสร้างรายได้ และสร้างความมั่นคงทางธุรกิจ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศ มีแนวโน้มที่มีการเปลี่ยนแปลงสู่การแข่งขัน ที่มุ่งเน้นด้านข้อมูลสารสนเทศ กล่าวคือ องค์ความรู้และข้อมูลสารสนเทศจะเป็นปัจจัยที่สําคัญของ ความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน การดําเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับคู่แข่งขันทางธุรกิจจากทั่วโลก ธุรกิจที่มีศักยภาพที่สูงกว่าและความได้เปรียบทั้งทางด้านองค์ความรู้และข้อมูลสารสนเทศ จึงจะดํารง อยู่ได้ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ความหมายการจัดการผลิตในธุรกิจระดับโลก
SuperSambea (2551) ความหมายของ การบริหารการผลิตเป็นการบริหารจัดการเพื่อแปรสภาพปัจจัยนำเข้าให้กลายเป็นผลผลิตที่มีมูลค่ามากกว่าปัจจัยนำเข้า โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในกระบวนการผลิต
Sukhothai Thammathirat open University (2554) ธุรกิจระหว่างประเทศ หมายถึง การดำเนินธุรกรรมต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งประกอบธุรกิจข้ามพรมแดน ไม่ว่าจะเป็น การค้าระหว่างประเทศ ( International Trade ) ได้แก่ การส่งออก การนำเข้าสินค้าและบริการต่างๆ เป็นต้น การลงทุนระหว่างประเทศ ( International Investment ) เช่น การเคลื่อนย้ายแหล่งผลิตไปยังต่างประเทศ เป็นต้น การร่วมทุนกับธุรกิจต่างชาติโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและโอกาสที่มีอยู่ทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยอาจรวมถึงการผลิตตามใบอนุญาต (Licensing) การให้สัมปทานในการจำหน่าย (Franchising) สัญญาการบริหารและดำเนินการ (Management Contract) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งสภาพแวดล้อมทางธุรกิจจะแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
จากความหมายข้างต้น การจัดการผลิตในธุรกิจระดับโลกหมายถึง การผลิตสินค้าและบริการโดยใช้กระบวนการบริการจัดการทรัพยากรขององค์กรเพื่อให้ดำเนินการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในระดับโลก
ความสำคัญของการจัดการผลิตในธุรกิจระดับโลก
ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจทั้งระดับโลกและระดับประเทศ รวมถึงปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้ส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบต่ออุตสาหกรรมการผลิตอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความท้าทายต่อระบบการผลิตมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมต่อทุกสภาวการณ์ ทั้งโอกาสที่เข้ามาพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาค และความท้าทายซึ่งรวมถึงวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนของเศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ หรือแม้แต่สงครามสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้คือ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งฟังก์ชันการทำงาน การประหยัดพลังงาน และการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือเวลาการเข้าสู่ตลาด(Time to Market) ของสินค้าอุตสาหกรรมจะสั้นลงมาก สิ่งเหล่านี้ทำให้กระบวนการผลิตสินค้านั้นๆจำเป็นต้องมีความเที่ยงตรงแม่นยำ (High Precision)สูง ซึ่งต้องอาศัยเครื่องจักรและเทคโนโลยีรวมไปถึงกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและบุคลากรสำหรับภาคอุตสาหกรรมจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ก็จะผลักดันให้ผู้ประกอบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเข้าสู่โรงงานสีเขียวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกอย่างจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยที่จะต้องกระชับระบบการผลิต (Streamline) ของตน เพื่อยกระดับความสามารถในการผลิต (Manufacturing capabilities) ให้เหนือกว่าคู่แข่ง รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิต เพื่อสร้างองค์กรให้มีความกะทัดรัดยืดหยุ่น ทันสมัย และพร้อมในการแข่งขัน
ดังนั้นการจัดการผลิตมีความสำคัญต่อองค์การธุรกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีองค์ประกอบคือ
1. เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้สูงขึ้น เพราะการจัดการผลิตสามารถควบคุมการใช้ปัจจัยในการผลิตให้เกิดผลคุ้มค่าได้มากที่สุด
2. เป็นการเพิ่มคุณภาพของการผลิต เพราะจะช่วยให้องค์การธุรกิจสามารถควบคุม มาตรฐานการผลิตได้ตรงตามที่กำหนด
3. เพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการพัฒนาระบบการผลิต หากมีการกำหนดแนวทางหรือนโยบายการจัดการผลิตเป็นอย่างดีจะช่วยให้การต่อเติมหรือดัดแปลงระบบต่าง ๆ ทำได้ง่ายและ รวดเร็วขึ้น
เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงไปสู่การทำธุรกิจระดับโลก
การพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกวิธีการเข้าสู่ระบบธุรกิจระหว่างประเทศอย่าง รอบคอบนั้น จะทําให้องค์การธุรกิจสามารถตัดสินใจเลือกวิธีการเข้าสู่ธุรกิจระหว่างประเทศได้อย่าง เหมาะสม สําหรับปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ ลักษณะของตลาด เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าสู่ ตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ขนาดของตลาด ความรุนแรงทางการแข่งขัน สภาวะแวดล้อม เป็นต้น ซึ่ง จะ ส่งผลถึงส่วนแบ่งตลาด ทําเลที่ตั้งขององค์การ ตลอดจนสิ่งอํานวยความสะดวกในตลาดต่างประเทศ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจดําเนินธุรกิจในต่างประเทศทั้งสิ้น ถ้าตลาดมีขนาดเล็ก วิธีการเข้าสู่ตลาดที่เหมาะสมควรจะเป็นวิธีการที่มีต้นทุนที่ตํ่า องค์การอาจเลือกใช้วิธีการส่งออก หรือ การให้สิทธิในการผลิตก็ได้ แต่ถ้าตลาดมีขนาดใหญ่องค์การอาจตัดสินใจไปลงทุนโดยตรง ในตลาด ดังกล่าว เนื่องจากคุ้มค่าต่อการลงทุนและทําให้องค์การได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า เป็นต้น
ปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อมในต่างประเทศจะมีผลกระทบต่อการเลือกวิธีในการเข้าสู่ตลาด ต่างประเทศอย่างมาก ผู้บริหารจะต้องพิจารณาสภาวะแวดล้อมในต่างประเทศ ได้แก่ อัตราการ เจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ ถ้าประเทศเป้าหมายมีอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง รายได้ ของผู้บริโภค ในประเทศนั้นจะสูงและความต้องการในผลิตภัณฑ์ก็จะสูงด้วยซึ่งจัดว่าเป็นตลาดที่ น่าสนใจ องค์การ อาจใช้วิธีส่งออกโดยตรงหรือหาพันธมิตรด้านการจัดจําหน่าย แต่ถ้าบรรยากาศ ทางการเมืองไม่ดี รัฐบาลขาดเสถียรภาพ มีการคัดค้านการลงทุนจากต่างประเทศ องค์การก็ไม่ควร ลงทุนขนาดใหญ่ ในประเทศดังกล่าว แม้ว่าปัจจัยอื่นๆ จะมีความเหมาะสมกับการลงทุนก็ตาม ถ้า สภาวะแวดล้อม ในต่างประเทศมีปัญหาอุปสรรคมาก องค์การอาจต้องลงทุนอาจใช้วิธีร่วมทุนในตลาด นั้น เป็นต้น นอกจากนี้ผู้บริหารยังต้องวิเคราะห์ถึงสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ระหว่าง ประเทศ อัตราภาษี ค่าจ้างแรงงาน ต้นทุนการผลิต กฎ ข้อบังคับ การส่งเสริมการลงทุน เป็น ต้น นอกจากนี้ปัจจัยในด้านผลิตภัณฑ์ก็มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกวิธีในการเข้าสู่ตลาด ต่างประเทศอีกด้วย สําหรับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่สําคัญที่ผู้บริหารต้องคํานึงถึง ได้แก่ ด้านรูปแบบ ของผลิตภัณฑ์เป็นการพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์นั้นเหมาะสมกับการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยวิธีใด เช่น สินค้าอุปโภคบริโภคสามารถส่งออก หรือผลิตในต่างประเทศโดยการร่วมทุนหรือจัดตั้งในรูปบริษัท ในเครือก็ได้ ถ้าเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตชั้นสูง อาจใช้วิธีให้สิทธิในการผลิต ถ้าเป็นงานบริการทางเลือกในวิธีการเข้าสู่ตลาดซึ่งอาจมีความแตกต่างจากสินค้า เช่น การทําสัญญา เพื่อให้ความช่วยเหลือทางเทคโนโลยีการผลิต การทําสัญญาด้านการจัดการหรือองค์การสามารถ ดําเนินการในลักษณะของการให้สิทธิทางการค้าก็ได้ ดังนั้นปัจจัยภายในองค์การธุรกิจที่สําคัญที่สุด ที่ ผู้บริหารจะต้องให้ความสําคัญก็คือตัวผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมกับตลาดระหว่างประเทศ ส่วนปัจจัยด้านทรัพยากรของธุรกิจเพี่อการลงทุนเป็นปัจจัยที่ผู้บริหารต้องให้ความสําคัญ ใน การตัดสินใจเข้าสู่ตลาดต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นวิธีใดขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่องค์การมีอยู่ และ จํานวน ประเทศที่องค์การต้องการเข้าไปดําเนินการ องค์การขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรมากสามารถ ตัดสินใจ และเลือกวิธีการสู่ตลาดได้โดยพิจารณาถึงข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบ เงื่อนไขในแต่ละกรณี เช่น การลงทุนโดยตรงมีความเสี่ยงสูงแต่ผลตอบแทนก็สูงด้วยหากองค์การให้การยอมรับ เป็นต้น ในการควบคุมให้ผลการดําเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศมีประสิทธิผล ผู้บริหาร จําเป็นต้องมีการ กําหนดให้บริษัทสาขาในต่างประเทศจัดทํารายงานผลการดําเนินงาน โดยรายงานที่ จัดทําขึ้นต้องมี ความถูกต้องสมบูรณ์และทันสมัยภายในวันเวลาที่กําหนด รายงานที่จัดทําขึ้นนี้ต้อง นําเสนอต่อบริษัท แม่ ซึ่งองค์ประกอบที่สําคัญของรายงาน ได้แก่ ผลการดําเนินงานด้นการเงิน ข้อมูลด้านการเงินที่ จําเป็นต้องนําเสนอ ได้แก่ ข้อมูลการลงทุน การจ่ายเงินปันผลของธุรกิจระหว่าง ประเทศ ซึ่งข้อมูล ดังกล่าวจําเป็นต้องรับความเห็นชอบและอนุมัติจากสํานักงานใหญ่ก่อน ผลการดําเนินงานด้าน เทคโนโลยี ข้อมูลแสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีควรรายงานให้สํานักงานใหญ่ ทราบเพื่อใช้ในการ พิจารณาสร้างศักยภาพโดยรวม โอกาสทางการตลาด เป็นการรายงานถึงข่าวสาร ทางการตลาด ส่วน ประสมทางการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจําหน่าย และ การส่งเสริมการตลาด รวมถึงกิจกรรมทางการตลาดของคู่แข่งขัน การรายงานข้อมูลดังกล่าวนี้เพื่อให้ทาง บริษัทได้พิจารณา ถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดต่อไป รวมทั้งสภาวะทางเศรษฐกิจและการเมือง การรายงานสภาวะ ทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศที่เข้าไปดําเนินธุรกิจ มีความจําเป็นต่อ การกําหนดกลยุทธ์และ นโยบายการดําเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศที่เหมาะสม โดยมีปัจจัยดังนี้
ปัจจัยเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงไปสู่การทำธุรกิจระดับโลก
1.ลดต้นทุน(แรงงาน, ภาษี, ภาษีการค้าระหว่างประเทศ, เป็นต้น)
2.ปรับปรุงห่วงโซ่อุปทาน
3.ปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดีขึ้น
4.แสวงหาตลาดใหม่
5.ปรับปรุงกระบวนการการปฏิบัติการ
6.คัดสรรและรักษาพนักงานที่มีความสามารถจากทั่วโลก
1.ลดต้นทุน สถานที่ตั้งของโรงงานหรือสถานประกอบการที่มีค่าจ้างแรงงานตํ่าสามารถลดต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ เช่น
– โรงงานในเขตปลอดภาษี ในเม็กซิโก ที่เรียกว่า Maquiladoras
มาคิวลาโดรัส
– องค์การการค้าโลก (WTO) ลดอัตราภาษีการค้าระหว่างประเทศจาก 40% เป็น 3%
– ข้อตกลงทางด้านการค้า ระหว่างกลุ่มสมาชิก เช่น กลุ่มสมาชิกในแถบทวีปอเมริกาเหนือ (NAFTA), แถบมหาสมุทรแปซิฟิก (APEC), แถบทวีปยุโรป (EU)
2.ปรับปรุงห่วงโซ่อุปทาน เลือกสถานที่ตั้งโรงงานให้อยู่ในประเทศที่มีทรัพยากรที่ต้องการสามารถปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานได้ ทรัพยากรที่สำคัญ ได้แก่ ความชำนาญ แรงงาน หรือวัตถุดิบ เช่น
– การออกแบบรถยนต์ ส่วนใหญ่ทั่วโลก มาจากแคลิฟอร์เนีย เนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบรถยนต์ร่วมสมัย
– ผู้ผลิตรองเท้ากีฬา ย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศจีน เนื่องจากมีค่าจ้างแรงงานตํ่าและมีแรงงานที่มีความชำนาญจำนวนมาก
– ผู้ผลิตนํ้าหอม ส่วนใหญ่นิยมตั้งโรงงานในประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากมีดอกไม้สกุลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญต่อการผลิตนํ้าหอมที่มีคุณภาพ
3.ปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดีขึ้น การตั้งสถานประกอบการในประเทศลูกค้า มีวัตถุประสงค์เพื่อ
– ลดระยะเวลาการส่งมอบสินค้าหรือบริการ
– เข้าใจวัฒนธรรมหรือขนบธรรมเนียมของลูกค้า ได้ดียิ่งขึ้น เช่น ตู้เย็นที่ผลิตขายในประเทศไทยนิยมผลิตสีสว่าง เนื่องจากนิยมตั้งไว้ในห้องนั่งเล่น
– ปรับปรุงการให้บริการให้เหมาะสมกับกระบวนการผลิตหรือการดำเนินงานของลูกค้า
4.แสวงหาตลาดใหม่ การติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ ทั้งลูกค้า ผู้จัดหาวัตถุดิบ รวมทั้งคู่แข่ง ทำให้บริษัทเรียนรู้และแสวงหาโอกาสของสินค้าและบริการใหม่ๆ และขยายวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เช่น
คอมพิวเตอร์ ในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในช่วงอิ่มตัว แต่สำหรับประเทศกำลังพัฒนา เช่น อัลบาเนีย พม่า คอมพิวเตอร์ยังอยู่ในช่วงแนะนำผลิตภัณฑ์
5.ปรับปรุงกระบวนการการปฏิบัติการ บริษัทต่างๆ พยายามเรียนรู้และหาวิธีการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด โดยการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา ไม่จำกัด เช่นGM ร่วมลงทุนกับบริษัทญี่ปุ่น เพื่อสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ในแคลิฟอร์เนีย โดย GM สนับสนุนเงินลงทุนและความรู้ด้านกฎหมายแรงงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ญี่ปุ่นให้การสนับสนุนแนวคิดของกระบวนการผลิตและระบบการจัดการสินค้าคงคลัง ผู้จัดการการปฏิบัติการ ปรับปรุงเครื่องมือ อุปกรณ์และการวางผังการทำงาน โดยเรียนรู้จากสภาพการทำงานที่เหมาะสมของสแกนดิเนเวียน
6.คัดสรรและรักษาพนักงานที่มีความสามารถจากทั่วโลก บริษัทระดับโลกสามารถคัดสรรและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ เนื่องจาก
– โอกาสในการก้าวหน้าที่ดีกว่า
– ตำแหน่งงานที่หลากหลาย
– ความมั่นคงในการทำงาน เช่น เมื่อเกิดเศรษฐกิจถดถอย บริษัทระดับโลกสามารถเปลี่ยนตำแหน่งพนักงานให้ไปอยู่ในประเทศที่มีศักยภาพและตำแหน่งงานที่ดีกว่า
การวางแผนของธุรกิจระดับโลก
การวางแผนของธุรกิจระดับโลกที่การกำหนดวิสัยทัศน์ มีการกำหนดเป้าหมายระยะยาวที่ แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขันที่ต้ององการระบบการ ทำงานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง สำหรับการทำงานใน สิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต้องการระบบการทา งานที่คล่องตัว ต้องการ ดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการนำสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถ เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อความอยู่รอด (Survive) และ ความก้าวหน้า (Growth) ขององค์การ ของหน่วยงาน หรือของธุรกิจ ของตนในอนาคต
ตัวอย่างของพันธกิจ
Hard Rock Café: พันธกิจ เพื่อกระจายความรู้สึก จิตวิญญาณของร็อคแอนด์โรล ด้วยการส่งมอบความบันเทิงที่โดดเด่นและประสบการณ์ที่ดี่เยี่ยมจากการรับประทานอาหาร องค์การมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนสำคัญ เป็นสมาชิกที่มีส่วนร่วมกับชุมชน นำเสนอความสนุกให้กับครอบครัวฮาร์ดร็อค มีสุขภาพที่ดี สนับสนุนให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความสำเร็จในระยะยาวขององค์การ Hard rock café ใช้กลยุทธ์ความแตกต่างด้านประสบการณ์ ด้วยการสร้างสีสันระหว่างการรับประทานอาหาร เช่น การร้องเพลง การเล่นดนตรีสด จอภาพขนาดใหญ่แสดงภาพของลูกค้าบนเวที พนักงานสามารถร้องหรือเต้นตามจังหวะดนตรีขณะให้บริการลูกค้า ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าของที่ระลึกจากร้านค้าได้ เป็นต้น
นำเสนอให้สังคมด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีกว่า นวัตกรรมและการแก้ไขปัญหาสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจให้กับลูกค้า, นำเสนอการทำงานที่มีความหมายและโอกาสในการก้าวหน้าแก่พนักงาน, อัตราการตอบแทนที่สูงสำหรับนักลงทุน
การสร้างความได้เปรียบการผลิตในธุรกิจระดับโลก
1.ความแตกต่าง (Differentiation) –ดีกว่าหรือแตกต่างจากคู่แข่งขัน
เช่น บริษัทเซฟสกิน ใช้กลยุทธ์ การสร้างชื่อเสียงด้วยการออกแบบและผลิตถุงมือยางที่ทันสมัยและแตกต่างจากคู่แข่งขันตลอดเวลา ด้วยการผลิตถุงมือยางที่ป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้เมื่อคู่แข่งพัฒนาสามารถผลิตสินค้าเหมือนกันได้ บริษัทเซฟสกิน พัฒนาถุงมือยางที่เพิ่มโครงสร้างและเนื้อสัมผัสให้กับถุงมือ หลังจากนั้นพัฒนาผลิตถุงมือจากยางสังเคราะห์แบบใช้ครั้งเดียวสำหรับผู้ที่แพ้ยาง
2.ผู้นำด้านราคา (Cost leadership) –ถูกกว่า
เช่น สายการบิน Southwest Airlines ใช้กลยุทธ์การเป็นสายการบินราคาถูก ด้วยการลดต้นทุนต่างๆ เช่น การใช้สนามบินรองแทนการใช้สนามบินหลักในแต่ละเมือง งดบริการอาหารบนเครื่อง ลดจำนวนพนักงาน เพิ่มเวลาการทำงาน ไม่มีสำนักงานขายตั๋วในเมือง ปรับตารางการบิน เส้นทางการบิน จำนวนพนักงานบริการในแต่ละเครื่องและขนาดของเครื่องบินให้สอดคล้องกับจำนวนลูกค้า
ห้างขายปลีก Wal-Mart ใช้กลยุทธ์ในการแข่งขันด้านราคา ด้วยการลดต้นทุนการปฏิบัติการที่เกินความจำเป็น ลดพนักงาน ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า เร่งระยะเวลาขนส่งสินค้าไปยังลูกค้า เพื่อลดต้นทุนในการดูแลรักษาสินค้า เพิ่มอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังเพื่อลดต้นทุนในการจัดเก็บ
3.การตอบสนอง (Response) –การตอบสนองที่รวดเร็ว (Quickness) สมํ่าเสมอ (Reliability) และยืดหยุ่น (Flexibility) การตอบสนองที่รวดเร็ว คือ สามารถออกแบบ ผลิตและจัดส่งสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าด้วยความรวดเร็ว เช่น The Pizza รับประกันความรวดเร็วในการส่งพิซซ่าไม่เกิน 30 นาที การตอบสนองที่สมํ่าเสมอ คือ บริษัทสามารถจัดตารางการทำงานให้สอดคล้องต่อความต้องการในทุกๆ ครั้งได้อย่างสมํ่าเสมอ ทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจว่าจะได้สินค้าตรงตามกำหนดทุกครั้งที่สั่งซื้อ
การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ระดับโลก
การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ( Strategy Decision-Making) หากจะกล่าวถึงการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์แล้วนั้น คงต้องทำความเข้าใจ เพื่อแบ่งแยกให้ได้ว่าการตัดสินใจแบบใดจึงเรียกว่าการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ การวิจัยเรื่อง การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ มีการศึกษาว่าจะต้องเป็นการตัดสินใจระดับองค์กรที่มี การลงทุนสูง มีความเสี่ยงสูง มีตัวเลือกที่ยาก และนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรในอนาคต (Snyder and Page, 1958; McKie, 1973; Nutt,1999, 2001a) การวิจัยเรื่องการตัดสินใจพยายามอธิบายว่าองค์กรสร้างการตัดสินใจอย่างไร เพราะเหตุใดการตัดสินใจจึงล้มเหลว และนำไปสู่การพัฒนาให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร ความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจน และทฤษฎีด้านพฤติกรรมศาสตร์มีความพยายามจะศึกษาไปในมุมมองต่างๆ ซึ่งมีหลายบทความทางวิชาการได้ทำการทดสอบทฤษฏี ทำให้มีหลายมุมมองและเป็นข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวการการตัดสินในเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นการยากที่จะนำมากล่าวให้ครบถ้วนในที่นี่ จึงเป็นการเหมาะสมกว่าที่จะกล่าวถึงชนิดการตัดสินใจ ในมุมมองที่คล้ายกัน ซึ่งจะเป็นมุมมองที่สำคัญที่ใช้ในการศึกษาต่อไปว่าการตัดสินใจที่ถูกต้อง โดยบุคคลที่ถูกต้อง ในองค์กรที่ถูกต้อง จะสร้างความยั่งยืนในองค์กร และมีความสำคัญสามารถวัดได้ นี่เป็นจุดประสงค์ที่จะพยายามกำหนด เพื่อ ผู้บริหาร จะได้พิจารณาถึงขั้นตอนในการตัดสินใจที่ถูกต้อง และผิดพลาด เรียกว่ายุทธวิธี ภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาสู่ความสำเร็จ
ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง Theoretical Backup
การตัดสินใจเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กร เมื่อผู้บริหารต้องเผชิญ กับเรื่องสำคัญ และมีประเด็นที่จะต้องตัดสินใจ จึงได้มีการกำหนดกระบวนการสร้างทางเลือก และคาดคะเนผลในการตัดสินใจ อยู่เสมอๆ ประเด็นที่สร้างสถานการณ์การตัดสินใจ สามารถนำมาซึ่งความตกตะลึง และความสับสน ดังนั้น การตัดสินใจคือการกำหนด หลักในการปฏิบัติ นั้นเอง ชนิดของการตัดสินใจว่าจะเป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ หรือไม่นั้น พิจารณาจาก ความซับซ้อน ความเร่งด่วน ความสำคัญ ความไม่แน่นอน และอื่นๆ คุณลักษณะของผู้ตัดสินใจ เช่น การยอมรับความเสี่ยง ความอดทน ความคิดสร้างสรร รูปแบบการตัดสินใจ ขึ้นอยู่กับ ทักษะ ความต้องการควบคุม อิทธิพล ประสบการณ์ และการศึกษา ซึ่งเมื่อรวม คุณลักษณะของการตัดสินใจทั้งหมดแล้ว จะแสดงให้เห็นถึง ภาพรวมของวิถีทางในการตัดสินใจขององค์กร นั้นๆ
กระบวนการที่ใช้ในการตัดสินใจ มักจะเกี่ยวข้องกับ วิธีการ และขั้นตอน ที่จะนำไปใช้ทั้ง โดยตั้งใจ และไม่ตั้งใจ เราพบว่า สถานการณ์ ลักษณะของผู้ตัดสินใจ ลักษณะขององค์กร กระบวนการ มีส่วนสำคัญต่อการกำหนด และเลือกทางเลือก ซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต่างกันออกไป
เป็นที่น่าสังเกตุว่าหลายๆ การวิจัย พยายามชี้ให้เห็นถึงคำถามสำคัญว่า ตัดสินใจอย่างไร เป็นผลมาจาก พฤติกรรมการตัดสินขององค์กรนั้น การศึกษาเกี่ยวกับชนิดการตัดสินใจอธิบายโดยขั้นตอนการตัดสินใจ ยกตัวอย่างการศึกษาของ MintZberg et al. (1976) ได้สำรวจ 24 กรณีของการตัดสินใจที่ไม่มีการกำหนดขั้นตอนชัดเจน พบว่าจะต้องมีการทบทวน หรือทำแต่ละขั้นตอนซ้ำ เพื่อแก้ไขปัญหา การกำหนดขั้นตอนชัดเจน รวมถึง การบ่งชี้ถึงปัญหา (Identification) การพัฒนา (Development) การเลือก (Selection) และ การมอบหมาย (Authorization) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ การบ่งชี้ถึงปัญหา คือผู้ตัดสินใจ มีขั้นตอนของการตรวจหาปัญหาเพื่อหาสัญญาณของปัญหา สถานการณ์ของปัญหา เช่นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง กับมาตราฐานที่กำหนดไว้ต่างกัน ขั้นตอนการตรวจหาปัญหาที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนชี้ให้เห็นถึงสถานการ์ณที่ต้องใส่ใจอย่างยิ่ง ขั้นตอนการพัฒนา คือการหาและออกแบบทางเลือก และพิจารณาทางเลือก ขั้นตอนการเลือก โดยการตัดสิน การถกเถียง และการวิเคราะห์ ขั้นตอนการมอบหมาย คือการนำทางเลือกไปใช้จริง นี่คือสิ่งที่ Mintzberg และ ผู้ร่วมงานได้ แบ่งขั้นตอนการตัดสินใจไว้ดังนี้
Quinn (1990) ได้ทำการศึกษาถึงการตัดสินใจของ 10 บริษัทใหญ่ ที่ยอมเปิดเผยถึงกิจกรรมในการตัดสินใจ และกระบวนการที่ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ โดยผู้บริหารจะเฝ้าดูธุรกิจ และเอาข้อมูลจากผู้คนมากำหนดความต้องการ และโอกาส การคัดกรอง โดยใช้จิตวิสัย ที่จะอธิบายถึงเรื่องต่างๆ เปรียบเทียบกับตำแหน่งองค์กรในปัจจุบัน และกำหนดมุมมองถึงความต้องการในอนาคต ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่ Mintzberg เปิดเผย โดย สิ่งที่เรียกว่า แหล่งข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ และการวัดโดยจิตวิสัย เพื่อบ่งชี้ถึง ช่องว่างของประสิทธิ์ภาพ ซึ่งการจากการวัดประสิทธิ์ภาพ
มีวิจัยที่เกี่ยวข้องกันกับการหา วิธีตัดสินใจ ที่เป็นกลางระหว่างสองทฤษฏีที่กล่าวมาแล้วนั้น อธิบายว่า ปัญหา วิธีแก้ปัญหา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และสถานการณ์ทางเลือกของแต่ละองค์กรไม่เหมือนกัน (Cohen et al., 1976; March and Olsen, 1986; Mausch and LaPotin, 1989). March (1994) อธิบายว่าทฤษฏีทั้งสองทฤษฏีนั้นจะใช้ในเวลาที่ต่างกัน ไม่ใช้เกิดจากตรรกะ วิธีแก้ปัญหา สามารถเข้าถึงปัญหา โดยปัญหาและวิธีแก้ปัญหาขั้นกับสถานการณ์ การตัดสินใจเลือกทางเลือกขึ้นกับทรัพยากร ไม่ใช่การแปรสัญญาณเพื่อกำหนดทิศทาง เท่านั้น ทางเลือกตามสถานการ์ณจะไม่สามารถใช้ได้หาก ปัญหา และวิธีแก้ปัญหาไม่ถูกต้อง
Bradford ได้ศึกษาโดย Hickson และผู้ร่วมงานได้นำเอา 150 การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ มาวิเคราะห์ ได้ได้ตั้งข้อสังเกตุที่น่าสนใจถึง ชนิดของ กระบวนการต่างๆ ในการตัดสินใจ และนำเสอน vortex-sporadic และ fluid ซึ่งการกำหนดชนิดของกระบวนการเชื่อมกับ ธรรมชาติ และเหตุการณ์ในอดีต vortex-sporadic หรือ กระแสน้ำวนที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง คือกระบวนการตัดสินใจที่ให้ความสำคัญมาก การควบคุมการตัดสินใจเกิดขึ้นจากคนจำนวนมาก เช่นการตัดสินใจด้านการเมืองการปกครอง ส่วน fluid เป็นชนิดการตัดสินใจที่สามารถควบคุมได้มากกว่า เป็นเรื่องที่แปลกใหม่และยากต่อการคิด องค์ต้องใช้คนหลายคน หลายเสียงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ Bradford ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของมุมมองของการตัดสินใจ และผลลัพธ์ แต่ไม่ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของผลลัพท์ กับกระบวนการ Dean and Sharfman (1992, 1996) ได้ศึกษาเรื่องการตัดสินใจ ใน 25 องค์กร โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารสูงสุด โดยการศึกษานี้ได้มุ่งไปที่พฤติกรรมการสร้างทางเลือกในการตัดสินใจ โดยมีการควบคุม ขั้นตอนการนำไปปฏิบัติ กระบวนการการใช้เหตุผล และพฤติกรรมทางการเมือง เพื่อทดสอบ และหาเหตุผลที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิ์ภาพการตัดสินใจ พบการพฤติกรรมทางการเมืองมีผลน้อยที่สุด และพบว่ากระบวนการมีอิทธิพลต่อผลลัพท์มากกว่า สิ่งแวดล้อม
Mintzberg และผู้ร่วมงานได้ แบ่งลักษณะของคนเกี่ยวกับการตัดสินใจเป็น 3 ประเภทคือ คิดก่อน ดูก่อน และทำก่อน ผู้ตัดสินใจที่เป็นแบบ คิดก่อน จะตรวจหาปัญหา ออกแบบทางเลือก และตัดสินใจเลือกทางเลือก เรียกว่าพวก เหตุผลนิยม พวก ดูก่อน ใช้กับพวกต้องการเห็นปัญหาในเชิงลึก ดูว่าอะไรคือประเด็น และจะจัดการกับประเด็นนั้นๆ ได้อย่างไร และพวก ทำก่อน พวกนี้เหมาะกับปัญหาเล็กๆ เพราะการทำก่อนจะนำไปสู่การเรียนรู้ Mintzberg พบการการตัดสินนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีทางเลือก และทางเลือกจะเกิดขึ้นจากการถกเถียงและการต่อรอง ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการประณีประนอมกัน
หนทางที่จะรู้ได้คือการศึกษาพฤติกรรม และมุมมองต่างๆ รวมถึงการวัดความสำเร็จ (e.g., Bryson et al., 1990; Harrison and Phillips, 1992; Eisenhardt and Zbaracki, 1992)โดยการวิจัย ซึ่งจะมุ่งเน้นถึงการตัดสินใจโดยการนำ ยุทธวิธีมาใช้ การกำหนดเป้าหมาย การเปิดเผยทางเลือก การประเมินผล และการนำไปใช้ ซึ่งวิจัยนั้นจะแสดงถึงความสำเร็จ และความล้มเหลว
การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ 10 ประการในการจัดการการปฏิบัติการ ดังนี้
1.การออกแบบสินค้าและบริการ เป็นส่วนสำคัญต่อการกำหนดกระบวนการแปลงสภาพ ต้องพิจารณาถึงต้นทุน ทรัพยากรต่างๆ ราคาขายที่เหมาะสม มาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์
2.คุณภาพ คำนึงถึงความคาดหวังคุณภาพของลูกค้า กำหนดนโยบายและกระบวนการสร้างคุณภาพ
3.การออกแบบกระบวนการผลิตและกำลังการผลิต สิ่งที่ต้องพิจารณา ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ คุณภาพที่ต้องการจากการปฏิบัติการ ทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสม ระบบบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อกำหนดค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ต้องใช้จากกระบวนการที่เลือก
4.การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ เลือกทำเลที่ให้ความได้เปรียบทางการแข่งขัน
5.การวางผังสถานประกอบการ พิจารณาการไหลของวัตถุดิบ กำลังการผลิต จำนวนและตำแหน่งการทำงานของพนักงาน เครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิต การดำเนินงาน ตำแหน่งของสินค้าคงคลัง
6.ทรัพยากรบุคคลและการออกแบบงาน กำหนดทักษะและความชำนาญที่เหมาะกับตำแหน่งงาน ค่าใช้จ่ายของพนักงาน
7.การจัดการห่วงโซ่อุปทาน พิจารณาว่าชิ้นส่วนใดต้องผลิตเองหรือต้องสั่งซื้อ พิจารณาการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ มีวัตถุดิบทันต่อตารางการผลิตและส่งมอบสินค้าทันเวลา โดยรักษาคุณภาพและราคาที่เหมาะสม
8.สินค้าคงคลัง ระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม พิจารณาจาก การประมาณการความต้องการของผู้บริโภค การจัดส่งของผู้จัดหาวัตถุดิบ ตารางการทำงาน และการวางแผนทรัพยากรบุคคล
9.ตารางการทำงาน ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ กำลังการผลิต ความต้องการลูกค้า และระดับสินค้าคงคลัง
10.การบำรุงรักษา การบำรุงรักษาที่ดีต้องสามารถทำให้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิตต่างๆ ทำงานได้ตามตารางการทำงานที่วางแผนไว้
เอกสารอ้างอิง
ทศพร ศิริสัมพันธ์.(2539) การบริหารรัฐกิจเชิงกลยุทธ์และภาพรวมของการจัดการและวางแผนเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนานโยบายและการจัดการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2557) การจัดการกลยุทธ์. [ออนไลน์] web.eng.ubu.ac.th[สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม2561].
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559) การวางแผนกลยุทธ์.[ออนไลน์] https://www.tm.mahidol .ac.th /nursing /sites/default/files/KM/Strategy_Plan_NPD.pdf[สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม2560].
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์.(2540)การบริหารแผนงานเชิงกลยุทธ์ในหน่วยงานภาครัฐบาล. กรุงเทพฯ :ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Certo C.Samuel and Perter. (1990) Strategic Management: A Focus on Process. New York: McGraw-Hill.
e- LearningPacharaporn. (2561) การจัดการกลยุทธ์ระดับโลก. [ออนไลน์] http://www.elfms .ssru.ac.th/pacharaporn_le/file.php/1/BUA3122_DOC_3_2560/less2.pdf[สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม2560].
Jay Heizer & Barry Render.(2551) การจัดการผลิตและปฏิบัติการ : Operations Managementแปลและเรียบเรียงโดย จิณตนัยไพรสณฑ์และคณะ. กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็คดูเคชัน อินโดไชน่า.
kolchai. (2557) Business and public policy. [ออนไลน์] http://053kolchai. blogspot.com /2014/08/strategy-decision-making-snyder-and.html[สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม2560].
Pearce, John A.,ll, and Richard B. Robinson, Jr.(1988) Strategic Management : Strategy Formulation and Inplementaion.
Sukhothai Thammathirat open University. (2554). การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ [ออนไลน์] https://www.stou.ac.th/Schools/Sec/Services/e-Learning3/01-01.html [สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม2560].
SuperSambea.(2551).การจัดการการผลิตระหว่างประเทศ[ออนไลน์]http://supersambea .blogspot.com /2008/11/6.html[สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม2560].