กลวิธีพิชิตข้อสอบอัตนัยวิชาภาษาไทย..ในการทดสอบระดับชาติ O-NET
อาจารย์กฤษฎา กาญจนวงศ์*
บทนำ
กล่าวถึงการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET (Ordinary National Educational Test) ริเริ่มการสอบครั้งแรกในปีการศึกษา2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางพุทธศักราช2544 ซึ่งปัจจุบันพัฒนามาเป็นหลักสูตรแกนกลางปีพุทธศักราช 2551 ในการวัดผลมีการวัดผ่านการจัดการทดสอบในระดับชาติ โดยมีสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เป็นผู้ดำเนินการออกข้อสอบและจัดสอบทั่วประเทศ ในการจัดสอบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบการจัดสอบ วิชาที่จัดสอบ รวมไปถึงรูปแบบข้อสอบด้วย
กลวิธีพิชิตข้อสอบอัตนัยวิชาภาษาไทย..ในการทดสอบระดับชาติ O-NET
รูปแบบข้อสอบการสอบ O-NET ในรายวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตลอด 11 ปีที่ผ่านมา(พุทธศักราช2548 – พุทธศักราช2558) เป็นข้อสอบปรนัยที่มีตัวเลือกให้เลือกตอบ ซึ่งผลเฉลี่ยการสอบโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(ประถม) มีผลสัมฤทธิ์การสอบเทียบกับระดับสังกัดดังนี้
ตาราง 1 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานวิชาภาษาไทย ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(ประถม) – โรงเรียนสาธิตสังกัด(สกอ.)
*หมายเหตุ ข้อมูลในเว็ปไซต์ของสทศ. เริ่มมีการเก็บข้อมูลสถิติเริ่มต้นปี2551
* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
* อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
จากตารางที่ 1 พบว่าคะแนนเฉลี่ยการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานวิชาภาษาไทยของโรงเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(ประถม) อยู่ในระนาบเดียวกันกับโรงเรียนในสังกัด(สกอ.)
2
ซึ่งแสดงถึงคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา(ประถม) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิผลเทียบเท่าโรงเรียนในสังกัด(สกอ.)
ซึ่งต่อมาในการจัดการทดสอบทางศึกษาระดับชาติขั้นสามัญ O-NET 59 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการในขณะนั้น ได้ดำริให้การจัดการทดสอบวิชาภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 เป็นวิชาแรกที่จะมีข้อสอบอัตนัยหรือข้อสอบแบบเขียนตอบ ช่วงตลอด 6 ปีที่ผ่านมาลักษณะข้อสอบ O-NET ป.6 วิชาภาษาไทย จึงแบ่งข้อสอบเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนที่เป็นปรนัย 32 ข้อ (80คะแนน) และส่วนอัตนัย 2 ข้อ(ข้อละ 10คะแนน) โดยวิชาภาษาไทยให้เวลาในการทำข้อสอบทั้งสิ้น 90 นาที ซึ่งในส่วนของข้อสอบรูปแบบอัตนัยมีดังนี้
ข้อสอบข้อที่ 1 เขียนเล่าเรื่องจากภาพ
ข้อสอบข้อนี้จะมีภาพให้หนึ่งภาพและคำสั่งคือให้เขียนเล่าเรื่อง โดยต้องมีเหตุการณ์ มีตัวละคร มีการเคลื่อนไหวของตัวละคร ไม่ใช่เพียงแค่อธิบายหรือให้ข้อมูลบางอย่างของภาพ หรืออธิบายลักษณะบางอย่างของภาพเท่านั้น เรื่องราวที่เขียนต้องมีความเคลื่อนไหว มีเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันไป โดยให้เขียนเรื่องจากภาพความยาวไม่เกิน 7 บรรทัด
ข้อสอบข้อที่ 2 เขียนสรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน
ข้อสอบข้อนี้จะมีบทอ่านมาให้ ความยาวประมาณ 1 หน้ากระดาษ อาจมี 3-6 ย่อหน้า และให้อ่านจับใจความสำคัญ โดยเรื่องจะมีประเด็นสำคัญ 5-6 ประเด็น (ประเด็นละ 1 คะแนน) แล้วนำประเด็นที่ค้นพบมาเรียบเรียงโดยสรุปเป็นร้อยแก้วความยาวไม่เกิน 3 บรรทัด
จากการที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมการอบรมการตรวจข้อสอบอัตนัยที่จัดโดยสถาบันทดสอบ ทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ในปี 2559 ทำให้ทราบเกณฑ์การตรวจให้คะแนนข้อสอบรูปแบบอัตนัย ของสทศ. ซึ่งนำมาสู่การที่ผู้เขียนได้คิดค้นกลวิธีการเขียนตอบข้อสอบรูปแบบอัตนัยที่จะทำให้ได้คะแนนสูง และหลีกเลี่ยงการถูกหักคะแนนจากเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สทศ.กำหนด ดังจะได้อธิบายดังนี้
กลวิธีการเขียนคำตอบข้อสอบอัตนัยให้เข้าเกณฑ์และได้คะแนนสูง มีดังนี้
ข้อสอบข้อที่ 1 เขียนเล่าเรื่องจากภาพ
1. หาแนวคิดสำคัญของภาพให้พบ และเขียนเล่าเรื่องนำเสนอแนวคิดสำคัญที่สอดคล้องกับภาพ โดยแนวคิดสำคัญของภาพใน 2 ปีที่ผ่านมามักจะเป็นคุณธรรมที่เยาวชนควรมี เช่น ข้อสอบปี 2560 คือ “ความมีวินัย” ข้อสอบปี 2561 คือ “ความซื่อสัตย์” ข้อสอบปี 2562 คือ “ความขยันหมั่นเพียร” ซึ่งในเกณฑ์การตรวจ หากมีคำดังกล่าวนี้อยู่ในบทเขียนก็จะได้ 2.5 คะแนน ในส่วนคะแนนแนวคิดสำคัญของเรื่อง
2. การวางโครงเรื่อง โดยใช้กลวิธีการวางโครงเรื่องโดยการตั้งคำถาม “ใคร-ทำอะไร-กับใคร-ที่ไหน-เมื่อไหร่-อย่างไร” แล้วนำรายละเอียดจากการตอบคำถามดังกล่าวมาเรียงร้อยเป็นร้อยแก้วอีกครั้งหนึ่ง
* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
3. การใช้คำ ต้องใช้ถ้อยคำสำนวนให้ถูกต้องตรงตามความหมาย และเขียนโดยใช้ภาษาไทยมาตรฐานหรือภาษาไทยกลาง ไม่ใช้ภาษาพูด หรือศัพท์สแลงในการเขียนเรื่อง
3
4. เขียนสะกดคำ ให้นักเรียนเลือกใช้คำที่เขียนสะกดคำง่ายๆ ไม่ต้องใช้คำที่ยากและไม่มั่นใจว่าจะสะกดถูกต้องหรือไม่ ให้หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) และอักษรย่อ
5. ไม่ต้องตั้งชื่อเรื่อง เพราะถึงชื่อเรื่องจะมีความน่าสนใจแค่ไหน แต่ในการตรวจไม่มีการให้คะแนน
6. เขียนให้อยู่ในความยาว 4 -5 บรรทัดเท่านั้น แม้คำสั่งจะให้แต่งเรื่องความยาวไม่เกิน 7 บรรทัด แต่ในเกณฑ์การตรวจให้คะแนน จะไม่ตรวจเลยสำหรับเรื่องที่มีความยาวต่ำกว่า 4 บรรทัด และต่อให้เขียนเต็ม 7 บรรทัดก็ไม่ได้มีคะแนนเพิ่มให้ ฉะนั้นหมายถึงบทที่มีความยาว 4-5 บรรทัดก็สามารถเขียนให้ได้คะแนนเต็มได้ ซึ่งทั้งนี้การเขียนในบรรทัดที่ 6-7 อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ อาทิ การสะกดคำผิด การเรียงประโยคผิด การเขียนวกวน ซึ่งนำไปสู่การถูกหักคะแนนได้ จึงเป็นการเขียนที่เกินความจำเป็น
7 .เขียนด้วยลายมือตัวบรรจง และอยู่ในกรอบภายใน 7 บรรทัดเท่านั้น
ข้อสอบข้อที่ 2 เขียนสรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน
1. อ่านและทำความเข้าใจบทอ่านก่อน ถ้าอ่านรอบแรกยังไม่เข้าใจให้อ่านซ้ำอีกรอบ
2. สรุปประเด็นสำคัญของบทอ่านนั้น โดยทุกย่อหน้าจะมีใจความสำคัญอย่างน้อย 1 เรื่อง ให้ขีดเส้นใต้ใจความสำคัญที่พบ โดยในบทอ่านนั้นจะมีประเด็นสำคัญประมาณ 6 ประเด็น (อาจมากหรือน้อยกว่าก็ได้ขึ้นอยู่กับบทอ่านที่นำมาเป็นข้อสอบ)
3. ห้ามนำสิ่งต่อไปนี้มาเขียนในสรุปความเด็ดขาด เพราะจะทำให้ถูกตัดคะแนน
– ตัวเลข (ทั้งที่เป็นตัวเลขและตัวหนังสือ)
– ข้อความที่เป็นการยกตัวอย่าง ให้สังเกตคำ อาทิ , เช่น , ดังนี้
– ข้อความที่เป็นคำพูด ให้สังเกต เครื่องหมาย อัญประกาศ “………….”
4. เมื่อขีดเส้นใต้ส่วนที่เป็นใจความทั้งหมดแล้ว ให้นำข้อความดังกล่าวมาเขียนไม่เกิน 3 บรรทัด หากเขียนเกิน 3 บรรทัด ผู้ตรวจจะไม่ตรวจข้อความในบรรทัดที่เกินแม้ว่าข้อความในบรรทัดที่เกินมานั้นจะมีประเด็นสำคัญถูกต้องก็ตาม
5. ในการนำใจความที่ค้นพบมาเรียบเรียง ให้เรียงใจความตามที่ค้นพบลงมาทีละย่อหน้า และคงข้อความเดิมไว้ทั้งหมด โดยให้เติมเฉพาะคำบุพบท และคำสันธานลงไปเท่านั้นเพื่อป้องกันการถูกหักคะแนนจากความสมบูรณ์ในการเรียงประโยค และการสรุปความผิด
6. การสะกดคำห้ามผิดเด็ดขาด เพราะคำสำคัญทั้งหมดมีอยู่ในบทอ่านทั้งสิ้น
7. เขียนด้วยลายมือตัวบรรจง และอยู่ในกรอบภายใน 3 บรรทัดเท่านั้น
จากการใช้กลวิธีการเขียนคำตอบข้อสอบอัตนัยที่ผู้เขียนคิดค้นและสรุปไว้ข้างต้นตลอด 3 ปีมีผล ที่น่าสนใจดังนี้
* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
4
ตาราง 2 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทย(ข้อสอบอัตนัย) การทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(ประถม) – โรงเรียนสาธิตสังกัดสกอ. ย้อนหลัง 6 ปี
ปี
ระดับ
จำนวน
Mean
S.D.
Max.
Min.
2559
โรงเรียน
91
13.98
2.42
18.00
6.00
สังกัด
3,033
12.75
2.93
19.00
0.00
2560
โรงเรียน
73
13.41
3.20
18.50
5.50
สังกัด
3,171
11.41
3.73
19.00
0.00
2561
โรงเรียน
71
13.93
2.08
20.00
9.00
สังกัด
3,305
12.61
2.97
20.00
0.00
2562
โรงเรียน
69
12.53
2.91
17.50
0.00
สังกัด
3,295
12.40
3.05
18.75
0.00
2563
โรงเรียน
51
15.37
2.59
19.00
6.00
สังกัด
2,450
13.54
3.49
20.00
0.00
2564
โรงเรียน
46
12.81
3.06
17.50
3.00
สังกัด
2430
13.25
3.19
19.50
0.00
*หมายเหตุปี 2563-2564 เป็นการสมัครสอบตามความสมัครใจ จึงไม่สามารถนำข้อมูลมาอ้างอิงหรือวิเคราะห์ภาพรวมได้
**หมายเหตุปี 2565 โรงเรียนสาธิต มบส. ไม่เข้าร่วมการทดสอบระดับชาติโอเน็ต
จากตารางที่ 2 พบว่าคะแนนเฉลี่ยการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานวิชาภาษาไทย(ข้อสอบอัตนัย) ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(ประถม) มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าโรงเรียนในสังกัด(สกอ.) ต่อเนื่อง 6 ปี และในปี 2562 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของโรงเรียนอยู่ในระดับ 2.91 แสดงผลว่าคะแนนของนักเรียนระดับชั้นป.6 ทั้ง 69 คนที่เข้าสอบ มีค่าความแตกต่างของชุดข้อมูลอยู่ในระดับต่ำ
จากการพัฒนาดังกล่าวได้ส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยรวมในรายวิชาภาษาไทยในการทดสอบระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน O-Net ในภาพรวมสูงขึ้นกว่าโรงเรียนในสังกัด(สกอ.) ดังนี้
ตาราง 3 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานวิชาภาษาไทย ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(ประถม) – โรงเรียนสาธิตสังกัดสกอ.
* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
5
จากตารางที่ 3 พบว่าคะแนนเฉลี่ยการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานวิชาภาษาไทยของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(ประถม) สูงกว่าโรงเรียนในสังกัด(สกอ.) ซึ่งแสดงถึงคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(ประถม) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิผลสูงกว่าโรงเรียนในสังกัด(สกอ.)
ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาประสิทธิผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานวิชาภาษาไทย(ส่วนอัตนัย)ของผู้เขียน นับได้ว่าประสบผลสำเร็จอยู่ในระดับดีเยี่ยม นักเรียนมีความสามารถในการเขียนตรงตามหลักสูตรแกนกลางปีพุทธศักราช2551 และส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-Net วิชาภาษาไทยในภาพรวมสูงขึ้นอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์. (2560). NIETS NEWS. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://niets.or.th › content › download
วิทยา นารา. (2019). สทศ.แนะนำการเตรียมความพร้อม ในการทำข้อสอบอัตนัยภาษาไทยข้อสอบโอเน็ต (O-NET) ป.6 ปีการศึกษา 2562. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://kruupdate.com /ข้อสอบอัตนัย/
สภาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). คู่มือการจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET). กรุงเทพฯ, 2562
* อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์