รหัสบ่งชี้ความเป็นอันตรายที่เรียกว่า “Hazard Identification Numbers” ตามกฎระเบียบของ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและบางประเทศในทวีปอเมริกาใต้อาจพบได้ที่ครึ่งบนของแผ่นป้ายสีส้มภาชนะบรรจุที่ใช้ขนส่งสินค้าปริมาณมากในหลายรูปแบบของการขนส่ง (Intermodal Bulk Containers) และตัวเลขสี่หลักที่ครึ่งล่างของแผ่นป้ายสีส้มเป็นหมายเลข UN (UN Number) หรือ หมายเลข NA (North America Number)
ภาพที่ 1 รหัสบ่งชี้ความเป็นอันตราย
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม (2559)
รหัสบ่งชี้ความเป็นอันตรายที่อยู่ครึ่งของแผ่นป้ายสีส้มประกอบด้วยตัวเลข 2–3 หลัก โดยทั่ว ไปแล้วตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงความเป็นอันตราย ดังนี้
2–การปล่อยก๊าซ เนื่องจากความดันหรือการเกิดปฏิกิริยาเคมี
3 –ความไวไฟของของเหลว (ไอระเหย) และก๊าซ หรือของเหลวที่เกิดความร้อนได้เอง
4 –ความไวไฟของของแข็งหรือของแข็งที่เกิดความร้อนได้เอง
5 –ผลกระทบของการเกิดออกซิไดซ์
6 –ความเป็นพิษ หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
7 –กัมมันตรังสี
8 –การกัดกร่อน
9 –ความเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาได้เองอย่างรุนแรง
หมายเหตุ : ความเสี่ยงของการเกิดปฏิกิริยาได้เองอย่างรุนแรงของหมายเลข 9 ที่อาจเป็นไปได้นั้นเกิดจากลักษณะของสาร ได้แก่ ความเสี่ยงต่อการเกิดการระเบิด การสลายตัวและการ เกิดปฏิกิริยาโพลีเมอร์ไรเซชั่นตามด้วยการปล่อยความร้อนหรือก๊าซไวไฟ และ/หรือก๊าซพิษ
• การแสดงหมายเลขซ้ำกันสองครั้งแสดงถึงความเป็นอันตรายดงักล่าวรุนแรงขึ้น เช่น 33 66 88 เป็นต้น
• หากความเป็นอันตรายของสารสามารถระบุได้ด้วยตัวเลขหลักเดียวก็เพียงพอ ตัวเลขหลัก ที่สองใช้ศูนย์ เช่น 30 40 50 เป็นต้น
• รหัสบ่งชี้ความเป็นอันตรายที่มีตัวอักษร “X” นำหน้า แสดงว่าสารนั้นสามารถ เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ เช่น X88